(รับรางวัลเดือน ต.ค. 2567 - ก.ย. 2568)
1 | ศ. เกียรติคุณ ดร.ศกรณ์ มงคลสุข | ได้รับปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ประจำปีการศึกษา 2566 จากมหาวิทยาลัยมหิดล |
2 | รศ. ดร.ดร.ชรินทร์ โหมดชัง | ได้รับการคัดเลือกเป็นอาจารย์ตัวอย่างคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2567 จากสภาอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ ระดับรองศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์ |
3 | ผศ. ดร.อดิศักดิ์ ร่มแสง | ได้รับการคัดเลือกเป็นอาจารย์ตัวอย่างคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2567 จากสภาอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ |
4 | ศ. เกียรติคุณ ดร.ยงค์วิมล เลณบุรี | ได้รับการยกย่องและเชิดชูเกียรติเป็น "บุคคลคุณภาพแห่งปี 2024 ด้านวิทยาศาสตร์" จากมูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (มสวท.) |
5 | ผศ. ดร.ชญาณิศา ชิติโชติปัญญา | ได้รับคัดเลือกเป็นบุคลากรดีเด่นของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี พ.ศ. 2567 ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ประเภทวิชาการ |
6 | นางบุสบา ขุนศรี | ได้รับคัดเลือกเป็นบุคลากรดีเด่นของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี พ.ศ. 2567 ลูกจ้างประจำเงินงบประมาณ |
7 | รศ. ดร.อลิสา สจ๊วต | ได้รับคัดเลือกเป็นบุคลากรดีเด่นของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี พ.ศ. 2567 พนักงานมหาวิทยาลัย ประเภทวิชาการ (มีระยะเวลาการปฏิบัติงานติดต่อกันไม่เกิน 10 ปี) |
8 | รศ. ดร.ปรียานุช แสงไตรรัตน์นุกูล | ได้รับคัดเลือกเป็นบุคลากรดีเด่นของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี พ.ศ. 2567 พนักงานมหาวิทยาลัย ประเภทวิชาการ (มีระยะเวลาการปฏิบัติงานติดต่อกันตั้งแต่ 10 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี) |
9 | ดร.ทินกร เตียนสิงห์ | ได้รับคัดเลือกเป็นบุคลากรดีเด่นของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี พ.ศ. 2567 พนักงานมหาวิทยาลัย ประเภทวิชาการ (มีระยะเวลาการปฏิบัติงานติดต่อกันตั้งแต่ 20 ปี ขึ้นไป) |
10 | นางสาวนภสร ชาบาง | ได้รับคัดเลือกเป็นบุคลากรดีเด่นของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี พ.ศ. 2567 พนักงานมหาวิทยาลัย ประเภทวิชาชีพ หรือสนับสนุนทั่วไป (มีระยะเวลาการปฏิบัติงานติดต่อกันไม่เกิน 10 ปี) |
11 | นางสาวณัฏฐินี สุริยวงศ์ | ได้รับคัดเลือกเป็นบุคลากรดีเด่นของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี พ.ศ. 2567 พนักงานมหาวิทยาลัย ประเภทวิชาชีพ หรือสนับสนุนทั่วไป (มีระยะเวลาการปฏิบัติงานติดต่อกันตั้งแต่ 20 ปี ขึ้นไป) |
12 | รศ. ดร.รักชาติ ไตรผล | ได้รับรางวัล นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2568 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) |
13 | ศ.อาวุโส ดร.นพ.นรัตถพล เจริญพันธุ์ และทีมวิจัย | - ได้รับรางวัล Best Oral Presentation Awards จากผลงาน “โครงการการออกแบบยาโมเลกุลขนาดเล็กและอาหารแคลเซียมสูงชนิดใหม่เพื่อการรักษาภาวะกระดูกบางและการเปราะหักของใยกระดูก โดยการศึกษาวิจัยภายใต้ความโน้มถ่วงที่ต่างจากปรกติ เพื่อการใช้ประโยชน์เชิงอุตสาหกรรมสุขภาพและการแพทย์ในอนาคต” ในการประชุมวิชาการ บพค. ประจำปี 2567 : PMU-B Brainpower Congress 2024 - ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ประจำปีงบประมาณ 2568 |
14 | ศ.พิเศษ ดร.เดวิด จอห์น รูฟโฟโล และทีมวิจัย | - ได้รับรางวัล Best Oral Presentation Awards จากผลงาน “โครงการศึกษาวิจัยพลวัตของอนุภาคในพลาสมาในห้องปฏิบัติการในลมสุริยะ และเชิงดาราศาสตร์ฟิสิกส์เพื่อยกระดับเทคโนโลยีทางอวกาศของประเทศไทย” ในการประชุมวิชาการ บพค. ประจำปี 2567 : PMU-B Brainpower Congress 2024 - ได้รับรางวัล Mahidol University’s Top 1% Researcher 2025 - ได้รับ รางวัล Mahidol University Researcher of the Year 2025 รางวัล High Impact Researcher in Science and Technology |
15 | รศ. ดร.ธันฐภัทร์ บุญช่วย และทีมวิจัย | ได้รับรางวัล Best Oral Presentation Awards จากผลงาน “โครงการพัฒนาต้นแบบเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรีไซเคิลลิเทียมจากแบตเตอรี่ลิเทียมให้ได้ปริมาณลิเทียมเพิ่มมากขึ้นด้วยการพัฒนาวัสดุเชิงฟังก์ชั่นชนิดใหม่และปัจจัยที่มีความจำเพาะต่อการสกัดลิเทียม” ในการประชุมวิชาการ บพค. ประจำปี 2567 : PMU-B Brainpower Congress 2024 |
16 | ศ.เกียรติคุณ ดร.พิไล พูลสวัสดิ์ | ได้รับรางวัลมหิดลทยากร ประจำปี 2567 จากสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ |
17 | รศ. ดร.รัชนก ตินิกุล | ได้รับทุนภายใต้ทุนวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2568 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ทุนพัฒนานักวิจัยรุ่นกลาง ประจำปี 2568 โครงการ การศึกษาและพัฒนาปฏิกิริยาเอนไซม์เพื่อการแปลงทางชีวภาพและการใช้ประโยชน์จากคาร์บอนไดออกไซด์ |
18 | รศ. ดร.รัตติกาล จันทิวาสน์ | ได้รับทุนภายใต้ทุนวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2568 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ทุนพัฒนานักวิจัยรุ่นกลาง ประจำปี 2568 โครงการ การเคลือบผิวแคปปิลลารีไฮบริดแบบใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแยกด้วยอิเล็กโทรโฟรีซิสสำหรับการประยุกต์ใช้ด้านคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร |
19 | รศ. ดร.อทิตยา ศิริภิญญานนท์ | ได้รับทุนภายใต้ทุนวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2568 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ทุนพัฒนานักวิจัยรุ่นกลาง ประจำปี 2568 โครงการ การพัฒนาวิธีการวิเคราะห์โดยอาศัยเทคนิคอินดัคทีฟลีคัพเพิลพลาสมาแมสสเปกโทรเมทรีร่วมกับการใช้อนุภาคนาโนเพื่อการตรวจวิเคราะห์ทางสิ่งแวดล้อมและทางชีวภาพ |
20 | รศ. ดร.พนิดา สุรวัฒนาวงศ์ | ได้รับทุนภายใต้ทุนวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2568 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ทุนพัฒนานักวิจัยรุ่นกลาง ประจำปี 2568 โครงการ การศึกษากลไกการสลายพันธะคาร์บอนออกซิเจนของแอริลอีเทอร์และการเติมหมู่แอลคิลให้ไพริดีนด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะทำงานร่วมกับกรดลิวอิส |
21 | รศ. ดร.พงศกร กาญจนบุษย์ | - ได้รับทุนภายใต้ทุนวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2568 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) - ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ประจำปีงบประมาณ 2568 - ได้รับรางวัล Mahidol University’s Top 1% Researcher 2025 - ได้รับรางวัล Global Talent สายวิชาการ ประจำปี พ.ศ. 2567 ระดับ Gold จากมหาวิทยาลัยมหิดล - ได้รับการประกาศเกียรติคุณ เนื่องจากผลงานวิจัยที่มีคุณภาพสูงเกี่ยวกับเทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ ผ่านการคัดเลือกเพื่อนำเสนอในการประชุม 35th International Photovoltaic Science and Engineering Conference (PVSEC-35) ณ เมือง Numazu ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 10-16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 จำนวน 4 บทความ |
22 | ดร.ไท ชัยอมฤต | ได้รับทุนภายใต้ทุนวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2568 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ทุนพัฒนาศักยภาพในการทำงานวิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่ ประจำปี 2568 โครงการ การศึกษาความผิดปกติของไมโตคอนเดรียในเซลล์ประสาทที่มาจากเซลล์ต้นกำเนิดจากผู้ป่วยโรคพันธุกรรมที่มีการสะสมของสารในไลโซโซม |
23 | ดร.วรธน สวัสดิ์วงษ์ | ได้รับทุนภายใต้ทุนวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2568 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ทุนพัฒนาศักยภาพในการทำงานวิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่ ประจำปี 2568 โครงการ การศึกษาเชิงบูรณาการของไมโครไบโอมในช่องปาก-ทางเดินอาหาร และองค์ประกอบของอาหารในลิงแสมไทยที่อาศัยในพื้นที่ธรรมชาติและในถิ่นอาศัยของมนุษย์โดยใช้วิธีเมตาจีโนมิกส์และเมตาบาร์โค้ด |
24 | ดร.ลภัสรดา ยุรศักดิ์พงศ์ | ได้รับทุนภายใต้ทุนวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2568 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ทุนพัฒนาศักยภาพในการทำงานวิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่ ประจำปี 2568 โครงการ วิศวกรรมเนื้อเยื่อของเอ็นจากร่างอาจารย์ใหญ่ในการนำเซลล์ดั้งเดิมออกและใช้เซลล์กล้ามเนื้อต้นที่มาจากเซลล์ต้นกำเนิดไขมัน |
25 | ดร.ทัฏพงศ์ ตุลยานนท์ และทีมวิจัย | ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ประจำปีงบประมาณ 2568 ภายใต้แผนงาน F11 (S3P19) พัฒนาเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าล้ำยุคสู่อนาคต รวมถึงเทคโนโลยีระบบโลกและอวกาศ (Earth Space Technology) เพื่อการประยุกต์ใช้ประโยชน์สำหรับการพัฒนาประเทศด้านภูมิสารสนเทศ และต่อยอดสู่อุตสาหกรรมอวกาศในอนาคต จากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคนและทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาการวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) |
26 | ผศ. ดร.วฤทธิ์ มิตรธรรมศิริ | - ได้รับรางวัล Mahidol University’s Top 1% Researcher 2025 |
27 | รศ. ดร.กัลยา เกตุวงศา และทีมวิจัย | - ได้รับรางวัล Gold Medal จาก The National Institute for Research & Development in Chemistry and Petrochemistry - ICECHIM Bucharest, Romania - ได้รับรางวัล Outstanding Innovation Award จาก Malaysia Technology Expo 2025 - ได้รับรางวัล Siver Medal
จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) |
28 | รศ. ดร.ทวีชัย อมรศักดิ์ชัย ร่วมกับ นายสรณ์ ดวงสุวรรณ นักศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ และทีมวิจัย | ได้รับรางวัล Gold Medal
จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
ผลงาน : PiPreg-R : นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมจากการผสมผสานยางธรรมชาติและเส้นใยใบสับปะรด ของบริษัท Evergen Technologies ในนิทรรศการสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมนานาชาติ IPITEx งานวันนักประดิษฐ์ 2568 |
ผลงานและรางวัลเชิดชูเกียรติ ประจำปี 2552-2567
... รายละเอียดเพิ่มเติม
...
ผลงานและรางวัลเชิดชูเกียรติ ประจำปี 2540-2551
... รายละเอียดเพิ่มเติม
...
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับรางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประเภทสถาบันของ มูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2537
ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ ได้รับรางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประเภทสถาบันของ มูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2553
ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ ได้รับรางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประเภทสถาบันของ มูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2560
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณ โดยได้รับเลือกให้เป็น สถานศึกษาน่ามอง ตามโครงการ “หน้าบ้านน่ามอง” ของกรุงเทพมหานคร เมื่อ พ.ศ. 2543
และใน พ.ศ. 2551 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับพระราชทานรางวัล "พฤกษนครา เหรียญเชิดชูเกียรติ” ตามโครงการแมกไม้มิ่งเมือง" ตามแนวพระราชเสาวนีย์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ระดับหน้าบ้านน่ามอง (ประเภทมหาวิทยาลัยในสวน) ประจำปี 2551 โดยเป็นที่ 1 ของเขตราชเทวี (ประเภทสถานที่ราชการ – มหาวิทยาลัย) ตามโครงการ “แมกไม้มิ่งเมือง” ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีวัตถุประสงค์ส่งเสริมให้ประชาชน หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ได้ปลูกบำรุงรักษาต้นไม้ และประดับตกแต่งต้นไม้หน้าอาคารบ้านเรือนของตนให้สวยงาม
อาจารย์ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 14 ท่าน ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ซึ่งเป็นเหรียญซึ่งพระมหากษัตริย์จะได้พระราชทานเพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติแก่บุคคลซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในทางศิลปวิทยา อันได้แสดงให้ประจักษ์เป็นพิเศษว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อประเทศชาติ
อาจารย์ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 13 ท่าน ได้รับรางวัล "นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น"ของมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในพระบรมราชูปถัมภ์
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการประเมินคุณภาพผลงาน วิจัยเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของ สถาบันอุดมศึกษา ในประเทศไทย ประจำปี 2552 จาก
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ให้อยู่ในระดับดีเยี่ยม 5 สาขา
คือ เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา (กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์) พรีคลีนิก (กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์) และเทคโนโลยีชีวภาพ (กลุ่มสาขาเทคโนโลยี)
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการประเมินคุณภาพผลงาน วิจัยเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของ สถาบันอุดมศึกษา ในประเทศไทย ประจำปี 2554 จาก
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ให้อยู่ในระดับดีเยี่ยม 3 สาขา
คือ เทคโนโลยีชีวภาพ (กลุ่มสาขาเทคโนโลยี), ฟิสิกส์ (กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ) และพรีคลินิก (กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ)
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการประเมินคุณภาพผลงาน วิจัยเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของ สถาบันอุดมศึกษา ในประเทศไทย ประจำปี 2557 จาก
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ให้อยู่ในระดับดีเยี่ยม (TRF Index 4.5-4.9) 5 สาขา
คือ เทคโนโลยีชีวภาพ (กลุ่มสาขาเทคโนโลยี), ชีววิทยา (กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ), เคมี (กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ), ชีวเคมี (กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ) และพรีคลินิก (กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ)
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการประเมินคุณภาพผลงาน วิจัยเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของ สถาบันอุดมศึกษา ในประเทศไทย ประจำปี 2560 จาก
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ให้อยู่ในระดับดีมาก (TRF Index 4.0-4.9) 10 สาขา
คือ เทคโนโลยีชีวภาพ (กลุ่มสาขาเทคโนโลยี), วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุ (กลุ่มสาขาเทคโนโลยี), หน่วยสหสาขาวิชา (กลุ่มสาขาเทคโนโลยี), ชีววิทยา (กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ), เคมี (กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ), ฟิสิกส์ (กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ), คณิตศาสตร์ (กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ), ชีวเคมี (กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ), จุลชีววิทยา (กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ), และพรีคลินิก (กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ)
คณะวิทยาศาสตร์ ได้รับรางวัลเว็บไซต์มหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol University Web Contest)
หอเกียรติยศนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ของคณะวิทยาศาสตร์
หอเกียรติยศอาจารย์ดีเด่น ของคณะวิทยาศาสตร์
Download "เส้นทางรางวัลเกียรติยศ ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2527-2549"