logo


หน่วยวิจัยและเครือข่ายวิจัย ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

หน่วยวิจัยและนวัตกรรมมุ่งเป้า

 

หน่วยส่งเสริมเครือข่ายกลุ่มวิจัย

หน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเร่งปฏิกิริยา (CAST)

หน่วย Systems Biology of Infectious Diseases

 

ความร่วมมือกับภาคเอกชน (Industrial Linkage)

Private Collaborative Research Center

ศูนยวิจัยนวัตกรรม (Global Innovation Incubators (Gii)

ความร่วมมือด้านวิจัยและพัฒนาระหว่างคณะวิทยาศาสตร์กับกลุ่มบริษัทไทยยูเนี่ยน เพื่อเป็นศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากอาหารทะเล ปรับปรุงกระบวนการผลิต คุณภาพวัตถุดิบ รวมทั้งการสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัตถุดิบ

Private Collaborative Research Center

KOKOKU Innovative Technology Co., Ltd.

ศูนย์วิจัยเทคโนโลยียาง ร่วมมือกับบริษัท Thai Kokoku Rubber และ บริษัท Kokoku Intech พัฒนาการใช้ยางธรรมชาติในทางการแพทย์ เพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพและอุปกรณ์ทางการแพทย์

Private Collaborative Research Center

SCG-MUSC Project

คณะวิทยาศาสตร์ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับบริษัท เอสซีจี เคมีคอล จำกัด เพื่อสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยและการพัฒนาด้านการศึกษา "SCG Chemicals-MUSC Collaborative Research Unit for SCG PetroChem MUSC"

Private Collaborative Research Center

DKSH Center of Excellence in Analytical Science at MUSC

คณะวิทยาศาสตร์ร่วมมือกับบริษัท ดีเคเอสเอช (ประเทศไทย) จำกัด จัดตั้ง DKSH Center of Excellence at Mahidol University เพื่อให้บริการเครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูง

 

ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการแห่งชาติ (National Centres of Excellence)

เป็นศูนย์ระดับชาติ ภายใต้การบริหารงานของ สำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษา และวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (สบว.) หรือ Science and Technology Postgraduate Education and Research Development Office (PERDO) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นโครงการระยะที่ 2 ต่อเนื่องจากโครงการเดิม คือ โครงการพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีการบูรณาการพันธกิจ ด้านการวิจัย บัณฑิตศึกษา และการบริการทางวิชาการให้ชัดเจนขึ้น โดยเน้นบทบาทให้มีปฏิสัมพันธ์ทางด้านวิชาการ กับภาคการผลิตและบริการให้มากขึ้น

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (สถาบันแกนนำ)

  1. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางเคมี (PERCH-CIC)
  2. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา (EHT)
  3. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านคณิตศาสตร์ (CEM)
  4. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ (CEMB)

ศูนย์ความเป็นเลิศที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมกลุ่มวิจัย

  1. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ (ThEP)
    (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นสถาบันแกนนำ)
  2. ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร (CAB)
    (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นสถาบันแกนนำ)

 

มูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก (The Hornbill Research Foundation)

เริ่มต้นจากโครงการศึกษานิเวศวิทยานกเงือก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเริ่มงานวิจัยประมาณปี 2521 โดยทำการศึกษาวิจัยเฉพาะในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จนถึงปัจจุบัน (2539)

ต่อมาได้ขยายงานวิจัยออกไปในเขตผืนป่าภาคตะวันตกและภาคใต้ นอกจากนี้โครงการฯ ยังได้มีการสำรวจการแพร่กระจาย และสถานภาพของนกเงือกทั่วประเทศ และเพื่อความต่อเนื่อง และขอบเขตของงานวิจัย จึงเกิดแรงผลักดันให้มีการจัดตั้งเป็น “มูลนิธิ” ขึ้นโดยได้รับพระราชทานชื่อจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ว่า “มูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก” เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2536

มูลนิธิศึกษานกเงือก
ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ถนนพระรามที่ 6 กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท์ : 02 201 5532 ,
โทรสาร : 02 644 5411
E-Mail : pilai.poo@mahidol.ac.th
(ศาสตราจารย์พิไล พูลสวัสดิ์)