logo


Thai Program International Program

หลักสูตรระดับปริญญาตรี

 

1. วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์

ลักษณะเฉพาะของหลักสูตร

  1. มีการผนวกความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ สถิติ และคอมพิวเตอร์ให้ทันกับความต้องการของตลาดแรงงาน เช่น การวิเคราะห์ข้อมูล การแนะนำวิทยาการข้อมูล
  2. มีรายวิชาที่ Society of Actuaries (SOA) รับรองและสามารถโอนหน่วยกิตได้
  3. นักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการแบบพิสิฐวิธานมีโอกาสไปทำงานวิจัยระยะสั้น ณ สถาบันการศึกษาต่างประเทศ และเรียนต่อในระดับปริญญาเอก โดยไม่ต้องผ่านระดับปริญญาโท

การประกอบอาชีพ

  1. สายงานด้านการศึกษา เช่น ครู ครูผู้ช่วย นักวิชาการ และติวเตอร์
  2. สายงานด้านธุรกิจ เช่น นักวางแผน ทำหน้าที่วางแผนการลงทุน จัดระบบโลจิสติกส์ จัดระบบคลังสินค้า และกำหนดราคาสินค้า
  3. สายงานด้านคอมพิวเตอร์ เช่น นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล นักวิเคราะห์ระบบ โปรแกรมเมอร์ และนักพัฒนาซอฟต์แวร์
  4. สายงานด้านข้อมูล เช่น นักสถิติ นักคณิตศาสตร์ประกันภัย นักการเงิน นักการธนาคาร เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบาย นักวิจัยความเป็นไปได้ของโครงการ เจ้าหน้าที่วางแผนระบบงานและควบคุมคุณภาพ และเจ้าหน้าที่บริหารและจัดการความเสี่ยง
  5. สายงานด้านเศรษฐกิจดิจิทัล ทำหน้าที่สนับสนุนการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ในการพัฒนาประเทศ

การให้ปริญญา

ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

โครงสร้างหลักสูตรและแผนการศึกษา

ช่องทางติดต่อ

ธุรการภาควิชาคณิตศาสตร์ อาคารอเนกประสงค์ ชั้น 2 (พญาไท) โทร 0 2201 5340-2
https://mathematics.sc.mahidol.ac.th/th

2. วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพฤกษศาสตร์

ลักษณะเฉพาะของหลักสูตร

  1. หลักสูตรส่งเสริมให้ผู้เรียนประยุกต์วิชาความรู้ด้านพฤกษศาสตร์ เพื่อทำงานวิจัยที่มีมาตรฐานระดับสากล ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารและนำเสนอผลงาน
  2. นักศึกษาในหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการแบบพิสิฐวิธาน มีโอกาสไปทำงานวิจัยระยะสั้น ณ สถาบันการศึกษาต่างประเทศ และเรียนต่อในระดับปริญญาเอกของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล โดยไม่ต้องผ่านระดับปริญญาโท

การประกอบอาชีพ

  1. สายงานด้านการศึกษา เช่น ครู อาจารย์ อาจารย์สอนพิเศษ และนักวิชาการ
  2. สายงานด้านวิจัย เช่น นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยและพัฒนาปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ ในหน่วยงานราชการ สถาบันอุดมศึกษา สถาบันต่าง ๆ และในภาคอุตสาหกรรม
  3. สายงานด้านบริการข้อมูล เช่น ที่ปรึกษาด้านพฤกษศาสตร์ในบริษัทเอกชน มัคคุเทศก์ด้านนิเวศวิทยา และสิ่งแวดล้อม นักข่าว นักเขียนสารคดี เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลของโครงการ เจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพ
  4. ประกอบธุรกิจ/เจ้าของกิจการ เช่น ผลิตไม้ดอกไม้ประดับ ผลิตผักเพื่อการส่งออก เป็นต้น

การให้ปริญญา

ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

โครงสร้างหลักสูตรและแผนการศึกษา

ช่องทางติดต่อ

ธุรการภาควิชาพฤกษศาสตร์ อาคารชีววิทยาใหม่ ชั้น 3 (พญาไท) โทรศัพท์ 0 2201 5240
https://plantscience.sc.mahidol.ac.th

3. วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์

ลักษณะเฉพาะของหลักสูตร

  1. นักศึกษาสามารถเลือกสาขาวิชาในชั้นปีที่ ๒ ทำให้นักศึกษามีโอกาสค้นหาความถนัดของตัวเอง ก่อนที่จะเลือกสาขาวิชา
  2. มีอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญในหลากหลายแขนง ทำให้นักศึกษามีโอกาสเลือกเรียนรายวิชาเลือกที่หลากหลาย และสามารถเลือกทำโครงงานวิจัยตามความสนใจได้
  3. มีหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการแบบพิสิฐวิธาน ซึ่งเน้นความเข้มข้นทางวิชาการ โดยนักศึกษาในหลักสูตรนี้สามารถเลือกเรียนรายวิชาในระดับปริญญาโท และมีโอกาสในการได้รับทุนไปทำวิจัยระยะสั้น ณ ต่างประเทศ รวมทั้งมีโอกาสในการศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล โดยไม่ต้องผ่านการเรียนระดับปริญญาโท

การประกอบอาชีพ

นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย นักวิชาการ ในส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานด้านอุตสาหกรรมของภาคเอกชน ตลอดจนประกอบอาชีพอิสระ

การให้ปริญญา

ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

โครงสร้างหลักสูตรและแผนการศึกษา

ช่องทางติดต่อ

ธุรการภาควิชาฟิสิกส์ อาคารฟิสิกส์ ชั้น 6 (พญาไท) โทรศัพท์ 0 2201 5770-1
https://physics.sc.mahidol.ac.th

4. วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี

ลักษณะเฉพาะของหลักสูตร

  1. นักศึกษาในหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการแบบพิสิฐวิธาน มีโอกาสไปทำงานวิจัยระยะสั้น ณ สถาบันการศึกษาต่างประเทศ และเรียนต่อในระดับปริญญาเอกของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล โดยไม่ต้องผ่านระดับปริญญาโท
  2. มุ่งเน้นพัฒนาการเรียนรู้วิชาเคมีในเชิงลึก ให้บัณฑิตมีทักษะการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ผลงานวิจัยหรือผลงานวิชาการทางเคมีในระดับมาตรฐานสากล
  3. อาจารย์ประจำหลักสูตรทุกคนจบการศึกษาระดับปริญญาเอก มีผลงานวิจัยที่โดดเด่นในระดับชาติ/นานาชาติ และมีจำนวนผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติในระดับต้นๆ ของประเทศ

การประกอบอาชีพ

  1. นักวิจัยและพัฒนา / นักวิเคราะห์ควบคุมคุณภาพและกระบวนการผลิต ในหน่วยงานราชการ และในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมยาและเวชสำอาง อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมพลาสติก และอุตสาหกรรมยาง
  2. ครูสาขาเคมีและสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  3. อาชีพอิสระที่มีความเกี่ยวข้องกับสาขาเคมี

การให้ปริญญา

ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

โครงสร้างหลักสูตรและแผนการศึกษา

ช่องทางติดต่อ

ธุรการภาควิชาเคมี อาคารเคมี ชั้น 1 (พญาไท) โทรศัพท์ 0 2201 5110-12
https://chemistry.sc.mahidol.ac.th

5. วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

ลักษณะเฉพาะของหลักสูตร

  1. เป็นหลักสูตรที่บูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์จุลินทรีย์ พืช แมลง และ สัตว์เศรษฐกิจ ไปสู่กระบวนการผลิต/แปรรูปในเชิงอุตสาหกรรม การควบคุมคุณภาพ การวิเคราะห์และควบคุมโรค ตลอดจนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆในอุตสาหกรรมอาหาร ยาและเวชภัณฑ์ การแพทย์ เครื่องสำอาง สิ่งทอ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม
  2. นักศึกษาในหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการแบบพิสิฐวิธาน มีโอกาสไปทำงานวิจัยระยะสั้น ณ สถาบันการศึกษาต่างประเทศ และเรียนต่อในระดับปริญญาเอกของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล โดยไม่ต้องผ่านระดับปริญญาโท

การประกอบอาชีพ

  1. ภาคอุตสาหกรรม เช่น ผู้ควบคุมการผลิต ผู้ควบคุมคุณภาพ และ นักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพ เช่น อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมการเกษตร อุตสาหกรรมพลังงานและเคมีภัณฑ์ อุตสาหกรรมการผลิตยาและเวชภัณฑ์
  2. การศึกษาและวิจัย เช่น ครู และ อาจารย์ ผู้ช่วยวิจัย นักวิจัย เจ้าหน้าที่ประจำห้องปฏิบัติการ และ นักวิทยาศาสตร์ ในภาคเอกชน สถาบันวิจัย หน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวภาพ
  3. งานบริการ เช่น ผู้เชี่ยวชาญ นักวิเคราะห์ และ ตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์วิทยาศาสตร์ และ เครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวภาพ
  4. อาชีพอิสระ เจ้าของกิจการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวภาพ

การให้ปริญญา

ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

โครงสร้างหลักสูตรและแผนการศึกษา

ช่องทางติดต่อ

ธุรการภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ อาคารเทคโนโลยีชีวภาพ ชั้น 1 (พญาไท) โทรศัพท์ 0 2201 5309-10
https://biotechnology.sc.mahidol.ac.th/

6. วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา

ลักษณะเฉพาะของหลักสูตร

  1. เน้นเสริมสร้างผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะด้านชีววิทยาที่ทันสมัยครอบคลุมพื้นฐาน 4 ด้าน คือ
    1) เซลล์-โมเลกุล พันธุกรรม
    2) ระบบร่างกายสิ่งมีชีวิต
    3) วิวัฒนาการ
    4) ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม ตรงตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต
  2. นักศึกษาในหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการแบบพิสิฐวิธาน มีโอกาสไปทำงานวิจัยระยะสั้น ณ สถาบันการศึกษาต่างประเทศ และเรียนต่อในระดับปริญญาเอกของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล โดยไม่ต้องผ่านระดับปริญญาโท

การประกอบอาชีพ

  1. ภาควิชาการ ได้แก่ นักวิจัย นักวิชาการ ครู อาจารย์ นักวิทยาศาสตร์
  2. ภาคธุรกิจอุตสาหกรรม ได้แก่ ผู้ประกอบการ นักวิเคราะห์ นักเทคนิค ผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์ ที่ปรึกษาด้านชีววิทยา ผู้แทนฝ่ายขาย
  3. ภาคประชาชน ได้แก่ นักชีวกิจกรรม

การให้ปริญญา

ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

โครงสร้างหลักสูตรและแผนการศึกษา

ช่องทางติดต่อ

ธุรการภาควิชาชีววิทยา อาคารชีววิทยาใหม่ ชั้น 4 (พญาไท) โทรศัพท์ 0 2201 5250
https://biology.sc.mahidol.ac.th

 

นอกจากนั้น ยังมีหลักสูตรพิเศษสำหรับระดับปริญญาตรี เพื่อการศึกษาต่อเนื่องไปจนถึงระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ได้แก่ หลักสูตรพิสิฐวิธาน และโครงการ B.Sc.-Ph.D. และ โครงการ B.Sc. - M.M.

หลักสูตรวิทยาศาสตร์มีการจำแนกเป็นสาขาต่างๆ โดยมีภาควิชาเป็นผู้รับผิดชอบในการสอน นักศึกษามหิดลชั้นปีที่ 1 ทุกสาขา และทุกวิทยาเขต จะเรียนที่ศาลายา เมื่อขึ้นปีที่ 2 นักศึกษาจะแยกย้ายไปเรียนในสาขาเอกที่คณะวิทยาศาสตร์พญาไท

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ งานการศึกษา สำนักงานคณบดี คณะวิทยาศาสตร์ โทร. 0-2201-5005, 5050-4


 

 

หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการแบบพิสิฐวิธาน

หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการแบบพิสิฐวิธาน (Distinction Program) ที่เป็นหลักสูตรเพื่อให้นักศึกษาที่มีความสามารถสูงได้ศึกษาในวิชาขั้นสูงและได้ทำวิจัยอย่างเข้มข้น รวมทั้ง สามารถศึกษาต่อระดับปริญญาเอกได้โดยไม่ต้องจบปริญญาโทก่อน ซึ่งจะทำให้นักศึกษาสามารถสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีจนถึงปริญญาเอกได้ภายในเวลา 7-8 ปี ทั้งนี้ นักศึกษาในโครงการยังมีโอกาสได้รับทุนไปศึกษาวิจัยหรือดูงานระยะสั้นในสถาบันในต่างประเทศอีกด้วย

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อส่งเสริมนักศึกษาที่มีศักยภาพสูงให้ศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกโดยไม่ต้องเรียนปริญญาโท
  2. ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ลึกซึ้งในสาขาเอกที่ศึกษา มีทักษะในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ได้อย่างต่อเนื่อง และมีความสามารถในการทำงานวิจัยระดับสูง
  3. เพื่อให้ผู้ที่สำเร็จการศึกษาสามารถนำองค์ความรู้ไปประกอบอาชีพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และพัฒนาประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คุณสมบัติ

  1. เป็นนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ เคมี ชีววิทยา เทคโนโลยีชีวภาพ พฤกษศาสตร์ หรือ ฟิสิกส์ ที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมในหลักสูตรปกติไม่ต่ำกว่า 3.25
  2. มีความมุ่งมั่นที่จะศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก
  3. หลังเข้าสู่หลักสูตรพิสิฐวิธาน นักศึกษาจะต้องมีเกรดเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.25 ของทุกภาคการศึกษา กรณีที่เกรดเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 3.25 นักศึกษาสามารถกลับเข้าศึกษาในหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการได้

สิทธิ์ของนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการแบบพิสิฐวิธาน

  1. นักศึกษาสามารถสมัครเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาเอกของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลโดยไม่ต้องเรียนปริญญาโท ทั้งนี้ มี 2 ลักษณะ คือ
    1.1 นักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ยสะสม 3.25-3.49 จะมีสิทธิ์สมัครเพื่อสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ
    1.2 นักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ยสะสม 3.50 ขึ้นไป จะมีสิทธิ์เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาเอกโดยไม่ต้องสอบคัดเลือก
  2. นักศึกษาที่เลือกเรียนรายวิชาในหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการแบบพิสิฐวิธานที่เป็นรายวิชาระดับบัณฑิตศึกษา จะได้รับการโอนหน่วยกิตของรายวิชานั้นไปยังหลักสูตรระดับปริญญาเอกของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
  3. นักศึกษาชั้นปีที่ 3 หรือ 4 ที่มีเกรดเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 3.50 จะมีสิทธิ์สมัครขอรับทุนไปศึกษาและ/หรือทำวิจัยระยะสั้นต่างประเทศเป็นเวลา 4-6 เดือน ทั้งนี้ ผู้มีสมัครจะต้องมีคะแนนภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่โครงการกำหนด (TOEFL 550 คะแนนขึ้นไป TOEIC 700 IELTS 6.5 หรือเทียบเท่า)
  4. ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการแบบพิสิฐวิธานจะได้รับปริญญาบัตรที่ระบุว่า วิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขา...) (พิสิฐวิธาน)
โครงการ B.Sc. - M.M.

โครงการ B.Sc. - M.M. : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) (Bachelor of Science, B.Sc.) และหลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต (หลักสูตรไทย) (กจ.ม.) (Master of Management, M.M.) เป็นความร่วมมือระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล โครงการ B.Sc. - M.M. มุ่งปลูกฝังความเป็นนักบริหารให้แก่นักศึกษาวิทยาศาสตร์ที่สนใจ สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ที่ 2 ของมหาวิทยาลัยมหิดล และเป็นไปตามเกณฑ์ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ด้วยมีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ควบคู่ทักษะด้านการบริหารจัดการ ทั้งในด้านกระบวนการทำงาน การการวางแผน การกำหนดกลยุทธ์ การพัฒนาธุรกิจ และทักษะการเป็นผู้ประกอบการ

การศึกษาในหลักสูตรนี้ จะเป็นการศึกษาแบบเร่งรัด ต่อเนื่อง มีระยะเวลาการศึกษาตามหลักสูตร 5 ปี โดยในแผนการศึกษาจะเริ่มเรียนรายวิชาทางด้านการจัดการในชั้นปีที่ 3 และ 4 เมื่อศึกษารายวิชาครบตามเกณฑ์หลักสูตรปริญญาตรี นักศึกษาจะได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต และศึกษารายวิชาทางด้านการจัดการต่อในระดับปริญญาโทอีก 1 ปี จนครบตามเกณฑ์ จะได้รับปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม..