รายชื่อผู้ได้รับรางวัล Mahidol Science Innovative Educator Award 2023
PDF
จัดขึ้นเพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติองค์กร บุคคล รวมถึงนักเรียน นิสิต นักศึกษา ที่สร้างประโยชน์แก่สังคมด้านนวัตกรรมการศึกษา ด้วยองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ จนเป็นที่ประจักษ์ โดยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จะพิจารณามอบรางวัล Mahidol Science Innovative Educator Award 2023 ประจำปี พุทธศักราช 2566 โดยกำหนดคุณสมบัติและขั้นตอนการดำเนินการคัดเลือก ดังนี้
1. เป็นผู้ใช้ความรู้ที่ชัดเจนถูกต้องในการสร้าง ถ่ายทอด และ/หรือจัดการนวัตกรรมทางการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และ/หรือเทคโนโลยี ซึ่งแสดงให้เห็นความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความแปลกใหม่ หรือต่อยอดจากเดิมไม่ซ้ำใคร ทันสมัย ติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง สามารถทำให้ผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายเกิดความประทับใจ สนใจใคร่รู้ติดตาม และสร้างแรงบันดาลใจ
2. ผลงานที่เสนอเข้ารับรางวัลต้องเป็นผลงานที่ไม่เคยได้รับรางวัลที่ใดมาก่อน ซึ่งมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ อย่างน้อยข้อใดข้อหนึ่ง
ด้านการสื่อสาร เป็นผู้นำการสื่อสารด้านนวัตกรรมการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และ/หรือเทคโนโลยี
มีช่องทางการสื่อสารบน platform ต่าง ๆ เช่น รายการวิทยุ, online channel, blog, page, podcast
ด้านวิชาการ มีผลงานสร้างสรรค์เทคนิคการสอน เนื้อหา รูปแบบ ผลิตภัณฑ์ และ/หรือผลงานทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และ/หรือเทคโนโลยี
ด้านกิจกรรม จัดกิจกรรม หรือดำเนินการโครงการการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และ/หรือเทคโนโลยี ที่มีรูปแบบโดดเด่นอย่างต่อเนื่อง
3. เป็นผู้มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีคุณธรรม จริยธรรม ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ไม่เคยถูกตัดสินหรืออยู่ระหว่างการพิจารณาความผิดด้านจริยธรรมและการปฏิบัติงาน
ผู้ที่รับรางวัล Mahidol Science Innovative Educator Award 2023 ดังต่อไปนี้
ประเภทบุคคล
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยวัฒน์ เลิศวิริยะนันทกุล (คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)
แรงบันดาลใจในการสร้างนวัตกรรมด้านการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์
“หากเรามองนกและไม่คิดเป็นเพียงแค่นก มองเครื่องบินไม่คิดเป็นแค่เครื่องบิน ทุกสิ่งรอบตัวเราล้วนสามารถเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างนวัตกรรมเพื่อการศึกษาได้ทั้งสิ้น ขึ้นอยู่กับว่าจะ แค่คิด หรือ ลงมือทำ”
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยวัฒน์ เลิศวิริยะนันทกุลเป็นผู้ที่ชอบให้ความรู้ สอนและให้คําแนะนําแก่ผู้อื่นอยู่แล้ว แต่จุดเริ่มต้นของการพัฒนานวัตกรรม เพื่อการศึกษาที่ได้ทําขึ้นทั้งหมดนี้มาจากเมื่อประมาณ 6 ปีที่แล้ว ที่ได้ทําการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสอนรายวิชาที่รับผิดชอบคือวิชาอิเล็กทรอนิกส์ให้แตกต่างไปจากเดิมและน่าสนใจมากยิ่งขึ้นและต้องการให้นักศึกษาวิชาฟิสิกส์ที่ส่วนหนึ่งเป็นนักศึกษาเอกศึกษาศาสตร์จบออกไปเป็นครูได้มีความรู้ทางด้านศิลปะควบคู่ไปด้วยบ้าง เพราะคิด ว่าการที่ครูมีความรู้หลากหลายด้าน ทั้งศิลปะ ดนตรี กีฬา ไปจนถึงด้านอื่น ๆ ไม่จํากัดแต่เพียงเฉพาะฟิสิกส์หรือวิทยาศาสตร์แค่เพียงอย่างเดียว จะเป็นผลดีต่อการพัฒนาการเรียนการสอน สามารถให้คําแนะนําแก่นักเรียนได้ หลากหลายด้าน จึงได้ปรับปรุงการสอนและการทําแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (PCB) โดยสอดแทรกการออกแบบทาง ศิลปะเข้าไป ให้นักศึกษาได้ฝึกทําการออกแบบลวดลาย และภายหลังจากที่ได้รู้จักกับการเรียนการสอนแบบ STEM จึงได้พัฒนารูปแบบการสอนเป็นของตัวเองที่เรียกว่า STEAM -> WpBL (Steam through Workpiece Based Learning : การเรียนรู้แบบ STEAM ผ่านการทําชิ้นงานเป็นฐาน) จากวงจรการทําแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้สอน นักศึกษาฟิสิกส์ ก็ได้พัฒนามาเป็นต้นไม้อิเล็กทรอนิกส์ที่ได้สอนนักศึกษาครูสาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป จนกระทั่งเป็นงาน สร้างห้องแสดงจักรวาลจําลอง ที่สามารถให้ผู้ชมเข้ามาเรียนรู้ทางด้านดาราศาสตร์แบบ interactive ได้ โดยได้ต่อ ยอดวงจรที่ใช้ในการสอนนักศึกษาในชั้นเรียนมาสร้างเป็นนวัตกรรมชื่อบอร์ดแสดงกลุ่มดาวจําลองแบบโต้ตอบได้โดยไร้การสัมผัส พร้อมยื่นขอจดอนุสิทธิบัตร เพื่อแสดงให้นักศึกษาเห็นถึงการนําวงจรที่ได้เรียนไปใช้ประโยชน์ได้จริง หลังจากนั้นจึงได้สร้างบอร์ดแสดงกลุ่มดาวหลายกลุ่มดาว และนํามาติดตั้งเป็นห้องแสดงจักรวาลจําลองเพื่อการเรียนรู้ ทางด้านดาราศาสตร์ ซึ่งสามารถให้ผู้ชมเข้าชมและมีปฏิสัมพันธ์กับระบบได้ เป็นการใช้ความรู้ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ โปรแกรมมิ่ง ไมโครคอนโทรลเลอร์ ที่สอนนักศึกษา มาประยุกต์ใช้กับดาราศาสตร์ และเพิ่มเติมศิลปะเข้าไปด้วย โดย ทั้งหมดนี้ใช้การควบคุมโดยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่ได้ปรับปรุงมาเพื่อการสอนนักศึกษาเมื่อ 6 ปี ที่แล้วนั่นเอง และล่าสุดได้พัฒนาการสอนนักศึกษาโดยการปรับปรุงการเรียนทําแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นอีกรูปแบบหนึ่ง
ประเภททีม
ภายใต้สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล
Musuko Team ภายใต้สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล
แรงบันดาลใจในการสร้างนวัตกรรมด้านการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์
“อยากพัฒนาการเรียนรู้ Coding กับวิทยาศาสตร์ที่ให้โรงเรียนสามารถเข้าถึงได้ เพราะในปัจจุบันในแต่ละคอร์สที่จัดอบรมส่วนใหญ่มีราคาที่สูง ประกอบกับอยากสร้างให้เกิดการเรียนรู้ Coding กับวิทยาศาสตร์ที่เป็นการลงมือทำอย่างแท้จริง โดยไม่ใช่เพียงแค่การเขียน Code เพียงอย่างเดียว เท่านั้น”
Musuko Team อยากพัฒนาเด็ก ๆ ในการเรียนรู้ Coding ซึ่งการเรียน Coding ปัจจุบันในแต่ละคอร์สที่จัดอบรมส่วนใหญ่มีราคาที่สูงทำให้หลาย ๆ โรงเรียนไม่สามารถเข้าถึงการพัฒนาเด็กนักเรียนหรือคุณครูตรงจุดนี้ได้ และจากประสบการณ์ของทีมที่ได้ทำการตัดสินโครงงานวิทยาศาสตร์ของเด็กนักเรียนเกี่ยวกับ Coding พบว่าเด็ก ๆ สามารถ เขียน Code เพื่อสั่งงานอุปกรณ์หรือเซนเซอร์ต่าง ๆ ได้ แต่ไม่สามารถใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบสิ่งประดิษฐ์ได้ ยกตัวอย่างเช่น การเขียน Code เพื่อให้ไฟเตือนสีแดงถ้ามีอุณหภูมิสูง หรือการเขียน Code เพื่อให้หุ่นยนต์ทำงาน ซึ่งเด็ก ๆ เข้าใจการเขียน Code แต่ไม่รู้วิธีการออกแบบติดตั้งโครงสร้างหรือการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างจริงจัง ซึ่งเกิดจากการที่นักเรียนส่วนใหญ่ซื้อของสำเร็จที่อยู่ในตลาดมาใช้ ประกอบกับการเรียน Coding ยังกระจุกอยู่ในกลุ่มโรงเรียนที่มีทุนทรัพย์ที่สามารถเข้าถึงตัวอุปกรณ์ได้เท่านั้น จากปัญหาเหล่านี้ จึงทำให้เกิดการรวมตัวและตั้งทีม Musuko ขึ้นมาโดยมีจุดประสงค์เพื่อขับเคลื่อนการเรียน Coding ร่วมกับการเรียนรู้รูปแบบ STEM โดยผ่านการจัดกิจกรรม STEM AND ROBOTICS CAMP ที่เป็น Camp สำหรับสอน Coding ร่วมกับการเรียนรู้รูปแบบ STEM (รูปที่ 1) โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ด้วยกระบวนการเรียนรู้ผ่าน play and learn ที่ออกแบบขึ้นมาโดยทีม Musuko โดยในการเรียนรู้จะเริ่มตั้งแต่การละลายพฤติกรรมผ่านเกมเพื่อดึงดูดผู้เรียน และมี mission ต่าง ๆ เพื่อให้เด็กตะลุย mission แบบเป็นทีม เพื่อสร้างความท้าทายและส่งเสริมการทำงานแบบเป็นทีม, การแก้ไขปัญหาร่วมกัน รวมถึงการออกแบบสร้างสรรค์นวัตกรรม โดยให้เด็ก ๆ ได้ลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง ซึ่ง Camp นี้จัดขึ้นให้กับเด็ก ๆ ทั้งในระบบโรงเรียน และเด็ก ๆ ที่อยู่นอกระบบโรงเรียน (Home school) เพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้ที่เท่าเทียมกันในหลาย ๆ พื้นที่และส่งเสริมให้เกิดการสร้าง Maker ที่ไม่ใช่เพียงแค่ผู้ชายอย่างเดียว (จัดอบรมให้กับโรงเรียนหญิงล้วน) ในประเทศไทย เพื่อสร้างนวัตกรรมในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป นอกจากนี้ทีม Musuko ยังพยายามหาทุนงบประมาณเพื่อนำมาใช้ในการจัดอบรมคุณครูเพื่อส่งต่อความรู้ Coding ให้กับเด็ก ๆ เพื่อสร้างความยั่งยืน และได้มีการสร้างเพจ Facebook เพื่อช่วยในการประชาสัมพันธ์งาน กิจกรรม ความรู้ต่าง ๆ ด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ และให้คำปรึกษาในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ผ่านเพจ STEM AND ROBOTICS CAMP อีกด้วย
ซึ่งทีมงานเราหวังที่จะไปทั่วส่งต่อกิจกรรม Coding เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในทุกจังหวัดในประเทศไทยให้ได้ ที่ผ่านมาทางทีมได้มีการอบรมให้กับนักเรียนไปแล้วมากกว่า 1,800 คน และคุณครูอีกประมาณ 400 คน ทั้งระบบออนไลน์และออฟไลน์
เกณฑ์การคัดเลือกรางวัล
PDF
แบบเสนอชื่อผู้มีสิทธิ์ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับรางวัล
PDF /
Word