มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะวิทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมงาน ZERO WASTE Awareness Day

       วันพุธที่ 27 มีนาคม 2567 ดร.ระพี บุญเปลื้อง รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์ เป็นผู้ตัวแทนคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ เข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดงาน ZERO WASTE Awareness Day จัดโดยกองกายภาพและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อแสดงจุดยืนในการลดการเกิดขยะ สร้างความตระหนักรู้การใช้ทรัพยากร และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อิทธิโชติ จักรไพวงศ์ รองอธิการบดีฝ่ายสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน กล่าวรายงานและแถลงนโยบาย และ รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรสมภพ ประธานธุรารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานในพิธีเปิด นอกจากนี้ภายในงานยังมีเวทีเสวนา Zero Waste Talk กับผู้ร่วมเวที ได้แก่ คุณเจ ผู้บริหารPokPok, คุณใบตอง Miss Earth Fire 2021, คุณยีนส์ CEO OneCharge Solution, คุณปริม Project Manager Environman และอ.พี่ฮง ผู้บรรยาย ปิดท้ายด้วยเวทีแสดงดนตรีจากนักศึกษา ณ ลานดอกกันภัย อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล (MLC) เขียนข่าว : นายธีรเทพ […]

คณะวิทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมงาน ZERO WASTE Awareness Day Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมพิธีเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติ International Regulatory Science Forum 2024

         วันอังคารที่ 12 มีนาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม เข้าร่วมพิธีเปิด การประชุมวิชาการนานาชาติ International Regulatory Science Forum 2024 ที่จัดโดย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ Department of Regulatory and Quality Sciences, School of Pharmacy, University of Southern Califonia ประเทศสหรัฐอเมริกา และ National Cheng Kung University สาธารณรัฐจีน(ไต้หวัน) และกองเครื่องมือแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนวิทยาการความก้าวหน้าและองค์ความรู้ในระดับนานาชาติเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนเครื่องมือแพทย์และผลิตภัณฑ์สุขภาพดิจิตัล (digital health products) อีกทั้งเพื่อส่งเสริมเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการและวิจัยของนักวิชาการในระดับภูมิภาคเอเซียและอเมริกา

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมพิธีเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติ International Regulatory Science Forum 2024 Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมรับฟังสัมมนาเรื่อง “โจทย์วิจัยและนวัตกรรมกับการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ยางพาราไทยสู่เชิงพาณิชย์” โดยคณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา

        วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้แก่ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม รศ. ดร.ปฐมพล วงศ์ตระกูลเกตุ และ รศ.ดร.สมบัติ ธนะวันต์ เข้าร่วมรับฟังสัมมนาเรื่อง “โจทย์วิจัยและนวัตกรรมกับการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ยางพาราไทยสู่เชิงพาณิชย์” โดยคณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อติดตาม เสนอแนะ เร่งรัด และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยและนวัตกรรมด้านยางพาราของประเทศไทย เพื่อให้ได้ข้อเสนอในเชิงนโยบาย และโครงสร้างการบริหารจัดการทั้งระบบ เพื่อเป็นแนวทางการใช้ประโยชน์ในการดำเนินการอย่างยั่งยืน และเพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมมาใช้แก้ไขปัญหายางพาราของประเทศไทย เกิดการรวมพลังอย่างแท้จริงเชิงระบบในทุกระดับ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและเกิดการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานระดับชาติและระดับสากลต่อไป         โดยได้รับเกียรติจาก ประธานคณะกรรมาธิการฯ พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง กล่าวเปิดงานว่า เมื่อปลายปีที่แล้ว กมธ.ได้จัดสัมมนาในเรื่องการวิจัยนวัตกรรมเกี่ยวกับการใช้ยางพารา เพื่อนำไปสู่การใช้งานได้มากขึ้น โดยดำเนินการมาในลักษณะของช่วงต้นทางและกลางทาง ซึ่งในวันนี้จะเป็นการเติมระหว่างกลางทางสู่ปลายทาง เพื่อไปบรรลุในเรื่องเชิงพาณิชย์ในการทำให้ผลิตภัณฑ์ยางพาราตรงความต้องการของท้องตลาด นำไปสู่การใช้งานในหลายรูปแบบ เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับชาวสวนยางและผู้ประกอบการต่างๆ  รวมถึงสหกรณ์และวิสาหกิจชุมชนต่อไป         ต่อด้วยการกล่าวปาฐกถาพิเศษโดย นายพินิจ จารุสมบัติ ประธานสภาวัฒนธรรมไทย-จีนและอดีตรองนายกรัฐมนตรี

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมรับฟังสัมมนาเรื่อง “โจทย์วิจัยและนวัตกรรมกับการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ยางพาราไทยสู่เชิงพาณิชย์” โดยคณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัวนวัตกรรมการเพาะเลี้ยงและผลิตภัณฑ์ flo Wolffia (โฟล วูล์ฟเฟีย)” จัดโดยบริษัทแอดวานซ์ กรีนฟาร์ม จำกัด

          ในวันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมเข้าร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัวนวัตกรรมการเพาะเลี้ยงและผลิตภัณฑ์ ภายใต้แบรนด์ flo Wolffia (โฟล วูล์ฟเฟีย)” จัดโดยบริษัทแอดวานซ์ กรีนฟาร์ม จำกัด ที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีอาหาร SPACE-F รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ซึ่งเป็นโครงการที่ร่วมสนับสนุนโดย บริษัท ไทยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) และมหาวิทยาลัยมหิดล ณ ห้องประชุม Hill Crest ชั้น 5 โรงแรมเดอะ ควอเตอร์ ลาดพร้าว บาย

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัวนวัตกรรมการเพาะเลี้ยงและผลิตภัณฑ์ flo Wolffia (โฟล วูล์ฟเฟีย)” จัดโดยบริษัทแอดวานซ์ กรีนฟาร์ม จำกัด Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย จัด UK roadshow on Science, research and innovation

          ในวันที่ 13  กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 13.30 – 15.00 น.  คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย จัด กิจกรรม   “UK Roadshow on Science, Research and Innovation” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับฟังคำแนะนำและข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับทุนวิจัยจากสหราชอาณาจักร และวิธีการสมัครขอรับทุนวิจัยเพื่อสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรในสหราชอาณาจักร  ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล           กิจกรรมในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก คุณชวิศ อุตตมาชัย ที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม สถานเอกอัครราชทูตอังกฤษ  และคุณชยนันต์ บุญมี ผู้จัดการโครงการวิทยาศาสตร์ บริติช เคานซิล เป็นวิทยากร โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพล วงศ์ตระกูลเกตุ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม เป็นผู้ดำเนินรายการ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย จัด UK roadshow on Science, research and innovation Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล จับมือ เนสท์เล่ และเครือข่ายพันธมิตร ลงนาม MOU โครงการ SPACE-F ในงานแถลงข่าว “Collaboration for the Future of Food” เพื่อร่วมขับเคลื่อนอนาคตวงการอาหารไทย พร้อมสร้างระบบนิเวศที่ส่งเสริมโอกาสการเติบโตของ FoodTech Startup ในการพัฒนานวัตกรรม

       12 กุมภาพันธ์ 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตร สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน), บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) จับมือ เนสท์เล่ อินโดไชน่า องค์กรอาหารและเครื่องดื่มรายใหญ่ ที่มีแบรนด์ผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงชั้นนำระดับโลก และแบรนด์ระดับท้องถิ่นที่เป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) เข้าร่วมโครงการ SPACE-F ในงานแถลงข่าว “Collaboration for the Future of Food” ณ ห้อง Pinnacle 4-5 ชั้น 4 โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ        บริษัท เนสท์เล่ ภูมิภาคอินโดไชน่า (Nestlé Indochina) ถือได้ว่าเป็นบริษัทผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มรายใหญ่ที่สุดของโลก ครอบคลุม 190 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองเวเวย์

คณะวิทย์ ม.มหิดล จับมือ เนสท์เล่ และเครือข่ายพันธมิตร ลงนาม MOU โครงการ SPACE-F ในงานแถลงข่าว “Collaboration for the Future of Food” เพื่อร่วมขับเคลื่อนอนาคตวงการอาหารไทย พร้อมสร้างระบบนิเวศที่ส่งเสริมโอกาสการเติบโตของ FoodTech Startup ในการพัฒนานวัตกรรม Read More »

สโมสรนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดค่าย “MAS Camp” ครั้งที่ 34 เปิดบ้านคณะวิทย์ พญาไท – ศาลายา ต้อนรับน้อง ม.ปลาย สร้างแรงบันดาลใจในการศึกษาต่อในคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

        9 – 11 กุมภาพันธ์ 2567 สโมสรนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดค่าย “MAS Camp” ครั้งที่ 34 เปิดบ้านคณะวิทย์ พญาไท – ศาลายา ต้อนรับน้อง ม.ปลาย เพื่อให้น้องๆในค่ายได้รู้จัก ได้สัมผัส และสร้างแรงบันดาลใจในการศึกษาต่อในคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นอกจากนี้ยังช่วยให้นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ ได้เรียนรู้การดำเนินงาน วางแผน และการบริหารงาน อีกทั้งเพิ่มทักษะในการทำงานร่วมกันอีกด้วย         โดยในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 จัดกิจกรรมที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท โดยมีรุ่นพี่นักศึกษาในคณะพาไปรู้จักกับภาควิชา กลุ่มสาขาวิชา หลักสูตรที่เปิดสอนในระดับปริญญาตรีของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ช่วงเช้ากิจกรรมฐานในวันแรกจะเน้นในเรื่อง เนื้อหาของสาขา สาขานี้เรียนอะไรและสามารถต่อยอดอย่างไรได้บ้าง และในช่วงเย็นกิจกรรมสันทนาการ มีการตีกลอง พร้อมเต้นเพลงสันทนาการต่างๆ       

สโมสรนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดค่าย “MAS Camp” ครั้งที่ 34 เปิดบ้านคณะวิทย์ พญาไท – ศาลายา ต้อนรับน้อง ม.ปลาย สร้างแรงบันดาลใจในการศึกษาต่อในคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมการแข่งขันกีฬาสานสัมพันธ์เครือข่ายมหิดลพญาไท ครั้งที่ 13 “PHAYATHAI RETRO” โอ้โห เก๊า เก่า

31 มกราคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รวมพลังบุคลากรในธีม “Science Y2K” ร่วม “การแข่งขันกีฬาสานสัมพันธ์เครือข่ายมหิดลพญาไท ครั้งที่ 13” ที่ปีนี้จัดขึ้นในธีมหลัก “PHAYATHAI RETRO” โอ้โห เก๊า เก่า ณ สนามข้างตึกเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากร 9 ส่วนงานมหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ได้แก่ วิทยาลัยการจัดการ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คณะเวชศาสตร์เขตร้อน คณะเภสัชศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา โดยมีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีเป็นเจ้าภาพ ในโอกาสนี้ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์คลินิก นพ.อาทิตย์ อังกานนท์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีกล่าวเปิดงาน และ ศาสตราจารย์ นพ. บรรยง ภักดีกิจเจริญ ผู้ช่วยคณบดีงานสร้างเสริมสุขภาพ กล่าวรายงานการจัดกิจกรรม และ รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ พร้อมด้วยคณบดีและผู้อำนวยการสถาบันต่าง

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมการแข่งขันกีฬาสานสัมพันธ์เครือข่ายมหิดลพญาไท ครั้งที่ 13 “PHAYATHAI RETRO” โอ้โห เก๊า เก่า Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมงานครบรอบวันเปิดศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ในโอกาสครบรอบ 16 ปี ก้าวสู่ปีที่ 17

4 มกราคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มอบหมายให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์พรรษกร ตันรัตนะ รองคณบดีฝ่ายแพทยศาสตร์และบัณฑิตศึกษา เป็นตัวแทนเข้าร่วมงานครบรอบวันเปิดศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ในโอกาสครบรอบ 16 ปี ก้าวสู่ปีที่ 17 สานความสัมพันธ์อันดีระหว่าง 2 ส่วนงานที่มีมาอย่างยาวนาน โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ธีระ กลลดาเรืองไกร ผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ให้การต้อนรับ ก่อนร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ถวายสังฆทาน จตุปัจจัยไทยธรรม และภัตตาหารเพล ณ ห้องประชุมภักดีบดินทร์ ชั้น 5 อาคารกาญจนาบริพัฒน์ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา อีกทั้งภายในงาน ยังได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และ ศาสตราจารย์ ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมงานครบรอบวันเปิดศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ในโอกาสครบรอบ 16 ปี ก้าวสู่ปีที่ 17 Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “Fundamental Biosafety for BSL-2 (ภาคภาษาอังกฤษ)” เสริมความรู้และทักษะการทำวิจัยในห้องปฏิบัติการทางชีวภาพอย่างปลอดภัยตามมาตรฐานสากล

14 -15 ธันวาคม 2566 งานวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “Fundamental Biosafety for BSL-2 (ภาคภาษาอังกฤษ)” ซึ่งได้รับการรับรองหลักสูตรจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ หลักสูตรรับรองเลขที่ สธ0621.06/2486 กิจกรรมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมความรู้และทักษะการทำวิจัยในห้องปฏิบัติการทางชีวภาพอย่างปลอดภัยตามมาตรฐานสากลแก่อาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ บุคคลภายในและนอกคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  โดยกิจกรรมถูกจัดขึ้น ณ ห้องประชุม อาคารสตางค์มงคลสุข ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม กล่าวเปิด กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “Fundamental Biosafety for BSL-2 (ภาคภาษาอังกฤษ) ในครั้งนี้ โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ ร่มแสง ประธานคณะกรรมการความคุมความปลอดภัยทางชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงภาพรวมของการอบรมเชิงปฏิบัติการ “Fundamental Biosafety for BSL-2 (ภาคภาษาอังกฤษ)” โดยการอบรมนี้มีบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ อาทิ นักศึกษา

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “Fundamental Biosafety for BSL-2 (ภาคภาษาอังกฤษ)” เสริมความรู้และทักษะการทำวิจัยในห้องปฏิบัติการทางชีวภาพอย่างปลอดภัยตามมาตรฐานสากล Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล เปิดบ้านต้อนรับนักเรียน ม.ปลาย เข้าสอบแข่งขันฟิสิกส์โดยสมาคมฟิสิกส์ไทย ประจำปี พ.ศ. 2566

       17 ธันวาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านต้อนรับตัวแทนนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายผู้มีความสนใจทางด้านฟิสิกส์จากทั่วประเทศเข้าสอบแข่งขันฟิสิกส์โดยสมาคมฟิสิกส์ไทย ประจำปี พ.ศ. 2566 หรือ Thai Physics Society Competition (TPSC) 2023 รอบชิงชนะเลิศ ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท        สมาคมฟิสิกส์ไทยได้จัดการแข่งขันฟิสิกส์ขึ้นเป็นปีแรกเพื่อเพิ่มโอกาสให้นักเรียนทั่วประเทศได้เข้าร่วมแข่งขันและพัฒนาศักยภาพทางฟิสิกส์ ซึ่งในปี พ.ศ. 2566 นี้ การแข่งขันแบ่งออกเป็น 2 รอบ ได้แก่ รอบออนไลน์ นักเรียนทำข้อสอบออนไลน์สะสมคะแนนวันละ 3 – 5 ข้อเป็นเวลา 15 วัน แล้วคัดเลือกผู้ที่ได้คะแนนอันดับ 1 จาก 71 จังหวัด และผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดในกรุงเทพมหานคร นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร

คณะวิทย์ ม.มหิดล เปิดบ้านต้อนรับนักเรียน ม.ปลาย เข้าสอบแข่งขันฟิสิกส์โดยสมาคมฟิสิกส์ไทย ประจำปี พ.ศ. 2566 Read More »

Activity photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ปลูกต้นราชพฤกษ์อวกาศ สัญลักษณ์แห่งการวิจัยขั้นแนวหน้า เพื่อค้นหาความเป็นไปได้ในอนาคต ณ มหิดล ศาลายา

17 พฤศจิกายน 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.วีระชัย สิริพันธ์วราภรณ์ รองคณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.พันธ์ญา สุนินทบูรณ์ ผู้ช่วยคณบดี คุณปิยะ โพธิ์สิทธิ์ หัวหน้างานศาลายา คุณณัฐพล แนวจำปา หัวหน้างานการศึกษา และเจ้าหน้าที่งานศาลายา ร่วมกันปลูก ‘ต้นราชพฤกษ์อวกาศ’ เพื่อ เป็นสัญลักษณ์แห่งการวิจัยขั้นแนวหน้าเพื่อค้นหาความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ในอนาคต โดยมีวิทยาศาสตร์เป็นรากฐานที่แข็งแรง และสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของคณะวิทยาศาสตร์ที่จะเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจด้านอวกาศของมวลมนุษยชาติ ณ บริเวณสวนอาคารบรรยายรวม L2 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายาต้นราชพฤกษ์อวกาศ เป็นต้นราชพฤกษ์ที่ปลูกด้วยเมล็ดที่เดินทางไปอวกาศภายใต้โครงการ Asian Herb in Space (AHiS) Mission II ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการด้านชีววิทยาอวกาศ (Space Biology) โดยความร่วมมือของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น หรือ

คณะวิทย์ ม.มหิดล ปลูกต้นราชพฤกษ์อวกาศ สัญลักษณ์แห่งการวิจัยขั้นแนวหน้า เพื่อค้นหาความเป็นไปได้ในอนาคต ณ มหิดล ศาลายา Read More »

ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงาน Mahidol Day of Actuarial Science and Math for Life 2023 เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคลากร ผู้เชี่ยวชาญ นักศึกษาปัจจุบันและศิษย์เก่าในวงการประกันภัยและภาคธุรกิจ

10 ตุลาคม 2566 ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงาน Mahidol Day 
of Actuarial Science and Math for Life เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคลากร ผู้เชี่ยวชาญ นักศึกษาปัจจุบันและศิษย์เก่าในวงการประกันภัยและภาคธุรกิจอื่นๆ รวมถึงแสดงความขอบคุณ “Mr. Kean Hin Lim” President of Thai Life Insurance and founder of Green Lane Scholarship ผู้ให้การสนับสนุนทุนการศึกษาฯ ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ภายในงาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมคิด อมรสมานกุล หัวหน้าภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวว่า    คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้ตระหนักถึงในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ได้เห็นการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นรูปธรรมในประเทศไทย ประเทศเรามีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนมากขึ้น มีแหล่งอุตสาหกรรมและธุรกิจใหม่ๆเกิดขึ้น

ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงาน Mahidol Day of Actuarial Science and Math for Life 2023 เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคลากร ผู้เชี่ยวชาญ นักศึกษาปัจจุบันและศิษย์เก่าในวงการประกันภัยและภาคธุรกิจ Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล เปิดบ้านต้อนรับนักเรียนระดับมัธยมจากทั่วประเทศ จัดเต็ม workshopและกิจกรรมค้นหาตัวตนกว่า 50 กิจกรรม ในงาน “มหิดลวิชาการ เปิดบ้านมหิดล ประจำปี 2566” ภายใต้แนวคิด “Ignite the future”

          16-17 กันยายน 2566 ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานเปิดงาน “มหิดลวิชาการ เปิดบ้านมหิดล ประจำปี 2566″ ซึ่งในปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Ignite the future” โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เรืออากาศโท ทพ.ชัชชัย คุณาวิศรุต รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดงาน ซึ่งในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และคณะผู้บริหารส่วนงาน พร้อมทั้งคณาจารย์ และนักเรียนจากโรงเรียนต่าง ๆ เข้าร่วมพิธีเปิดพร้อมเยี่ยมชมกิจกรรมภายในห้อง 218 ชั้น 2 อาคารสิริวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล           สำหรับกิจกรรมในครั้งนี้นับเป็นการเปิดบ้านมหาวิทยาลัยมหิดลต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 12 เพื่อประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย รวมทั้งส่วนงานในสังกัดมหาวิทยาลัยมหิดลให้เป็นที่รู้จักแก่บุคคลภายนอกมากยิ่งขึ้นผ่าน

คณะวิทย์ ม.มหิดล เปิดบ้านต้อนรับนักเรียนระดับมัธยมจากทั่วประเทศ จัดเต็ม workshopและกิจกรรมค้นหาตัวตนกว่า 50 กิจกรรม ในงาน “มหิดลวิชาการ เปิดบ้านมหิดล ประจำปี 2566” ภายใต้แนวคิด “Ignite the future” Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ มหิดล และสถาบันพระบรมราชชนก ประชุมหารือการดูแลนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 1 ร่วมกัน

11 กันยายน 2566 คณะผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติศักดิ์ หยกทองวัฒนา รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและพัฒนานักศึกษา รองศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ อสุวพงษ์พัฒนา ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายแพทยศาสตร์ พร้อมด้วยอาจารย์ที่ปรึกษานักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 1 ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา วีรชาติยานุกูล รองศาสตราจารย์ ดร. นพ.จามร สมณะ รองศาสตราจารย์ ดร.รัชนก ตินิกุล และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อธิคุณ สุวรรณขันธ์ และทีมนักวิชาการการศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ เข้าร่วมประชุมหารือเรื่องการให้ข้อมูลนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 1 โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อการดูแลนักศึกษาร่วมกันกับผู้บริหารสถาบันพระบรมราชชนก นำทีมโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ นพ.สวรรค์ ขวัญใจพานิช คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ นพ.อนุพงษ์ สุธรรมนิรันด์ อาจารย์ พญ.อุษา ศิริบุญฤทธิ์ อาจารย์ พญ.สุวิมล ล้วนเส้ง รองคณบดีคณะแพทยศาสตร์ และรองศาสตราจารย์ ดร.ภนารี บุษราคัมตระกูล ผู้ช่วยคณบดีคณะแพทยศาสตร์ ณ

คณะวิทย์ มหิดล และสถาบันพระบรมราชชนก ประชุมหารือการดูแลนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 1 ร่วมกัน Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมพิธีวางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามงกุฎวิทยามหาราช “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” เนื่องในวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2566

            18 สิงหาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมพิธีวางพานพุ่มถวายราชสักการะพระบรมราชานุ-   สาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช เนื่องใน“วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ” ณ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อเฉลิมพระเกียรติและน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฐานะทรงเป็น “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย”             วันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี นับเป็นวันสำคัญวันหนึ่งของวงการวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ไทย เนื่องด้วยในวันนี้เมื่อปี พ.ศ. 2411 ได้มีเหตุการณ์สำคัญคือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคและสถลมารค ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง ที่ทรงคำนวณพยากรณ์ไว้ล่วงหน้า 2 ปี ว่าจะเกิดในวันอังคาร ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมพิธีวางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามงกุฎวิทยามหาราช “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” เนื่องในวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2566 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีแห่เทียนและถวายเทียนพรรษา ประจำพรรษากาล 2566

        วันจันทร์ที่ 17 กรกฎาคม 2566 เวลา 13.30 – 15.00 น. ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ กว่า 50 คน ร่วมพิธีแห่เทียนและถวายเทียนพรรษา ประจำพรรษากาล 2566 เพื่อเป็นการสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามของไทย สร้างจิตสำนึกแก่บุคลากรให้มีโอกาสใกล้ชิดพระบวรพุทธศาสนา และปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธองค์ ด้วยการถวายเทียนพรรษา และหลอดไฟ เพื่อให้พระสงฆ์ได้ใช้ในการศึกษาพระธรรมวินัยตลอดพรรษา นอกจากนี้คณะวิทยาศาสตร์และผู้มีจิตศรัทธายังร่วมกันทำบุญเป็นเงินจำนวน 15,086 บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันแปดสิบหกบาทถ้วน) ถวายให้วัดฯ เพื่อใช้ในกิจของพระสงฆ์ต่อไปด้วย ตรวจสอบโดย : เขียนข่าวโดย: นายธีรเทพ แก้วมณีภาพข่าวโดย: นายมานะ ไผ่มณีเว็บมาสเตอร์: นายธีรเทพ แก้วมณีวันที่ 17 กรกฏาคม 2566

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีแห่เทียนและถวายเทียนพรรษา ประจำพรรษากาล 2566 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล จัดงานเสวนาพิเศษ Mahidol Science Café “Equal Life, Equal Love” ชีวิตเท่าเทียมเมื่อความรักเท่ากัน“ ส่งท้าย Pride Month

        28 มิถุนายน 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนา Mahidol Science Café “Equal Life, Equal Love” ชีวิตเท่าเทียมเมื่อความรักเท่ากัน แบบ Hybrid พูดคุยแบบสบาย ๆ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดกิจกรรมนี้เป็นครั้งที่ 2 และมีความตั้งใจที่จะจัดต่อไปในอนาคต เพื่อสร้างความเข้าใจ เพิ่มการตระหนักรู้ถึงความหลากหลายในกลุ่ม LGBTQIAN+ สู่ประชาคมเนื่องในโอกาสเฉลิมฉลอง Pride Month หรือเดือนแห่งความภาคภูมิใจของชาวหลากหลายทางเพศ โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพงษ์ จอห์นส์ แสงวิไล ผู้ช่วยคณบดี อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้บรรยาย ณ บริเวณใต้อาคารเรียนรวม (ตึกกลม) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท         โดยในช่วงเวลา 10:00-10:50 น. เป็นการเสวนาในเรื่องของนโยบายเพื่อความหลากหลายในการทำงานภาคเอกชนและภาครัฐจากมุมผู้บริหาร

คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล จัดงานเสวนาพิเศษ Mahidol Science Café “Equal Life, Equal Love” ชีวิตเท่าเทียมเมื่อความรักเท่ากัน“ ส่งท้าย Pride Month Read More »

Activity Photo

อาจารย์ปรีคลินิก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ และอาจารย์ที่ปรึกษานักศึกษา

29 – 30 พฤษภาคม 2566 หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต สถาบันพระบรมราชชนก จัดการอบรมโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ และอาจารย์ที่ปรึกษานักศึกษา ให้กับอาจารย์ปรีคลินิก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อาจารย์แพทย์จากคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล และอาจารย์แพทย์จากศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลมหาราช นครศรีธรรมราช ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์ ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพยาบาลราชบุรี ณ โรงแรมเอเชีย เขตราชเทวี กรุงเทพฯ เพื่อให้อาจารย์มีทักษะ มีความรู้ความเข้าใจในการให้คำปรึกษากับนักศึกษา ในวันแรก รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ได้ให้กำลังใจผู้เข้าอบรมพร้อมกล่าวถึงความร่วมมือระหว่างคณะวิทยาศาสตร์และสถาบันพระบรมราชชนกที่จะเข้มแข็งต่อไป การอบรมในครั้งนี้มีคณาจารย์ปรีคลินิก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความสนใจเข้าร่วมอบรมหลายท่าน ซึ่งในวันแรกของการเรียนรู้เป็นเรื่อง “Resilience” การล้มแล้วลุกหรือการฟื้นตัว โดยทีมวิทยากร อาจารย์ พญ.สิริลักษณ์ วงศ์ชัยสุริยะ นายแพทย์ชำนาญการ รองผู้อำนวยการศูนย์แพทยศาสตร์ชั้นคลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า และ 2 อดีตอาจารย์และศิษย์เก่าภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหิดล ได้แก่ อาจารย์

อาจารย์ปรีคลินิก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ และอาจารย์ที่ปรึกษานักศึกษา Read More »

Activity Photo

ภาควิชาสรีรวิทยา จัดกิจกรรม Knowing Startup Business ยกทีมอาจารย์-นักศึกษาเยี่ยมชมโครงการ SPACE-F จุดประกายความคิดเชิงนวัตกรรม ต่อยอดงานวิจัยสู่การทำ Startup

31 พฤษภาคม 2566 ภาควิชาสรีรวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.อาทิตย์ ไชยร้องเดื่อ อาจารย์ ดร.คณิต ภู่ไข่ และ อาจารย์ ดร.เมธนียา ปิลันธนานนท์ พร้อมด้วยนักศึกษาระดับปริญญาโท และปริญญาเอก รวมกว่า 20 คน เยี่ยมชมโครงการ SPACE-F ผ่านกิจกรรม Knowing Startup Business ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และจุดประกายความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการพัฒนางานวิจัยจากภาควิชาสรีรวิทยาสู่งานนวัตกรรม ซึ่งสามารถต่อยอดสู่การเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น หรือ Startup ในอนาคตได้ ซึ่งศาสตร์สรีรวิทยาเป็นเป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของระบบต่าง ๆ ในสิ่งมีชีวิต ทั้งในด้านกลศาสตร์ ด้านกายภาพ และด้านชีวเคมี ครอบคลุมความรู้ในทุกระดับตั้งแต่ในระดับโมเลกุล ไปจนถึงความรู้ในระดับการทำงานของร่างกาย ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญของวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง โดยกิจกรรม Knowing Startup Business กับ SPACE-F ในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ ผู้ช่วยคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และคุณอนุสรา

ภาควิชาสรีรวิทยา จัดกิจกรรม Knowing Startup Business ยกทีมอาจารย์-นักศึกษาเยี่ยมชมโครงการ SPACE-F จุดประกายความคิดเชิงนวัตกรรม ต่อยอดงานวิจัยสู่การทำ Startup Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล มอบประกาศนียบัตรและแสดงความยินดีแก่ “รุกขกรระดับปฏิบัติการ” รุ่นที่ 3

17 มีนาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม ร่วมปลูกต้นพะยอมเป็นที่ระลึกร่วมกับ 11 ผู้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “รุกขกรระดับปฏิบัติการ” รุ่นที่ 3 ภาคปฏิบัติ ณ สนามฟุตซอล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ก่อนมอบประกาศนียบัตรและแสดงความยินดีแก่ผู้ผ่านโครงการอบรม ณ สวนป่า คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไทในพิธีปิดการอบรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล ได้กล่าวชื่นชมผู้เข้าร่วมอบรมทุกท่านที่สละเวลาและตั้งใจในการอบรมครั้งนี้ จากนั้นจึงเชิญผู้แทนทีมวิทยากรจากบริษัท Progression Trees จำกัด กล่าวสรุปการอบรม ผู้แทนผู้เข้าร่วมอบรมกล่าวความในใจ คณบดีกล่าวปิดการอบรม ก่อนปิดท้ายด้วยการมอบประกาศนียบัตรแก่ผู้เข้าร่วมโครงการคุณฐณพล สมาธิ ผู้แทนทีมวิทยากรจากบริษัท Progression Trees จำกัด กล่าวว่า ประทับใจผู้เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ ทุกคนพัฒนาทักษะขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แสดงถึงความมุ่งมั่นตั้งใจ

คณะวิทย์ ม.มหิดล มอบประกาศนียบัตรและแสดงความยินดีแก่ “รุกขกรระดับปฏิบัติการ” รุ่นที่ 3 Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมพิธีตั้งศาลพระภูมิและศาลตา-ยาย วิทยาลัยการจัดการ ม.มหิดล

17 มีนาคม 2566 ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารคณะ และสถาบันต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย อาจารย์ ดร.มีโชค ชูดวง รองคณบดีฝ่ายคลังและพัสดุ ผู้แทนคณบดี และคุณมลฤดี ธรรมรงค์ นักวิชาการเงินและบัญชี (ชำนาญการพิเศษ) งานคลังและพัสดุ ร่วมพิธีตั้งศาลพระภูมิและศาลตา-ยาย วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วิชิตา รักธรรม คณบดีวิทยาลัยการจัดการ ให้การต้อนรับ ณ อาคารมิว วิทยาลัยการจัดการ ถนนวิภาวดีรังสิต เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษภาพข่าวโดย : วิทยาลัยการจัดการเว็บมาสเตอร์ : นางสาวปัณณพร แซ่แพวันที่ 17 มีนาคม 2566

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมพิธีตั้งศาลพระภูมิและศาลตา-ยาย วิทยาลัยการจัดการ ม.มหิดล Read More »

Activity Photo

นักศึกษาแพทย์ ชั้นปีที่ 2 โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท แสดงความกตัญญูกตเวทิตา จัดพิธีอำลาร่างอาจารย์ใหญ่ ประจำปีการศึกษา 2565

11 มีนาคม 2566 นักศึกษาแพทย์ ชั้นปีที่ 2 โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล และคณาจารย์ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ จัดพิธีอำลาร่างอาจารย์ใหญ่ ประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 17 ร่าง ณ ห้องปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์ AN1-301 ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในการเรียนแพทย์ วิชาที่เป็นพื้นฐานสำคัญวิชาหนึ่งคือ วิชามหกายวิภาคศาสตร์ หรือ Gross anatomy ซึ่งนักศึกษาจะศึกษาโดยการผ่าร่างของผู้บริจาคร่างกายเพื่อการศึกษา หรือที่นักศึกษาแพทย์เรียกขานท่านว่า “อาจารย์ใหญ่” ความรู้ที่ได้จากร่างของอาจารย์ใหญ่ในทุกส่วนและทุกระบบของร่างกาย ที่ไม่มีตำราเล่มไหนหรือเทคโนโลยีใดมาทดแทนได้ นอกจากความรู้แล้วสิ่งที่นักศึกษาแพทย์ได้รับคือตัวอย่างของความเสียสละของอาจารย์ใหญ่ ที่จะเป็นแรงบันดาลใจในความเสียสละเมื่อสำเร็จการศึกษาเป็นแพทย์แล้ว และการทำงานเป็นทีมเมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอน นักศึกษาแพทย์ตระหนักถึงคุณูปการของอาจารย์ใหญ่ รวมถึงเป็นการแสดงถึงความกตัญญูกตเวทิตา จึงได้จัดพิธีอำลาร่างของอาจารย์ใหญ่ โดยมีการกล่าวบทบูชาครูและขอขมาอาจารย์ใหญ่ ตัวแทนนักศึกษาแพทย์กล่าวคำสดุดีอาจารย์ใหญ่ รองศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ อสุวพงษ์พัฒนา ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายแพทยศาสตร์ ประธานในพิธีฯ ได้กล่าวให้โอวาทกับนักศึกษา จากนั้นเป็นพิธีบรรจุร่างอาจารย์ใหญ่พร้อมจดหมายฉบับสุดท้ายที่นักศึกษาแพทย์เขียนถึงอาจารย์ใหญ่ใส่ในโลงศพ ที่ได้รับความอนุเคราะห์จากมูลนิธิร่วมกตัญญูมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ คุณเอกพันธ์ บันลือฤทธิ์ เป็นผู้แทนของมูลนิธิร่วมกตัญญูรับมอบใบประกาศเกียรติคุณและเงินบริจาคฯ จากภาควิชากายวิภาคศาสตร์ โดยรองศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์

นักศึกษาแพทย์ ชั้นปีที่ 2 โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท แสดงความกตัญญูกตเวทิตา จัดพิธีอำลาร่างอาจารย์ใหญ่ ประจำปีการศึกษา 2565 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับโรงเรียนมัธยมวัดใหม่กรงทอง ในพระราชูปถัมภ์ ฯ

          14 มีนาคม 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และพระมหาธนศักดิ์ ชื่นสว่าง ผู้จัดการโรงเรียนมัธยมวัดใหม่กรงทอง ในพระราชูปถัมภ์ ฯ ร่วมพิธีลงนามทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ โครงการพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการ           โดยรองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคือการสร้างพันธมิตร และผมเชื่อว่าโรงเรียนมัธยมวัดใหม่กรงทอง ในพระราชูปถัมภ์ ฯ ที่ให้ความสนใจด้านวิชาการ ด้านการพัฒนาเยาวชนคนรุ่นใหม่ มีจุดมุ่งหมายร่วมกันกับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และการที่เรามีความร่วมมือกันอย่างเป็นทางการจะเสริมให้เกิดประโยชน์หลากหลายด้านในอนาคต ผมเชื่อว่า MOU นี้จะเกิดประโยชน์กับทุก ๆ ฝ่าย           ในโอกาสอันดีนี้ คณะผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับโรงเรียนมัธยมวัดใหม่กรงทอง ในพระราชูปถัมภ์ ฯ Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานอย่างมีคุณธรรมและความโปร่งใสของคณะฯ

28 กุมภาพันธ์ 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานอย่างมีคุณธรรมและความโปร่งใสของคณะวิทยาศาสตร์ โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมเปิดกิจกรรม ณ ห้องประชุม K102 ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไทกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากทีมวิทยากร คุณสุนิสา ปริพฤติพงศ์ ตำแหน่ง นิติกร (ผู้ชำนาญการพิเศษ) หัวหน้างานธรรมาภิบาลและบริหารทั่วไป และคุณจักรกฤษณ์ พางาม ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป (ผู้ชำนาญการพิเศษ) จากกองกฎหมาย มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความรู้กับบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 65 คนคุณสุนิสา ปริพฤติพงศ์ ได้สรุปความสำคัญของการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส หลักเกณฑ์การประเมินฯ และวิธีการประเมิน พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์การเปิดเผยข้อมูลสาธารณะของคณะวิทยาศาสตร์ เพื่อให้บุคลากรรับทราบช่องทางในการสื่อสารเกี่ยวกับการดำเนินงานของคณะฯ ในด้านต่าง ๆ อาทิ แผนการดำเนินงานประจำปี รายงานการกำกับติดตามการดำเนินงานรอบ 6 เดือน รายงานผลการดำเนินงานประจำปี คู่มือการปฏิบัติงาน และคู่มือการให้บริการกับบุคคลภายนอก ระบบสารสนเทศสำหรับบุคคลภายนอก แผนและรายงานการใช้จ่ายงบประมาณของคณะฯ

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานอย่างมีคุณธรรมและความโปร่งใสของคณะฯ Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “รุกขกรระดับปฏิบัติการ” รุ่นที่ 3 เสริมทักษะการทำงานอย่างปลอดภัย ยกระดับการจัดการต้นไม้ในเมืองให้สวยงามและถูกต้องตามหลักวิชาการอย่างยั่งยืน

9 มีนาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “รุกขกรระดับปฏิบัติการ” รุ่นที่ 3 ถ่ายทอดองค์ความรู้การดูแลต้นไม้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ และความสวยงามตามรูปลักษณ์ของพรรณไม้แต่ละชนิด ยกระดับการจัดการต้นไม้ในเมือง และส่งเสริมการปฏิบัติงานรุกขกรอย่างปลอดภัย กับผู้เข้าร่วมอบรมจาก มหาวิทยาลัย องค์กรเอกชน และองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น จำนวน 19 คน โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม และ นายธราดล ทันด่วน วิทยากรหลัก ให้เกียรติร่วมพิธีเปิดโครงการอบรม ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไทรองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี กล่าวว่า คณะวิทยาศาสตร์จัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “รุกขกรระดับปฏิบัติการ” ขึ้นด้วยความเชื่อมั่นว่า องค์ความรู้ต้องได้รับการถ่ายทอดต่อไปสู่สังคม ตามปรัชญาของคณะวิทยาศาสตร์ที่มุ่งมั่นในการเป็น ‘สติของประชา ปัญญาของสังคม’ คณะวิทยาศาสตร์เองในอดีตก็มีเพียงตึกและพื้นที่โล่ง

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “รุกขกรระดับปฏิบัติการ” รุ่นที่ 3 เสริมทักษะการทำงานอย่างปลอดภัย ยกระดับการจัดการต้นไม้ในเมืองให้สวยงามและถูกต้องตามหลักวิชาการอย่างยั่งยืน Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับมหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่นจัดการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยในวาระครบรอบ 20 ปี การก่อตั้งหน่วยความร่วมมือการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยโอซาก้า (MU-OU:CRC) และหน่วยความร่วมมือการวิจัยสำหรับประเทศในตะวันออกเฉียงใต้ ศูนย์นานาชาติด้านเทคโนโลยีชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยโอซาก้า (OU:CRS)

       8 มีนาคม 2566 เวลา 9.00-13.00 น. หน่วยความร่วมมือการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยโอซาก้า (MU-OU:CRC) และหน่วยความร่วมมือการวิจัยสำหรับประเทศในตะวันออกเฉียงใต้ ศูนย์นานาชาติด้านเทคโนโลยีชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยโอซาก้า (OU:CRS) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับมหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น จัดงานประชุมสัมมนา “Commemorative Symposium of 20th Anniversary of OU-MU:CRC and OU:CRS” ในวาระครบรอบ 20 ปี แห่งการก่อตั้งหน่วยงานทั้งสอง ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ณ ห้องประชุม K102 ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และระบบ WebEx Meeting โดยมีวิทยากรจากมหาวิทยาลัยในเครือข่ายความร่วมมือ ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น      

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับมหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่นจัดการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยในวาระครบรอบ 20 ปี การก่อตั้งหน่วยความร่วมมือการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยโอซาก้า (MU-OU:CRC) และหน่วยความร่วมมือการวิจัยสำหรับประเทศในตะวันออกเฉียงใต้ ศูนย์นานาชาติด้านเทคโนโลยีชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยโอซาก้า (OU:CRS) Read More »

Activity Photo

iNT ร่วมกับคณะวิทย์ ม.มหิดล จัดโครงการอบรมการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมและการใช้ประโยชน์ภายใต้ TRIUP Act ทำความเข้าใจ พ.ร.บ. ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม ชี้แนวทางผลักดันงานวิจัยจากหิ้งสู่ห้าง

8 มีนาคม 2566 สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการอบรมการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมและการใช้ประโยชน์ภายใต้ TRIUP Act (TRIUP Act & Technology Commercialization) เปิดโอกาสให้อาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรที่ปฏิบัติงานภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำความเข้าใจ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 รวมไปถึงกฎหมายลำดับรอง และประกาศอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อชี้ให้เห็นความสำคัญของ ‘ทรัพย์สินทางปัญญา’ (Intellectual Property) ในยุคสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge based economy) ในปัจจุบัน ที่ทุกประเทศพยายามพัฒนานวัตกรรมและสร้างทรัพย์สินทางปัญญาต่าง ๆ ในการขับเคลื่อนและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และเพื่อจุดประกายสร้างแรงจูงใจให้อาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษามองถึงโอกาสในการนำผลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย ไปใช้ประโยชน์ต่อยอดในเชิงพาณิชย์ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของสังคมและประโยชน์ต่อสาธารณชนในครั้งนี้ โครงการอบรมฯ ได้รับเกียรติจาก 3 ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพย์สินทางปัญญาจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัครวิทย์

iNT ร่วมกับคณะวิทย์ ม.มหิดล จัดโครงการอบรมการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมและการใช้ประโยชน์ภายใต้ TRIUP Act ทำความเข้าใจ พ.ร.บ. ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม ชี้แนวทางผลักดันงานวิจัยจากหิ้งสู่ห้าง Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมงานครบรอบ 54 ปี วันพระราชทานนาม และ 135 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมร่วมยินดีกับ 15 คณาจารย์และบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ ผู้คว้า 6 รางวัลเชิดชูเกียรติ

2 มีนาคม 2566 ในโอกาสครบรอบ 54 ปี วันพระราชทานนาม และ 135 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึงผู้บริหารคณะ และสถาบันต่าง ๆ ภายใต้มหาวิทยาลัยมหิดล โดยผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี พร้อมด้วยคณาจารย์ และบุคลากรเข้าร่วมพิธีวางพานพุ่มถวายราชสักการะพระบรมรูปสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และพิธีเปิดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ครบรอบ 100 ปี วันประสูติ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ก่อนร่วมฟังปาฐกถาเกียรติยศ ศาสตราจารย์ นายแพทย์กษาน จาติกวนิช ครั้งที่ 12 เรื่อง “การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ในภาวะความไม่ยั่งยืนของการพัฒนา” โดย คุณวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ สมาชิกวุฒิสภา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ณ มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมงานครบรอบ 54 ปี วันพระราชทานนาม และ 135 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมร่วมยินดีกับ 15 คณาจารย์และบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ ผู้คว้า 6 รางวัลเชิดชูเกียรติ Read More »

งานนโยบายและพัฒนาคุณภาพคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดอบรมการเตรียมความพร้อมรับการตรวจประเมินหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ประจำปีงบประมาณ 2566

          วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566  เวลา 09.00-12.00 น.  ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข   งานนโยบายและพัฒนาคุณภาพ จัดอบรมการเตรียมความพร้อมรับการตรวจประเมินหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยใช้ AUN-QA CRITERIA VERSION 4.0  ในการจัดอบรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติศักดิ์ หยกทองวัฒนา รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและพัฒนานักศึกษา มาเป็นวิทยากร โดยมีผู้ที่สนใจเข้าร่วมรับฟัง จำนวนทั้งสิ้น 54 คน รับชมการประชุมย้อนหลัง / เอกสารประกอบการประชุม  (Intranet)

งานนโยบายและพัฒนาคุณภาพคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดอบรมการเตรียมความพร้อมรับการตรวจประเมินหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ประจำปีงบประมาณ 2566 Read More »