คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับมหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่นจัดการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยในวาระครบรอบ 20 ปี การก่อตั้งหน่วยความร่วมมือการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยโอซาก้า (MU-OU:CRC) และหน่วยความร่วมมือการวิจัยสำหรับประเทศในตะวันออกเฉียงใต้ ศูนย์นานาชาติด้านเทคโนโลยีชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยโอซาก้า (OU:CRS)

       8 มีนาคม 2566 เวลา 9.00-13.00 น. หน่วยความร่วมมือการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยโอซาก้า (MU-OU:CRC) และหน่วยความร่วมมือการวิจัยสำหรับประเทศในตะวันออกเฉียงใต้ ศูนย์นานาชาติด้านเทคโนโลยีชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยโอซาก้า (OU:CRS) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับมหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น จัดงานประชุมสัมมนา “Commemorative Symposium of 20th Anniversary of OU-MU:CRC and OU:CRS” ในวาระครบรอบ 20 ปี แห่งการก่อตั้งหน่วยงานทั้งสอง ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ณ ห้องประชุม K102 ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และระบบ WebEx Meeting โดยมีวิทยากรจากมหาวิทยาลัยในเครือข่ายความร่วมมือ ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น

       คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยโอซาก้า เป็นมหาวิทยาลัยพันธมิตรที่มีความร่วมมือทางวิชาการมาอย่างยาวนานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 ภายใต้โครงการความร่วมมือในระบบมหาวิทยาลัยแม่ข่าย (Core University System) ซึ่งเป็นโครงการแลกเปลี่ยนทางวิชาการในสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ ที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์การส่งเสริมวิชาการแห่งประเทศญี่ปุ่น หลังจากโครงการดังกล่าวประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดีจึงได้พัฒนาความร่วมมือทางวิชาการ และการวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพต่อไปอีกก้าวหนึ่ง ด้วยการจัดตั้งหน่วยความร่วมมือการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพ แห่งมหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยโอซาก้า หรือ MU–OU:CRC ขึ้น
พร้อมกับเปิดหน่วยความร่วมมือการวิจัย สำหรับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นสาขาต่างประเทศแห่งแรกของศูนย์นานาชาติด้านเทคโนโลยีชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยโอซาก้า (CRS, ICBiotech, Osaka University) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมนวัตกรรมและพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเน้นที่งานวิจัยและการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

      ในสัมมนาร่วมทางวิชาการครั้งนี้ มีผู้เชี่ยวชาญจากทั้ง 5 มหาวิทยาลัยร่วมนำเสนอและอภิปรายผลการวิจัยในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อความยั่งยืนโดย ทั้งหมด 8 หัวข้อ ได้แก่

1. Differentiation of Plant Stress Response: The Role of G protein Signaling and Gibberellin Detection
โดย อาจารย์. ดร.กุลพร บุณยะเวศ จากมหาวิทยาลัยมหิดล
2. Molecular responses of the crustacean Daphnia facing environmental changes
โดย Assoc. Prof. Dr.KATO Yasuhiko จากมหาวิทยาลัยโอซาก้า
3. Biological recycling of polyhydroxyalkanoates: sustainable approach for the biocircular green economy
โดย 
รศ. ดร.สุชาดา จันทร์ประทีป นภาธร จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
4. Studies on nitrating enzymes: Identification of a tyrosine-nitrating cytochrome P450 and
regioselectivity modfication of an aromatic N-oxygenase
โดย 
Assoc. Prof. Dr.TOMITA Hiroya จากมหาวิทยาลัยโอซาก้า
5. Reserch focus for KU-OU exchange program
โดย 
รศ. ดร.อรินทิพย์ ธรรมชัยพิเนต จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
6. Utilization of “cell factory” for the production of biological macromolecules
โดย Assoc. Prof. Dr.KAJIURA Hiroyuki จากมหาวิทยาลัยโอซาก้า
7. Lignin and its biological funtion: natural antioxidants and antimicrobial agents for biotechnological application
โดย 
ผศ. ดร.ปริปก พิศสุวรรณ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)
8. Design of mass culture process for stem cells based on cell manufacturability
โดย
 Assoc. Prof. Dr.YAMAMOTO Riku จากมหาวิทยาลัยโอซาก้า

      โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร. ชูวงศ์ เอื้อสุขอารี หัวหน้าหน่วยความร่วมมือวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยโอซาก้า (Mahidol University and Osaka University Collaborative Research Center หรือ
(MU-OU : CRC) คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับผู้เชี่ยวชาญจากทั้ง 5 มหาวิทยาลัย และเป็นผู้มอบของที่ระลึกสำหรับจัดการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยในวาระครบรอบ 20 ปีนี้

 

เขียนข่าว : นายธีรเทพ แก้วมณี
ตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษ
ภาพข่าวโดย: นางสาวสุภาวดี เพชรน้อย
เว็บมาสเตอร์: นายธีรเทพ แก้วมณี
วันที่ 8 มีนาคม 2566