ข่าวกิจกรรมปี 2565

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมคณบดีพบประชาคม (Meet the Dean) สรุปการดำเนินงานในปี 2565 และตอบคำถามชาวคณะวิทยาศาสตร์เพื่อช่วยกันพัฒนาปรับปรุงคณะฯ

          27 ธันวาคม 2565 ผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี สรุปการดำเนินงานในปี 2565 พร้อมชี้แจงนโยบายและแนวทางบริหารงานของผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปี 2566 เพื่อสื่อสารนโยบายและรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ระหว่างผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหาร ผ่านกิจกรรม Meet the Dean ในรูปแบบ Hybrid โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม ณ อาคารบรรยายรวม ห้อง L-02 (ตึกกลม) และระบบประชุมออนไลน์ WebEx Meeting           สำหรับปี 2566 นี้ คณะวิทยาศาสตร์ยังคงมุ่งเน้นพัฒนาองค์กรด้วยหลักการ ซ่อม (Learning/Innovative Organization) ซ่อมในหลาย ๆ เรื่อง ทำให้ดียิ่งขึ้น ปรับปรุงอาคารบรรยายรวม/ห้องบรรยายให้สะดวกสำหรับทุกเพศและแก่บุคคลทุพพลภาพ ปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน เปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิทัล (Digital Transformation) ต่อด้วยขั้นตอนที่สอง สร้าง […]

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมคณบดีพบประชาคม (Meet the Dean) สรุปการดำเนินงานในปี 2565 และตอบคำถามชาวคณะวิทยาศาสตร์เพื่อช่วยกันพัฒนาปรับปรุงคณะฯ Read More »

คณบดี ผู้บริหาร และบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตร เนื่องในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ ประจำปี พ.ศ.2566

             29 ธันวาคม 2565 คณบดี ผู้บริหาร และบุคลากร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตร เนื่องในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ ประจำปี พ.ศ.2565 ของมหาวิทยาลัยมหิดล ณ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และในวันเดียวกันนี้ผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ ได้เข้าสวัสดีปีใหม่ พร้อมส่งความสุขให้กับผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อพร้อมเป็นพลังที่สำคัญในการทำงานของมหาวิทยาลัยมหิดล ในปี 2566 ต่อไป

คณบดี ผู้บริหาร และบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตร เนื่องในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ ประจำปี พ.ศ.2566 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีทำบุญตักบาตรส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2566

               28 ธันวาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2566 จัดพิธีทำบุญวันขึ้นปีใหม่ ร่วมกันตักบาตรอาหารแห้งบริเวณซุ้มทางเดินเฟื่องฟ้า ถวายภัตตาหารและเครื่องไทยธรรมแด่พระภิกษุสงฆ์ จำนวน 9 รูป จากวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร ณ ลานใต้ตึกกลม นอกจากนี้ภายในงานยังจัดพิธีสวดมนต์อธิษฐาน เจริญจิตตภาวนาเพื่อถวายพระพรแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ขอให้ทรงหายจากพระอาการประชวรและมีพระพลานามัยแข็งแรงโดยเร็ววัน                ในโอกาสอันดีนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ประธานในพิธี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร  อาจารย์ และผู้ปฏิบัติงานสายสนับสนุนร่วมใจกันเข้าร่วมพิธี หลังจากนั้นบุคลากรสายสนับสนุนเข้ารับคำอวยพรปีใหม่จากท่านคณบดี และคณะผู้บริหาร พร้อมรับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน ณ บริเวณอาคารสตางค์ มงคลสุข เขียนข่าว : นายธีรเทพ แก้วมณี ตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีทำบุญตักบาตรส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2566 Read More »

Activity photo

หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาการวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) ลงพื้นที่ติดตามโครงการวิจัยของปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

19 ธันวาคม 2565 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิรินันท์ กุลชาติ รองผู้อำนวยการ บพค. พร้อมด้วยคณะผู้ทรงคุณวุฒิฯ รวมถึงนักวิเคราะห์โครงการ ร่วมลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินโครงการวิจัย ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 2 โครงการ1. โครงการภายใต้แผนงานข้อริเริ่มการวิจัยขั้นแนวหน้าประเทศไทย โปรแกรม 5 ส่งเสริมการวิจัยขั้นแนวหน้า และการวิจัยพื้นฐานที่ประเทศไทยมีศักยภาพ : โครงการ “บูรณาการองค์ความรู้พื้นฐานของระบบทางเดินอาหารกุ้งอย่างเป็นระบบ: โครงสร้าง บทบาทและหน้าที่” โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.รพีพรรณ วานิชวิริยกิจ สังกัดภาควิชากายวิภาคศาสตร์/ หน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง (Centex Shrimp) เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย2. แผนงานโครงการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือนานาชาติเพื่อการยกระดับความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัย/ สถาบันวิจัยไทย โปรแกรม 16 การปฏิรูประบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม Organization Bridging Fund : โครงการ “การผลิตกำลังคนคุณภาพสูงและการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาผ่านการสร้างความร่วมมือด้านนวัตกรรมทรัพยากรชีวภาพทางเคมีชีวภาพเมตาโบโลมิกส์ของสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและวัสดุเพื่อความยั่งยืน” โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.วิชัย ริ้วตระกูล สังกัดภาควิชาเคมี เป็นหัวหน้าโครงการโดยมี

หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาการวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) ลงพื้นที่ติดตามโครงการวิจัยของปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล Read More »

Activity photo

สวทช. ร่วมกับ JAXA คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และหน่วยงานคู่ความร่วมมือ ประกาศความสำเร็จของโครงการ AHiS Mission II ส่งมอบต้นกล้าราชพฤกษ์อวกาศแก่ 21 สถาบันการศึกษาทั่วประเทศ

20 ธันวาคม 2565 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น หรือ แจ็กซา (Japan Aerospace Exploration Agency: JAXA) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และหน่วยงานคู่ความร่วมมือ ส่งมอบ ‘ต้นกล้าราชพฤกษ์อวกาศ’ ภายใต้โครงการ Asian Herb in Space (AHiS) Mission II ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการด้านชีววิทยาอวกาศ (Space Biology) ให้แก่โรงเรียน มหาวิทยาลัย และหน่วยงานภาครัฐรวม 21 แห่งทั่วประเทศ เพื่อนำไปปลูกและต่อยอดสู่การเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากการศึกษาเปรียบเทียบการเติบโตระหว่างต้นราชพฤกษ์ที่ปลูกด้วยเมล็ดที่เดินทางไปอวกาศ กับต้นราชพฤกษ์ที่ปลูกด้วยเมล็ดปกติ ณ ห้องประชุม SD-601 อาคารสราญวิทย์ สวทช. อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานีการเดินทางของต้นกล้าราชพฤกษ์อวกาศให้เยาวชนและประชาชนชาวไทยได้เรียนรู้และใกล้ชิดเทคโนโลยีอวกาศมากยิ่งขึ้นในครั้งนี้ เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่าง สวทช. JAXA มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย กลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพอัจฉริยะ คณะวิทยาศาสตร์

สวทช. ร่วมกับ JAXA คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และหน่วยงานคู่ความร่วมมือ ประกาศความสำเร็จของโครงการ AHiS Mission II ส่งมอบต้นกล้าราชพฤกษ์อวกาศแก่ 21 สถาบันการศึกษาทั่วประเทศ Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

20 ธันวาคม 2565 ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยและส่วนงาน ซึ่งคณะวิทยาศาสตร์ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระชัย สิริพันธ์วราภรณ์ รองคณบดี อาจารย์ ดร.ธิติคม พัวพันสวัสดิ์ ประธานสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคุณชิตหทัย ภัทรธิยานนท์ หัวหน้างานศาลายา เข้าร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ณ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โดยร่วมลงนามถวายพระพรชัยมงคล ณ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษภาพข่าวโดย : คุณชิตหทัย ภัทรธิยานนท์,งานสื่อสารองค์กร สำนักงานอธิการบดีเว็บมาสเตอร์ : นางสาวปัณณพร แซ่แพวันที่ 20 ธันวาคม 2565

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแสดงความยินดีกับ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสครบรอบ 19 ปี การก่อตั้ง

19 ธันวาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย อาจารย์ ดร.มีโชค ชูดวง รองคณบดีฝ่ายคลังและพัสดุ เป็นผู้แทนคณบดี เข้าร่วมแสดงความยินดีกับ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสครบรอบ 19 ปีการก่อตั้ง ซึ่งได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิวิชญ์ เลี้ยงอิสสระ คณบดีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปณิชา นิติสกุลวุฒิ รองคณบดีฝ่ายบริหารและจัดการยุทธศาสตร์ ให้การต้อนรับพร้อมรับมอบเงินบริจาคจำนวน 2,000 บาทโดยในโอกาสนี้ได้ร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ถวายสังฆทาน จตุปัจจัยไทยธรรม และภัตตาหารเพล รวมถึงพิธีมอบรางวัลศิลปาวิชชาธร และมอบทุนการศึกษา ณ ห้อง 217 ชั้น 2 อาคารสิริวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายาคณะวิทยาศาสตร์ และ คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีความผูกพันกันแน่นแฟ้นมาอย่างยาวนาน ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นพ.พรชัย มาตังคสมบัติ อดีตคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดลในขณะนั้น

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแสดงความยินดีกับ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสครบรอบ 19 ปี การก่อตั้ง Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมถวายแจกันดอกไม้ และลงนามถวายพระพร สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา

19 ธันวาคม 2565 รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย อาจารย์ ดร.มีโชค ชูดวง รองคณบดีฝ่ายคลังและพัสดุ และ รองศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ อสุวพงษ์พัฒนา ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายแพทยศาสตร์ ทูลเกล้าฯ ถวายแจกันดอกไม้ และลงนามถวายพระพร สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ณ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เขียนข่าว : นางวริศรา ทาทอง ภาพข่าวโดย : นางวริศรา ทาทอง เว็บมาสเตอร์: นางสาวปัณณพร แซ่แพ วันที่ 19 ธันวาคม 2565

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมถวายแจกันดอกไม้ และลงนามถวายพระพร สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา Read More »

การติดตามผลการดำเนินงานตามข้อตกลงการปฏิบัติงานของส่วนงาน (PA-VISIT) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

       16 ธันวาคม 2565 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล เข้ารับฟังการติดตามผลการดำเนินงานตามข้อตกลงการปฏิบัติงานของส่วนงาน (PA-Visit) ประจำปีงบประมาณ 2566 ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ พร้อมด้วย ผู้บริหารของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับ และนำเสนอผลการดำเนินงานที่โดดเด่นในรอบปีงบประมาณที่ผ่านมา และแผนการดำเนินงานที่สำคัญของปีงบประมาณ 2566 ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมรับฟังข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน ในปีงบประมาณ 2566 ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์นที รักษ์พลเมือง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และผ่านระบบออนไลน์

การติดตามผลการดำเนินงานตามข้อตกลงการปฏิบัติงานของส่วนงาน (PA-VISIT) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 Read More »

คณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมโครงการสัมมนาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต สถาบันพระบรมราชชนก

       วันที่ 13-14 ธ.ค. 2565 คณาจารย์ปรีคลินิก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมโครงการสัมมนาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต สถาบันพระบรมราชชนก ณ โรงแรมเอเชีย เขตราชเทวี กรุงเทพฯ โดยวันแรกของการสัมมนา ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. นพ.วิชัย เทียนถาวร อธิการบดีสถาบันพระบรมราชชนก ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์การจัดตั้งสถาบันพระบรมราชชนกและกล่าวเปิดการสัมมนา รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมสัมมนา จากนั้นเป็นการแนะนำหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต สถาบันพระบรมราชชนก โดยอาจารย์ พญ.อุษา ศิริบุญฤทธิ์ โครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก ตามด้วยการบรรยายเรื่องหลักการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ Vertical and Horizontal Integration โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพ.ดนัย วังสตุรค ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การอภิปรายเรื่องการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ในโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท: ความสำเร็จและอุปสรรค โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ อสุวพงษ์พัฒนา

คณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมโครงการสัมมนาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต สถาบันพระบรมราชชนก Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแสดงความยินดีกับ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสครบรอบ 53 ปี การก่อตั้ง

14 ธันวาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระชัย สิริพันธ์วราภรณ์ รองคณบดี และ คุณชิตหทัย ภัทรธิยานนท์ หัวหน้างานศาลายา เป็นผู้แทนคณบดี เข้าร่วมแสดงความยินดีกับ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสครบรอบ 53 ปีการก่อตั้ง ซึ่งได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.เสาวคนธ์ รัตนวิจิตราศิลป์ คณบดีคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภัทรียา กิจเจริญ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร ให้การต้อนรับและเป็นผู้แทนรับมอบเงินบริจาคจากคณะวิทยาศาสตร์ จำนวน 2,000 บาทคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ก่อตั้งขึ้นเป็นคณะลำดับที่ 12 ของมหาวิทยาลัยมหิดล ตามประกาศของสำนักนายกรัฐมนตรี ถือกำเนิดขึ้นจากกระแสรับสั่งของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) เมื่อครั้งคณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ต้องการจะขยายมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ให้เป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์แบบ เพื่อให้สอดคล้องและตอบสนองต่อความต้องการของสังคมและประเทศ จึงขอพระบรมราชานุญาตเข้าเฝ้าเพื่อขอพระราชทานนาม “มหิดล” ให้เป็นชื่อของมหาวิทยาลัยที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่ โดยพระราชทานคำแนะนำว่า “ถ้าจะเพิ่มคณะขึ้นใหม่

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแสดงความยินดีกับ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสครบรอบ 53 ปี การก่อตั้ง Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษ Mahidol Science Café: Astrophysics and Space Science Projects in Korea and Thailand สร้างการรับรู้โครงการดาราศาสตร์ฟิสิกส์และอวกาศในเกาหลี-ไทย

14 พฤศจิกายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษ Mahidol Science Café ตอน Mahidol Science Cafe: Astrophysics and Space Science Projects in Korea and Thailand เปิดเวทีพูดคุยสร้างการรับรู้เกี่ยวกับโครงการดาราศาสตร์ฟิสิกส์และอวกาศในเกาหลีและไทย ทิศทางการวิจัย และการสร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศในอนาคต รวมถึงสร้างความเข้าใจ และเพิ่มการตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านดาราศาสตร์ฟิสิกส์และอวกาศ แก่ประชาคมอาจารย์ นักศึกษา และผู้สนใจด้านวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย เนื่องในโอกาสที่คณะผู้บริหารจาก Korea Astronomy & Space Science Institute (KASI) เดินทางเยือนประเทศไทย ณ ห้องประชุม K102 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ในการเสวนาครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก Dr. Young-Deuk Park, President of Korea Astronomy and

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษ Mahidol Science Café: Astrophysics and Space Science Projects in Korea and Thailand สร้างการรับรู้โครงการดาราศาสตร์ฟิสิกส์และอวกาศในเกาหลี-ไทย Read More »

Activity photo

ศูนย์ CENMIG ฉลองครบรอบ 2 ปี การก่อตั้ง จัดกิจกรรม Free public lectures และ Entry-Level Genomics Workshop เผยแพร่องค์ความรู้ด้านจีโนมิกส์สู่สังคม

7 ธันวาคม 2565 ศูนย์วิจัยจีโนมจุลินทรีย์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ พรชัย มาตังคสมบัติ จัดกิจกรรม Free public lectures ครบรอบ 2 ปี การก่อตั้งศูนย์วิจัยจีโนมจุลินทรีย์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ พรชัย มาตังคสมบัติ “Pornchai Matangkasombut Center for Microbial Genomics (CENMIG)” เพื่อการควบคุมรักษาโรคติดเชื้อสำคัญ ณ อาคารสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ซึ่งได้รับความสนใจจากนักศึกษาและนักวิจัยเข้าร่วมกว่า 67 คนในโอกาสอันดีนี้ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นพ.พรชัย มาตังคสมบัติ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้วางรากฐานอันแข็งแกร่งให้แก่การเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา และการวิจัยด้านจุลชีววิทยาของประเทศ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และแขกผู้มีเกียรติอีกมากมาย ร่วมพิธีเปิดและแสดงความยินดี โดยมี ศาสตราจารย์ นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์

ศูนย์ CENMIG ฉลองครบรอบ 2 ปี การก่อตั้ง จัดกิจกรรม Free public lectures และ Entry-Level Genomics Workshop เผยแพร่องค์ความรู้ด้านจีโนมิกส์สู่สังคม Read More »

Activity photo

คณาจารย์ และบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการนานาชาติ The 48th International Congress on Science, Technology and Technology-based Innovation (STT48)

29 พฤศจิกายน 2565 คณาจารย์ นักศึกษา และบัณฑิต จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึง ศาสตราจารย์ ดร.เทวัญ จันทร์วิไลศรี อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี รองศาสตราจารย์ ดร. เอกสิทธิ์ สมสุข อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อุ่นใจ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา ได้เข้าร่วมการประชุมวิชาการนานาชาติ The 48th International Congress on Science, Technology and Technology-based Innovation (STT48) ณ อาคารศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราชในงานนี้ ศาสตราจารย์ ดร.เทวัญ จันทร์วิไลศรี อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี ได้ร่วมจัดงานโดยเป็นประธานดูแลการนำเสนอผลงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้รวมถึงเป็นกรรมการตัดสินรางวัลการนำเสนอใน Session B1: Biological Science ซึ่งครอบคลุมสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพใน 6 หัวข้อ ได้แก่ ชีวเคมี (Biochemistry), เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology), จุลชีววิทยา

คณาจารย์ และบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการนานาชาติ The 48th International Congress on Science, Technology and Technology-based Innovation (STT48) Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดบรรยายพิเศษ Mahidol Science Research Forum “Polymer Based Nanosystems and Hydrogels for Biomedical Applications”

30 พฤศจิกายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับเกียรติจาก Prof. Ravin Narain จาก Department of Chemical and Materials Engineering, Donadeo Innovation Centre for Engineering จากมหาวิทยาลัยอัลเบอร์ตา ประเทศแคนาดา มาบรรยายพิเศษ ในกิจกรรม Mahidol Science (MUSC) Research Forum หัวข้อเรื่อง Polymer Based Nanosystems and Hydrogels for Biomedical Applications โดยได้รับเกียรติจาก คุณ Poornima Ramesh Lyer นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรวิทยาศาตร์และวิศวกรรมวัสดุ กลุ่มสาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ เป็นผู้ดำเนินรายการ และ ศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง กล่าวเปิดกิจกรรมการบรรยายพิเศษในครั้งนี้ ด้วยความร่วมมือจากงานวิจัย กลุ่มสาขาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดบรรยายพิเศษ Mahidol Science Research Forum “Polymer Based Nanosystems and Hydrogels for Biomedical Applications” Read More »

Activity photo

ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม Biology Pitching Day นำเสนอแนวคิดนวัตกรรมจากองค์ความรู้ชีววิทยา ส่งเสริมการประยุกต์ใช้องค์ความรู้อย่างสร้างสรรค์

25 พฤศจิกายน 2565 ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมวัน pitching day : การนำเสนอแนวคิดนวัตกรรมจากองค์ความรู้ชีววิทยา เปิดเวทีให้นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาควิชาชีววิทยา ที่ลงเรียนในรายวิชา Biocreative process and design (SCBI 428) นำเสนอแนวคิดนวัตกรรมจากองค์ความรู้ชีววิทยา ณ ห้อง N516 ภาคชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ ผ่านระบบ online WebEx Meeting โดยมีผู้รู้จริงจากวงการสตาร์ทอัพ ได้แก่ คุณชาคริต จันทร์รุ่งสกุล ผู้ก่อตั้งและ CEO Fireoneone, ที่ปรึกษาระดับชาติด้านการทำ Business Transformation และโรงเรียนผู้ประกอบการ Wecosystem, ผศ.ดร.ป๋วย อุ่นใจ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา, นักวิจัย, นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และคอลัมนิสต์ประจำมติชนสุดสัปดาห์ และ ดร.ชนกพร พัวพัฒนกุล อาจารย์การสื่อสารสำหรับผู้ประกอบการ,

ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม Biology Pitching Day นำเสนอแนวคิดนวัตกรรมจากองค์ความรู้ชีววิทยา ส่งเสริมการประยุกต์ใช้องค์ความรู้อย่างสร้างสรรค์ Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมนำเสนอผลงานพัฒนาคุณภาพการทำงาน คว้า 2 รางวัล Popular Vote ในงานมหกรรมคุณภาพ Mahidol Quality Fair 2022

29 พฤศจิกายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมนำเสนอโครงการ 2 ผลงานพัฒนาคุณภาพการทำงาน คว้ารางวัล Popular Vote ในงานมหกรรมคุณภาพ Mahidol Quality Fair 2022 เวทีจัดแสดงผลงานการพัฒนางานจากบุคลากรของมหาวิทยาลัย ซึ่งจัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 9 ภายใต้หัวข้อ”Good Governance in Digital Era: ธรรมาภิบาลในยุคดิจิทัล” ณ มหิดลสิทธาคาร และศูนย์ประชุมและอาคารจอดรถมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายาโดยกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร. ภญ.จุฑามณี สุทธิสีสังข์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานเปิดงานมหกรรมคุณภาพ ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เป็นผู้บรรยายพิเศษเรื่อง “บทบาทมหาวิทยาลัยกับการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล” ทั้งยังได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ในองค์กรจากหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมการเสวนา “Digital Transformation” โดยมี อาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง หัวหน้าภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ดำเนินการเสวนาสำหรับการนำเสนอผลงานในปีนี้

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมนำเสนอผลงานพัฒนาคุณภาพการทำงาน คว้า 2 รางวัล Popular Vote ในงานมหกรรมคุณภาพ Mahidol Quality Fair 2022 Read More »

พิธีถวายราชสดุดีและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ 5 ธันวาคม 2565

2 ธันวาคม 2565 ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยและส่วนงาน ซึ่งคณะวิทยาศาสตร์ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระชัย สิริพันธ์วราภรณ์ รองคณบดี และ อาจารย์ ดร.ธิติคม พัวพันสวัสดิ์ ประธานสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยคณาจารย์ และบุคลากรงานศาลายา ได้ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรบำเพ็ญกุศลถวายเป็นพระราชกุศล และพิธีถวายราชสดุดี พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ ณ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โดยร่วมตักบาตรพระภิกษุสงฆ์และสามเณร จำนวน 30 รูป ก่อนเข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์โดยพระสงฆ์ จำนวน 10 รูป และกล่าวถวายราชสดุดี ณ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายาพร้อมกันนั้น คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท จัดพิธีถวายราชสดุดี เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล

พิธีถวายราชสดุดีและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ 5 ธันวาคม 2565 Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “Fundamental Biosafety for BSL-2 (English Version)” เสริมความรู้และทักษะการทำวิจัยในห้องปฏิบัติการทางชีวภาพอย่างปลอดภัยตามมาตรฐานสากล

28 – 29 พฤศจิกายน 2565 งานวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพ จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “Fundamental Biosafety for BSL-2 (English Version)” เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย มาตรฐาน และแนวปฏิบัติต่าง ๆ ทางด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ ฝึกฝนทักษะเกี่ยวกับการทำงานในห้องปฏิบัติการทางชีวภาพตามมาตรฐานในระดับสากล รวมถึงกระตุ้นเตือนถึงการปฏิบัติงานให้ปลอดภัยต่อตนเอง บุคคลอื่น และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม โดยมี ศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกร ชลภัทร สุขเกษม ประธานคณะกรรมการควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้เกียรติร่วมเป็นวิทยากรรับเชิญ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ ร่มแสง ประธานคณะกรรมการควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ชี้แจงภาพรวมและดำเนินกิจกรรมในการอบรมทั้งภาคบรรยายและภาคปฏิบัติการ ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์มงคลสุขการอบรมในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งบุคคลภายในและภายนอกกว่าร้อยคน อาทิ เจ้าหน้าที่บริหารชีวนิรภัยของหน่วยงาน (BSO) นักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ รวมทั้งบุคลากรทางการแพทย์ ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับเชื้อโรคหรือพิษจากสัตว์ จากหน่วยงานต่าง

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “Fundamental Biosafety for BSL-2 (English Version)” เสริมความรู้และทักษะการทำวิจัยในห้องปฏิบัติการทางชีวภาพอย่างปลอดภัยตามมาตรฐานสากล Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมศึกษาดูงานหลักสูตรแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

28 พฤศจิกายน 2565 คณะผู้บริหาร อาจารย์ เจ้าหน้าที่ คณะแพทยศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก คณะผู้บริหารศูนย์แพทย์ศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิกโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ โรงพยาบาลนครศรีธรรมราช โรงพยาบาลราชบุรี คณะวิทยาศาสตร์ และ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ศึกษาดูงานการจัดการศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อนำมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานของ คณะแพทยศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก โดยมี รองศาสตราจารย์ นพ.ศักนัน มะโนทัย รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารคณะแพทยศาสตร์ ให้การต้อนรับและบรรยายหัวข้อที่เกี่ยวข้องอาทิ Outcome-based & integrated pre-clerkship curriculum, Holistic at-risk student, Student engagement และ Technology in medical education คณะวิทยาศาสตร์ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ อสุวพงษ์พัฒนา ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายแพทยศาสตร์ พร้อมด้วยอาจารย์จากภาควิชาปรีคลินิก ได้แก่ รองศาสตราจารย์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมศึกษาดูงานหลักสูตรแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อสังคมใน “วันนิทรรศการวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า 2565”

29 – 30 พฤศจิกายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ ผู้ช่วยคณบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลิตา คงฤทธิ์ รองหัวหน้าภาควิชาชีววิทยา และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พูนทวี แซ่เตีย อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อสังคมใน “วันนิทรรศการวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า 2565” ณ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จังหวัดนครนายก โดยในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 ได้จัดแสดงผลงานให้แก่นักเรียนโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเข้าชม ซึ่งได้รับความสนใจจากนักเรียนจำนวนมาก และต่อมาในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 จึงนำเสนอผลงานแก่ พลโท ปิยพงศ์ กลิ่นพันธุ์ ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า และคณะผลงานวิจัยและนวัตกรรมเด่นที่นำเสนอในปีนี้ ได้แก่ หน่วยปฏิบัติการชีววิทยาศาสตร์ระบบดิจิทัล (Digital Bioscience Laboratory) ซึ่ง อาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลิตา คงฤทธิ์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อสังคมใน “วันนิทรรศการวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า 2565” Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษ Nobel Prize in Mahidol Science Cafe Vol.3 หัวข้อ Spooky action at a distance: quantum entanglement that frightened Einstein wins 2022 Nobel prize in Physics เจาะลึกวิวัฒนาการทฤษฎีควอนตัมและการประยุกต์ใช้

31 ตุลาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษ Nobel Prize in Mahidol Science Cafe Vol.3 หัวข้อ Spooky action at a distance: quantum entanglement that frightened Einstein wins 2022 Nobel prize in Physics แบบ Hybrid ปิดท้ายเสวนาซีรีส์โนเบลประจำปี 2565 โดยได้รับเกียรติจากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านควอนตัม ศิษย์เก่าภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อาทิ ดร. ธนภัทร์ ดีสุวรรณ จากภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, ดร.เอกรัฐ พงษ์โอภาส และ ดร. รุจิภาส บวรทวีปัญญา จากสาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, และ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษ Nobel Prize in Mahidol Science Cafe Vol.3 หัวข้อ Spooky action at a distance: quantum entanglement that frightened Einstein wins 2022 Nobel prize in Physics เจาะลึกวิวัฒนาการทฤษฎีควอนตัมและการประยุกต์ใช้ Read More »

Activity photo

สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ร่วมมือกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเวที pitching ประชันไอเดียและนวัตกรรมอาหารสุดล้ำในงาน DEMO DAY for Mahidol Pre-incubation Program for SPACE-F

25 พฤศจิกายน 2565 สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ร่วมมือกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดยหน่วยพัฒนาธุรกิจ (Business Development Unit : BDU) งานพันธกิจพิเศษ จัดกิจกรรม DEMO DAY for Mahidol Pre-incubation Program for SPACE-F เปิดเวที Pitching ให้กับทีม Food Tech Startup หน้าใหม่ในรั้วมหาวิทยาลัยมหิดล ประชันไอเดียและนวัตกรรมอาหารสุดล้ำภายใต้โครงการ Mahidol Pre-incubation for SPACE-F ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุขMahidol Pre-incubation for SPACE-F เป็นโครงการบ่มเพาะทีม Startup ที่มาจากการรวมตัวของนักศึกษา อาจารย์ และนักวิจัยในมหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีการติวเข้มในด้านต่างๆ ได้แก่ การพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์และตลาด การจัดทำแบบจำลองธุรกิจและแผนพัฒนาธุรกิจ รวมถึงทักษะการเป็นผู้ประกอบการในยุคปัจจุบัน ซึ่งจัดขึ้นในรูปแบบสัมมนาและอบรมเชิงปฏิบัติการ Workshop

สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ร่วมมือกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเวที pitching ประชันไอเดียและนวัตกรรมอาหารสุดล้ำในงาน DEMO DAY for Mahidol Pre-incubation Program for SPACE-F Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารจาก Osaka University พร้อมหารือเพื่อขยายความร่วมมือทางวิชาการเพิ่มเติม

22 พฤศจิกายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี ศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติศักดิ์ หยกทองวัฒนา รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและพัฒนานักศึกษา และ รองศาสตราจารย์ ดร.ชูวงศ์ เอื้อสุขอารี หัวหน้าหน่วยความร่วมมือการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพ แห่งมหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยโอซาก้า (MU-OU:CRC) พร้อมด้วยคณาจารย์จากภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ และศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยโอซาก้า ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารจาก Osaka University นำโดย Prof. Genta Kawahara, Executive Vice President, Prof. Kiyoshi Fujita, Senior Advisor to the President, Center for Global Initiatives/Center for International Affairs Graduate School of

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารจาก Osaka University พร้อมหารือเพื่อขยายความร่วมมือทางวิชาการเพิ่มเติม Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัด Workshop ติวเข้มเสริมทักษะผู้ประกอบการยุคใหม่ให้กับ 12 ทีม Food tech Startup โครงการ Mahidol Pre-incubation for SPACE-F

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดยหน่วยพัฒนาธุรกิจ (Business Development Unit : BDU) งานพันธกิจพิเศษ ร่วมมือกับสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) จัดกิจกรรมภายใต้โครงการ Mahidol Pre-incubation for SPACE-F ซึ่งเป็นโครงการบ่มเพาะทีมสตาร์ทอัพที่มาจากนักศึกษา อาจารย์ และนักวิจัย ในมหาวิทยาลัยมหิดล ในรูปแบบสัมมนาและอบรมเชิงปฏิบัติการ Workshop ต่าง ๆ รวมถึงการให้คำปรึกษากับทีมสตาร์ทอัพที่ได้รับคัดเลือกให้มาร่วมกิจกรรมเดือนตุลาคม ก่อนจะเปิดเวที Pitching นำเสนอผลงานในวัน Demo day ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 นี้ ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตพญาไทโครงการ Mahidol Pre-incubation for SPACE-F มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการบ่มเพาะผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) จากกลุ่มนักศึกษา อาจารย์ และ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดลในด้านต่างๆ ที่ SPACE-F ให้ความสนใจ ได้แก่ Health

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัด Workshop ติวเข้มเสริมทักษะผู้ประกอบการยุคใหม่ให้กับ 12 ทีม Food tech Startup โครงการ Mahidol Pre-incubation for SPACE-F Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สานสัมพันธ์ หารือ MOU ร่วมกับกรมทรัพยากรธรณี วิจัยรอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย

10 พฤศจิกายน 2565 รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระชัย สิริพันธ์วราภรณ์ รองคณบดี อาจารย์ ดร.ภูวิศ อมาตยกุล และอาจารย์ ดร.สุทธิพงษ์ น้อยสกุล อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ ได้เข้าพบ ดร.อรนุช หล่อเพ็ญศรี อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี ณ ห้องประชุมกรมทรัพยากรธรณี เพื่อแสดงความยินดีในโอกาสเข้ารับตำแหน่งและหารือถึงความร่วมมือด้านต่าง ๆ โดยมี นายทินกร ทาทอง ผู้อำนวยการกองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม ดร.ธิติ ตุลยาทิตย์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ และนางสาววรรณพร ปัญญาไว นักธรณีวิทยาชำนาญการ ร่วมให้ข้อมูลถึงประเด็นความร่วมมือด้านวิชาการเพื่อนำไปสู่การวิจัยที่ตอบสนองต่อความต้องการของท้องถิ่นและระดับประเทศ โดยหนึ่งในความสนใจที่มีร่วมกันคือ การศึกษารอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย ที่จะได้ร่วมกันนำความรู้ของบุคลากรทั้งสององค์กรมาประยุกต์ใช้ให้เกิดการบูรณาการงานวิจัยให้เป็นรูปธรรม และสามารถนำองค์ความรู้ดังกล่าวมาเผยแพร่ต่อประชาชนให้มีความรู้ความเข้าใจในรูปแบบที่ง่ายยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังได้ร่วมกันวางแนวทางความร่วมมือด้านการวิจัยในสาขาอื่น ๆ ต่อไปในอนาคตอีกด้วย เขียนข่าว : นางวริศรา ทาทองตรวจสอบโดย : นางสาวปัณณพร แซ่แพภาพข่าวโดย : นางวริศรา

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สานสัมพันธ์ หารือ MOU ร่วมกับกรมทรัพยากรธรณี วิจัยรอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมให้ความรู้และฝึกอบรมเกี่ยวกับการจับสัตว์เลื้อยคลาน (งู) “ทำอย่างไรเมื่องูเข้าบ้าน รู้เท่าทันอสรพิษเพื่อความปลอดภัย” สร้างการรับรู้ที่ถูกต้องเมื่อต้องเผชิญหน้ากับงู

9 พฤศจิกายน 2565 ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมให้ความรู้และฝึกอบรมเกี่ยวกับการจับสัตว์เลื้อยคลาน “ทำอย่างไรเมื่องูเข้าบ้าน รู้เท่าทันอสรพิษเพื่อความปลอดภัย” เพื่อให้บุคลากร นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทรัพยากรชีวภาพและชีววิทยาสภาวะแวดล้อม (หลักสูตรนานาชาติ) รายวิชา SCBE 392 Herpetology และนักศึกษาหลักสูตรอื่น ๆ ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับงูจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญ รู้จักงูทั้งแบบมีพิษและไม่มีพิษ รวมถึงฝึกใช้อุปกรณ์เพื่อรับมือและจัดการเมื่อต้องเผชิญหน้ากับงู ไปจนถึงฝึกปฏิบัติวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างถูกวิธีเมื่อถูกงูกัด โดยได้รับเกียรติจาก จ่าสิบตํารวจภิญโญ พุกภิญโญ และทีมวิทยากรและผู้ฝึกสอนจาก Youtube Channel: Snake Wrangler by Pinyo หน่วยป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สถานีดับเพลิงและกู้ภัยบางเขน และ อาจารย์ ดร.นภัทร รัตน์นราทร อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา เป็นผู้ดำเนินรายการ โดยทีมวิทยากรได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้สัมผัสกับงู และรู้จักงูชนิดต่าง ๆ ทั้งมีพิษ และไม่มีพิษ ที่มักจะชอบเข้ามาหรืออยู่ใกล้ชิดกับบ้านเรือนและชุมชนซึ่งเราสามารถพบเจอได้บ่อย ก่อนแนะนำวิธีการรับมือและจัดการเมื่อต้องเผชิญหน้ากับงู สาธิตการรับมือเมื่องูเข้าบ้าน และวิธีป้องกันงูเข้าบ้านตามความเชื่อที่สามารถใช้ได้จริง เพื่อลดการสูญเสียชีวิตของทั้งเราและงู พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ทดลองปฏิบัติจริง โดยมีทีมวิทยากรดูแลอย่างใกล้ชิด จากนั้นจึงให้ความรู้เรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อถูกงูกัดที่ถูกต้อง และข้อห้ามต่าง

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมให้ความรู้และฝึกอบรมเกี่ยวกับการจับสัตว์เลื้อยคลาน (งู) “ทำอย่างไรเมื่องูเข้าบ้าน รู้เท่าทันอสรพิษเพื่อความปลอดภัย” สร้างการรับรู้ที่ถูกต้องเมื่อต้องเผชิญหน้ากับงู Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษ Mahidol Science Café ตอน Blood Moon Party: ลอยกระทงไม่เหงา เพราะเรามาดูจันทรุปราคาด้วยกัน เปิดบ้านตั้งกล้องส่องเพ็ญเดือน 12 สีเลือดรอบสุดท้ายของปี 2565

8 พฤศจิกายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษ Mahidol Science Café ตอน Blood Moon Party: ลอยกระทงไม่เหงา เพราะเรามาดูจันทรุปราคาด้วยกัน เปิดโอกาสให้น้อง ๆ นักเรียน นักศึกษา อาจารย์และผู้สนใจร่วมส่องกล้องโทรทรรศน์ดูปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง “จันทร์เพ็ญสีเลือดเดือน 12” ในวันลอยกระทง พร้อมฟังสาระน่ารู้ของปรากฏการณ์จันทรุปราคาและดวงจันทร์ และถามตอบแลกเปลี่ยนความรู้กับอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านดาราศาสตร์และฟิสิกส์อวกาศ อาทิ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เดวิด จอห์น รูฟโฟโล, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วฤทธิ์ มิตรธรรมศิริ, อาจารย์ ดร.เพชระ ภัทรกิจวานิช นักฟิสิกส์อวกาศและอาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ และทีมนักวิจัยจากห้องปฏิบัติการฟิสิกส์อวกาศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ณ ระเบียงหน้าห้อง R603 อาคารวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท โดยกิจกรรมในครั้งนี้มีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 104 คนศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เดวิด จอห์น รูฟโฟโล ได้อธิบายเกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์นี้ว่า “จันทรุปราคา”

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษ Mahidol Science Café ตอน Blood Moon Party: ลอยกระทงไม่เหงา เพราะเรามาดูจันทรุปราคาด้วยกัน เปิดบ้านตั้งกล้องส่องเพ็ญเดือน 12 สีเลือดรอบสุดท้ายของปี 2565 Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษ Nobel Prize in Mahidol Science Cafe Vol.2: สู่ยุคของโมเลกุลเชิงหน้าที่ Click Chemistry and Bioorthogonal Chemistry: Entering the Era of Functionalism เปิดโลกการค้นพบองค์ความรู้ใหม่ด้วยการวิจัยวิทยาศาสตร์พื้นฐาน

31 ตุลาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษ Nobel Prize in Mahidol Science Cafe Vol.2: สู่ยุคของโมเลกุลเชิงหน้าที่ Click Chemistry and Bioorthogonal Chemistry: Entering the Era of Functionalism แบบ Hybrid ซึ่งนับเป็นตอนที่ 2 ของเสวนาซีรีส์โนเบลประจำปี 2565 โดยได้รับเกียรติจากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญการสร้างและประยุกต์ใช้ Click Chemistry and Bioorthogonal Chemistry ของมหาวิทยาลัยมหิดล อาทิ รองศาสตราจารย์ ดร.ปรียานุช แสงไตรรัตน์นุกูล อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ อาจารย์ ดร.สิทธิวุฒิ เจริญสุทธิวรากุล อาจารย์ประจำกลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพอัจฉริยะ คณะวิทยาศาสตร์ อาจารย์ ดร.ณัฐวดี ปัญญาอินทร์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ และ อาจารย์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษ Nobel Prize in Mahidol Science Cafe Vol.2: สู่ยุคของโมเลกุลเชิงหน้าที่ Click Chemistry and Bioorthogonal Chemistry: Entering the Era of Functionalism เปิดโลกการค้นพบองค์ความรู้ใหม่ด้วยการวิจัยวิทยาศาสตร์พื้นฐาน Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับมอบเครื่อง Steam Explosion จากบริษัท พีทีที โกลบอล จำกัด (มหาชน) พร้อมหารือความร่วมมือด้านวิชาการ พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งอนาคต

7 พฤศจิกายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี ศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ ผู้ช่วยคณบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เปรมวดี วงษ์แสงจันทร์ หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมชาย เชื้อวัชรินทร์ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ (CEMB) พร้อมด้วยคณาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ รองศาสตราจารย์ ดร.มานพ สุพรรณธริกา อาจารย์ ดร.พรรณวจี พยงค์ศรี และบุคลากรงานศาลายา ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารจากบริษัท พีทีที โกลบอล จำกัด (มหาชน) นำโดย Mr. Kamel Ramdani, Senior Vice President of Science & Innovation คุณธาตรี สารีบุตร ผู้จัดการฝ่าย

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับมอบเครื่อง Steam Explosion จากบริษัท พีทีที โกลบอล จำกัด (มหาชน) พร้อมหารือความร่วมมือด้านวิชาการ พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งอนาคต Read More »