ข่าวกิจกรรมปี 2565

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับศูนย์ MIND และ iNT หารือความร่วมมือทางวิชาการ Innobic พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านชีวภาพสร้าง Product Champion ร่วมกันในอนาคต

2 พฤศจิกายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยหน่วยพันธกิจพิเศษด้านพัฒนาธุรกิจ หรือ BDU (Business Development Unit) และงานวิจัย นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.วีระชัย สิริพันธ์วราภรณ์ รองคณบดี และรองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ ผู้ช่วยคณบดี ร่วมกับ รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คัคนานต์ สรุงบุญมี ผู้แทนศูนย์พัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ (Medical Innovations Development Center) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ให้การต้อนรับ คุณณัฐ อธิวิทวัส กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด (Innobic (Asia) Company Limited) และคุณวรกันต์ บูรพาธนะ หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยีและนวัตกรรม […]

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับศูนย์ MIND และ iNT หารือความร่วมมือทางวิชาการ Innobic พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านชีวภาพสร้าง Product Champion ร่วมกันในอนาคต Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล และวิทยาลัยการจัดการ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ(MOU) จัดทำโครงการความร่วมมือระหว่างหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต – หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต

          วันที่ 31 ตุลาคม 2565 รศ. ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และรศ. ดร. วิชิตา รักธรรม คณบดีวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมพิธีลงนามทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ โครงการ B.Sc. – M.M. ความร่วมมือระหว่างหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต – หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต           ซึ่งเป็นหลักสูตรเร่งรัดตรีควบโท หรือหลักสูตร 4+1 ภายใต้แนวคิด “นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ หัวใจบริหาร” เป็นหลักสูตรที่ได้รับการออกแบบเนื้อหาและกระบวนการการเรียนการสอนซึ่งเน้นสร้างความรู้ความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประสมประสานกับทักษะที่เกี่ยวข้องทางด้านการบริหารจัดการ เพื่อรองรับการขยายตัวของภาคธุรกิจและโอกาสในการประกอบอาชีพในอนาคตให้แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล โดยหลักสูตรดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยมหิดลในการสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรที่มีความยืดหยุ่น (Flexi Education) โดยพิธีลงนามจัดขึ้น ณ ห้อง K101 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท เขียนข่าว : นายธีรเทพ แก้วมณีตรวจสอบโดย

คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล และวิทยาลัยการจัดการ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ(MOU) จัดทำโครงการความร่วมมือระหว่างหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต – หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านต้อนรับน้อง ๆ นักเรียนระดับมัธยมจากทั่วประเทศ จัดเต็มกว่า 53 กิจกรรมให้ทดลองจริง ในงาน “มหิดลวิชาการ เปิดบ้านมหิดล ประจำปี 2565” ภายใต้แนวคิด “WE’RE BACK AND WHAT’S NEXT”

28 ตุลาคม 2565 ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานเปิดงาน “มหิดลวิชาการ เปิดบ้านมหิดล ประจำปี 2565″ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เรืออากาศโท ทพ.ชัชชัย คุณาวิศรุต รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดงาน ซึ่งในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และคณะผู้บริหารส่วนงาน พร้อมทั้งคณาจารย์ และนักเรียนจากโรงเรียนต่าง ๆ เข้าร่วมพิธีเปิดพร้อมเยี่ยมชมกิจกรรมภายในห้อง 218 ชั้น 2 อาคารสิริวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลสำหรับกิจกรรมในครั้งนี้นับเป็นการเปิดบ้านมหาวิทยาลัยมหิดลต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 11 ในวันที่ 28 – 29 ตุลาคม 2565 ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เพื่อประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย รวมทั้งส่วนงานในสังกัดมหาวิทยาลัยมหิดลให้เป็นที่รู้จักแก่บุคคลภายนอกมากยิ่งขึ้นผ่าน 4 กิจกรรมหลัก ได้แก่ Mahidol Admission, Mahidol

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านต้อนรับน้อง ๆ นักเรียนระดับมัธยมจากทั่วประเทศ จัดเต็มกว่า 53 กิจกรรมให้ทดลองจริง ในงาน “มหิดลวิชาการ เปิดบ้านมหิดล ประจำปี 2565” ภายใต้แนวคิด “WE’RE BACK AND WHAT’S NEXT” Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ฉลองครบรอบ 64 ปี วันคล้ายวันสถาปนาคณะฯ อย่างยิ่งใหญ่

21 ตุลาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มอบรางวัล Mahidol Science Communicator Award 2022 ยกย่องนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ของประเทศไทยต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 เพื่อเป็นกำลังใจและร่วมผลักดันสังคมไทยสู่สังคมตื่นรู้วิทยาศาสตร์และเท่าทันโลก รวมถึงรางวัลอาจารย์ตัวอย่าง และรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น เชิดชูเกียรติและส่งเสริมคุณค่าอาจารย์นักวิจัย และศิษย์เก่าผู้นำเอาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เพื่อประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาสังคม พร้อมจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนาคณะฯ ครบรอบ 64 ปี อย่างยิ่งใหญ่ สำหรับกิจกรรมในช่วงเช้ามีพิธีทำบุญถวายเครื่องไทยธรรม ภัตตาหารแก่พระสงฆ์จากวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร จำนวน 9 รูป โดยมี ศาสตราจารย์ ดร. นพ.ภัทรชัย กีรติสิน รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล, ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นพ.พรชัย มาตังคสมบัติ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และอดีตคณบดีคณะวิทยาศาสตร์, ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สถิตย์ สิริสิงห, อาจารย์เกษียณ, คณะผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ รวมถึงผู้บริหารคณะต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล และหน่วยงานภายนอก ร่วมแสดงความยินดี และร่วมกิจกรรม ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ ต่อด้วยพิธีเปิด ณ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ฉลองครบรอบ 64 ปี วันคล้ายวันสถาปนาคณะฯ อย่างยิ่งใหญ่ Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมพิธีวางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร ในฐานะทรงเป็น “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” เนื่องใน “วันเทคโนโลยีของไทย” ประจำปี 2565

         19 ตุลาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม และผู้ปฏิบัติงานคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมพิธีวางพานพุ่มและถวายราชสักการะเพื่อเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในฐานะทรงเป็น “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” เนื่องในโอกาส “วันเทคโนโลยีของไทย” ซึ่งกำหนดให้เป็นวันที่ 19 ตุลาคม ของทุกปี เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีและรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด ด้วยพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถตลอดจนพระวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของพระองค์ จากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่างๆ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นแก่ชาวไทยทั้งมวล ณ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม           วันที่ 19 ตุลาคม ของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็น “วันเทคโนโลยีของไทย” เนื่องจากเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2515 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงอำนวยการการสาธิตฝนเทียมสูตรใหม่ครั้งแรกของโลก ที่เขื่อนแก่งกระจาน ด้วยพระองค์เอง

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมพิธีวางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร ในฐานะทรงเป็น “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” เนื่องใน “วันเทคโนโลยีของไทย” ประจำปี 2565 Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีถวายพวงมาลัยราชสักการะ เนื่องในโอกาสน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในวันคล้ายวันสวรรคต 13 ตุลาคม 2565

11 ตุลาคม 2565 ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยและส่วนงาน ซึ่งคณะวิทยาศาสตร์ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.วีระชัย สิริพันธ์วราภรณ์ รองคณบดี และ อาจารย์ ดร.ธิติคม พัวพันสวัสดิ์ ประธานสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยคณาจารย์ และบุคลากรงานศาลายา ได้ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรบำเพ็ญกุศลถวายเป็นพระราชกุศล และพิธีถวายราชสดุดี พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต ณ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โดยร่วมตักบาตรพระภิกษุสงฆ์และสามเณร จำนวน 20 รูป ก่อนเข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์โดยพระสงฆ์ จำนวน 10 รูป และกล่าวถวายราชสดุดี ณ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และในวันที่ 12 ตุลาคม 2565 ศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีถวายพวงมาลัยราชสักการะ เนื่องในโอกาสน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในวันคล้ายวันสวรรคต 13 ตุลาคม 2565 Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษ Nobel Prize in Mahidol Science Café Vol.1: Physiology or Medicine จีโนมมนุษย์โบราณ: ไขปริศนาวิวัฒนาการโฮมินินส์ เปิดเวทีเสวนาซีรีส์รางวัลโนเบล จุดประกายสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

7 ตุลาคม 2565 กลับมาอีกครั้งกับเสวนาพิเศษ Nobel Prize in Mahidol Science Café ประจำปี 2565 โดยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดตอนแรกของการเสวนาซีรีส์รางวัลโนเบลด้วยสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ Nobel Prize in Mahidol Science Café Vol.1: Physiology or Medicine จีโนมมนุษย์โบราณ: ไขปริศนาวิวัฒนาการโฮมินินส์ แบบ Hybrid ซึ่งได้รับเกียรติจากนักชีววิทยา และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์แนวหน้าของประเทศไทย อาทิ ดร.นําชัย ชีววิวรรธน์ ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ ผู้แปลหนังสือชื่อดังในหมวดชีววิทยาวิวัฒนาการ เซเปียนส์ ประวัติย่อมนุษยชาติ (Sapiens: A Brief History of Humankind), กำเนิดสปีชีส์ (The Origin of Species) และ หมู่เกาะมาเลย์ (The Malay

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษ Nobel Prize in Mahidol Science Café Vol.1: Physiology or Medicine จีโนมมนุษย์โบราณ: ไขปริศนาวิวัฒนาการโฮมินินส์ เปิดเวทีเสวนาซีรีส์รางวัลโนเบล จุดประกายสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านต้อนรับนักวิทยาศาสตร์น้อยท่องโลกวิทยาศาสตร์แสนสนุก

8 ตุลาคม 2565 กลับมาอีกครั้งกับโครงการ “มหาวิทยาลัยเด็ก ประเทศไทย” คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านต้อนรับน้อง ๆ นักวิทยาศาสตร์น้อยเข้าร่วมท่องโลกวิทยาศาสตร์แสนสนุกผ่านการทดลอง บับเบิ้ลหรรษา เรียนรู้เกี่ยวกับแรงตึงผิว โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุจินต์ สุวรรณะ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.เทียนทอง ทองพันชั่ง อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยากร พร้อมด้วยพี่ ๆ นักศึกษาให้ความรู้และดูแลน้อง ๆ ตลอดกิจกรรม ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ซึ่งกิจกรรมครั้งนี้มีนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 – 6 พร้อมผู้ปกครองให้ความสนใจเข้าร่วมกว่า 100 คน โครงการ “มหาวิทยาลัยเด็ก ประเทศไทย” จัดตั้งขึ้นตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยดำเนินการภายใต้ความร่วมมือของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และมหาวิทยาลัยเครือข่าย เช่น มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านต้อนรับนักวิทยาศาสตร์น้อยท่องโลกวิทยาศาสตร์แสนสนุก Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมใจจัดงาน “วันวานที่พากเพียร สู่วันเกษียณที่ภาคภูมิ” แสดงความขอบคุณแก่ผู้เกษียณอายุงานประจำปี 2565

30 กันยายน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมใจจัดงานเกษียณอายุผู้ปฏิบัติงาน “วันวานที่พากเพียร สู่วันเกษียณที่ภาคภูมิ” แสดงความขอบคุณแก่ผู้เกษียณอายุงานประจำปี 2565 สร้างความทรงจำที่ดีร่วมกันในรูปแบบ Hybrid ณ อาคารบรรยายรวมตึกกลม และระบบประชุม online Webex Meeting ภายในงานมีการจัดพิธีทำบุญเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ผู้เกษียณอายุงาน โดยมีผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี และผู้เกษียณอายุงานประจำปี 2565 ทั้ง 13 ท่าน พร้อมด้วยผู้เกษียณรุ่นพี่ รวมถึงบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมฟังพระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา และประพรมน้ำพระพุทธมนต์ ก่อนถวายเครื่องไทยธรรม ภัตตาหารเพล ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติจากนั้นเข้าสู่พิธีการ ณ ห้อง L-01 อาคารบรรยายรวม (ตึกกลม) ซึ่งได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี เป็นประธานในพิธี โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม กล่าวรายงาน

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมใจจัดงาน “วันวานที่พากเพียร สู่วันเกษียณที่ภาคภูมิ” แสดงความขอบคุณแก่ผู้เกษียณอายุงานประจำปี 2565 Read More »

สรุปการแสวงหาความร่วมมือทางวิชาการด้านการศึกษาและการวิจัยครั้งที่ 2 ระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ Prof. Dr. Annette Ladstaetter-Weissenmayer, Dean of the Faculty of Physics and Electrical Engineering, University of Bremen ประเทศเยอรมนี

          คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยลัยมหิดล นำโดย ผศ.ดร. ปฐมพงษ์ แสงวิไล ผู้ช่วยคณบดี ร่วมกับอาจารย์ ดร.วิทูร ชื่นวชิรศิริ หัวหน้าภาควิชาฟิสิกส์ รศ.ดร. ดาครอง พิศสุวรรณ หัวหน้ากลุ่มสาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ และ รศ.ดร. ดวงใจ นาคะปรีชา ผู้แทนหัวหน้าภาควิชาเคมี ได้ร่วมให้การต้อนรับ Prof. Dr. Annette Ladstaetter-Weissenmayer, Dean of the Faculty of Physics and Electrical Engineering, University of Bremen ประเทศเยอรมนี โอกาสเข้าร่วมประชุมพูดคุยปรึกษาหารือในรายละเอียดเพิ่มเติม เพื่อสร้างความร่วมมือทางด้านการศึกษาและการวิจัย ระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ Faculty of Physics and Electrical Engineering, University

สรุปการแสวงหาความร่วมมือทางวิชาการด้านการศึกษาและการวิจัยครั้งที่ 2 ระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ Prof. Dr. Annette Ladstaetter-Weissenmayer, Dean of the Faculty of Physics and Electrical Engineering, University of Bremen ประเทศเยอรมนี Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมงาน SPACE-F Batch 3 Incubator Demo Day Foodtech สนับสนุนการบ่มเพาะฟู้ดเทคสตาร์ทอัพ สร้างนวัตกรรมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารไทย

29 กันยายน 2565 สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ร่วมกับบริษัทไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมพันธมิตรภาคธุรกิจ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จํากัด เปิดเวทีนำเสนอนวัตกรรมอาหารจาก 7 ทีมฟู้ดเทคสตาร์ทอัพผู้เข้าร่วมโครงการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตทางธุรกิจเทคโนโลยีอาหารระดับโลกแห่งแรกของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รุ่นที่ 3 SPACE-F Batch 3 Incubator Demo Day Foodtech ณ ห้อง Ballroom 2-3 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ในโอกาสนี้ นายวาลเดอมาร์ ดูบันยอฟสกี้ (Your Excellency, Mr. Waldemar Dubaniowski) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐโปแลนด์ประจำประเทศไทย, ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA, คุณธีรพงศ์ จันศิริ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมงาน SPACE-F Batch 3 Incubator Demo Day Foodtech สนับสนุนการบ่มเพาะฟู้ดเทคสตาร์ทอัพ สร้างนวัตกรรมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารไทย Read More »

สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม Orientation and Problem Validation Workshop ภายใต้โครงการ Pre-Incubation for SPACE-F ช่วยเตรียมความพร้อมและเพิ่มโอกาสการเข้าร่วมในโครงการ SPACE-F

      วันที่ 27 กันยายน 2565 สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ร่วมมือกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดยหน่วยพัฒนาธุรกิจ งานพันธกิจพิเศษ (Business Development Unit : BDU) ได้ร่วมกันจัดโครงการ Mahidol Pre-incubation for SPACE-F ซึ่งเป็นโครงการบ่มเพาะทีมสตาร์ทอัพที่มาจากนักศึกษา อาจารย์ และนักวิจัย ในมหาวิทยาลัยมหิดล ในรูปแบบสัมมนาและอบรมเชิงปฏิบัติการ Workshop ต่าง ๆ รวมถึงการให้คำปรึกษากับทีมสตาร์ทอัพที่ได้รับคัดเลือกให้มาร่วมกิจกรรมตลอดเดือนตุลาคม ก่อนจะเปิดเวที Pitching นำเสนอผลงานในวัน Demo day ช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้       โครงการ Mahidol Pre-incubation for SPACE-F มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการบ่มเพาะผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) จากกลุ่มนักศึกษา อาจารย์ และ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดลในด้านต่างๆ ที่ SPACE-F ให้ความสนใจ ได้แก่

สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม Orientation and Problem Validation Workshop ภายใต้โครงการ Pre-Incubation for SPACE-F ช่วยเตรียมความพร้อมและเพิ่มโอกาสการเข้าร่วมในโครงการ SPACE-F Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมนำเสนอผลงานเพื่อสังคมในงาน MUSEF2022 Healthy Together สื่อสารองค์ความรู้จากโครงการและงานวิจัยเพื่อมวลมนุษยชาติ

27 กันยายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมนำเสนอ 4 ผลงานเพื่อสังคมในงาน Mahidol University Social Engagement Forum: MUSEF2022 Healthy Together ชุมชนเมืองสุขภาพดี ณ มหิดลสิทธาคาร และศูนย์ประชุมและอาคารจอดรถมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายากิจกรรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานในพิธีเปิด และคุณหญิงลักษณาจันทร เลาหพันธุ์ กรรมการสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล และรองประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ เป็นผู้บรรยายพิเศษเรื่อง “มหาวิทยาลัยเพื่อสังคม : Local Actions for Global Impact” นอกจากนั้น ยังมีการเสวนาเรื่อง “สุขภาพเมือง : ความท้าทายและแนวทางการแก้ปัญหา (Urban Health: Challenges and Potential Solutions) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทวิดา

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมนำเสนอผลงานเพื่อสังคมในงาน MUSEF2022 Healthy Together สื่อสารองค์ความรู้จากโครงการและงานวิจัยเพื่อมวลมนุษยชาติ Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแสดงความยินดีกับ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสครบรอบ 49 ปี การก่อตั้ง

26 กันยายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย คุณชิตหทัย ภัทรธิยานนท์ หัวหน้างานศาลายา เป็นผู้แทน รองศาสตราจารย์ ดร.วีระชัย สิริพันธ์วราภรณ์ รองคณบดี เข้าร่วมแสดงความยินดีกับคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสครบรอบ 49 ปีการก่อตั้ง ซึ่งได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับและเป็นผู้แทนรับมอบเงินบริจาคจากคณะวิทยาศาสตร์ จำนวน 1,000 บาทคณะวิทยาศาสตร์ มีความสัมพันธ์อันดีกับคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์มาอย่างยาวนาน โดยคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2516 เริ่มจากโครงการศึกษาและวิจัยสิ่งแวดล้อม (Environmental Education and Research Project) เพื่อตอบสนองต่อการขยายตัวของปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ผ่านการศึกษาวิจัยและการบริหารจัดการทรัพยากร รวมถึงเปิดการเรียนการสอนในระดับมหาบัณฑิตทางด้านเทคโนโลยีการบริหารสิ่งแวดล้อม ก่อนจะยกระดับเป็นคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2526 และจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับปริญญาตรีจนถึงปริญญาเอก รวมถึงให้บริการด้านการวิจัย ฝึกอบรม และการบริการวิชาการทางด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และนานาชาติ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแสดงความยินดีกับ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสครบรอบ 49 ปี การก่อตั้ง Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแสดงความยินดีกับ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสครบรอบ 28 ปี การก่อตั้ง

21 กันยายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย คุณชิตหทัย ภัทรธิยานนท์ หัวหน้างานศาลายา เป็นผู้แทน รองศาสตราจารย์ ดร.วีระชัย สิริพันธ์วราภรณ์ รองคณบดี เข้าร่วมแสดงความยินดีกับวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสครบรอบ 28 ปีการก่อตั้ง ซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร.ณรงค์ ปรางค์เจริญ คณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับและเป็นผู้แทนรับมอบเงินบริจาคจากคณะวิทยาศาสตร์ จำนวน 1,000 บาทคณวิทยาศาสตร์ มีความสัมพันธ์อันดีกับวิทยาลัยดุริยางคศิลป์มาอย่างยาวนาน โดยวิทยาลัยดรุยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2537 เป็นสถาบันดนตรีแห่งแรกในประเทศไทยที่เปิดสอนในหลักสูตรระดับปริญญา และมีหลักสูตรครอบคลุมตั้งแต่ระดับเตรียมอุดมศึกษา ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ในหลากหลายสาขาวิชาด้านดนตรี เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพ ตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษ ภาพข่าวโดย : ว่าที่ร้อยตรีภัทรพล ตันตระกูล วันที่ 26 กันยายน

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแสดงความยินดีกับ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสครบรอบ 28 ปี การก่อตั้ง Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมใจร่วมพิธีวางพวงมาลาในวันมหิดลน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (กรมหลวงสงขลานครินทร์) พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย

24 กันยายน “วันมหิดล” เป็นวันคล้ายวันสวรรคต สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (กรมหลวงสงขลานครินทร์) พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย ในโอกาสนี้ ผู้บริหาร พร้อมด้วยบุคลากร และนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมใจน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ณ ส่วนงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยมหิดล โดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระชัย สิริพันธ์วราภรณ์ รองคณบดี และอาจารย์ ดร.ธิติคม พัวพันสวัสดิ์ ประธานสภาคณาจารย์ กรรมการสภามหาวิทยาลัย นำร่วมพิธี ณ ลานพระราชานุสาวรีย์ฯ ศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ ร่มแสง ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมใจร่วมพิธีวางพวงมาลาในวันมหิดลน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (กรมหลวงสงขลานครินทร์) พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย Read More »

Activity photo

งานแพทยศาสตร์และบัณฑิตศึกษา จัดอบรมแพทยศาสตรศึกษา “การออกแบบข้อสอบแบบ MCQ การวัดและประเมินผล” พัฒนาอาจารย์ประจำภาควิชาในกลุ่มพรีคลินิก

วันที่ 21 กันยายน 2565 งานแพทยศาสตร์และบัณฑิตศึกษาจัดอบรมแพทยศาสตรศึกษา “การออกข้อสอบ MCQ การวัดผลและประเมินผล” โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวัลลี สัตยาศัย อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชศาสตร์ และแพทยศาสตรศึกษา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และรองผู้อำนวยการศูนย์ประเมินและรับรองความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม แพทยสภา (ศรว.) มาเป็นวิทยากรให้กับอาจารย์ประจำภาควิชาในกลุ่มพรีคลินิก (Pre-clinic) ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้แก่ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ ภาควิชาจุลชีววิทยา ภาควิชาชีวเคมี ภาควิชาพยาธิชีววิทยา ภาควิชาเภสัชวิทยา ภาควิชาสรีรวิทยา ณ ห้อง K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท โดยภาคเช้าเป็นการบรรยายถึงหลักการออกข้อสอบแบบ Multiple Choice Question (MCQ) เน้นการออกข้อสอบแบบ Application การวิเคราะห์ข้อสอบก่อนและหลังการสอบ การวัดและประเมินผล ส่วนภาคบ่ายแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อทำ Workshop ฝึกการออกข้อสอบ MCQ แบบ Application และให้คะแนน Acceptable Index

งานแพทยศาสตร์และบัณฑิตศึกษา จัดอบรมแพทยศาสตรศึกษา “การออกแบบข้อสอบแบบ MCQ การวัดและประเมินผล” พัฒนาอาจารย์ประจำภาควิชาในกลุ่มพรีคลินิก Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับและพูดคุยเพื่อแสวงหาความร่วมมือทางวิชาการกับ Prof. Dr. Annette Ladstaetter-Weissenmayer, Dean of the Faculty of Physics and Electrical Engineering, University of Bremen ประเทศเยอรมนี

             คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดยคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ รศ.ดร.พลังพล คงเสรี พร้อมด้วย ศ.ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ และ รศ.ดร. กิตตศักดิ์ หยกทองวัฒนา รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและพัฒนานักศึกษา ได้ร่วมให้การต้อนรับ Prof. Dr. Annette Ladstaetter-Weissenmayer, Dean of the Faculty of Physics and Electrical Engineering, University of Bremen ประเทศเยอรมนี ในโอกาสเดินทางมาพูดคุยปรึกษาหารือเพื่อแสวงหาความร่วมมือทางวิชาการด้านการศึกษาและการวิจัยระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ Faculty of Physics and Electrical Engineering, University of Bremen เมื่อวันจันทร์ที่ 19 กันยายน 2565  

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับและพูดคุยเพื่อแสวงหาความร่วมมือทางวิชาการกับ Prof. Dr. Annette Ladstaetter-Weissenmayer, Dean of the Faculty of Physics and Electrical Engineering, University of Bremen ประเทศเยอรมนี Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมโครงการ “มหาวิทยาลัยเด็กประเทศไทย (TCUMU)” กับโรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ ช่วยส่งเสริมให้นักเรียนรักและรู้จักวิทยาศาสตร์เพิ่มมากขึ้น

วันศุกร์ที่ 16 กันยายน 2565 เวลา 08.30 – 13.00 น. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมโครงการ “มหาวิทยาลัยเด็กประเทศไทย ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (TCUMU)” ในหัวข้อ สนุกกับ CO2 ให้กับโรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ โดยมี รศ.ดร. เทียนทอง ทองพันชั่ง ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ เป็นวิทยากร และได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์กล่าวต้อนรับน้อง ๆ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและคุณครูที่มาเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 30 คน โครงการมหาวิทยาลัยเด็ก ประเทศไทย เป็นโครงการที่ดำเนินการโดยเครือข่ายมหาวิทยาลัย สสวท. และ สวทช. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาตอนต้นได้ร่วมทำกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่หลากหลาย โดยมีผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย และพี่เลี้ยงนักศึกษาระดับปริญญาตรี โท และเอก คอยดูแลให้คำแนะนำในการทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่งผลให้นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีทัศนคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ เกิดแรงบันดาลใจ และรับการพัฒนาทักษะ การสังเกตุ การตั้งคำถาม

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมโครงการ “มหาวิทยาลัยเด็กประเทศไทย (TCUMU)” กับโรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ ช่วยส่งเสริมให้นักเรียนรักและรู้จักวิทยาศาสตร์เพิ่มมากขึ้น Read More »

activity photo

มหาวิทยาลัยมหิดล หารือ Shark Tank Thailand มองหาความเป็นไปได้ในการร่วมมือเฟ้นหา Startup ในรั้วมหาวิทยาลัย เพื่อผลักดันสู่เวทีเรียลลิตี้โชว์เชิงธุรกิจระดับโลก

14 กันยายน 2565 สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หารือความเป็นไปได้ในการร่วมมือกับ Shark Tank Thailand เพื่อเฟ้นหา Startup ที่มีความเป็นไปได้เชิงพาณิชย์ในรั้วมหาวิทยาลัย พร้อมผลักดันสู่เวทีเรียลลิตี้โชว์เชิงธุรกิจระดับโลก เพิ่มโอกาสเติบโตทางธุรกิจด้วยการร่วมทุนจากนักลงทุนรายใหญ่สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปานนท์ ลาชโรจน์ รองผู้อำนวยการ และ คุณอรวลัญช์ โลหิตหาญ หัวหน้างานระบบนิเวศผู้ประกอบการ พร้อมด้วยผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี, รองศาสตราจารย์ ดร.วีระชัย สิริพันธ์วราภรณ์ รองคณบดี, รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ ผู้ช่วยคณบดี และ อาจารย์ ดร.ศุภฤกษ์ บวรภิญโญ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้นหาตัวยา (ECDD) ให้การต้อนรับ คุณทรงสุดา

มหาวิทยาลัยมหิดล หารือ Shark Tank Thailand มองหาความเป็นไปได้ในการร่วมมือเฟ้นหา Startup ในรั้วมหาวิทยาลัย เพื่อผลักดันสู่เวทีเรียลลิตี้โชว์เชิงธุรกิจระดับโลก Read More »

activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านต้อนรับคณาจารย์และนักศึกษาแลกเปลี่ยนจากมหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ภายใต้โครงการ “Field Study Program S “Bio-resource and Environment” กระชับความสัมพันธ์การวิจัยไทย-ญี่ปุ่น

8 – 9 กันยายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านต้อนรับอาจารย์และนักศึกษาแลกเปลี่ยนระดับปริญญาโทชั้นปีที่ 1 และ 2 จากมหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ภายใต้โครงการ “Field Study Program S “Bio-resource and Environment” ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษาวิจัยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำวิจัยในประเทศไทย กระชับความสัมพันธ์ความร่วมมือด้านวิชาการที่เข้มแข็งของประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยโอซาก้า เป็นมหาวิทยาลัยพันธมิตรที่มีความร่วมมือทางวิชาการมาอย่างยาวนานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 ภายใต้โครงการความร่วมมือในระบบมหาวิทยาลัยแม่ข่าย (Core University System) ซึ่งเป็นโครงการแลกเปลี่ยนทางวิชาการในสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ ที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์การส่งเสริมวิชาการแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan Society for the Promotion of Science) หรือ JSPS หลังจากโครงการดังกล่าวประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดีจึงได้พัฒนาความร่วมมือทางวิชาการ และการวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพต่อไปอีกก้าวหนึ่ง ด้วยการจัดตั้งหน่วยความร่วมมือการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพ แห่งมหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยโอซาก้า หรือ MU-OU:CRC ขึ้น พร้อมกับเปิดหน่วยความร่วมมือการวิจัย สำหรับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นสาขาต่างประเทศแห่งแรกของศูนย์นานาชาติด้านเทคโนโลยีชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยโอซาก้า (CRS, ICBiotech, Osaka University) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมนวัตกรรมและพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเน้นที่งานวิจัยและการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านต้อนรับคณาจารย์และนักศึกษาแลกเปลี่ยนจากมหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ภายใต้โครงการ “Field Study Program S “Bio-resource and Environment” กระชับความสัมพันธ์การวิจัยไทย-ญี่ปุ่น Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สโมสรนักศึกษาจัดกิจกรรมงานวันไหว้ครู ประจำปีการศึกษา 2565 ในชื่อกิจกรรม “พบรัก ณ ตึกกลม“

     วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน 2565 เวลา 13.30 น. ณ ห้อง L01 อาคารบรรยายเรียนรวมตึกกลม สโมสรนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลจัดกิจกรรม พบรัก ณ ตึกกลม พิธีไหว้ครูประจำปีการศึกษา 2565 เพื่อเเสดงถึงความรักและความเคารพต่อครูอาจารย์ อีกทั้งยังเป็นการสืบสานวัฒนธรรมอันดีงามของไทย โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์เป็นประธานในพิธี กล่าวให้โอวาทเพื่อความเป็นสิริมงคล พร้อมทั้งให้คำแนะนำแก่นักศึกษาทุกสาขาวิชา            ต่อด้วยตัวแทนนักศึกษาแต่ละระดับชั้น กล่าวความในใจถึงอาจารย์เพื่อระลึกถึงพระคุณ ก่อนเข้าสู่ช่วงของพิธีมอบดอกไม้ โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ อสุวพงษ์พัฒนา และตัวแทนคณาจารย์จากภาควิชาต่าง ๆ เป็นผู้รับดอกไม้จากนักศึกษา กิจกรรมถัดมาเป็นการถ่ายรูปหมู่ของนักศึกษาและอาจารย์ทุกท่านในพิธีการ ปิดท้ายด้วยการเขียนการ์ดบอกความรู้สึกและมอบให้แก่อาจารย์ บริเวณใต้ตึกกลม เขียนข่าว : นายธีรเทพ แก้วมณีตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษภาพข่าวโดย: นายธีรเทพ แก้วมณี เว็บมาสเตอร์: นายธีรเทพ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สโมสรนักศึกษาจัดกิจกรรมงานวันไหว้ครู ประจำปีการศึกษา 2565 ในชื่อกิจกรรม “พบรัก ณ ตึกกลม“ Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมแนะนำหลักสูตร การเตรียมความพร้อมและเทคนิค การรับสมัคร การสัมภาษณ์ของหลักสูตรปริญญาตรีไทยและนานาชาติ และโครงการโควตานักเรียน ปีการศึกษา 2565

วันพุธที่ 7 กันยายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา จัดกิจกรรมแนะนำหลักสูตร การเตรียมความพร้อมและเทคนิค การรับสมัคร การสัมภาษณ์ของหลักสูตรปริญญาตรีไทยและนานาชาติ และโครงการโควตานักเรียน ปีการศึกษา 2565 ซึ่งกิจกรรมนี้จัดขึ้นเพื่อสร้างความเข้าใจในหลักสูตรและเปิดโอกาสให้ครูแนะแนวและบุคลากรทางการแนะแนวได้เยี่ยมชมคณะวิทยาศาสตร์ ดูนิทรรศการ พร้อมทั้งฟังบรรยายหลักสูตรปริญญาตรีไทย ซึ่งประกอบไปด้วย ภาควิชาคณิตศาสตร์ ภาควิชาเคมี ภาควิชาชีววิทยา ภาควิชาฟิสิกส์ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ และภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ  และหลักสูตรระดับปริญญาตรีนานาชาติและ Dual Degree International Programs ประกอบไปด้วย คณิตศาสตร์ประกันภัย คณิตศาสตร์อุตสาหการและวิทยาการข้อมูล วิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ ทรัพยากรชีวภาพและชีววิทยาสภาวะแวดล้อม วัสดุศาสตร์และวิศกรรมนาโน และชีวนวัตกรรม ซึ่งทั้งสองหลักสูตรได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมทางการแนะแนวที่มาจากหลากหลายโรงเรียนเป็นอย่างยิ่ง โดยการบรรยายแบ่งออกเป็น 2 ภาษา ได้แก่ภาษาไทยและบรรยายภาษาอังกฤษ ผู้เข้าร่วมสามารถเลือกเข้าฟังได้ตามความสนใจ  ก่อนพาเข้าเยี่ยมชมพื้นที่อาคาร ห้องเรียนและห้องปฏิบัติการ ได้แก่ ห้อง STEM ห้อง Digital Bioscience Laboratory ห้อง Anatomy Museum และห้อง

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมแนะนำหลักสูตร การเตรียมความพร้อมและเทคนิค การรับสมัคร การสัมภาษณ์ของหลักสูตรปริญญาตรีไทยและนานาชาติ และโครงการโควตานักเรียน ปีการศึกษา 2565 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานมหกรรมคุณภาพคณะวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2565 เพื่อเป็นเวทีในการนำเสนอผลงานด้านพัฒนาคุณภาพ

       วันที่ 29 สิงหาคม 2565 งานนโยบายและพัฒนาคุณภาพร่วมกับงานบริหารและธุรการ และงานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีการจัดงานมหกรรมคุณภาพคณะวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2565 เวลา 09.00 – 11.45 น. เพื่อเป็นเวทีในการนำเสนอผลงานด้านพัฒนาคุณภาพ เปิดโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่บุคลากรทุกระดับและทุกส่วนงานของมหาวิทยาลัยในด้านการพัฒนาคุณภาพคนและพัฒนาคุณภาพงาน สู่การพัฒนาคุณภาพองค์กร  โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะกรรมการประเมินเพื่อทำหน้าที่พิจารณาและกลั่นกรองเพื่อแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น (ชำนาญงาน ชำนาญการพิเศษ และเชี่ยวชาญฯ) ม. มหิดล ให้เกียรติมาบรรยายพิเศษในหัวข้อ “เคล็ดลับ การพิจารณาผลงานเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการของสายสนับสนุน”   โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวนทั้งสิ้น   86  ท่าน มีวัตถุประสงค์1.เพื่อให้ผลงานของคณะวิทยาศาสตร์ที่ส่งเข้าร่วมกิจกรรมเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่บุคลากรทุกระดับและทุกหน่วยงานภายในคณะวิทยาศาสตร์2. ได้ผลงานที่มีคุณภาพ สามารถพัฒนาต่อยอดไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานประจำได้ต่อไป โดยมีผู้ส่งผลงานเข้าร่วมนำเสนอในงานมหกรรมคุณภาพ คณะวิทยาศาสร์ ทั้งหมดจำนวน 5 ผลงาน ขอแสดงความยินดีกับผลงานที่ได้รับรางวัล ได้แก่  1. แผนงานสำหรับจัดการความเสี่ยงด้านการจัดการเรียนการสอน ในสถานการณ์ระบาดของ COVID-19 ที่ได้รับรางวัลประเภท Team Good Practice Award,

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานมหกรรมคุณภาพคณะวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2565 เพื่อเป็นเวทีในการนำเสนอผลงานด้านพัฒนาคุณภาพ Read More »

activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมประชุมเยี่ยมชมส่วนงานด้าน Social Engagement กิจกรรมด้านการรับใช้สังคม และ Policy Advocacy นโยบายชี้นำสังคม (MUSEF Executive Visit)  

30 สิงหาคม 2565 การประชุมเยี่ยมชมส่วนงานด้าน Social Engagement กิจกรรมด้านการรับใช้สังคม และ Policy Advocacy นโยบายชี้นำสังคม (MUSEF Executive Visit) ณ ห้องประชุม K101 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร. ภก.สมภพ ประธานธุรารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อรับฟังและหาแนวทางร่วมมือด้าน Social Engagement และ Policy Advocacy (MUSEF Executive Visit) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เพื่อสื่อสารเป้าหมายของมหาวิทยาลัยมหิดลสำหรับยุทธศาสตร์ที่ 3 และเสริมสร้างความสัมพันธ์ของการดำเนินการกับส่วนงานในการดำเนินการด้านพันธกิจรับใช้สังคมและนโยบายชี้นำสังคม ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมนำเสนอโครงการ และผลการดำเนินงานด้าน Social Engagement กิจกรรมด้านการรับใช้สังคม และ Policy

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมประชุมเยี่ยมชมส่วนงานด้าน Social Engagement กิจกรรมด้านการรับใช้สังคม และ Policy Advocacy นโยบายชี้นำสังคม (MUSEF Executive Visit)   Read More »

activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแสดงความยินดีกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสครบรอบ 32 ปี การก่อตั้ง

29 สิงหาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย คุณปิยะ โพธิสิทธ์ หัวหน้าหน่วยเทคโนโลยีการศึกษา และอาคารสถานที่ และคุณพรน้ำเพ็ญ หอมขำคม หัวหน้าหน่วยบริการการศึกษา เป็นผู้แทน รองศาสตราจารย์ ดร.วีระชัย สิริพันธ์วราภรณ์ รองคณบดี เข้าร่วมแสดงความยินดีกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสครบรอบ 32 ปีการก่อตั้ง ซึ่งได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรากร เจริญสุข รักษาการแทนรองคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ ให้การต้อนรับและเป็นผู้แทนรับมอบเงินบริจาคจากคณะวิทยาศาสตร์ จำนวน 2,000 บ. คณะวิทยาศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มีความสัมพันธ์อันดีและความร่วมมือในการดำเนินงานทางด้านวิชาการกันอย่างยาวนาน ทั้งในด้านการจัดการศึกษา โครงการบริการวิชาการ วิจัย นวัตกรรมเกี่ยวกับสุขภาพ และเครื่องมือแพทย์อีกด้วย เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษภาพข่าวโดย : ว่าที่ร้อยตรีภัทรพล ตันตระกูลวันที่ 29 สิงหาคม 2565

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแสดงความยินดีกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสครบรอบ 32 ปี การก่อตั้ง Read More »

activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม MAHIDOL SCIENCE : INSPIRING THE FUTURE เปิดเวทีเสวนาพิเศษ FROM BASIC SCIENCE TO BUSINESS MANAGEMENT เล่าประสบการณ์เด็กวิทย์บนเส้นทางอาชีพด้านการบริหารจัดการธุรกิจ พร้อมมอบทุนแก่นักศึกษาชั้นปีที่ 4

24 สิงหาคม 2565 งานการศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม MAHIDOL SCIENCE : INSPIRING THE FUTURE เปิดเวทีเสวนาพิเศษ FROM BASIC SCIENCE TO BUSINESS MANAGEMENT บอกเล่าประสบการณ์บนเส้นทางการทำงานด้านบริหารจัดการธุรกิจ โดยได้รับเกียรติจาก คุณณัฐพล วิมลเฉลา กรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สยามราชธานี จำกัด (มหาชน) เป็นวิทยากร และพร้อมกันนี้ได้มอบทุนส่งเสริมทักษะผู้ประกอบการสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ประจำปีการศึกษา 2565 โดยสนับสนุนเป็นค่าลงทะเบียนและค่าธรรมเนียมการศึกษาให้แก่นักศึกษาที่สนใจเรียนรู้การทำงานในการบริหารองค์กรบริษัทจำนวน 3 ทุน ณ L-02 ตึกกลม คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล (พญาไท) โดยมีนักศึกษาผู้ได้รับทุนดังนี้1. นายเฉลิมเกียรติ ยะพลหา นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาคณิตศาสตร์2. นางสาวกชกร ผ่องใส นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาพฤกษศาสตร์3. นางสาวจินต์จุฑา

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม MAHIDOL SCIENCE : INSPIRING THE FUTURE เปิดเวทีเสวนาพิเศษ FROM BASIC SCIENCE TO BUSINESS MANAGEMENT เล่าประสบการณ์เด็กวิทย์บนเส้นทางอาชีพด้านการบริหารจัดการธุรกิจ พร้อมมอบทุนแก่นักศึกษาชั้นปีที่ 4 Read More »

activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มุ่งพัฒนาองค์กรด้วยการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน คว้ารางวัลชมเชย MU Green Ranking 2021 ในงาน Mahidol Sustainability Week 2022

24 สิงหาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มุ่งมั่นพัฒนาองค์กรด้วยการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน คว้ารางวัลชมเชย ในโครงการ MU Green Ranking 2021 โดยได้รับการจัดอันดับจากระบบ MU-EcoData ซึ่งพิจารณาการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบกับเกณฑ์การประเมิน MU Green Ranking 2021 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 ให้เป็นส่วนงานที่บริหารจัดการสิ่งแวดล้อมได้ดีเป็นอันดับ 7 จาก 29 ส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งในโอกาสอันดีนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้แทนคณบดีเข้ารับประกาศเกียรติคุณ พร้อมเงินรางวัล 5,000 บาท จาก ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ในงาน Mahidol Sustainability Week 2022 ณ มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนเป็นอย่างมาก โดยได้ดำเนินการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์มาตรการประหยัดทรัพยากรและพลังงาน จัดการขยะแยกประเภท และจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อร่วมผลักดันมหาวิทยาลัยมหิดลสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนต่อไป เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพ ตรวจสอบโดย : นายสุเมธ กิตติภูมิ ภาพข่าวโดย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล  และนางสาวปัณณพร แซ่แพ เว็บมาสเตอร์ : นางสาวปัณณพร แซ่แพ วันที่ 24 สิงหาคม 2565

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มุ่งพัฒนาองค์กรด้วยการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน คว้ารางวัลชมเชย MU Green Ranking 2021 ในงาน Mahidol Sustainability Week 2022 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดแสดงหุ่นละครเล็ก กลุ่มเยาวชนวายุบุตร ตลาดน้ำคลองบางหลวง สืบทอดภูมิปัญญาเก่าแก่อันทรงคุณค่า

17 สิงหาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดแสดงหุ่นละครเล็กจากกลุ่มเยาวชนวายุบุตร ณ อาคารสตางค์ มงคลสุข เพื่อสนับสนุนและสืบทอดภูมิปัญญาเก่าแก่อันทรงคุณค่า ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ กล่าวเปิดการแสดง วัตถุประสงค์ของการจัดแสดงเพื่อให้นักศึกษาต่างชาติได้แลกเปลี่ยนความรู้ มีปฏิสัมพันธ์กับมหาวิทยาลัยมหิดลในทุกมิติ ซึ่งรวมถึงด้านภาษาและวัฒนธรรม หุ่นละครเล็ก มหรสพไทย ถือกำเนิดในสมัยรัชกาลที่ 4 พัฒนามาจากการแสดงละครหุ่นหลวง การเชิดหนังใหญ่ และโขน รวมศาสตร์ศิลปะแขนงต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว เป็นหนึ่งในศิลปะที่ครั้งหนึ่งเกือบหายสาบสูญไปกับกาลเวลา แต่ด้วยความมุ่งมั่นของนักแสดงหุ่นละครเล็ก ทำให้จำนวนคณะแสดงหุ่นละครเล็กค่อย ๆ เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างช้า ๆ และกลับมาเป็นที่รู้จักอีกครั้ง คุณศราวุธ จันทรวรรณมานหรือครูบอล และสมาชิกกลุ่มวายุบุตรให้ความรู้เบื้องต้นก่อนการแสดง เช่น สาธิตการแต่งตัวโขน ซึ่งปกติแล้วเป็นขั้นตอนที่หาชมได้ยาก เนื่องจากจำเป็นต้องใช้ความละเอียดอ่อน มีผู้ช่วยจำนวนมากในการแต่งตัวโขนเพียงตัวเดียว และอธิบายเครื่องแต่งกายพร้อมวิธีสวมใส่ โดยเน้นย้ำว่าภูมิปัญญาไทยนั้น จะไม่มีการตัดผ้าที่ใช้ในเครื่องแต่งกายเลย เนื่องจากเป็นผ้าที่ถักทอขึ้นมาด้วยความประณีตและมีราคาค่อนข้างสูง นอกจากนี้การที่เป็นผ้าผืนเดียวยังช่วยให้สวมใส่ได้ทุกขนาดอีกด้วย คนที่มีชีวิตกลับกลายเป็นหุ่นเชิด หุ่นเชิดที่ไร้ชีวิตกลับมีชีวา หุ่นหนึ่งตัวต้องใช้คนเชิดถึงสามคน โดยผู้เชิดจำเป็นต้องมีพื้นฐานโขนเป็นอย่างน้อย 5 ปี

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดแสดงหุ่นละครเล็ก กลุ่มเยาวชนวายุบุตร ตลาดน้ำคลองบางหลวง สืบทอดภูมิปัญญาเก่าแก่อันทรงคุณค่า Read More »

activity photo

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อุ่นใจ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คว้ารางวัลครูวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2565 จากสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

18 สิงหาคม 2565 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อุ่นใจ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้คว้ารางวัลครูวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2565 จากสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมงานเปิดตัวผู้ได้รับรางวัลในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2565 โดยจะเข้ารับโล่รางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 48 ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ต่อไป ซึ่งในโอกาสอันดีนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพงษ์ จอห์นส์ แสงวิไล ผู้ช่วยคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ได้ร่วมมอบช่อดอกไม้แสดงความยินดี และถ่ายภาพร่วมกันเป็นที่ระลึก ณ อาคาร Exhibition Hall 9 – 10 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อุ่นใจ หรืออาจารย์ป๋วยของนักศึกษา เป็นทั้งอาจารย์และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ที่สร้างแรงบันดาลใจแก่สังคม โดยมีแนวคิดในการทำงาน คือ หน้าที่ของครูไม่ใช่แค่เพียงให้ความรู้ตามตำรา แต่ต้องเป็นตัวอย่างและสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนรุ่นใหม่ ส่วนหน้าที่ของนักวิทยาศาสตร์ คือการแก้ปัญหา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อุ่นใจ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คว้ารางวัลครูวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2565 จากสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ Read More »