คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านต้อนรับคณาจารย์และนักศึกษาแลกเปลี่ยนจากมหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ภายใต้โครงการ “Field Study Program S “Bio-resource and Environment” กระชับความสัมพันธ์การวิจัยไทย-ญี่ปุ่น

activity photo
8 – 9 กันยายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านต้อนรับอาจารย์และนักศึกษาแลกเปลี่ยนระดับปริญญาโทชั้นปีที่ 1 และ 2 จากมหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ภายใต้โครงการ “Field Study Program S “Bio-resource and Environment” ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษาวิจัยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำวิจัยในประเทศไทย กระชับความสัมพันธ์ความร่วมมือด้านวิชาการที่เข้มแข็งของประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยโอซาก้า เป็นมหาวิทยาลัยพันธมิตรที่มีความร่วมมือทางวิชาการมาอย่างยาวนานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 ภายใต้โครงการความร่วมมือในระบบมหาวิทยาลัยแม่ข่าย (Core University System) ซึ่งเป็นโครงการแลกเปลี่ยนทางวิชาการในสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ ที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์การส่งเสริมวิชาการแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan Society for the Promotion of Science) หรือ JSPS หลังจากโครงการดังกล่าวประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดีจึงได้พัฒนาความร่วมมือทางวิชาการ และการวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพต่อไปอีกก้าวหนึ่ง ด้วยการจัดตั้งหน่วยความร่วมมือการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพ แห่งมหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยโอซาก้า หรือ MU-OU:CRC ขึ้น พร้อมกับเปิดหน่วยความร่วมมือการวิจัย สำหรับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นสาขาต่างประเทศแห่งแรกของศูนย์นานาชาติด้านเทคโนโลยีชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยโอซาก้า (CRS, ICBiotech, Osaka University) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมนวัตกรรมและพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเน้นที่งานวิจัยและการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โดยการแลกเปลี่ยนทางวิชาการในวันที่ 8 กันยายน 2565 นี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ชูวงศ์ เอื้อสุขอารี หัวหน้าหน่วย MU-OU:CRC ได้ให้การต้อนรับคณะอาจารย์และนักศึกษาแลกเปลี่ยนจากมหาวิทยาลัยโอซาก้า พร้อมนำเยี่ยมชมศูนย์การวิจัยและโครงการดำเนินงานวิจัยของคณะวิทยาศาสตร์ ณ  มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท อาทิ โครงการ SPACE-F ซึ่งได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ ผู้ช่วยคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ แนะนำโครงการ SPACE-F สร้างความเข้าใจในการพัฒนางานวิจัยเพื่อนำไปสู่การเกิดนวัตกรรม ทรัพย์สินทางปัญญา และสร้างผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ในระบบนิเวศอุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทย พร้อมเชิญชวนนักศึกษาแลกเปลี่ยนมาร่วมเปิดประสบการณ์การทำ Startup ก่อนนำชมบรรยากาศและสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่โครงการ ณ ชั้น 6 อาคารชีววิทยาใหม่ ในช่วงเช้า

activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
และในช่วงบ่ายเป็นการบรรยายพิเศษ “My Journey in Science” โดย อาจารย์ ดร.นฤพัฒน์ หงษ์ดิลกกุล อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศิษย์เก่าระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยโอซาก้า ที่มาบอกเล่าประสบการณ์เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนและการทำงานในสายอาชีพนักวิจัยในต่างประเทศ ณ ห้อง L-04 อาคารบรรยายรวม ตึกกลม แล้วจึงนำคณะนักศึกษาแลกเปลี่ยนเยี่ยมชมหน่วย MU-OU:CRC ซึ่งส่งเสริมและดำเนินงานวิจัยโดยเน้นการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ ต่อด้วยเยี่ยมชมศูนย์วิจัยการค้นหาตัวยา (Excellent Center for Drug Discovery) หรือ ECDD ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยที่เน้นการศึกษากลไกการเกิดโรค และการค้นหาสารออกฤทธิ์ทางยา เพื่อเป็นจุดตั้งต้นในการค้นหาตัวยาด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยตามมาตรฐาน ISO ณ อาคารพรีคลินิก ต่อด้วยเยี่ยมชมภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ณ อาคารเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งมุ่งเน้นในการค้นคว้าวิจัยทางวิชาการด้านต่าง ๆ เช่น การปรับปรุงและพัฒนากระบวนการผลิตสารสำคัญต่าง ๆ จากพืชและสมุนไพร, เอนไซม์, ยาปฏิชีวนะ, วัคซีน, กรดอะมิโน, กรดอินทรีย์, น้ำตาลเชิงซ้อน โดยใช้เทคนิคทางพันธุวิศวกรรมของเชื้อจุลินทรีย์และเนื้อเยื่อพืช และวิศวกรรมเคมีชีวภาพ ตั้งแต่ระดับห้องปฏิบัติการจนถึงระดับการผลิตเชิงอุตสาหกรรม เพื่อช่วยให้นักศึกษาแลกเปลี่ยนมีความเข้าใจแนวทางวิจัย และเกิดความเชื่อมโยงเพื่อพัฒนางานวิจัยของตนเองได้ดียิ่งขึ้น
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo

จากนั้นในวันที่ 9 กันยายน 2565 รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ได้ให้เกียรติเป็นประธานเปิดสัมมนา SSSV 2022 Japan-Thailand Student Research Seminar: Bioresources and Biotechnology for Sustainable Development ณ ห้อง L-04 อาคารบรรยายรวม ตึกกลม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยกล่าวต้อนรับคณาจารย์และนักศึกษาแลกเปลี่ยนในนามของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลว่า นับเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เป็นเจ้าภาพจัดสัมมนาในครั้งนี้ ก่อนกล่าวถึงความเป็นมาของโครงการ Short Stay Short Visit หรือ SSSV ซึ่งเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 ว่าเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมความร่วมมือตามข้อตกลงระหว่างมหาวิทยาลัยโอซาก้าและมหาวิทยาลัย 4 แห่งในประเทศไทย ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยมหิดล โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การสนับสนุนนักศึกษาแห่งประเทศญี่ปุ่น หรือ JASSO เพื่อให้โอกาสแก่นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาได้พักและทำวิจัยระยะสั้นในมหาวิทยาลัยที่เป็นเจ้าภาพ ปัจจุบันมีนักเรียนไทย 134 คน และนักเรียนญี่ปุ่น 193 คน เข้าร่วมในโครงการนี้ ซึ่งโครงการนี้ไม่เพียงแต่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์ข้ามวัฒนธรรมผ่านกิจกรรมการวิจัยระดับนานาชาติ แต่ยังช่วยเพิ่มความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างประเทศไทยและญี่ปุ่นอีกด้วย และกิจกรรมนี้จะช่วยสร้างความผูกพันระหว่างนักศึกษามหาวิทยาลัยโอซาก้าและทีมนักวิจัยในประเทศไทย เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในปัจจุบันให้มีความเข้มแข็งและแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น และนำไปสู่การสร้างความร่วมมือใหม่และมีประสิทธิภาพในอนาคต

ในการสัมมนานักศึกษาแลกเปลี่ยนทั้ง 21 คน ได้นำเสนอผลงานวิจัยของตนเอง โดยมีอาจารย์จากมหาวิทยาลัยโอซาก้า และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับมหาวิทยาลัยเครือข่าย รับฟังผลการดำเนินโครงการวิจัยตลอด 1 เดือนในประเทศไทย ซึ่งในตอนท้ายของการสัมมนาคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยโอซาก้านำโดย Prof. Dr. Kohsuke Honda จาก ICBiotech, Osaka University และคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมชาย เชื้อวัชรินทร์ ต่างกล่าวแสดงความยินดี และชื่นชมนักศึกษาที่ประยุกต์ใช้ทั้งองค์ความรู้ ทักษะ และเทคนิคที่มีในการทุ่มเททำการวิจัยจนประสบความสำเร็จภายในระยะเวลาอันสั้น ขอให้นักศึกษาทุกคนมีแรงบันดาลใจและความมุ่งมั่นทำการศึกษาวิจัยต่อไป และหวังว่านักศึกษาทุกคนจะเก็บประสบการณ์ รวมถึงรักษามิตรภาพในการแลกเปลี่ยนครั้งนี้เป็นอย่างดี

ทั้งนี้ ท่านสามารถติดตามข่าวสารโครงการศึกษาวิจัยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำวิจัยกับมหาวิทยาลัยโอซาก้า ความร่วมมือทางการวิจัย รวมถึงกิจกรรมอบรมและสัมมนาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพที่น่าสนใจได้ทาง https://www.facebook.com/people/MU-OUCRC/100062970072696/

activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo
activity photo

เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพ
ตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษ
ภาพข่าวโดย : นายนภาศักดิ์ ผลพานิช
และนางสาวปัณณพร แซ่แพ
วันที่ 9 กันยายน 2565