อาจารย์ปรีคลินิก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ และอาจารย์ที่ปรึกษานักศึกษา

Activity Photo
29 – 30 พฤษภาคม 2566 หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต สถาบันพระบรมราชชนก จัดการอบรมโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ และอาจารย์ที่ปรึกษานักศึกษา ให้กับอาจารย์ปรีคลินิก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อาจารย์แพทย์จากคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล และอาจารย์แพทย์จากศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลมหาราช นครศรีธรรมราช ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์ ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพยาบาลราชบุรี ณ โรงแรมเอเชีย เขตราชเทวี กรุงเทพฯ เพื่อให้อาจารย์มีทักษะ มีความรู้ความเข้าใจในการให้คำปรึกษากับนักศึกษา

ในวันแรก รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ได้ให้กำลังใจผู้เข้าอบรมพร้อมกล่าวถึงความร่วมมือระหว่างคณะวิทยาศาสตร์และสถาบันพระบรมราชชนกที่จะเข้มแข็งต่อไป การอบรมในครั้งนี้มีคณาจารย์ปรีคลินิก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความสนใจเข้าร่วมอบรมหลายท่าน ซึ่งในวันแรกของการเรียนรู้เป็นเรื่อง “Resilience” การล้มแล้วลุกหรือการฟื้นตัว โดยทีมวิทยากร อาจารย์ พญ.สิริลักษณ์ วงศ์ชัยสุริยะ นายแพทย์ชำนาญการ รองผู้อำนวยการศูนย์แพทยศาสตร์ชั้นคลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า และ 2 อดีตอาจารย์และศิษย์เก่าภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหิดล ได้แก่ อาจารย์ ดร.สรยุทธ รัตนพจนารถ ผู้อำนวยการร่วมธนาคารจิตอาสา และ อาจารย์วิเศษ บำรุงวงศ์ นักจัดกระบวนการเรียนรู้ ธนาคารจิตอาสา เนื้อหาการอบรมกล่าวถึงเรื่อง Active listening การฟังอย่างไม่ตัดสิน Emotional resilience การใจดีกับตัวเอง พร้อมใช้เครื่องมือในการพูดคุยกับนักศึกษา 3E: Engage, Educate, Empower และ Physical resilience ฝึกการรับรู้ผ่านร่างกาย โดยใช้เทคนิค BEN: Breathing in, Embracing และ Name it เพื่อสงบตัวเอง พร้อมแชร์ประสบการณ์ร่วมกันและฝึกการสังเกตุเทคนิคการให้คำปรึกษาผ่านการแสดงบทบาทสมมุติ

ในการอบรมวันที่สองเป็นการเรียนรู้ “Constructive feedback “ โดยวิทยากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ นพ.อนุพงษ์ สุธรรมนิรันด์ อาจารย์ พญ.อุษา ศิริบุญฤทธิ์ คณะแพทยศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก อาจารย์ พญ.ธีราพร วิทิตสิริ ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ และ รองศาสตราจารย์ ดร. พญ.ณัฏฐิณี จันทรรัตโนทัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล การให้คำปรึกษากับนักศึกษาโดยใช้ Sandwich model: Positive reinforcement (เพื่อส่งเสริมการเรียนการปฏิบัติที่ดีให้คงอยู่), Corrective (เพื่อเปลี่ยนการเรียนรู้และปฏิบัติให้ดีขึ้น ถูกต้อง เหมาะสม) และ Positive, motivation and inspire จากนั้นเป็นการร่วมกันวิเคราะห์ผ่านการเล่นบทบาทสมมุติระหว่างการเป็นนักศึกษากับอาจารย์ ช่วงบ่ายเป็นการเรียนรู้เรื่อง “Reflection” โดยวิทยากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นพ.ยอดยิ่ง แดงประไพ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โดยได้อธิบายว่า Reflection เป็น metacognitive process ที่ต้องมีการทบทวนทั้ง before, during และ after situations เพื่อพัฒนาการรับรู้ตัวเองและสถานการณ์ เช่น เรียนอะไร รู้สึกอย่างไร เพราะอะไรถึงรู้สึกเช่นนั้น ผ่านโมเดล Kolb’s experiential learning: Experience, Experimentation, Reflection and Conceptualization วิธีการที่จะช่วยสนับสนุน reflective learners ต้องมี Guided reflection เน้น Critical reflection ต้องระวัง Reflective zombies การส่งเสริมให้นักศึกษามีการสะท้อนคิด (reflection) และการ assess student’s reflection โดยอาศัย ADAPT โมเดล (remind, recognize and awareness) เป็นการจบการอบรมด้วยความรู้ความเข้าใจที่จะนำมาใช้ในการให้คำปรึกษานักศึกษาได้อย่างดี

เขียนข่าว : รองศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ อสุวพงษ์พัฒนา
ภาพข่าวโดย : รองศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ อสุวพงษ์พัฒนา
เว็บมาสเตอร์: นางสาวปัณณพร แซ่แพ
วันที่ 2 มิถุนายน 2566