ข่าวกิจกรรม

การเยี่ยมชมและรับฟังผลการดำเนินงานของคณะวิทยาศาสตร์ จากสภามหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2564 (ครั้งที่ 2 : University Council Visit 2)

29 กรกฎาคม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการเยี่ยมชมและรับฟังผลการดำเนินงานของคณะวิทยาศาสตร์ จากสภามหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2564 (ครั้งที่ 2 : University Council Visit 2) ผ่านระบบ Online Cisco WebEx Meeting โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 63 ท่าน ได้แก่ คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล และกรรมการประจำคณะวิทยาศาสตร์ฯ โดยเริ่มต้นการประชุมด้วย รศ. ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวเกี่ยวกับ วิสัยทัศน์ และพันธกิจของคณะวิทยาศาสตร์ฯ รวมทั้งผลการดำเนินงานในด้านต่างๆ อย่างเป็นองค์รวมตามรูปแบบ Operation/Transformation Model การศึกษาสากลบ่มเพาะผู้ประกอบการ World Class Research ความรู้เพื่อปวงชน นวัตกรรมเพื่อประเทศ และองค์กรที่ยังยืน อีกทั้งเน้นย้ำในเรื่องสังคมไทยที่ใช้วิทยาศาสตร์ Learning Organization และการปรับตัวสู่อนาคต Digital Education และ Digital Transformation หลังจากนั้น […]

การเยี่ยมชมและรับฟังผลการดำเนินงานของคณะวิทยาศาสตร์ จากสภามหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2564 (ครั้งที่ 2 : University Council Visit 2) Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการศรีตรังปันสุข ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากวิกฤติโควิด-19

“โครงการศรีตรังปันสุข” โดย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สุขใจทั้งผู้ให้ และผู้รับ ด้วยการทำบุญหลายต่อ สนับสนุนซื้ออาหารจากพ่อค้า แม่ค้า ของโรงอาหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ ในช่วงปิดอาคารสำนักงาน ตามประกาศ พรก.ฉุกเฉิน และนำส่งบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อนบ้าน ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี เพื่อเป็นกำลังใจให้แก่คุณหมอ คุณพยาบาล และพี่น้องเจ้าหน้าที่ ที่ทุ่มเท สละเวลาทำงานเพื่อพวกเราทุกคน โดยโครงการนี้มีการระดมทุนจากผู้มีจิตศรัทธาบริจาค 102 บาท หรือตามกำลังศรัทธา นอกจากการทำดีเพื่อส่งกำลังใจให้กับบุคลากรทางการแพทย์แล้ว ยังเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้กับบูรพาจารย์ ในปีแห่งการครบรอบ รำลึก 102 ปี ชาตกาล ศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข คณบดีท่านแรกผู้ก่อตั้งคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยผู้บริจาคสามารถ ปันสุขได้โดยการโอนเงินเข้าบัญชี “โครงการศรีตรังปันสุข โดยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล” บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 026 – 475703 – 3 ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขารามาธิบดี ส่งสำเนาโอนเงิน และขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางไลน์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการศรีตรังปันสุข ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากวิกฤติโควิด-19 Read More »

The IX International Scientific and Practical Conference on Biotechnology as an Instrument for Plant Biodiversity Conservation (Physiological, Biochemical, Embryological, Genetic and Legal Aspects) Biotech 2021

12 กรกฎาคม 2564 ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และสมาคมพืชสวนนานาชาติ (International Society for Horticultural Science: ISHS) ร่วมกับกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นเจ้าภาพการประชุมวิชาการนานาชาติเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของพืช ครั้งที่ 9 “The IX International Scientific and Practical Conference on Biotechnology as an Instrument for Plant Biodiversity Conservation (Physiological, Biochemical, Embryological, Genetic and Legal Aspects)” หรือ “Biotech 2021” แลกเปลี่ยนความก้าวหน้าจากการวิจัย สร้างโอกาสในการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อสังคมในระดับโลกBiotech 2021 เป็นเวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และวิทยากรด้านพืชสวนระดับนานาชาติเพื่ออนุรักษ์พันธุ์พืช และความหลากหลายทางชีวภาพในทุกแง่มุม ซึ่งด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 การประชุมครั้งนี้จึงเลื่อนจากกำหนดเดิมในปีที่แล้ว มาเป็นปีนี้ และปรับเป็นรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Cisco WebEx

The IX International Scientific and Practical Conference on Biotechnology as an Instrument for Plant Biodiversity Conservation (Physiological, Biochemical, Embryological, Genetic and Legal Aspects) Biotech 2021 Read More »

4 สถาบัน ภายใต้มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมใจสื่อสารวิธีการดูแลสุขภาพ และการจัดการอย่างยั่งยืน กรณีเหตุไฟไหม้โรงงานสารเคมีในงานเสวนาพิเศษ Mahidol Science Café ถอดบทเรียน “ไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว”

                5 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา 4 สถาบันภายใต้มหาวิทยาลัยมหิดล คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะสาธารณสุขศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสารเคมีที่ใช้ในการผลิตโฟมพีอีเอส (Expanded Polystyrene Foam: ESP) เชื้อเพลิงในเหตุระเบิดโรงงานผลิตโฟม ซอยกิ่งแก้ว 21 พร้อมเสนอความเห็นเบื้องต้นด้านการจัดการปัญหาในระยะสั้นและระยะยาวอย่างยั่งยืน จากมุมมองคนในแวดวงสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ การแพทย์ และการสาธารณสุข ในงานเสวนาพิเศษ Mahidol Science Café ถอดบทเรียน “ไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว” โดยมี รศ. ดร.กิติกร จามรดุสิต รองอธิการบดีฝ่ายสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยมหิดล และ รศ. นพ.สัมมน โฉมฉาย ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม ศูนย์พิษวิทยาศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ร่วมกับ รศ. ดร.สราวุธ เทพานนท์

4 สถาบัน ภายใต้มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมใจสื่อสารวิธีการดูแลสุขภาพ และการจัดการอย่างยั่งยืน กรณีเหตุไฟไหม้โรงงานสารเคมีในงานเสวนาพิเศษ Mahidol Science Café ถอดบทเรียน “ไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว” Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท เข้ารับการตรวจประเมินกิจกรรม “สถานศึกษาปลอดภัย” ประจำปี พ.ศ. 2564

วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2564 สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พื้นที่ 5 (เขตดินแดง พญาไท ราชเทวี และห้วยขวาง) กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน เข้าตรวจประเมินกิจกรรม “สถานศึกษาปลอดภัย” ประจำปี พ.ศ. 2564 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการปลูกฝังวัฒนธรรมความปลอดภัยให้กับยุวแรงงานก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงานเพื่อขับเคลื่อน ความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของประเทศไทย (Safety Thailand) ครอบคลุมถึงการเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการเชิงป้องกันด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน ในปี พ.ศ. 2564 นี้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ได้เข้าประกวด “สถานศึกษาปลอดภัย” เป็นปีที่ 4 โดยมี รศ.ดร. พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และ ผศ.ดร. ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม คุณคำรณ โชธนะโชติ หัวหน้างานบริหารและธุรการ และทีมงานงานบริหารและธุรการ ให้การต้อนรับคณะผู้ประเมินฯ นำโดย นางสุนีย์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท เข้ารับการตรวจประเมินกิจกรรม “สถานศึกษาปลอดภัย” ประจำปี พ.ศ. 2564 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ยกระดับห้องปฏิบัติการวิจัยสู่สากล มอบประกาศนียบัตรและโล่รางวัลแก่ 17 ห้องปฏิบัติการสารเคมีมาตรฐาน ESPRel ผ่านระบบออนไลน์

24 มิถุนายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีมอบประกาศนียบัตร และโล่รางวัล แก่ 17 ห้องปฏิบัติการที่ได้รับรางวัล ห้องปฏิบัติการวิจัยต้นแบบมาตรฐานความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีตามมาตรฐาน ESPRel จากมหาวิทยาลัยมหิดล ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ Cisco WebEx Meeting ในโอกาสอันดีนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ ได้กล่าวแสดงความยินดีและขอบคุณ รองศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ กังสมัครศิลป์ หัวหน้าภาควิชาชีวเคมี รองศาสตราจารย์ ดร.วิฑูร แสงศิริสุวรรณ หัวหน้าภาควิชาสรีรวิทยา รองศาสตราจารย์ ดร.เทียนทอง ทองพันชั่ง หัวหน้าภาควิชาเคมี รวมถึงอาจารย์และผู้แทนอาจารย์ประจำห้องปฏิบัติการทั้ง 17 ห้องปฏิบัติการที่ให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ และแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ เพื่อความปลอดภัยของผู้ที่เกี่ยวข้องและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการให้ความสำคัญกับการสร้างงานวิจัยที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับสากลควบคู่กับการดำเนินงานที่มีมาตรฐานความปลอดภัย โดยห้องปฏิบัติการวิจัยที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ ได้แก่ 1. ห้องปฏิบัติการวิจัยเคมี C211 รองศาสตราจารย์ ดร.รัตติกาล จันทิวาสน์ 2.

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ยกระดับห้องปฏิบัติการวิจัยสู่สากล มอบประกาศนียบัตรและโล่รางวัลแก่ 17 ห้องปฏิบัติการสารเคมีมาตรฐาน ESPRel ผ่านระบบออนไลน์ Read More »

หลักสูตรกู้โลก Sustainable Development Goals บทบาทของภาคการศึกษากับการผลิตบุคลากรเพื่อโลกอนาคตตาม SDG8

          16 มิถุนายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์หัวข้อ หลักสูตรกู้โลก Sustainable Development Goals บทบาทของภาคการศึกษากับการผลิตบุคลากรเพื่อโลกอนาคตตาม SDG8 ผ่านระบบ Cisco Webex ในเวลา 10.00 – 12.00 น. ในการนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี กล่าวเปิดการเสวนาและกล่าวต้อนรับ ซึ่งได้รับเกียรติจากวิทยากร คุณกุลวัลย์ สุพีสุนทร ผู้จัดการด้าน Sustainability และ Climate Change บริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ที่มาร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองในการนำ SDGs มาใช้บริหารองค์กรสู่มุมมองการนำมาใช้กับสถานศึกษา โดยมี อาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง หัวหน้าภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ดำเนินรายการ

หลักสูตรกู้โลก Sustainable Development Goals บทบาทของภาคการศึกษากับการผลิตบุคลากรเพื่อโลกอนาคตตาม SDG8 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมพบปะผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี (หลักสูตรไทย) ระบบ TCAS รอบ 3 ภายใต้หัวข้อ “เด็กใหม่ กับ Mahidol Science”

             5 มิถุนายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมพบปะผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี (หลักสูตรไทย) ระบบ TCAS รอบ 3 ภายใต้หัวข้อ “เด็กใหม่ กับ Mahidol Science” ออนไลน์ผ่านระบบ Cisco WebEx Meetings             คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ยินดีต้อนรับผู้ผ่านการคัดเลือกทุกท่าน โดยกิจกรรมการพบปะในรูปแบบออนไลน์นี้ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้นักศึกษาและผู้ปกครองสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างทั่วถึง โดยเริ่มต้นกิจกรรม รศ. ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ กล่าวต้อนรับผู้ผ่านการคัดเลือก พร้อมทั้งชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับทุนการศึกษา             น้องๆ ผู้ผ่านการคัดเลือกยังได้พบกับอาจารย์ผู้แทนจากภาควิชาที่มาต้อนรับและให้คำแนะนำเกี่ยวกับภาควิชาต่างๆ ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บรรยากาศเป็นไปอย่างเป็นกันเอง ทั้งนี้มีการแบ่งกลุ่มย่อยตามสาขาวิชา เพื่อให้น้องๆ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมพบปะผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี (หลักสูตรไทย) ระบบ TCAS รอบ 3 ภายใต้หัวข้อ “เด็กใหม่ กับ Mahidol Science” Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

           2 มิถุนายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ในการนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี ประธานในพิธี พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรกนก บุญวงษ์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการศึกษา และบุคลากร ร่วมพิธีกล่าวถวายพระพรชัยมงคล ขับร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี และลงนามถวายพระพร โดยปฏิบัติตนตามมาตรการป้องกันโรคโควิด 19 อย่างเคร่งครัด ณ บริเวณหน้าอาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท             สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเป็นอเนกประการ ปฏิบัติงานถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วยความวิริยอุตสาหะและความจงรักภักดี ทรงใส่พระราชหฤทัยในทุกข์สุขของประชาชนเสมอมาในฐานะสมเด็จพระราชินี ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้านการศาสนา ด้านการทหาร

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี Read More »

SciEx2021 งานนิทรรศการโครงงานวิทยาศาสตร์ (Science Project Exhibition) ครั้งที่ 22

           คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานนิทรรศการ Science Project Exhibition ครั้งที่ 22 ในวันศุกร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 ผ่านระบบออนไลน์ WebEx Meeting เปิดโอกาสให้นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 ได้นำเสนอผลงานวิจัยของตนเองอย่างเต็มประสิทธิภาพ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี ประธานในพิธี กล่าวเปิดงานและกล่าวแสดงความยินดีกับว่าที่บัณฑิตคณะวิทยาศาสตร์ รวมทั้งให้แนวคิดแก่นักศึกษาในการรับมือกับช่วงสถานการณ์การระบาดของเชื้อโควิด-19 แบ่งปันประสบการณ์การทำงานด้านวิทยาศาสตร์ พร้อมทิ้งท้ายด้วยข้อคิดที่ว่า “NEVER before, SCIENCE is so significant.” โดยในช่วงเช้าของงานมีการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “เส้นทางอาชีพการเป็นนักวิทยาศาสตร์ในอนาคต” ซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร.วรรณพ วิเศษสงวน ผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ที่มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ แนวคิดหลังการสำเร็จการศึกษา พร้อมให้ข้อแนะนำในการทำงานในอนาคต กลยุทธ์การทำงานร่วมกับลูกค้า การสะสมองค์ความรู้ให้ได้มากที่สุดและมีกระบวนการ ที่ส่งผลให้ประสบความสำเร็จในการทำงาน  จากนั้นจึงเป็นการนำเสนอผลงานวิจัยคุณภาพของนักศึกษาในสาขาต่าง ๆ

SciEx2021 งานนิทรรศการโครงงานวิทยาศาสตร์ (Science Project Exhibition) ครั้งที่ 22 Read More »

การประเมินส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2560-2563 (คณะวิทยาศาสตร์) โดยบริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด

มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดจ้าง บริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นที่ปรึกษาในการประเมินส่วนงานของมหาวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.2550 มาตรา 44 ที่กำหนดให้มหาวิทยาลัยจะต้องจัดให้มีการประเมินส่วนงานโดยผู้ประเมินซึ่งสภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งจากผู้ซึ่งมิใช่ผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย ทุกส่วนงานต้องได้รับการประเมิน ทั้งส่วนงานที่จัดตั้งตามมาตรา 10 และส่วนงานที่มิได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตลอดจนหน่วยงานสังกัดสำนักงานอธิการบดีที่มีลักษณะการบริหารงานคล้ายส่วนงาน จำนวนรวมทั้งสิ้น 42 ส่วนงาน คณะวิทยาศาสตร์ ได้บันทึกข้อมูลตัวชี้วัดจำนวน 39 ตัวชี้วัด พร้อมแนบไฟล์หลักฐาน (PDF) เข้าในระบบ MahidolxTris Survey เมื่อวันที่ 19 เมษายน – 5 พฤษภาคม 2564 และรับการตรวจเยี่ยมจากผู้แทนบริษัท TRIS ในรูปแบบออนไลน์ด้วยระบบ WebEx Meeting เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2564 โดยมีกิจกรรมสำคัญ ดังนี้ 1) เวลา 9.00-10.00 น. ทดสอบภาวะวิกฤติ (Stress Test) โดยการสัมภาษณ์คณบดีและทีมบริหาร เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ส่วนงาน

การประเมินส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2560-2563 (คณะวิทยาศาสตร์) โดยบริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลเข้าร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้ เนื่องในกิจกรรมวันสิ่งแวดล้อมโลก

          19 พฤษภาคม 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดยอาจารย์ ดร.ธิติคม พัวพันสวัสดิ์ ประธานสภาคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยนางชิตหทัย ภัทรธิยานนท์ หัวหน้างานศาลายา และบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวภายในมหาวิทยาลัย จัดโดยกองกายภาพและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล เนื่องในกิจกรรมวันสิ่งแวดล้อมโลก ตามที่องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้เป็นวันที่ 5 มิถุนายนของทุกปี และปฏิบัติตามนโยบายขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่การพัฒนายั่งยืน (Sustainable University) โดยมีกรอบการดำเนินงานอยู่ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ณ ลานด้านหน้าหอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล เขียนข่าว : นางสาวจิรนันท์ นามั่ง ตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษ  ภาพข่าวโดย: ว่าที่ร้อยตรีภัทรพล  ตันตระกูล เว็บมาสเตอร์: นางสาวจิรนันท์ นามั่ง วันที่ 19 พฤษภาคม 2564

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลเข้าร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้ เนื่องในกิจกรรมวันสิ่งแวดล้อมโลก Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษหัวข้อ “ขอตำแหน่งทางวิชาการอย่างไร? ใช้เกณฑ์ใด? ให้ผ่านฉลุย”

12 พฤษภาคม 2564 สภาอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ร่วมกับงานบริหารและธุรการ และคณะกรรมการวิชาการคณะวิทยาศาสตร์ จัดเสวนาพิเศษ “ขอตำแหน่งวิชาการอย่างไร? ใช้เกณฑ์ใด? ให้ผ่านฉลุย” เพื่อตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับการขอตำแหน่งทางวิชาการอย่างครอบคลุมรอบด้าน ซึ่งในโอกาสอันดีนี้ ศาสตราจารย์ นพ.วชิร คชการ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้เกียรติมาบรรยายในหัวข้อ “เกณฑ์การขอตำแหน่งวิชาการที่ใช้ในปัจจุบัน ก.พ.อ. หรือข้อบังคับมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2561 และ 2563” ต่อด้วยผู้อำนวยการ จริยา ปัญญา ผู้อำนวยการกองทรัพยากรบุคคล ซึ่งบรรยายในหัวข้อ “กระบวนการและระยะเวลาที่ใช้ในการพิจารณาตำแหน่งวิชาการระดับมหาวิทยาลัย” และ ศาสตราจารย์ ดร.ประมวล ตั้งบริบูรณ์รัตน์ ประธานคณะกรรมการวิชาการคณะวิทยาศาสตร์ เป็นผู้บรรยายในหัวข้อ “กระบวนการกลั่นกรองระดับคณะวิทยาศาสตร์” ดำเนินรายการโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ปวีณา ไตรเพิ่ม ประธานสภาอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วฤทธิ์ มิตรธรรมศิริ กรรมการสภาอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ โดยมี อาจารย์ ดร.ทิพาลัคน์ กฤตยาเกียรณ์ กรรมการสภาอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ เป็นพิธีกรการเสวนาในครั้งนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษหัวข้อ “ขอตำแหน่งทางวิชาการอย่างไร? ใช้เกณฑ์ใด? ให้ผ่านฉลุย” Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดสอบสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาระบบ TCAS รอบที่ 2 โควตา (Quota) ปีการศึกษา 2564 พร้อมเปิดรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาระบบ TCAS รอบที่ 3

            วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดสอบสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาระบบ TCAS รอบที่ 2 โควตา (Quota) ปีการศึกษา 2564 ผ่านระบบออนไลน์ Cisco Webex Meetings ในการนี้รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรกนก บุญวงษ์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการศึกษา กล่าวต้อนรับผู้เข้าสัมภาษณ์พร้อมชี้แจงข้อมูลด้านการเรียนการสอนในคณะวิทยาศาสตร์ ทุนการศึกษา รวมทั้งข้อปฏิบัติและการเตรียมตัวในการสอบสัมภาษณ์ โดยร่วมรับฟังการเข้าสัมภาษณ์ สุดท้ายนี้ได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าสัมภาษณ์ถาม – ตอบทุกข้อสงสัย ซึ่งการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาระบบ TCAS รอบที่ 2 โควตา (Quota) ปีการศึกษา 2564 นี้ จะประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกได้ในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2564 ผ่านทาง https://tcas.mahidol.ac.th หรือเว็บไซต์ของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดสอบสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาระบบ TCAS รอบที่ 2 โควตา (Quota) ปีการศึกษา 2564 พร้อมเปิดรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาระบบ TCAS รอบที่ 3 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ “OOCA-It’s Okay แพลตฟอร์มเพื่อการเข้าถึงการบริการสุขภาพจิตสำหรับทุกคน”

            21 เมษายน 2564 เวลา 13:30-15:00น. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ “OOCA-It’s Okay แพลตฟอร์มเพื่อการเข้าถึงการบริการสุขภาพจิตสำหรับทุกคน” ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting โดยได้รับเกียรติจาก ทพญ.กัญจน์ภัสสร สุริยาแสงเพ็ชร์ หรือหมออิ๊ก ผู้ก่อตั้ง OOCA Application เป็นวิทยากร โดยมีอาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง หัวหน้าภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ดำเนินรายการ ร่วมเปิดประสบการณ์เรื่องสุขภาพจิตที่เจอมาตลอดตั้งแต่วัยเด็กจนถึงปัจจุบัน แบ่งปันการปรับเปลี่ยนมุมมอง mindset เมื่อเจอปัญหาในชีวิต พร้อมแนะนำวิธีจัดการอารมณ์ตนเอง การดูแลตนเองเมื่อมีภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง อีกทั้งให้กำลังใจกับทุกท่านที่มีปัญหาสุขภาพจิตมาร่วมเปิดใจในการให้โอกาสตนเองและเชิญชวนเข้ารับบริการสุขภาพใจ พร้อมเล่าถึงแรงบันดาลใจในการสร้าง OOCA Application ช่องทางการปรึกษาสุขภาพใจ ที่สามารถปรึกษาปัญหาคาใจกับจิตแพทย์และนักจิตวิทยาจากที่บ้านได้อย่างสะดวกสบาย และแนะนำช่องทางดี ๆ ให้แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล โดย OOCA ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดลจัดโครงการ “Wall of

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ “OOCA-It’s Okay แพลตฟอร์มเพื่อการเข้าถึงการบริการสุขภาพจิตสำหรับทุกคน” Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดการบรรยาย “เทคนิคการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยมหิดล”

       9 เมษายน 2564 รองศาสตราจารย์ นพ.ธันย์ สุภัทรพันธุ์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ให้เกียรติมาบรรยาย “เทคนิคการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยมหิดล” เพื่อสร้างความเข้าใจและทบทวนเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงานแก่ประชาคมชาวคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ณ ห้อง L-02 อาคารบรรยายรวมตึกกลม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี ได้กล่าวต้อนรับและร่วมฟังบรรยายพร้อมกับทีมผู้บริหาร คณาจารย์ ผู้ปฏิบัติงานคณะวิทยาศาสตร์ และผู้ที่รับชมออนไลน์ผ่านระบบ WebEx Meeting กว่า 177 คน เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษภาพข่าวโดย: นายนภาศักดิ์ ผลพานิชเว็บมาสเตอร์: นางสาวปัณณพร แซ่แพวันที่ 9 เมษายน 2564

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดการบรรยาย “เทคนิคการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยมหิดล” Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม “แบ่งสรร ปันบุญ มหาสงกรานต์ 2564”

         9 เมษายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม “แบ่งสรร ปันบุญ มหาสงกรานต์ 2564” อีกหนึ่งกิจกรรมเพื่อสังคมที่ชาวคณะ ฯ ร่วมใจบริจาคสิ่งของเพื่อแบ่งปันความสุขให้แก่ผู้อื่น ในการนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี ดร.รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล รองคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพและสังคมสัมพันธ์ นำทีมเข้ามอบสิ่งของ ณ ชุมชมซอยสวนเงิน แขวงทุ่งพญาไท และได้ร่วมสรงน้ำพระพุทธรูป พร้อมไหว้ขอพรผู้สูงอายุ หลังจากนั้น ได้เดินทางไปมอบสิ่งของให้แก่คนพิการ เด็กกำพร้า ผู้ด้อยโอกาส และผู้ต้องขังที่พ้นโทษ ณ มูลนิธิหลวงตาน้อย อำเภอคลองโยง จังหวัดนครปฐม และสุดท้ายนี้ได้ร่วมบริจาคสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ชายแดนแม่ฮ่องสอน ผ่านกลุ่มนักศึกษาชาวเมียนมาร์ที่ศึกษาอยู่ในคณะ ฯ นับเป็นกุศลอันยิ่งใหญ่รับเทศกาลสงกรานต์ที่ชาวคณะ ฯ ร่วมมือ ร่วมใจจัดขึ้น เขียนข่าว : น.ส.จิรนันท์ นามั่ง ตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม “แบ่งสรร ปันบุญ มหาสงกรานต์ 2564” Read More »

ภาพประกอบ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีทำบุญตักบาตรเนื่องในประเพณีสงกรานต์ ประจำปี 2564

        คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีทำบุญตักบาตรเนื่องในประเพณีสงกรานต์ ประจำปี 2564 ในการนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี ประธานในพิธีพร้อมด้วย ดร.รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล รองคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพและสังคมสัมพันธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม ผู้เกษียณอายุงาน อาจารย์ และผู้ปฏิบัติงานชาวคณะวิทยาศาสตร์ พร้อมใจเข้าร่วมพิธีทำบุญและตักบาตรอาหารแห้ง พระสงฆ์จำนวน 9 รูป จากวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร และปฏิบัติตนตามมาตรการป้องกันโรคโควิด 19 อย่างเคร่งครัด ในวันพฤหัสบดีที่ 8 เมษายน พ.ศ.2564 ณ บริเวณลานตึกกลม เขียนข่าว : น.ส.จิรนันท์ นามั่งตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษภาพข่าวโดย: นายนภาศักดิ์ ผลพานิชเว็บมาสเตอร์: นางสาวปัณณพร แซ่แพวันที่ 7 เมษายน 2564

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีทำบุญตักบาตรเนื่องในประเพณีสงกรานต์ ประจำปี 2564 Read More »

ทีมผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ชี้แจงนโยบายแนวทางการบริหารงาน และรับฟังข้อคิดเห็นจากประชาคมชาวคณะวิทยาศาสตร์

       7 เมษายน 2564 ทีมผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี ชี้แจงนโยบายแนวทางการบริหารงาน และรับฟังข้อคิดเห็นจากประชาคมชาวคณะวิทยาศาสตร์ ณ ห้อง L-02 อาคารบรรยายรวม ตึกกลม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท พร้อมถ่ายทอดออนไลน์ผ่านระบบ Webex Meeting โดยมีผู้รับชมออนไลน์กว่า 180 คน รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี ได้กล่าวถึงการปรับตัวของคณะวิทยาศาสตร์ภายใต้สถานการณ์การระบาดของโควิด 19 ในช่วงเวลากว่า 1 ปีที่ผ่านมา ได้แก่ การปรับเปลี่ยนการเรียน การสอน และการสอบจากในห้องเรียนมาเป็นรูปแบบออนไลน์ การดำเนินการตามมาตรการป้องกันโควิด 19 การปรับปรุงสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกให้พร้อมรองรับการเปิดเรียนตามปกติหลังสถานการณ์การระบาดดีขึ้น รวมถึงเอื้อต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของบุคลากร การพัฒนาคุณภาพการทำงานของบุคลากรในหน่วยงานต่าง ๆ โดยส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะ และความร่วมมือผ่านโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เช่น การอบรมรุกขกรปฏิบัติการ และกิจกรรม Share

ทีมผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ชี้แจงนโยบายแนวทางการบริหารงาน และรับฟังข้อคิดเห็นจากประชาคมชาวคณะวิทยาศาสตร์ Read More »

12 หน่วยงาน ผนึกกำลังจัดตั้ง “ภาคีความร่วมมืออวกาศไทย” หวังใช้เทคโนโลยีอวกาศพัฒนาคน ยกระดับอุตสาหกรรมไทย

         5 เมษายน 2564 ณ ห้องกมลทิพย์บอลรูม ชั้น 2 โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพ ฯ 6 หน่วยงานวิทยาศาสตร์ชั้นนำ จับมือ 6 สถาบันอุดมศึกษา สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ( อว. ) เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษา วิจัย และพัฒนานวัตกรรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีอวกาศไทย สร้าง “ดาวเทียมวิจัยวิทยาศาสตร์ฝีมือคนไทย” พิธีเปิดได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ( อว. ) กล่าวแสดงความยินดีและเป็นสักขีพยานในการลงนาม            ในนามมหาวิทยาลัยมหิดล โดย ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล

12 หน่วยงาน ผนึกกำลังจัดตั้ง “ภาคีความร่วมมืออวกาศไทย” หวังใช้เทคโนโลยีอวกาศพัฒนาคน ยกระดับอุตสาหกรรมไทย Read More »

ผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าพบผู้บริหาร RISC ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน

                  2 เมษายน 2564 ผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าพบผู้บริหาร RISC ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน หารือความร่วมมือด้านการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาให้นำไปสู่ระบบนิเวศที่มีสุขภาพดีอย่างยั่งยืนทั้งในเชิงสิ่งแวดล้อมและสังคม                   รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิษุวัต สงนวล ผู้แทนหน่วยกรีนโซลูชั่น และอาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ เข้าพบ รองศาสตราจารย์ ดร.สิงห์ อินทรชูโต Chief Adviser และ รองศาสตราจารย์ ดร.อภิชาต ประดิษฐสมานนท์ รองประธาน พร้อมคณะผู้บริหารศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (Research & Innovation for Sustainability Center – RISC) ณ แมกโนเลียส์ ราชดำริ บูเลอวาร์ด ถนนราชดำริ เพื่อหารือแนวทางการสร้างความร่วมมือเพื่อศึกษาวิจัยด้านการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีด้วยวิทยาศาสตร์ (Science for Well-being)

ผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าพบผู้บริหาร RISC ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน Read More »

สภาอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ งานวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนา MUSC Research Forum ในหัวข้อ “Mass Spectrometry Research Networking”

           สภาอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ งานวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนา MUSC Research Forum ในหัวข้อ “Mass Spectrometry Research Networking” ในวันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 13.00 – 15.30 น. ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผ่านทางช่องทาง Online Facebook Live ในการนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานกล่าวเปิดการเสวนา โดยในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากวิทยากร 3 ท่าน ได้แก่ 1. รองศาสตราจารย์ ดร.อรภัค เรี่ยมทอง ภาควิชาชีวโมเลกุลและพันธุศาสตร์โรคเขตร้อน

สภาอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ งานวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนา MUSC Research Forum ในหัวข้อ “Mass Spectrometry Research Networking” Read More »

ภาพประกอบ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมเป็นสักขีพยานในการประชุมลงนามรับรองความร่วมมือ โครงการ SATREPS มุ่งพัฒนา BCG Economy ภายใต้การสนับสนุนโดย JICA และ JST

          29 มีนาคม 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ดร.รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล รองคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพและสังคมสัมพันธ์ ผู้แทนคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมเป็นสักขีพยานในการประชุมลงนามรับรองความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและญี่ปุ่น นำโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และพันธมิตร 8 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยขอนแก่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (NSTDA) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) และธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ (NBT) เข้าร่วมโครงการวิจัยแบบบูรณาการ           โครงการ SATREPS ได้รับทุนวิจัยในหัวข้อ Development of Duckweed and Associated  Microbial Resource Values Towards Bio-Circular-Green (BCG) Economy โดยมีนักวิจัยหลัก

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมเป็นสักขีพยานในการประชุมลงนามรับรองความร่วมมือ โครงการ SATREPS มุ่งพัฒนา BCG Economy ภายใต้การสนับสนุนโดย JICA และ JST Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมโครงการปลูกต้นไม้เพื่อดูดกลับก๊าซเรือนกระจก ปี 3

          25 มีนาคม 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี เข้าร่วมพิธีเปิดตัวโครงการปลูกต้นไม้เพื่อดูดกลับก๊าซเรือนกระจก ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีที่ 3 ในการนี้รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต รองอธิการบดีฝ่ายสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวเปิดงาน และรองศาสตราจารย์ ดร.ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวในนามตัวแทนกลุ่มคณะในวิทยาเขตพญาไท โดยภายในงานมีพิธีรับมอบของที่ระลึกเป็นต้นกล้วยไม้ฟาแลนด์นอปซิสแคระและพันธุ์ไม้พร้อมถ่ายภาพร่วมกัน ณ หอประชุมราชพฤกษ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล          โครงการปลูกต้นไม้เพื่อดูดกลับก๊าซเรือนกระจก เป็นแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืน พ.ศ. 2563 – 2566 โดยเป็นหนึ่งในแผนการดำเนินงานคือการปรับปรุงระบบภูมิทัศน์ที่มุ่งเน้นการอนุรักษ์และเพิ่มพื้นที่สีเขียวแห่งใหม่ภายในมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักศึกษาและบุคลากร นอกจากนี้ ยังช่วยเพิ่มการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยจากกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นการส่งเสริมการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน เขียนข่าว : นางสาวจิรนันท์ นามั่ง ตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมโครงการปลูกต้นไม้เพื่อดูดกลับก๊าซเรือนกระจก ปี 3 Read More »

หลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาชีวนวัตกรรม (นานาชาติ) และหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาสรีรวิทยาการออกกำลังกาย (นานาชาติ)รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA จากมหาวิทยาลัยมหิดล

24 มีนาคม 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พัฒนาคุณภาพหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง ส่งหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาชีวนวัตกรรม (นานาชาติ) กลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพอัจฉริยะ และหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาสรีรวิทยาการออกกำลังกาย (นานาชาติ) ภาควิชาสรีรวิทยา รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA รูปแบบ 2.0 (MU AUN-QA Assessment 2.0) จากคณะกรรมการตรวจประเมินของมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2564 โดยมี รองศาสตราจารย์ ชวลิต วงษ์เอก เป็นประธานตรวจประเมินหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาชีวนวัตกรรม (นานาชาติ) ผ่านระบบออนไลน์ CISCO Webex Meeting และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรลัชชา ศิวรักษ์ เป็นประธานกรรมการตรวจประเมินหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาสรีรวิทยาการออกกำลังกาย (นานาชาติ) ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท คณะวิทยาศาสตร์ เปิดสอนในระดับปริญญาตรี จำนวน 12 หลักสูตร ปริญญาโทและเอก จำนวน 34

หลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาชีวนวัตกรรม (นานาชาติ) และหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาสรีรวิทยาการออกกำลังกาย (นานาชาติ)รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA จากมหาวิทยาลัยมหิดล Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มอบรางวัลนักศึกษาวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2563

         22 มีนาคม 2564 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานมอบประกาศนียบัตรเชิดชูเกียรติและเงินรางวัลจำนวน 10,000 บาท แก่ นายกช อามระดิษฐ์ นักศึกษาระดับปริญญาตรีหลักสูตรวัสดุศาสตร์และวิศวกรรมนาโน (นานาชาติ) ในโอกาสได้รับรางวัลนักศึกษาวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2563 ประเภทนักศึกษาผลงานวิจัยตีพิมพ์ดีเด่น ระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2563 ในหัวข้องานวิจัยเรื่อง Layer-by-Layer spray coating of stacked perovskite absorber for perovskite solar cell with better performance and stability under humid environment. ที่ได้รับการตีพิมพ์ผลงานวิจัยระดับนานาชาติ เป็นชื่อแรก ในวารสาร

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มอบรางวัลนักศึกษาวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2563 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ หารือ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จับมือพัฒนางานวิจัยด้าน Drug Discovery

15 มีนาคม 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ หัวหน้าภาควิชาเภสัชวิทยา ผู้ทรงคุณวุฒิภาควิชาชีวเคมี ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้นหาตัวยา (ECDD) และหัวหน้าหน่วยสัตว์ทดลอง พร้อมคณาจารย์จากภาควิชาและกลุ่มสาขาวิชาต่าง ๆ รวมถึงหัวหน้างานวิจัย ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดี รองศาสตราจารย์ ดร. ภญ.ดวงดาว ฉันทศาสตร์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม หัวหน้าภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม, เภสัชวินิจฉัย, เภสัชพฤกษศาสตร์, จุลชีววิทยา, สรีรวิทยา และชีวเคมี พร้อมคณาจารย์ รวม 14 ท่าน หารือเกี่ยวกับความร่วมมือในการวิจัยโครงการ Reinventing University: Drug Discovery ณ ห้องประชุม K101 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท

คณะวิทยาศาสตร์ หารือ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จับมือพัฒนางานวิจัยด้าน Drug Discovery Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านต้อนรับ สกสว. แลกเปลี่ยนการดำเนินงานพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารภายในสำนักงานสู่องค์กรขับเคลื่อนด้วยดิจิทัลเต็มรูปแบบ

                12 มีนาคม 2564 คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ดร.รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล รองคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพและสังคมสัมพันธ์ และ คุณวรัษยา สุนทรศารทูล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล พร้อมด้วยหัวหน้างานและเจ้าหน้าที่จากงานพัฒนาระบบและเทคโนโลยี งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข งานนโยบายและพัฒนาคุณภาพ งานพันธกิจพิเศษ และงานวิจัย ให้การต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เชิญโชค ศรขวัญ รองผู้อำนวยการด้านการบริหารและพัฒนาองค์กร รองศาสตราจารย์ ดร.ชินรักษ์ เธียรพงษ์ รองผู้อำนวยการภารกิจเทคโนโลยีดิจิทัล และบุคลากรจำนวนกว่า 20 คน ก่อนนำเสนอระบบสารสนเทศของคณะวิทยาศาสตร์ 2 ระบบ ได้แก่ “ Turnitin” ฐานข้อมูลออนไลน์ที่ใช้เป็นเครื่องมือตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการในรูปแบบของสิ่งพิมพ์ออนไลน์และ Back office ระบบที่ช่วยจัดการเนื้อหา ข่าวสาร เงื่อนไขต่าง ๆ จัดการคำถาม Feedback รวมถึงรายงานต่าง ๆ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านต้อนรับ สกสว. แลกเปลี่ยนการดำเนินงานพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารภายในสำนักงานสู่องค์กรขับเคลื่อนด้วยดิจิทัลเต็มรูปแบบ Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมเป็นสักขีพยานในการแถลงข่าวการจัดสร้างหอพระพุทธมหาสิริพีรยพัฒน์และลานปฏิบัติธรรม เฉลิมพระเกียรติ 65 พรรษา

       11 มีนาคม 2564 มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์เกียรติคุณ คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ กรรมการและเลขานุการมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา คุณศิรินา ปวโรฬารวิทยา สมาชิกวุฒิสภา และประธานมูลนิธิ ดร.เทียม โชควัฒนา รองศาสตราจารย์ นพ.ธันย์ สุภัทรพันธุ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และอาจารย์ก่อเกียรติ ทองผุด นายช่างศิลปกรรมชำนาญการ สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร แถลงข่าวการจัดสร้างหอพระพุทธมหาสิริพีรยพัฒน์ เพื่อประดิษฐานพระพุทธมหิดลมงคลปัญญาญาณ  และลานปฏิบัติธรรม ส่วนหนึ่งของการดำเนินงานโครงการเฉลิมพระเกียรติ 65 พรรษา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี บริเวณด้านหน้าอาคารอำนวยการของสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน โดยมีส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยมหิดลและสื่อมวลชนร่วมงานแถลงข่าวจำนวนมาก        ในโอกาสอันดีนี้ ผู้แทนคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นางชิตหทัย ภัทรธิยานนท์ รักษาการหัวหน้างานศาลายา ได้ร่วมงานและเป็นสักขีพยานในการรับมอบพระพุทธมหิดลมงคลปัญญาญาณและชุดเหรียญพระฯ แก่ส่วนงานต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยมหิดล

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมเป็นสักขีพยานในการแถลงข่าวการจัดสร้างหอพระพุทธมหาสิริพีรยพัฒน์และลานปฏิบัติธรรม เฉลิมพระเกียรติ 65 พรรษา Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับกรมป่าไม้ แสดงความยินดีและมอบวุฒิบัตรแก่ผู้ผ่านการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “รุกขกรปฏิบัติการ” รุ่นที่ 1

5 มีนาคม 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี และ ผู้แทนอธิบดีกรมป่าไม้ ดร.คงศักดิ์ มีแก้ว ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิจัยการจัดการป่าไม้ พร้อมด้วยวิทยากรโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรรุกขกรปฏิบัติการ ร่วมแสดงความยินดีกับผู้ผ่านการอบรม ทั้ง 13 คน ในหลักสูตร “รุกขกรปฏิบัติการ” รุ่นที่ 1 ซึ่งเป็นหลักสูตรแรกของประเทศไทยที่ผสมผสานระหว่างองค์ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการดูแลต้นไม้ ประกอบกับทักษะการปีนและปฏิบัติงานบนต้นไม้ ในพิธีปิดและมอบวุฒิบัตร โดยร่วมกันปลูกต้นรวงผึ้ง ต้นไม้ประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 บริเวณสวนป่าคณะวิทยาศาสตร์ พื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่อายุราว 50 ปี ที่ปลูกไม้ต้นนานาชนิดมากกว่า 1,800 ต้น 73 ชนิดใน 30 วงศ์ ณ ใจกลางเมืองของกรุงเทพมหานคร ซึ่งถือเป็นห้องปฏิบัติการมีชีวิตและสถานที่ฝึกปฏิบัติภาคสนามของผู้เข้าร่วมอบรมตลอด 80 ชั่วโมง ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ในพิธีปิดและมอบวุฒิบัตร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม

คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับกรมป่าไม้ แสดงความยินดีและมอบวุฒิบัตรแก่ผู้ผ่านการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “รุกขกรปฏิบัติการ” รุ่นที่ 1 Read More »