ปัณณพร แซ่แพ

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล เปิดบ้านต้อนรับนักเรียน ม.ปลาย โรงเรียนสารสาสน์วิเทศบางบอน จัดกิจกรรมเยี่ยมชมร่างกายมนุษย์ เสริมการเรียนรู้ ณ ห้องปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์ ศาลายา

9 สิงหาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านต้อนรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนสารสาสน์วิเทศบางบอน จำนวนกว่า 78 คน พร้อมจัดกิจกรรม “การเยี่ยมชมร่างกายมนุษย์” พัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน โดยให้ความรู้เกี่ยวกับระบบร่างกายของมนุษย์ เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้จากร่างอาจารย์ใหญ่ ณ ห้องปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์ และแนะแนวการศึกษาต่อโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพงษ์ แสงวิไล ผู้ช่วยคณบดี ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพ ตรวจสอบโดย : ภาพข่าวโดย: นางสาวปัณณพร แซ่แพ เว็บมาสเตอร์: นางสาวปัณณพร แซ่แพ วันที่ 20 กรกฎาคม 2566

คณะวิทย์ ม.มหิดล เปิดบ้านต้อนรับนักเรียน ม.ปลาย โรงเรียนสารสาสน์วิเทศบางบอน จัดกิจกรรมเยี่ยมชมร่างกายมนุษย์ เสริมการเรียนรู้ ณ ห้องปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์ ศาลายา Read More »

Activity Photo

9 ส่วนงานมหิดล พญาไท รวมตัวซ้อมแผน BCP จำลองสถานการณ์เตรียมความพร้อมรับมือความเสี่ยงสารเคมีรั่วไหล

15 สิงหาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับส่วนงานในมหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ได้แก่ วิทยาลัยการจัดการ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คณะเวชศาสตร์เขตร้อน คณะเภสัชศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี สถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา คณะทันตแพทยศาสตร์ ซ้อมแผนความต่อเนื่องของธุรกิจ (Business Continuity Plan: BCP) พื้นที่พญาไท ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ภายใต้ใสถานการณ์จำลองสารเคมีรั่วไหล เตรียมความพร้อม 9 หน่วยงาน ประสานงานและทบทวนแผนรับมือความเสี่ยงในสถานการณ์ฉุกเฉิน สร้างระบบการทำงานเพื่อการป้องกันและฟื้นฟูจากภาวะคุกคามอย่างรับผิดชอบต่อสังคม โดยมีเจ้าหน้าที่งานอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมจาก บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) ร่วมสังเกตการณ์และให้คำแนะนำในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วย นายคณภรณ์ เข็มทอง นักชีวอนามัย งานบริหารและธุรการ และนางสาวปัณณพร แซ่แพ นักประชาสัมพันธ์

9 ส่วนงานมหิดล พญาไท รวมตัวซ้อมแผน BCP จำลองสถานการณ์เตรียมความพร้อมรับมือความเสี่ยงสารเคมีรั่วไหล Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล เชิญกรมยุโรป กระทรวงการต่างประเทศ หารือโอกาสสร้างความร่วมมือ เชื่อมโยงงานวิจัย ยกระดับเศรษฐกิจไทยในเวทีนานาชาติ

23 สิงหาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับเกียรติจาก คุณมารินี สุวรรณโมลี รองอธิบดีกรมยุโรป และผู้ติดตามมาบรรยายเกี่ยวกับนโยบายความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ของกรมยุโรป พร้อมหารือความร่วมมือระหว่างทั้ง 2 หน่วยงาน ในการประชุมคณะกรรมการประจำคณะวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 8 ประจำปี 2566 ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.กำจร มนุญปิจุ (K101)ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร กรรมการประจำคณะวิทยาศาสตร์ หัวหน้าภาควิชา กลุ่มสาขาวิชา และสภาอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ ได้ให้การต้อนรับและฟังการบรรยาย ก่อนหารือถึงโอกาสในการสร้างความร่วมมือเพื่อยกระดับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของประเทศไทยสู่เวทีโลก ผ่านการเชื่อมโยงงานวิจัยกับเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ตามความเชี่ยวชาญของอาจารย์นักวิจัยในคณะวิทยาศาสตร์ อาทิ วิทยาศาสตร์อวกาศ เคมี วัสดุ ชีวเภสัชภัณฑ์ อาหารและการเกษตร ซึ่งมีความโดดเด่นในระดับนานาชาติ และต่อยอดความร่วมมือเดิมด้านการศึกษาวิจัยที่คณะวิทยาศาสตร์ และมหาวิทยาลัยมหิดล มีอยู่กับหน่วยงานในประเทศในกลุ่มยุโรป รวมถึงมองหาโอกาสในการพัฒนาการศึกษาด้วยการขยายความร่วมมือผ่านโครงการแลกเปลี่ยนทางวิชาการและวัฒนธรรม เพื่อสร้างบัณฑิตที่มีมุมมองกว้างไกล ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการสร้างสังคมให้มีคุณภาพโดยมีวิทยาศาสตร์เป็นตัวนำ และช่วยขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายประเทศไทย 4.0

คณะวิทย์ ม.มหิดล เชิญกรมยุโรป กระทรวงการต่างประเทศ หารือโอกาสสร้างความร่วมมือ เชื่อมโยงงานวิจัย ยกระดับเศรษฐกิจไทยในเวทีนานาชาติ Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล คว้ารางวัลชมเชยในการประกวด MU Green Ranking 2022

23 สิงหาคม 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้แทนคณะวิทยาศาสตร์รับประกาศนียบัตร รางวัลชมเชย โครงการ MU Green Ranking 2023 จาก รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต รองอธิการบดีฝ่ายสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในงาน Mahidol Sustainability Week 2023 พร้อมร่วมพิธีเปิดการประชุมวิชาการมหิดลสู่การขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2566 และฟังการบรรยายพิเศษโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ พิมพา ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายความยั่งยืน วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ในหัวข้อ ปลดล็อกศักยภาพด้าน ESG เพื่อขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยมหิดลสู่ความยั่งยืน ณ มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายาในปีนี้คณะวิทยาศาสตร์ได้รับการจัดอันดับโดยระบบ MU–EcoData ซึ่งพิจารณาการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบกับเกณฑ์การประเมิน MU Green Ranking ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 ให้เป็นส่วนงานที่บริหารจัดการสิ่งแวดล้อมได้ดีเป็นอันดับ 14 จาก 29 ส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีคะแนนด้านองค์กร

คณะวิทย์ ม.มหิดล คว้ารางวัลชมเชยในการประกวด MU Green Ranking 2022 Read More »

Activity Photo

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อุ่นใจ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาท สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รับพระราชทานโล่รางวัลครูวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2565

16 สิงหาคม 2566 คณะผู้บริหาร สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ธณัฏฐ์คุณ มงคลอัศวรัตน์ นายกสมาคมฯ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อุ่นใจ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาท สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รับพระราชทานโล่ รางวัลครูวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2565 ณ วังสระปทุม รางวัลครูวิทยาศาสตร์ดีเด่น เป็นรางวัลที่มอบให้กับครูวิทยาศาสตร์ผู้มีความรู้ความสามารถ มีความโดดเด่นด้านการสอนวิทยาศาสตร์ มีผลงานด้านการสอนและพัฒนาสื่อช่วยสอนในด้านต่าง ๆ ก้าวทันเทคโนโลยีในยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลง คิดและใช้เทคนิคและนวัตกรรมใหม่ๆ ในการสอนวิทยาศาสตร์ บูรณาการศาสตร์พื้นฐานสู่การประยุกต์ใช้จริง รวมถึงส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ความสามารถใช้วิทยาศาสตร์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต และมีส่วนร่วมพัฒนาประเทศ รวมถึงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยมีการเปิดตัวผู้ได้รับรางวัลในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติทุก ๆ ปี “หน้าที่ของครูไม่ใช่แค่เพียงให้ความรู้ตามตำรา แต่ต้องเป็นตัวอย่างและสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนรุ่นใหม่ ส่วนหน้าที่ของนักวิทยาศาสตร์ คือการแก้ปัญหา ดังนั้นเมื่อเจอปัญหาอย่าได้กลัว สำหรับนักวิทยาศาสตร์ปัญหาคือโอกาสในการสร้างนวัตกรรม” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อุ่นใจ เป็นทั้งอาจารย์และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ที่สร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียนและนักศึกษา ผ่านการออกแบบนวัตกรรมการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ ๆ มากมาย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อุ่นใจ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาท สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รับพระราชทานโล่รางวัลครูวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2565 Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมพิธีไหว้ครูของนักศึกษาแพทยศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก ประจำปีการศึกษา 2566

17 สิงหาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติศักดิ์ หยกทองวัฒนา รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและพัฒนานักศึกษา และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ ร่มแสง ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ เข้าร่วมพิธีไหว้ครูของนักศึกษาแพทยศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก ประจำปีการศึกษา 2566 ณ ห้องประชุมชั้น 10 อาคาร 7 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี โดยในพิธีได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. นพ.วิชัย เทียนถาวร อธิการบดีสถาบันพระบรมราชชนก กล่าวต้อนรับ และ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวให้โอวาทและกล่าวแสดงความยินดีกับนักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ก่อนเข้าสู่พิธีไหว้ครู โดยนักศึกษาแพทย์กล่าวคำไหว้ครู และมอบพวงมาลัยบูชาครู ตามด้วยการผูกข้อมือให้นักศึกษาแพทย์โดยคณาจารย์จากสถาบันพระบรมราชชนก ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช โรงพยาบาลราชบุรี โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปิดท้ายด้วยนักศึกษาแพทย์ร่วมกันร้องเพลงพระคุณที่สาม และจบพิธีด้วยการถ่ายภาพหมู่ร่วมกัน เขียนข่าว : รองศาสตราจารย์

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมพิธีไหว้ครูของนักศึกษาแพทยศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก ประจำปีการศึกษา 2566 Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมพิธีเปิด Osaka – Mahidol International Office พร้อมหารือสานต่อความร่วมมือกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการศึกษาข้ามพรมแดนกว่า 20 ปี

18 สิงหาคม 2566 มหาวิทยาลัยมหิดล จับมือ Osaka University เปิดตัว Osaka – Mahidol International Office ณ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กระชับความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการศึกษาข้ามพรมแดน ความร่วมมือนี้ไม่เพียงบ่งบอกถึงความก้าวหน้าครั้งสำคัญในการเป็นพันธมิตรอย่างต่อเนื่องกว่า 20 ปี แต่ยังปูทางไปสู่การขยายความร่วมมือในอนาคตในด้านการศึกษาและการวิจัยที่ก้าวล้ำอีกด้วยโดยในพิธีเปิด มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร.นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร พร้อมผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพงษ์ แสงวิไล ผู้ช่วยคณบดี และ รองศาสตราจารย์ ดร.ชูวงศ์ เอื้อสุขอารี หัวหน้าหน่วยความร่วมมือการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพ แห่งมหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยโอซาก้า (MU-OU:CRC) และ Osaka University นำโดย Professor Tanaka

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมพิธีเปิด Osaka – Mahidol International Office พร้อมหารือสานต่อความร่วมมือกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการศึกษาข้ามพรมแดนกว่า 20 ปี Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ iNT ม.มหิดล ร่วมกับ Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte, LOTTE นำ 10 สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอาหารขึ้นเวที SPACE-F Batch 4 Incubator Demo Day โชว์นวัตกรรมอาหารเพื่อความยั่งยืนสุดล้ำในงาน Techsauce Global Summit 2023

16 สิงหาคม 2566 มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte และ LOTTE นำ 10 สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอาหารในโปรแกรมบ่มเพาะธุรกิจ หรือ Incubator Program ภายใต้โครงการ SPACE-F Incubator รุ่นที่ 4 เปิดประตูพบปะนักลงทุน ผู้ที่สนใจในนวัตกรรมด้าน FoodTech และขึ้นนำเสนอผลงานบนเวที ‘SPACE-F Batch 4 Incubator Demo Day’ โชว์เทคโนโลยีและนวัตกรรมผลิตอาหารเพื่อความยั่งยืนสุดสร้างสรรค์ในงาน Techsauce Global Summit 2023 งานประชุมด้านเทคโนโลยีระดับแนวหน้าของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ในโอกาสนี้ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปานนท์ ลาชโรจน์ รองผู้อำนวยการ และผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลนำโดย

คณะวิทย์ iNT ม.มหิดล ร่วมกับ Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte, LOTTE นำ 10 สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอาหารขึ้นเวที SPACE-F Batch 4 Incubator Demo Day โชว์นวัตกรรมอาหารเพื่อความยั่งยืนสุดล้ำในงาน Techsauce Global Summit 2023 Read More »

Activity Photo

กลับมาอีกครั้ง! คณะวิทย์ ม.มหิดล ยกขบวนร่วมจัดนิทรรศการสร้างแรงบันดาลใจ ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2566

11 สิงหาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ยกขบวนร่วมจัดนิทรรศการนำเสนอผลงานเด่นจากผู้ประกอบการเริ่มต้นรุ่นใหม่ (Start-up) งานวิจัยคุณภาพโดยอาจารย์และนักศึกษา พร้อมแนะนำหลักสูตร สร้างแรงบันดาลใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ภายใต้แนวคิด For Bright and Creative Generations ส่งเสริมการเกิดความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ผสานกับศิลปะในมุมของการขับเคลื่อน พัฒนา เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ตามแนวทางพระราชดำริ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และ BCG Model (Bio – Circular – Green Economy) ณ ศูนย์การแสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานีพิธีเปิดงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติปีนี้ได้รับเกียรติจาก นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธานในการเปิดงาน และ ศาสตราจารย์พิเศษ เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เอกอัครราชทูตจากประเทศต่าง ๆ รวมถึงผู้บริหารและผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนร่วมงานอย่างคับคั่งในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล

กลับมาอีกครั้ง! คณะวิทย์ ม.มหิดล ยกขบวนร่วมจัดนิทรรศการสร้างแรงบันดาลใจ ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2566 Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมงานเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 12 สิงหาคม 2566 ณ ม.มหิดล ศาลายา

11 สิงหาคม 2566 ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัย คณะ และสถาบันต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย รวมถึงคณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งนำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.พันธ์ญา สุนินทบูรณ์ ผู้ช่วยคณบดี และ อาจารย์ ดร.ธิติคม พัวพันสวัสดิ์ ประธานสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยคณาจารย์ และบุคลากรงานศาลายา ร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 12 สิงหาคม 2566 โดยร่วมทำบุญตักบาตรพระภิกษุสงฆ์และสามเณร จากวัดหทัยนเรศวร์ และวัดมหาสวัสดิ์ ศาลายา จำนวน 30 รูป ต่อด้วยพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระราชกุศล พิธีถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติ และพิธีถวายพระพรชัยมงคล เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ณ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมงานเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 12 สิงหาคม 2566 ณ ม.มหิดล ศาลายา Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีถวายพระพรชัยมงคลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 91 พรรษา

10 สิงหาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี พร้อมด้วยคณาจารย์ และบุคลากร แต่งกายด้วยชุดสุภาพโทนสีฟ้าร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 91 พรรษา โดยพร้อมใจถวายพระพรชัยมงคล และร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีร่วมกัน ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไทสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้ทรงปฏิบัติบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ เพื่อประโยชน์สุขของอาณาประชาราษฎร์ตลอดมา ทรงเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ริเริ่มโครงการพระราชดำริน้อยใหญ่ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมให้คนอยู่ร่วมกับป่าในเขตพื้นที่อนุรักษ์ ตลอดจนการส่งเสริมศิลปาชีพในงานหัตถศิลป์หลากหลายแขนง ซึ่งสร้างชื่อเสียงเลื่องลือไกลไปยังนานาประเทศทั่วโลก สร้างความผาสุกร่มเย็นแก่ปวงพสกนิกรสมนาม“แม่ของแผ่นดิน” ของปวงชนชาวไทย เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพ ตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษ ภาพข่าวโดย: นายจิรภัทร เอี่ยมเจริญลาภ เว็บมาสเตอร์: นางสาวปัณณพร แซ่แพ วันที่ 10 สิงหาคม 2566

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีถวายพระพรชัยมงคลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 91 พรรษา Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนา หอสมุดและคลังความรู้ ม.มหิดล ครบรอบ 37 ปี

8 สิงหาคม 2566 ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล และ หัวหน้างานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข ในฐานะผู้แทน คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลร่วมแสดงความยินดีกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพพล เผ่าสวัสดิ์ ผู้อำนวยการหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนา หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ครบรอบ 37 ปี เขียนข่าว : งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข ตรวจสอบโดย : งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข ภาพข่าวโดย : งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข เว็บมาสเตอร์: นางสาวปัณณพร แซ่แพ วันที่ 10 สิงหาคม 2566

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนา หอสมุดและคลังความรู้ ม.มหิดล ครบรอบ 37 ปี Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ปั้นนักสื่อสารวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ Mahidol Young Science Communicators 2023

18 กรกฎาคม – 9 สิงหาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดอบรมโครงการนักสื่อสารวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ Mahidol Young Science Communicators 2023 หัวหน้าโครงการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม ผู้ดูแลงานด้านการสื่อสารองค์กรของคณะฯ โครงการนี้จัดโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนานักสื่อสารวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ให้สื่อสารทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่ยากแก่การเข้าใจของคนทั่วไป ให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นเพื่อเผยแพร่แก่สาธารณชน รวมถึงการถ่ายทอด หลักการทางวิทยาศาสตร์ (scientific method) ให้ประชาชนได้รู้จักการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล และตระหนักถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์ โดยเป็นการฝึกทักษะในหลาย ๆ ด้านจากวิทยากรมากความสามารถ ได้แก่ กิจกรรมทีมสัมพันธ์ Team Building เพื่อสร้างการทำงานเป็นทีม สร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีร่วมกัน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ขวัญ อารยะธนิตกุล และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นฤมล เอมะรัตต์ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หลักการการนำทัวร์ โดย อาจารย์ ดร.พิมพ์พิชชา

คณะวิทย์ ม.มหิดล ปั้นนักสื่อสารวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ Mahidol Young Science Communicators 2023 Read More »

Activity Photo

อาจารย์นักวิจัย ม.มหิดล คว้าทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัยศักยภาพสูงประจำปี 2565 มุ่งยกระดับงานวิจัยแนวหน้า พัฒนาเทคโนโลยีอวกาศฝีมือคนไทย

8 สิงหาคม 2566 อาจารย์นักวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เดวิด จอห์น รูฟโฟโล (Professor Dr. David John Ruffolo) อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ หัวหน้าโครงการวิจัย ‘วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของกัมมันตรังสีในอวกาศ’ ผู้ได้รับทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัยศักยภาพสูงประจำปี 2565 – 2566 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมงาน เปิดตัวนักวิจัยศักยภาพสูงและแถลงงานวิจัย ประจำปี 2565 – 2566 ในงาน มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 (Thailand Research Expo 2023) ณ ห้อง Lotus Suite โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯภายในงานได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และประธานคณะกรรมการทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัยศักยภาพสูง เป็นประธานในพิธี ร่วมด้วย นายสมปรารถนา

อาจารย์นักวิจัย ม.มหิดล คว้าทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัยศักยภาพสูงประจำปี 2565 มุ่งยกระดับงานวิจัยแนวหน้า พัฒนาเทคโนโลยีอวกาศฝีมือคนไทย Read More »

Activity Photo

ม.มหิดล จับมือ พีอาร์ไนน์ ไมโครอินโนเวต สวทช. ขยายสิทธิการใช้ตัวอย่างเชื้อจุลินทรีย์เพื่อการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมดูแลสุขภาพ

5 สิงหาคม 2566 มหาวิทยาลัยมหิดล จับมือภาคเอกชน บริษัท พีอาร์ไนน์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (PR9 Corporation) ร่วมกับ บริษัท ไมโคร อินโนเวต จำกัด (Microinnovate Co.,Ltd) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ลงนามความร่วมมือขยายสิทธิการใช้ตัวอย่างเชื้อจุลินทรีย์ Pediococcus pentosaceus รหัส P7 เพื่อการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมดูแลสุขภาพ พร้อมเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ “BM9 Plus Synbiotics” โชว์ศักยภาพอาหารเสริมเทคโนโลยีชีวภาพจากงานวิจัยโดยคนไทยเพื่อคนไทยคว้ารางวัลเหรียญทองระดับโลกในโอกาสนี้ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปานนท์ ลาชโรจน์ รองผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ ผู้ช่วยคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.วัฒนาลัย ปานบ้านเกร็ด อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บริษัท พีอาร์ไนน์ คอร์ปอเรชั่น นำโดย ดร.เสกข์สรร ธีระวาณิชย์ ประธานกรรมการ และคุณพงษ์กฤตย์

ม.มหิดล จับมือ พีอาร์ไนน์ ไมโครอินโนเวต สวทช. ขยายสิทธิการใช้ตัวอย่างเชื้อจุลินทรีย์เพื่อการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมดูแลสุขภาพ Read More »

Activity Photo

หน่วยสัตว์ทดลอง คณะวิทย์ ม.มหิดล ได้รับการรับรองมาตรฐานการเลี้ยงและใช้สัตว์ทดลองแบบ Full Accreditation อย่างต่อเนื่องจาก AAALAC International ตอกย้ำเป้าหมายในการพัฒนาหน่วยสัตว์ทดลองเพื่อการวิจัยสู่มาตรฐานสากล

12 กรกฎาคม 2566 หน่วยสัตว์ทดลอง งานวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการรับรองมาตรฐานการเลี้ยงและใช้สัตว์ทดลองแบบ Full Accreditation อย่างต่อเนื่องจาก AAALAC International ซึ่งเป็นองค์กรที่สนับสนุนการปฏิบัติต่อสัตว์ทดลองทางวิทยาศาสตร์อย่างมีจริยธรรม และให้การรับรองมาตรฐานสากลสำหรับการดูแลและใช้สัตว์ทดลองเพียงแห่งเดียวที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลก ตอกย้ำเป้าหมายในการพัฒนาหน่วยสัตว์ทดลองเพื่อการวิจัยสู่มาตรฐานสากลหน่วยสัตว์ทดลองของคณะวิทยาศาสตร์ได้รับการรับรองมาตรฐานสัตว์ทดลองจาก AAALAC International เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2561 โดยนับเป็นหน่วยงานลำดับที่ 8 ของประเทศไทยที่ผ่านการรับรอง ก่อนรับการตรวจเยี่ยมจากผู้เชี่ยวชาญครั้งที่ 2 ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมาสำหรับผลการตรวจเยี่ยมในครั้งนี้ คณะวิทยาศาสตร์ได้รับการรับรองการดำเนินงานของหน่วยสัตว์ทดลองต่อเนื่อง และ Satellite Facilities เพิ่มเติมอีก 3 แห่ง ได้แก่ โรงเรือนเลี้ยงกุ้ง ของภาควิชากายวิภาคศาสตร์ ห้องเลี้ยงปลาชั้น 4 อาคารเฉลิมพระเกียรติ ของหน่วยวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง และห้องปฏิบัติการเลี้ยงปลาม้าลาย ของภาควิชาพยาธิชีววิทยา ทำให้มั่นใจได้ว่าการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ของคณะวิทยาศาสตร์นั้นเป็นไปตามระเบียบ ข้อบังคับ และจริยธรรมในระดับสากล เขียนข่าว : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.

หน่วยสัตว์ทดลอง คณะวิทย์ ม.มหิดล ได้รับการรับรองมาตรฐานการเลี้ยงและใช้สัตว์ทดลองแบบ Full Accreditation อย่างต่อเนื่องจาก AAALAC International ตอกย้ำเป้าหมายในการพัฒนาหน่วยสัตว์ทดลองเพื่อการวิจัยสู่มาตรฐานสากล Read More »

Activity Photo

2 อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์คว้ารางวัล MUPSF 2 Stars Awards

26 กรกฎาคม 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ ร่มแสง อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ และ รองศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ อสุวพงษ์พัฒนา อาจารย์ประจำภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คว้ารางวัลที่ 3 และรางวัลชมเชยตามลำดับจากโครงการ MUPSF 2 Stars Awards ซึ่งสนับสนุนอาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล ให้มีโอกาสแสดงผลงานด้านการจัดการเรียนการสอน รวมถึงส่งเสริมและยกย่องอาจารย์ที่มีศักยภาพในด้านการจัดการเรียนการสอน โดยอาจารย์ทั้ง 2 ได้เข้ารับโล่รางวัล ประกาศนียบัตร พร้อมเงินรางวัลจาก ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และรับช่อดอกไม้แสดงความยินดีจาก รองศาสตราจารย์ ดร. ภก.เนติ สุขสมบูรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา ในการประชุมคณะกรรมการประจำมหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งที่ 14/2566 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์นที รักษ์พลเมือง ชั้น 5 สำนักงานอธิการบดี เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพ ตรวจสอบโดย :

2 อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์คว้ารางวัล MUPSF 2 Stars Awards Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ เปิดตัวอาจารย์ที่ปรึกษานักศึกษาแพทย์ PI ชั้นปีที่ 2 ส่งเสริมการเรียนอย่างรอบด้าน

26 กรกฎาคม 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ อสุวพงษ์พัฒนา ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายแพทยศาสตร์ นำทีมอาจารย์ปรีคลินิกจากภาควิชากายวิภาคศาสตร์ จุลชีววิทยา สรีรวิทยา เภสัชวิทยา พยาธิชีววิทยา ชีวเคมี และนักวิชาการการศึกษา งานแพทยศาสตร์และบัณฑิตศึกษา พบปะนักศึกษาโครงการแพทย์เพื่อชาวชนบท ชั้นปีที่ 2 พร้อมนำนักศึกษาทำแบบประเมินสุขภาวะของตนเอง ก่อนแนะนำบทบาทอาจารย์ที่ปรึกษาและเปิดตัวอาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งอาสามาดูแลและให้การสนับสนุนนักศึกษาแพทย์อย่างรอบด้าน โดยอาจารย์ที่ปรึกษาได้กล่าวต้อนรับลูกศิษย์เข้าสายรหัส พูดคุยทำความรู้จัก และสร้างช่องทางติดต่อระหว่างกันท่ามกลางบรรยากาศสนุกสนานและอบอุ่น ณ ห้อง L-04 อาคารเรียนรวม (ตึกกลม)โครงการอาจารย์ที่ปรึกษาสำหรับนักศึกษาแพทย์เพื่อชาวชนบท ชั้นปีที่ 2 เป็นโครงการที่จัดขึ้นต่อเนื่อง เพื่อให้นักศึกษาแพทย์มีที่ปรึกษา รับฟัง ให้คำแนะนำ ส่งเสริม และสนับสนุนนักศึกษาในทุก ๆ ด้าน โดยโครงการอาจารย์ที่ปรึกษากำหนดให้มีการพบกันระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษากับนักศึกษาอย่างน้อยเทอมละ 2 ครั้ง เขียนข่าว : รองศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ อสุวพงษ์พัฒนา เรียบเรียง : นางสาวปัณณพร แซ่แพ ตรวจสอบโดย : – ภาพข่าวโดย:

คณะวิทย์ เปิดตัวอาจารย์ที่ปรึกษานักศึกษาแพทย์ PI ชั้นปีที่ 2 ส่งเสริมการเรียนอย่างรอบด้าน Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมงานครบรอบ 49 ปี การก่อตั้งสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย

27 กรกฎาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย คุณปิยะ โพธิสิทธ์ หัวหน้าหน่วยเทคโนโลยีการศึกษาและอาคารสถานที่ คุณพรน้ำเพ็ญ หอมขำคม หัวหน้าหน่วยบริการการศึกษาและธุรการ เป็นผู้แทนคณบดีร่วมงานครบรอบ 49 ปี การก่อตั้งสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนา 29 กรกฎาคม โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เรณู เหมือนจันทร์เชย รองผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคลให้การต้อนรับ ณ อาคารภาษาและวัฒนธรรมสยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษภาพข่าวโดย : ว่าที่ ร.ต.ภัทรพล ตันตระกูลเว็บมาสเตอร์ : นางสาวปัณณพร แซ่แพวันที่ 28 กรกฎาคม 2566

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมงานครบรอบ 49 ปี การก่อตั้งสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2566 ณ ม.มหิดล ศาลายา

27 กรกฎาคม 2566 ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัย คณะ และสถาบันต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย รวมถึงคณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งนำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระชัย สิริพันธ์วราภรณ์ รองคณบดี อาจารย์ ดร.ธิติคม พัวพันสวัสดิ์ ประธานสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยคณาจารย์ และบุคลากรงานศาลายา ร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 71 พรรษา 28 กรกฎาคม 2566 โดยร่วมทำบุญตักบาตรพระภิกษุสงฆ์และสามเณร จากวัดหทัยนเรศวร์ และวัดมหาสวัสดิ์ ศาลายา จำนวน 30 รูป ต่อด้วยพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระราชกุศล พิธีถวายเครื่องราชสักการะ พิธีถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณ เพื่อเป็นพนักงานที่ดี และพลังของแผ่นดิน ณ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2566 ณ ม.มหิดล ศาลายา Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรม “SCGC-Mahidol Science Symposium Day 2: Advanced Functional Materials for the Future” ส่งเสริมความร่วมมือด้านวิจัยเชิงพาณิชย์ร่วมกับ SCGC สร้างOpen Innovation เพื่อพัฒนาวัสดุที่ยั่งยืนและวัสดุอัจฉริยะ

27 กรกฎาคม 2566 งานวิจัย ร่วมกับงานพันธกิจพิเศษ คณะวิทยาศาสตร์ จัดกิจกรรม “SCGC-Mahidol Science Symposium Day 2” ในหัวข้อ “Advanced Functional Materials for the Future” เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างบริษัทเอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด มหาชน (SCGC) และ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมที่สามารถตอบโจทย์เศรษฐกิจ และส่งเสริมงานวิจัยเชิงพาณิชย์ร่วมกันให้กับประเทศไทยและระดับสากล โดยมีทีมนักวิจัยของทาง SCGC ให้การบรรยายพิเศษ พร้อมเปิดเวทีให้อาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำเสนอผลงานวิจัย และแลกเปลี่ยนมุมมองทางด้านงานวิจัยและนวัตกรรมต่าง ๆ กับทีมนักวิจัยของ SCG ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท โดยมีผู้เข้าร่วมงานทั้งหมดรวมกว่า 100 คนในโอกาสนี้ ผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรม “SCGC-Mahidol Science Symposium Day 2: Advanced Functional Materials for the Future” ส่งเสริมความร่วมมือด้านวิจัยเชิงพาณิชย์ร่วมกับ SCGC สร้างOpen Innovation เพื่อพัฒนาวัสดุที่ยั่งยืนและวัสดุอัจฉริยะ Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติ และถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 71 พรรษา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม

26 กรกฎาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี พร้อมด้วยคณาจารย์ และบุคลากร แต่งกายด้วยชุดสุภาพโทนสีเหลืองร่วมพิธีถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติ และถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 71 พรรษา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพร้อมใจถวายราชสดุดี ถวายพระพรชัยมงคล และร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีร่วมกัน ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไทพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทย ด้วยทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ และพระเมตตาคุณ ปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการแก่อาณาประชาราษฎร์ด้วยพระวิริยอุตสาหะเสมอมา เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพ ตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษ ภาพข่าวโดย: นาย นภาศักดิ์ ผลพานิช เว็บมาสเตอร์: นางสาวปัณณพร แซ่แพ วันที่ 26 กรกฎาคม 2566

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติ และถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 71 พรรษา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ลงนาม MOU สานต่อความร่วมมือด้านวิชาการกับสวนพฤกษศาสตร์เขตร้อนสิบสองปันนา และสถาบันวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดินหน้าวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

25 กรกฎาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) สานต่อความร่วมมือด้านวิชาการและการศึกษากับสวนพฤกษศาสตร์เขตร้อนสิบสองปันนา (Xishuangbanna Tropical Botanical Garden: XTBG) และสถาบันวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Biodiversity Research Institute: SEABRI) ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เดินหน้าวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในโอกาสนี้ ผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติศักดิ์ หยกทองวัฒนา รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและพัฒนานักศึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพงษ์ แสงวิไล ผู้ช่วยคณบดี พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชีรา วิบูลย์จันทร์ หัวหน้าภาควิชาพฤกษศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลิตา คงฤทธิ์ รองหัวหน้าภาควิชาชีววิทยา และคณาจารย์

คณะวิทย์ ม.มหิดล ลงนาม MOU สานต่อความร่วมมือด้านวิชาการกับสวนพฤกษศาสตร์เขตร้อนสิบสองปันนา และสถาบันวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดินหน้าวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ฯ ร่วมกับวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านต้อนรับ นักศึกษานานาชาติในโครงการ NTU ASEAN Summer 2023 เยี่ยมชมโครงการ Startup เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน

24 กรกฎาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ร่วมกับวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดยรองศาสตราจารย์ ดร. พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับผู้บริหาร รองศาสตราจารย์ ดร. ปฐมพงษ์ แสงวิไล และรองศาสตราจารย์ ดร. ณัฏฐวี เนียมศิริ ผู้ช่วยคณบดี ให้การต้อนรับนักศึกษานานาชาติ จำนวน 72 คน ซึ่งเป็นนักศึกษาในโครงการ NTU ASEAN Summer 2023 จากวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล และ Nanyang Technological University ประเทศสิงคโปร์ จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 18-29 กรกฎาคม 2566 ในโอกาสเข้ารับฟังการบรรยายและร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ด้านการบ่มเพาะผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะนักศึกษาได้เข้าเยี่ยมชมโครงการ SPACE-F ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา เพื่อสร้างระบบนิเวศน์ที่ยั่งยืนสำหรับด้าน “Food Tech Startup” ในประเทศไทย โดยการริเริ่มการพัฒนาโปรแกรมการบ่มเพาะผู้ประกอบการ

คณะวิทย์ฯ ร่วมกับวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านต้อนรับ นักศึกษานานาชาติในโครงการ NTU ASEAN Summer 2023 เยี่ยมชมโครงการ Startup เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน Read More »

Activity Photo

กลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพอัจฉริยะ ยกทีมอาจารย์-นักศึกษาเยี่ยมชมโครงการ SPACE-F ผ่านกิจกรรม Knowing Startup Business จุดประกายความคิดเชิงนวัตกรรม ต่อยอดงานวิจัยสู่การทำ Startup

20 กรกฎาคม 2566 กลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพอัจฉริยะ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.กัณยารัตน์ สุไพบูลย์วัฒน หัวหน้ากลุ่มสาขาวิชา พร้อมด้วยนักศึกษาระดับปริญญาตรี รวมกว่า 23 คน เยี่ยมชมโครงการ SPACE-F ผ่านกิจกรรม Knowing Startup Business ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 โดยพานักศึกษาไปสำรวจโลกของ Startup สร้างแรงบันดาลใจในการเริ่มสร้างธุรกิจด้วยการต่อยอดองค์ความรู้ในสาขาชีวนวัตกรรมซึ่งครอบคลุมด้านเทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีอาหาร เทคโนโลยีทางการแพทย์และความงาม สู่นวัตกรรมที่ยั่งยืน ณ SPACE-F ชั้น 6 อาคารชีววิทยาใหม่ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไทกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ ผู้ช่วยคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และคุณอนุสรา จิตราธนวัฒน์ Government Affair จากบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ในการต้อนรับอาจารย์และนักศึกษาอย่างเป็นกันเอง พร้อมแนะนำโครงการ SPACE-F ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างระบบนิเวศที่ส่งเสริมศักยภาพการเติบโตและการแข่งขันของ FoodTech Startup

กลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพอัจฉริยะ ยกทีมอาจารย์-นักศึกษาเยี่ยมชมโครงการ SPACE-F ผ่านกิจกรรม Knowing Startup Business จุดประกายความคิดเชิงนวัตกรรม ต่อยอดงานวิจัยสู่การทำ Startup Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล มอบรางวัล Mahidol Science Innovative Educator 2023 เชิดชูเกียรติคนทำงานวงการศึกษา พัฒนานวัตกรรมการสอนด้วยองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ ในงานรำลึกครบรอบ 104 ปี ชาตกาลศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข

14 กรกฎาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีรำลึกครบรอบ 104 ปี ชาตกาลศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข เพื่อน้อมรำลึกถึงศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข ผู้ก่อตั้งและคณบดีท่านแรกของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และมอบรางวัล Mahidol Science Innovative Educator 2023 เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติคนทำงานในวงการศึกษาที่สร้างประโยชน์แก่สังคมด้านนวัตกรรมการศึกษาด้วยองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชัยวัฒน์ เลิศวิริยะนันทกุล และ Musuko Team พร้อมแสดงความยินดีกับคณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการแต่งตั้งตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้นในช่วงเช้าผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี พร้อมด้วยทายาทศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข ผู้เกษียณอายุงาน ผู้บริหารสมาคมศิษย์เก่า สภาอาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์ร่วมพิธีวางพวงมาลัยสักการะรูปหล่อ ศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข ณ บริเวณอนุสรณ์สถาน ลานอาคารบรรยายรวม (ตึกกลม) ต่อด้วยพิธีทำบุญทักษิณานุปทาน อุทิศส่วนกุศลแด่ศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข

คณะวิทย์ ม.มหิดล มอบรางวัล Mahidol Science Innovative Educator 2023 เชิดชูเกียรติคนทำงานวงการศึกษา พัฒนานวัตกรรมการสอนด้วยองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ ในงานรำลึกครบรอบ 104 ปี ชาตกาลศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข Read More »

Activity Photo

ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ พร้อมด้วยนักศึกษาแพทย์ PI และนักศึกษาชีวการแพทย์ คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมใจจัดงานพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลแด่ผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566 เชิดชูความเสียสละ รำลึกพระคุณอาจารย์ใหญ่ พร้อมมอบรางวัลเรียนดีกายวิภาคศาสตร์ และมอบทุนการศึกษา

8 กรกฎาคม 2566 ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ ร่วมกับนักศึกษาแพทย์ โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล และนักศึกษาวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลแด่ผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566 พร้อมจัดพิธีมอบรางวัลเรียนดีกายวิภาคศาสตร์และพิธีมอบทุนการศึกษา ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุขในการศึกษาวิชาพื้นฐานทางการแพทย์ กายวิภาคศาสตร์จัดว่าเป็นวิชาพื้นฐานที่นักศึกษาแพทย์และนักศึกษาวิทยาศาสตร์การแพทย์ทุกคนจะได้ศึกษาจากร่างของอาจารย์ใหญ่ ซึ่งท่านได้อุทิศร่างกายของท่านให้นักศึกษาได้ศึกษาหาความรู้จากร่างกายของท่าน ซึ่งถ้าปล่อยทิ้งร่างไปก็จะกลายเป็นอสุภที่ไม่เกิดประโยชน์อันใด หากแต่การอุทิศร่างกายของท่านให้นักศึกษาแพทย์และนักศึกษาวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ศึกษากลับเป็นคุณูปการอันยิ่งใหญ่ในการสร้างบุคลากรทางการแพทย์เพื่อดูแลรักษาผู้ป่วยอีกนับหมื่นนับแสนคนต่อไป เหล่านักศึกษาแพทย์และนักศึกษาวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ ต่างสำนึกและเทิดทูนในความเสียสละอันยิ่งใหญ่นี้ จึงได้ร่วมกันจัดงานพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลแด่ผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566 ขึ้น โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานในพิธีฯ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา วีรชาติยานุกูล หัวหน้าภาควิชากายวิภาคศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ อสุวพงษ์พัฒนา ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายแพทยศาสตร์ คณาจารย์ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ บุคลากรภาควิชากายวิภาคศาสตร์ เจ้าหน้าที่งานแพทยศาสตร์และบัณฑิตศึกษา นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 2 โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล นักศึกษาวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นักศึกษาแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ พร้อมด้วยนักศึกษาแพทย์ PI และนักศึกษาชีวการแพทย์ คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมใจจัดงานพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลแด่ผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566 เชิดชูความเสียสละ รำลึกพระคุณอาจารย์ใหญ่ พร้อมมอบรางวัลเรียนดีกายวิภาคศาสตร์ และมอบทุนการศึกษา Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดโครงการสอนปรับพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาที่กำลังจะเข้าศึกษาในหลักสูตรนานาชาติ เตรียมความพร้อมรับเปิดเทอม ปีการศึกษา 2566

3 กรกฎาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการสอนปรับพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาที่กำลังจะเข้าศึกษาในหลักสูตรนานาชาติ (Preparatory course) โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพงษ์ แสงวิไล ผู้ช่วยคณบดี พร้อมด้วยคณาจารย์จากหลักสูตรนานาชาติของคณะวิทยาศาสตร์ อาทิ รองศาสตราจารย์ ดร.อลิสา สจ๊วต จากหลักสูตรทรัพยากรชีวภาพและชีววิทยาสภาวะแวดล้อม (Bioresources and Environmental Biology) ดร.นิศามณี เจริญชนม์ จากหลักสูตรวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ (Biomedical Science) ดร.ฒนันท์ วาริทนันท์ จากหลักสูตรวัสดุศาสตร์และวิศวกรรมนาโน (Material Science and Nano Engineering) ดร.ภควัต ทวีปวรเดช จากภาควิชาชีววิทยา ดร.ทัฏพงศ์ ตุลยานนท์ จากหลักสูตรชีวนวัตกรรม (Bioinnovation) และ ดร.ฐิตารีย์ บุญตันตราภิวัฒน์ จากบัณฑิตวิทยาลัย เข้าร่วมพิธีเปิดและร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์แนะแนวการเรียนในระดับมหาวิทยาลัยในไทยและต่างประเทศกิจกรรมในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อปูพื้นฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทักษะการเรียนรู้ การสื่อสาร การแก้ปัญหา พัฒนาแนวคิด การทำงานเป็นทีม และทักษะภาษาอังกฤษ

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดโครงการสอนปรับพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาที่กำลังจะเข้าศึกษาในหลักสูตรนานาชาติ เตรียมความพร้อมรับเปิดเทอม ปีการศึกษา 2566 Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดอบรมเชิงปฏิบัติการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพสำหรับ BSL-2 เสริมความรู้และทักษะการวิจัยในห้องปฏิบัติการทางชีวภาพอย่างปลอดภัยตามมาตรฐานสากล ยกระดับบุคลากรด้านการวิจัย พัฒนา และผลิตวัคซีนของประเทศ

29 – 30 มิถุนายน 2566 งานวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “Fundamental Biosafety for BSL-2 (ภาคภาษาไทย)” โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์. ดร. ภก.วิสิฐ ตั้งเคียงศิริสิน ผู้จัดการสำนักพัฒนาศักยภาพด้านวัคซีนของประเทศ กล่าวเปิดกิจกรรมการอบรมในครั้งนี้ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ ร่มแสง ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ ประธานคณะกรรมการควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวรายงานภาพรวมของการอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยกิจกรรมในครั้งนี้มีบุคลากรที่เกี่ยวข้องด้านการวิจัย พัฒนา และผลิตวัคซีนของประเทศไทยจำนวนกว่า 106 คน เข้าร่วมอบรม ณ ห้องประชุม อาคารสตางค์มงคลสุขผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ ร่มแสง ได้กล่าวว่า การจัดกิจกรรมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องด้านการวิจัย พัฒนาและผลิตวัคซีน ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางชีวภาพทั้งคุณภาพและปริมาณให้แก่ประเทศ เพื่อยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยทางชีวภาพในห้องปฏิบัติการวิจัยพัฒนาและผลิตวัคซีน ทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐาน การบริหารจัดการ ความรู้ความเข้าใจ ทักษะความเชี่ยวชาญ และความตระหนักของผู้ปฏิบัติงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการวิจัยพัฒนาและผลิตวัคซีนในการพัฒนาด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ ขอขอบคุณสถาบันวัคซีนแห่งชาติในการให้ทุนวิจัยสนับสนุนจัดกิจกรรมในครั้งนี้ขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาวัคซีนของประเทศ และการพัฒนาวัคซีนของประเทศเป็นไปได้อย่างยั่งยืนเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของคนในชาติต่อไป

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดอบรมเชิงปฏิบัติการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพสำหรับ BSL-2 เสริมความรู้และทักษะการวิจัยในห้องปฏิบัติการทางชีวภาพอย่างปลอดภัยตามมาตรฐานสากล ยกระดับบุคลากรด้านการวิจัย พัฒนา และผลิตวัคซีนของประเทศ Read More »

Activity Photo

คณาจารย์ภาควิชาปรีคลินิก คณะวิทย์ ม.มหิดล คล้องสายใยรักต้อนรับนักศึกษาแพทย์โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล รุ่นที่ 26 ข้ามฟากศาลายา-พญาไท ในพิธีปฐมนิเทศปีการศึกษาใหม่

3 กรกฎาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ อสุวพงษ์พัฒนา ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายแพทยศาสตร์ พร้อมด้วยหัวหน้าภาควิชา และคณาจารย์ภาควิชาปรีคลินิก นายแพทย์พิภพ จิตนำทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ และอาจารย์แพทย์ และเจ้าหน้าที่ร่วมต้อนรับนักศึกษาแพทย์โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล รุ่นที่ 26 ที่ผ่านการศึกษาในชั้นปีที่ 1 และได้ข้ามฟากจากศาลายามาเรียนชั้นปีที่ 2 และชั้นปีที่ 3 ยังคณะวิทยาศาสตร์ วิทยาเขตพญาไท ในพิธีปฐมนิเทศซึ่งตรงกับวันเปิดภาคการศึกษาใหม่ ณ ห้องบรรยาย L04 อาคารบรรยายรวม (ตึกกลม)คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำการสอนนักศึกษาแพทย์ในโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล มาตั้งแต่รุ่นที่ 1 ในปี พ.ศ. 2551 จวบจนถึงปัจจุบันในปีนี้ พิธีปฐมนิเทศเริ่มต้นขึ้นโดยนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 2 ตั้งแถวที่บริเวณลานตึกกลม ตัวแทนนักศึกษาแพทย์ได้กราบสักการะศาลท้าวสิงหล และพระพุทธรูปประจำประคณะวิทยาศาสตร์ พร้อมสักการะรูปหล่อ ศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข จากนั้นจึงเดินลอดซุ้มประตูสู่คณะวิทยาศาสตร์เพื่อขึ้นไปยังห้องบรรยาย

คณาจารย์ภาควิชาปรีคลินิก คณะวิทย์ ม.มหิดล คล้องสายใยรักต้อนรับนักศึกษาแพทย์โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล รุ่นที่ 26 ข้ามฟากศาลายา-พญาไท ในพิธีปฐมนิเทศปีการศึกษาใหม่ Read More »