logo

รางวัลเกียรติยศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Mahidol Science Communicator Award

Mahidol Science Communicator Award 2021

รางวัล Mahidol Science Communicator Award จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปีพ.ศ. 2563 โดยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และการสนับสนุนของบริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่าน ที่ร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินรางวัล Mahidol Science Communicator Award ในครั้งนี้ โดยเฉพาะ

คุณพิภพ พานิชภักดิ์ Mobile Journalist Thailand ผู้ผลิตสารคดีและสื่ออิสระ อดีตรองผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ด้านเนื้อหาสื่อสาธารณะ (ไทยพีบีเอส)

คุณกลอยตา ณ ถลาง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริหารความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์  ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

การมอบรางวัล Mahidol Science Communicator Award ประจำปี 2564 แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

  1. รางวัลองค์กรสื่อสารวิทยาศาสตร์​
  2. รางวัลนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ดาวรุ่ง
  3. รางวัลนักสื่อสารวิทยาศาสตร์

ประเภทรางวัลองค์กรสื่อสารวิทยาศาสตร์ Science Communicator Award for Organization

“สสวท. เป็นผู้นำการความเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีทั้งในและนอกสถานศึกษา ให้นักเรียนพัฒนาตามศักยภาพขึ้นเป็นประชากรที่มีความรู้ นักวิชาชีพฐานดี และนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำต่อไป” นอกจาก สสวท. จะได้วิจัยและพัฒนาหนังสือเรียน หลักสูตร สื่อ และการจัดการเรียนรู้สาหรับใช้ในสถานศึกษาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในระบบโรงเรียนแล้ว สสวท. ยังเห็นความสาคัญของการส่งเสริมให้เยาวชนไทยเกิดการเรียนรู้นอกห้องเรียนผ่านกิจกรรมการเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการที่น่าสนใจ สนุกสนานและเข้าถึงได้อีกด้วย โดยใช้ภาษาที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย จัดทำเนื้อหาวิทยาศาสตร์ที่ไม่ซับซ้อน เพื่อให้เยาวชนเกิดความรู้สึกได้ว่า วิทยาศาสตร์ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป มีความน่าสนใจจนทาให้เกิดการสนใจใฝ่ในการเรียนรู้ต่อไป และตระหนักรู้ได้ว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องใกล้ตัว และจำเป็นสำหรับชีวิตประจาวัน เพื่อใ ห้เยาวชนไทยเกิดการพัฒนาตามศักยภาพขึ้นเป็นพลเมืองคุณภาพที่รู้จักการคิดวิเคราะห์ในทุก ๆ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จนเป็นประชากรที่มีความรู้ นักวิชาชีพฐานดี และนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำต่อไป

ด้วยผลงานแห่งการเป็นผู้นำในการการเปลี่ยนแปลง พัฒนาศักยภาพการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีสู่การสร้างบุคลากรที่ดีด้านวิทยาศาสตร์ชั้นนำของประเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ขอมอบรางวัลองค์กรสื่อสารวิทยาศาสตร์​ ประจำปี 2564 ให้แก่ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ


โครงการ FameLab ในประเทศไทยได้ริเริ่มเมื่อปี 2558 และยังดำเนินโครงการถึงปัจจุบัน มีผู้สมัครกว่า 300 คน และเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ได้ถูกเผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ ทั้งบนเวทีในรอบชิงต่างๆ และบนสื่อออนไลน์ เช่น Facebook เพจต่างๆ และ YouTube โดยบริติช เคานซิล ประเทศไทย ได้สนับสนุนการสื่อสารวิทยาศาสตร์ ผ่านโครงการแข่งขันสื่อสารวิทยาศาสตร์ FameLab ซึ่งได้ริเริ่มโดย Cheltenham Science Festival จากสหราชอาณาจักร โครงการ FameLab ได้เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความรู้และสนใจในด้าน STEM ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน อาจารย์ หรือนักวิจัย ได้ออกมาเล่าเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์เป็นเวลาไม่เกิน 3 นาที สู่สาธารณะชน เมื่อได้ผ่านการออดิชั่น ผู้เข้าแข่งขัน 10 คนจะได้รับสิทธิ์เข้าร่วมอบรม (Masterclass) โดยผู้เชี่ยวชาญจากสหราชอาณาจักร และได้แข่งในรอบชิงชนะเลิศเพื่อเป็นตัวแทนประเทศไทยในการแข่งรอบนานาชาติที่มีตัวแทนกว่า 20 ประเทศในแต่ละปี

ด้วยผลงานการสื่อสารบอกเล่าเรื่องราววิทยาศาสตร์ ผ่านสื่อออนไลน์สู่สาธารณะอย่างต่อเนื่อง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ขอมอบรางวัลองค์กรสื่อสารวิทยาศาสตร์​ ประจำปี 2564 ให้แก่ โครงการ FameLab โดย British Council

เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เผยแพร่ความรู้ผ่านสื่อภาพยนตร์ เนื่องจากทางเทศกาลเชื่อว่าวิทยาศาสตร์ก็เป็นเรื่องที่สนุกได้ เพื่อให้เยาวชนได้มีความรู้ควบคู่ไปกับความบันเทิง (Edutainment) ซึ่งจะมีการนำภาพยนตร์วิทยาศาสตร์จากนานาชาติมาจัดฉายในช่วงเวลาของเทศกาล (ต้นพฤศจิกายน - ปลายธันวาคมของทุกปี) โดยภาพยนตร์ที่นำมาฉายเป็นภาพยนตร์ที่ส่งเข้ามาประกวดในเทศกาล จากนั้นได้รับการคัดเลือกให้นำมาฉายในประเทศต่างๆ จำนวน 28 ประเทศ ทั้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ แอฟริกา ละตินอเมริกา และตะวันออกกลาง นอกจากการจัดฉายภาพยนตร์แล้วยังมีกิจกรรมด้านการศึกษาที่จัดเตรียมไว้ โดยจะมีการจัดทำสื่อการเรียนการสอนที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับภาพยนตร์ที่ได้จัดฉายในแต่ละปี เพื่อให้เยาวชนได้ลงมือทำกิจกรรมร่วมกับครูผู้สอนหรือผู้ปกครอง ช่องทางการจัดฉายภาพยนตร์มีทั้งการจัดฉายในโรงภาพยนตร์ขององค์กรพันธมิตร คาราวานจากศูนย์วิทยาศาสตร์ทั่วประเทศที่เดินทางไปจัดกิจกรรมในโรงเรียนต่างๆ รวมถึงการเปิดให้ลงทะเบียนเพื่อขอรับรหัสผ่านเข้าชมภาพยนตร์วิทยาศาสตร์แบบออนไลน์ บนหน้าเว็บไซต์ www.vimeo.com

ด้วยผลงานการแผ่ยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ผ่านสื่อภาพยนตร์ อย่างต่อเนื่อง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ขอมอบรางวัลองค์กรสื่อสารวิทยาศาสตร์​ ประจำปี 2564 ให้แก่ Science Film Festival โดย Goethe - Institut

ประเภทรางวัลนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ดาวรุ่ง Rising Star Science Communicator Award

“เพจชีววิทยา เพื่อชีววิทยา” อยากเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับชีววิทยาให้กับคนนอกสาขาได้รับรู้ ตั้งแต่เรื่องราวระดับเซลล์ไปจนถึงระดับสิ่งมีชีวิต เน้นนำเสนองานวิจัยใหม่ ๆ และความรู้ที่ฉีกจากตำรา และนำมาย่อยให้เข้าใจง่าย
โดยตั้งใจจะเรียนจบปริญญาเอกและกลับมาเป็นอาจารย์ในประเทศไทย พร้อมทั้งเผยแพร่ความรู้ทางชีววิทยาสู่สาธารณะ ทั้งในรูปแบบเพจที่เคยทำมาตลอด รวมทั้งเขียนเป็นหนังสือรวมเล่ม อยากเป็นตัวอย่างให้เด็ก ๆ เห็นว่านักชีววิทยาเท่ขนาดไหน และสร้างค่านิยมให้สังคมยอมรับอาชีพนี้มากขึ้น

ด้วยผลงานการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับชีววิทยาให้คนนอกจากสาขาได้รับรู้และเข้าใจอย่างง่าย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ขอมอบรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดาวรุ่ง​ ประจำปี 2564 ให้แก่ Facebook Pages นี่แหละชีวะ


Facebook fanpage คณิตศาสตร์อย่างที่ควรจะเป็น บทความออนไลน์ และการบรรยายในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ
คณิตศาสตร์เป็นศาสตร์ที่มีความซับซ้อนและเป็นนามธรรมสูง จึงเป็นยาขมสำหรับผู้เรียนส่วนใหญ่ อีกทั้งคณิตศาสตร์ยังดูห่างไกลจากชีวิตจริงของคนทั่วไป ทั้งที่ความจริงแล้วคณิตศาสตร์นั้นอยู่รอบตัวของเรา เทคโนโลยี วิทยาการ และองค์ความรู้ต่าง ๆ ในโลกนี้นั้นต่างมีคณิตศาสตร์อยู่เบื้องหลังทั้งนั้น ผมในฐานะคนเรียนคณิตศาสตร์มามองเห็นคณิตศาสตร์อยู่ตรงนั้นตรงนี้ได้อย่างไม่ยากนัก ดังนั้นผมจึงอยากที่จะชี้ชวนให้คนอื่น ๆ ได้มองเห็นสิ่งที่ผมเห็นด้วย พยายามสกัดเอาคณิตศาสตร์ที่ดูไกลตัวมาย่อยให้ง่าย เล่าเป็นเรื่องให้สนุก สุดท้ายการมองเห็นประโยชน์หรือคุณค่าของคณิตศาสตร์อาจจะไม่สามารถเปลี่ยนคนที่เกลียดให้หันมารักวิชานี้ได้ แต่อย่างน้อยก็ขอให้เขาเกลียดมันอย่างเข้าใจ เกลียดมันอย่างรู้คุณค่าของมัน และเป็นยาขมที่ไม่ได้หมายความถึงแค่ความขม แต่เป็นยาขมในความหมายที่ว่ามันมีประโยชน์ต่อโลกนี้จริง ๆ

ด้วยผลงานการสร้างแรงบันดาลใจ ในการสกัดเอาคณิตศาสตร์ที่ดูไกลตัวมาย่อยให้ง่าย เล่าเป็นเรื่องให้สนุก สุดท้ายการมองเห็นประโยชน์หรือคุณค่าของคณิตศาสตร์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ขอมอบรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดาวรุ่ง​ ประจำปี 2564 ให้แก่  Facebook fanpage คณิตศาสตร์อย่างที่ควรจะเป็น

ประเภทรางวัลนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ Science Communicator Award

มีช่องทางสื่อออนไลน์ คือ เพจเฟซบุ้ควิทยาศาสตร์ ชื่อ “อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์” และเฟซบุ้คส่วนตัว ชื่อ “Jessada Denduangboripant” รวมทั้งช่องยูทูป ชื่อ “Jessadad”นอกจากนี้ ยังมีการเขียนบทความในคอลัมน์ประจำ ชื่อ “คิดอย่างวิทยาศาสตร์” ของนิตยสาร All Magazine,  จัดรายการวิทยุ “SciFind ค้นแบบวิทย์ คิดแบบอาจารย์เจษฎ์“ สถานีวิทยุจุฬาฯ คลื่น FM101.5 Mz, จัดรายการวิทยุ “เวทีความคิด“สถานีวิทยุ อสมท. FM96.5 Mz, จัดรายการวิทยุ จัดรายการวิทยุ “ชัวร์แน่ หรือแชร์มั่ว” คลื่นวิทยุครอบครัวข่าว FM 106 Mz โดยพยายามปลูกฝัง “ตรรกะความคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์” ให้กับสังคมไทยมากขึ้น ในการรู้จักตั้งคำถามกับสิ่งต่างๆ รอบตัว และใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการ “คิด วิเคราะห์ แยกแยะ” โดยใช้คติพจน์ที่ว่า “วิทยาศาสตร์ มีคำตอบ” ในการหาคำตอบของคำถามต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์เทียม ข้อมูลเท็จ ข่าวปลอม ความเชื่อ ไสยศาสตร์ ฯลฯ บนพื้นฐานของการปฏิเสธวลีที่คนไทยชอบพูดกันว่า “ไม่เชื่อ อย่าลบหลู่” และให้เปลี่ยนมาเป็น “ไม่เชื่อ ต้องพิสูจน์” บนภาษาที่เข้าใจง่าย สำหรับคนทั่วไป ทุกเพศ ทุกวัย

ด้วยผลงานสื่อสารวิทยาศาสตร์ ในทุกช่องทาง และปลูกฝังตรรกะความคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ให้กับสังคม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ขอมอบรางวัลนักสื่อสารวิทยาศาสตร์​ ประจำปี 2564 ให้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์


มีรายการ podcast ชื่อ WiTcast, เว็บไซต์ WiTcastThailand.com, เพจเฟซบุค WiTcast, ช่องยูทูบ WiTcast   คอลัมน์ประจำออนไลน์ชื่อ เมฆนม ทางเว็บไซต์ The Cloud และบทความรับเชิญอื่น ๆ หนังสือที่เป็นผู้แต่งและผู้แปล เช่น โลกจิต, Mimic เลียนแบบทำไม?, วิทย์ไทย, ในคนมีปลา ในขามีครีบ, ฯลฯ  บทบาทพิธีกร/วิทยากรตามโอกาสต่าง ๆ   อยากให้มิติต่างๆ ของวิทยาศาสตร์แทรกซึมอยู่ในชีวิตคนทั่วไป ไม่ต่างจากศิลปะ ดนตรี กีฬา ศาสนา หรือการเมือง ฯลฯ ไม่ว่าจะเป็นมิติด้านความน่าตื่นเต้นของการค้นพบใหม่ๆ มิติด้านความมหัศจรรย์พันลึกของโลกธรรมชาติ มิติด้านประวัติศาสตร์ความรู้ของมนุษย์ มิติการขบคิดปริศนาอันลึกซึ้ง เช่นที่มาที่ไปของชีวิต จักรวาล และสรรพสิ่ง มิติการพิสูจน์ความจริง มิติการค้นหาทางออกให้กับปัญหาต่าง ๆ มิติด้านจิตวิญญาณที่สัมผัสถึงความงดงามและยิ่งใหญ่ของสิ่งที่วิทยาศาสตร์ค้นพบ อยากให้คนรับรู้เรื่องราวเหล่านี้แล้วรู้สึกทึ่ง เบิกเนตร ประทับใจไปด้วยกัน ที่สำคัญอยากให้รับรู้ผ่านเสียงเล่าของคนที่มีใจรัก ผ่านบรรยากาศที่สนุกสนาน เฮฮา และเป็นกันเอง โดยทำสิ่งที่ทำอยู่แล้วต่อไปให้ดีขึ้นเรื่อยๆ หวังว่าจะได้เพื่อนร่วมอุดมการณ์เพิ่มขึ้นระหว่างทาง จะได้ช่วยกันขยายวงสนทนาให้กว้างขึ้น และขยายสังคมคนที่รักวิทยาศาสตร์แบบเดียวกับเราให้ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ

ด้วยผลงานการสร้างมิติต่างๆ ของวิทยาศาสตร์แทรกซึมอยู่ในชีวิตคนทั่ว ผ่านบรรยากาศที่สนุกสนาน และเป็นกันเอง ไปผ่านสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ในหลาย ๆ ช่องทาง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ขอมอบรางวัลนักสื่อสารวิทยาศาสตร์​ ประจำปี 2564 ให้แก่ ดร.แทนไท ประเสริฐกุล

ปี 2566

ปี 2565

ปี 2564

ปี 2563