ยุทธศาสตร์ที่ 1 Global Research and Innovation
ยุทธศาสตร์ที่ 2 Innovative Education and Authentic Learning
ยุทธศาสตร์ที่ 3 Policy Advocacy and Leaders in Professional / Academic Services
ยุทธศาสตร์ที่ 4 Management for Self-Sufficiency and Sustainable Organization
1. การศึกษาสากล บ่มเพาะผู้ประกอบการ พัฒนาหลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อผลิตบัณฑิตซึ่งมีทักษะการวิจัยเป็นที่ยอมรับในสากล และมีทักษะความเป็นผู้ประกอบการ
2. การวิจัยระดับ World Class สร้างผลงานวิจัยระดับแนวหน้าที่มีคุณภาพสูงและได้รับการยอมรับระดับสากล
3. ความรู้เพื่อมนุษยชาติ ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีสู่สังคมชุมชน เพื่อความผาสุกและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน
4. นวัตกรรมเพื่อประเทศ พัฒนานวัตกรรมทรัพย์สินทางปัญญาและบริการวิชาการที่สร้างรายได้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ สังคมและประเทศชาติ
5. องค์กรแห่งความยั่งยืน บริหารองค์กรด้วยหลักธรรมาภิบาลการเงินมั่นคง พัฒนา Smart Citizens & Global Talents เปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล สร้าง Brand ที่เข้มแข็ง และมุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัยมหิดล |
Download อัตลักษณ์ใหม่ : สำหรับจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ - Logo มหาวิทยาลัยมหิดล สีน้ำเงินมหิดล สีเหลืองมหิดล สีทองมหิดล |
ยุทธศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2560 – 2564 |
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีวิสัยทัศน์ (Vision) เป็นผู้นำด้านการศึกษา วิจัย และนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์อย่างบูรณาการ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษยชาติ มีวัตถุประสงค์ (Objective) 1) พัฒนาหลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ผลิตบุคลากรซึ่งมีทักษะการวิจัยเป็นที่ยอมรับในสากล หรือมีทักษะในการเป็นผู้ประกอบการ 2) สร้างผลงานวิจัยที่นำไปใช้ในกระบวนการแก้ปัญหาท้าทายของสังคม 3) ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีสู่สังคม เพื่อความสุขและการเป็นอยู่ที่ดีของมนุษยชาติ 4) พัฒนานวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญาที่สร้างรายได้ และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ และ 5) พัฒนานักวิจัย คณาจารย์ บุคลากรที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล Global Talent โดยมีค่านิยมหลัก (Core Values) ประกอบด้วย ความเชี่ยวชาญวิชา (Mastery) ความสามัคคีรวมใจ (Unity) การใฝ่สัมฤทธิ์ (Success) และ การคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ถึงเวลาแล้วที่คณะวิทยาศาสตร์จะแสดงให้สังคมประจักษ์เห็นถึงความสำคัญของ “วิทยาศาสตร์” และ “งานวิจัย” ทางวิทยาศาสตร์ในการสร้างสรรค์สังคมและประเทศไทยด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรม ผลักดันพลวัตของเศรษฐกิจประเทศไทยให้ก้าวหน้าต่อไป ดังเช่นวิสัยทัศน์ที่จะเป็นคณะวิทยาศาสตร์ชั้นนำในระดับสากล ยุทธศาสตร์ของคณะวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยแผนกลยุทธด้านต่างๆ ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหิดลในแต่ละด้าน คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 Global Research and Innovation ยุทธศาสตร์ที่ 2 Academic and Entrepreneurial Education ประกอบด้วยกลยุทธ คือ ยุทธศาสตร์ที่ 3 Policy Advocacy and Leaders in Professional / Academic Services ประกอบด้วยกลยุทธ คือ ยุทธศาสตร์ที่ 4 Management for Self-Sufficiency and Sustainable Organization ประกอบด้วยกลยุทธ คือ
|
[ ข้อมูลเดิม ปี 2559 ] [ ข้อมูลเดิม ปี 2558 ]
แผนยุทธศาสตร์ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2563 - 2566 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2564)
โครงสร้างองค์กรคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (พฤษภาคม 2563)
Mahidol Facts and figures Year 2017/18
ทิศทางการบริหารมหาวิทยาลัย 2560-2561
แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2567-2570
แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2563-2566
แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2559-2562
แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580)
แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579)
แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) (สรุประดมสมอง)