logo


แนะนำ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (ข้อมูลเมื่อปี 2559)

ตราคณะวิทยาศาสตร์

วิสัยทัศน์

เป็นคณะวิทยาศาสตร์ชั้นนำในระดับสากล

พันธกิจ

สร้างทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้คู่คุณธรรม และผลิตผลงานวิจัยคุณภาพสากล

ค่านิยมหลัก

เชี่ยวชาญวิชา สามัคคีรวมใจ ใฝ่สัมฤทธิ์ คิดสร้างสรรค์


เป้าหมายสูงสุดขององค์กร

Science Faculty of Choice

วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์

1) Research Excellence 2) Teaching and Learning Excellence 3) Internationalization

 

To be the World Class Science Faculty
ผลิตผลงานวิจัยคุณภาพชั้นนำระดับโลก และทำให้การวิจัยเป็นองค์ประกอบสำคัญของการเรียนการสอน เพื่อผลิตบัณฑิตคุณภาพที่มีทักษะ ความสามารถและศักยภาพที่จะให้คุณค่าแก่สังคม มีความก้าวหน้าโดดเด่นและสามารถในการแข่งขันได้ในระดับสากล ทั้งระหว่างการศึกษาและหลังจบการศึกษาแล้ว

 

ค่านิยมหลัก (Core Values)

CORE VALUES :
M
Mastery
เป็นนายแห่งตน
A
Altruism
มุ่งผลเพื่อผู้อื่น
H
Harmony
กลมกลืนกับสรรพสิ่ง
I
Integrity
มั่นคงยิ่งในคุณธรรม
D
Determination
แน่วแน่ทำ กล้าตัดสินใจ
O
Originality
สร้างสรรค์สิ่งใหม่
L
Leadership
ใฝ่ใจเป็นผู้นำ
M
Mastery
เชี่ยวชาญวิชา
U
Unity
สามัคคีรวมใจ
S
Success
ใฝ่สัมฤทธิ์
C
Creativity
คิดสร้างสรรค์

 

ข้อมูลหลักสูตร

Degrees & Admissions
Faculty of Science, Mahidol University

 

  ประวัติและความเป็นมาของคณะ
  คณะวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน

  แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.2559-2562
  แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.2556-2559
  แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.2552-2555
  แผนกลยุทธ์คณะวิทยาศาสตร์ (ปีงบประมาณ 2552-2555)
  แผนกลยุทธ์คณะวิทยาศาสตร์ (ปีงบประมาณ 2555-2559)
  Facts & Figures จำนวนบุคลากรและนักศึกษา

[ พญาไท | ศาลายา ]


คณะวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน

ภาพบรรยากาศคณะวิทยาศาสตร์

ตลอดระยะเวลากว่า 50 ปี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีจุดมุ่งหมายที่จะก้าวสู่การเป็นสถาบันการศึกษา ที่เป็นผู้นำการเรียนการสอน การผลิตนักศึกษาที่มีคุณภาพ และมีผลงานวิจัยที่เป็นเลิศ ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักที่คณะฯ ให้ความสำคัญ ภายใต้วิสัยทัศน์ “เป็นคณะวิทยาศาสตร์ชั้นนำในระดับสากล”

ด้านการเรียนการสอน คณะฯ มีจุดเน้นคือ การผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรีที่มีคุณภาพสูงจำนวนประมาณ 300 คน ต่อปี โดยคณะวิทยาศาสตร์ เป็นผู้นำในการสร้างสรรค์โครงการใหม่ๆ ในระดับปริญญาตรีเพื่อส่งเสริมนักเรียนเก่งที่รักวิทยาศาสตร์ อาทิ โครงการ Advance Placement หรือ AP Program ซึ่งคณะฯ ริเริ่มโดยเปิดโอกาสให้นักเรียนมัธยมปลาย โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ สามารถเข้ามาเรียนบางรายวิชา ร่วมกับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในมหาวิทยาลัย หรือนำหน่วยกิตบางรายวิชาที่เรียนในโรงเรียน ซึ่งได้รับการรับรองจากคณะฯ มาใช้ เมื่อสอบผ่านเข้ามาเรียนในคณะฯ แล้วไม่ต้องเรียนวิชานั้นซ้ำ ทำให้นักศึกษามีเวลาทำวิจัยได้มากขึ้น อีกทั้งคณะวิทยาศาสตร์ได้ริเริ่มโครงการ พิสิฐวิธาน (Distinction Program หรือ Honor’s Program) ซึ่งเป็นหลักสูตรวิทยาศาสตร์ที่เข้มข้นและเน้นการวิจัย เพื่อให้นักศึกษาที่มีความสามารถสูงสามารถเลือกเรียนได้อย่างเต็มศักยภาพ ทั้งโครงการ AP Program และ Honor’s Program ปัจจุบันมีการขยายการดำเนินการไปในระดับชาติแล้ว

ส่วนในระดับบัณฑิตศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ นับเป็นผู้นำและเป็นสถาบันหลักของประเทศในการผลิตบัณฑิต ระดับปริญญาโท-ปริญญาเอกที่มีคุณภาพสูง ในสาขาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นผู้สร้างคณาจารย์และนักวิจัยต้นแบบ ให้กับสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ โดยคณะฯ มีหลักสูตรบัณฑิตศึกษานานาชาติ กว่า 40 หลักสูตร มีคณาจารย์ และนักวิจัยต่างชาติกว่า 30 คน มีนักศึกษาต่างชาติกว่า 20 คน และมีหลักสูตรใหม่ที่เป็นความต้องการของประเทศ และมีความเป็นสหสาขา หรือ Multidisciplinary ซึ่งเป็นจุดเน้นของคณะฯ หลายหลักสูตร เช่น หลักสูตรพิษวิทยา (Toxicology) หลักสูตรนิติวิทยาศาสตร์ (Forensic Science) หลักสูตรวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุ (Materials Science and Engineering) และหลักสูตรเวชศาสตร์ระดับโมเลกุล (Molecular Medicine) เป็นต้น และเน้นการเพิ่มการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาเอก เพื่อสร้างนักวิจัยระดับมันสมองให้กับประเทศ

ด้านการวิจัย คณะฯ ให้ความสำคัญกับการวิจัย จนเป็นที่ยอมรับทั่วไปว่า การวิจัยเป็นวัฒนธรรมองค์กร ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีจุดแข็ง (Research Strength) คือ

Frontiers of Science and Sustainable Technology

1. Aquaculture (Shrimp/fish/Abalone/sea cucumber)
งานวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ เช่น กุ้ง ปลา หอยเป๋าฮื้อ  และปลิงทะเล  เป็นต้น เพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน  ลดผลกระทบและป้องกันความสูญเสียจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและการเกิดโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. Agricultural and Food Technology
งานวิจัยที่มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตทางการเกษตร การพัฒนานวัตกรรมในกระบวนการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคุณภาพและปลอดภัยต่อผู้บริโภคเพื่อเพิ่มมูลค่า

3. Conservation, Ecology and Environmental Science (animal, plant, insects, microbes)
งานวิจัยที่มุ่งเน้นการอนุรักษ์  การใช้ประโยชน์  การเสริมสร้างและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ในประเทศ

4. Biomass and Bioresource Technology (Biocatalysis, Biorefinery, Bio-based Chemical,  Bioenergy, Bioactive Compounds, Green Process)
งานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพ  ได้แก่  การพัฒนาตัวเรงปฏิกิริยาทางชีวภาพในรูปแบบของเอนไซม์หรือเซลล์จุลินทรีย์ให้มีประสิทธิภาพสูง  ในการประยุกต์ใช้ในภาคอุตสาหกรรมและทางด้านการแพทย์ การพัฒนาเซลล์เชื้อเพลิงชีวภาพด้วยการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อพัฒนาพลังงานทางเลือกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  รวมถึงการสกัดสารธรรมชาติที่มีฤทธิ์ทางยา เพื่อใช้เป็นเวชภัณฑ์และเครื่องสำอางค์  เป็นต้น

5. Material and Polymer (smart material, nanomaterial, rubber, polymer and bioplastics)
งานวิจัยและพัฒนาวัสดุเฉพาะทางเพื่อผลิตหรือใช้วัสดุนาโนเทคโนโลยีสำหรับนำไปใช้ในด้านพลังงานทดแทน เครื่องมือหรือวัสดุเพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรม  และวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ คุณภาพ และลดต้นทุนของกระบวนการผลิต นำไปสู่การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์

6. Diagnostics and Sensor Technology (sensor, diagnostic kit, high throughput detection, lab-on-chips)
งานวิจัยที่มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีที่นำไปใช้ในการตรวจคัดกรอง วินิจฉัยความปลอดภัยและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ หรือการตรวจวิเคราะห์ด้านการแพทย์ ตลอดจนการพัฒนาเทคโนโลยีเซ็นเซอร์และระบบอัตโนมัติในการควบคุม ประมวลผลและรายงานผลในเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมต่างๆ  เช่น การพัฒนาเซ็นเซอร์ต่างๆ  ชุดตรวจสารปนเปื้อน หรือชุดตรวจภาคสนาม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความไวในการตรวจ

7. Aging Diseases and Noncommunicable Diseases (Neurological disorders, Cancer, Metabolic Syndromes, Bone and Muscle Diseases)
งานวิจัยที่เน้นการป้องกันและรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่พบมากในผู้สูงอายุ เช่น  โรคมะเร็ง โรคความเสื่อมของระบบประสาท โรคที่มีความผิดปกติทางเมตาบอลิซึม  โรคกระดูกพรุน  เป็นต้น รวมทั้งการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อวินิจฉัยหรือรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในระยะแรกได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพ

8. Emerging, Infectious diseases and Parasites
งานวิจัยที่มุ่งเน้นการสร้างองค์ความรู้ที่จำเป็นเกี่ยวกับโรคติดเชื้ออุบัติใหม่อุบัติซ้ำต่างๆ  เช่น  โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือปรสิต เป็นต้น เพื่อนำไปใช้ในการป้องกัน ควบคุม และวางแนวทางการรักษาโรคต่อไปในอนาคต

9. Therapeutic Technology (Stem cell, vaccine, medicinal chemistry and natural product, drug development)
งานวิจัยและพัฒนาเทคนิคต่างๆ ทางการแพทย์  รวมถึงผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ เช่น  เซลล์ต้นกำเนิด  วัคซีน  สารสกัดต่างๆ  หรือเวชภัณฑ์ เป็นต้น เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาและตอบสนองต่อการรับมือกับโรคต่างๆได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ

10. Systems Biology
งานวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ ตลอดจนเทคนิคต่างๆ ที่มีพื้นฐานมาจากองค์ความรู้ทางด้านชีววิทยาเชิงระบบ โดยอาศัยองค์ความรู้จากต่างสาขาวิชา  เช่น  ชีววิทยาการแพทย์  การประมวลข้อมูลขนาดใหญ่  คณิตศาสตร์  หรือฟิสิกส์ เป็นต้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจชีววิทยาเชิงระบบของสิ่งมีชีวิตที่มีความซับซ้อน  และนำไปสู่การพัฒนาต่อยอดงานวิจัยทางด้านการแพทย์ต่อไปในอนาคต

11. Computational, Modeling and Simulations
งานวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ที่ใช้การสร้างแบบจำลองและประมวลผลร่วมกับข้อมูลเชิงสถิติ เพื่อนำไปใช้ในการจำลองปรากฎการณ์ต่าง ๆ ทั้งด้านชีวภาพและวิทยาศาสตร์การแพทย์  ตลอดจนการเกษตร

12. Earth and Cosmic Science
งานวิจัยที่มุ่งเน้นการสร้างองค์ความรู้และพัฒนาเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ในการตรวจวัด การเฝ้าระวัง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิประเทศ   และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)  ตลอดจนปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในอวกาศ

13. Science Education
งานวิจัยที่มุ่งเน้นการพัฒนาการเรียนการสอน เช่น เทคนิคการสอนแบบใหม่  กระบวนการสอนและการถ่ายทอดความรู้ในศตวรรษที่ 21  นวัตกรรมการเรียนรู้หรือสื่อการสอน เพื่อทำให้เกิด Transformative learning ในระดับผู้เรียน

ตลอดระยะเวลากว่า 50 ปี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีผลงานดีเด่นที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมและประเทศชาติมากมาย จนได้รับการจัดอันดับโดย สกอ. ให้เป็นคณะวิทยาศาสตร์อันดับหนึ่งของประเทศ ทั้งด้านการเรียนการสอนและการวิจัยในปี พ.ศ. 2549 ได้รับการจัดอันดับ โดยสกอ. ให้อยู่ในกลุ่ม A (ดีเยี่ยม) ด้านผลงานวิจัยเชิงวิชาการในสาขาวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ในปี พ.ศ. 2550 คณะวิทยาศาสตร์ มีจำนวนผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ ที่อยู่ในฐานข้อมูลสากลเป็นจำนวนสูงสุดของคณะวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

ภาพบรรยากาศคณะวิทยาศาสตร์

 

ปรัชญา
การผลิตบัณฑิตและผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพดี คือภาระหน้าที่ของคณะวิทยาศาสตร์ เพื่อนำพาชาติสู่ความเจริญพัฒนาที่ยั่งยืน
ปณิธาน
คณะวิทยาศาสตร์ เป็นผู้นำทางวิชาการและวิจัย เพื่อพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เศรษฐกิจ สังคมของประเทศ
คำขวัญ
วิทยาศาสตร์เป็นเลิศ เทิดคุณธรรม ผู้นำการวิจัย


สถานที่ติดต่อ:
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 272 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์ 0 2201 5000 โทรสาร 0 2201 5072
E-mail : ruchareka.wit@mahidol.ac.th
(งานประชาสัมพันธ์ กิจกรรมพิเศษ โทร. 0-2201-5074, 5071)