Mahidol University

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมงานเฉลิมฉลอง 30 ปี การก่อตั้งสาธารณรัฐสโลวัก และความสัมพันธ์ทางการทูตไทย – สโลวัก

18 พฤษภาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี ศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพงษ์ แสงวิไล ผู้ช่วยคณบดี ร่วมแสดงความยินดีในโอกาสครบรอบ 30 ปี การก่อตั้งสาธารณรัฐสโลวัก และครบรอบ 30 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตประเทศไทย – สโลวัก ณ ห้องวิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ ถนนศรีอยุธยา กรุงเทพฯในโอกาสอันดีนี้ ผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ ได้เข้าพบ นายยาโรสลัฟ เอาต์ (H.E. Mr. Jaroslav Auxt) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐสโลวักประจำประเทศไทย และรับชมการแสดงโดยคณะนักร้องประสานเสียงแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol University Choir) หรือ MU Choir ที่มีนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ […]

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมงานเฉลิมฉลอง 30 ปี การก่อตั้งสาธารณรัฐสโลวัก และความสัมพันธ์ทางการทูตไทย – สโลวัก Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมเดินทางเยือน Ministry of Education, Culture, Research and Technology และสถาบันการศึกษาของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย หารือความร่วมมือด้านวิชาการและการวิจัย

วันที่ 1 – 4 พฤษภาคม 2566 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล และผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติศักดิ์ หยกทองวัฒนา รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและพัฒนานักศึกษา พร้อมด้วยผู้แทนจากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะกายภาพบำบัด และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เดินทางเยือน Ministry of Education, Culture, Research and Technology และสถาบันการศึกษาของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ได้แก่

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมเดินทางเยือน Ministry of Education, Culture, Research and Technology และสถาบันการศึกษาของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย หารือความร่วมมือด้านวิชาการและการวิจัย Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมหารือ University of Sussex สานต่อความร่วมมือด้านศึกษา-วิจัยในอนาคต

24 มีนาคม 2566 มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร และผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี และ ศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพงษ์ จอห์นส์ แสงวิไล ผู้ช่วยคณบดี พร้อมด้วยผู้บริหารคณะวิศวกรรมศาสตร์ และวิทยาลัยนานาชาติ ให้การต้อนรับและหารือความร่วมมือด้านการจัดการศึกษาและการวิจัยร่วมกันกับคณะผู้บริหารจาก University of Sussex จากสหราชอาณาจักร ได้แก่ Prof. Sasha Roseneil, Vice-Chancellor and President, Prof. Steve McGuire, Dean of Business School and University Lead for

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมหารือ University of Sussex สานต่อความร่วมมือด้านศึกษา-วิจัยในอนาคต Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล หารือความร่วมมือทางการศึกษาและวิจัยร่วมกับ National Taiwan Normal University (NTNU) สาธารณรัฐไต้หวัน

13 มีนาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี ศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติศักดิ์ หยกทองวัฒนา รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและพัฒนานักศึกษา และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรกนก บุญวงษ์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการศึกษา ให้การต้อนรับ Professor Frank Yung-Hsiang Ying, Executive Vice President พร้อมด้วยคณะผู้แทนจาก Office of International Affairs, National Taiwan Normal University Mr. Daniel Lin และ Ms. Serena Chen, Student Mobility Managers เพื่อหารือความร่วมมือทางการศึกษาและวิจัยที่สามารถมีร่วมกันได้ในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งความร่วมมือด้านการจัดการเรียนการสอนทางวิทยาศาสตร์ (Science Education) ซึ่งเป็นความเชี่ยวชาญของ

คณะวิทย์ ม.มหิดล หารือความร่วมมือทางการศึกษาและวิจัยร่วมกับ National Taiwan Normal University (NTNU) สาธารณรัฐไต้หวัน Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล เปิดบ้านจัดกิจกรรม International Pi Day ฉลอง International Day of Mathematics เปิดโอกาสนักเรียน ม.ปลาย เสริมสร้างทักษะนักคณิตศาสตร์ประกันภัย และนักคณิตศาสตร์อุตสาหการและวิทยาการข้อมูล พร้อมแนะนำอาชีพสุดรุ่งของคนชอบเรียนเลข

15 มีนาคม 2566 ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านจัดกิจกรรม Pi Day: International Day of Mathematics ซึ่งตรงกับวันที่ 14 มีนาคม ของทุกปี เปิดโอกาสให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายกว่า 115 คน ได้รู้จักกับธรรมเนียมของนักคณิตศาสตร์ในวันพาย เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับค่าพาย และร่วมสนุกกับกิจกรรมเสริมสร้างทักษะสำหรับนักคณิตศาสตร์ประกันภัยและนักคณิตศาสตร์อุตสาหการและวิทยาการข้อมูล พร้อมแนะนำหลักสูตร โอกาส และเส้นทางอาชีพของนักคณิตศาสตร์ที่น่าสนใจและกำลังเป็นที่ต้องการของโลกในปัจจุบัน ซึ่งในโอกาสอันดีนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมคิด อมรสมานกุล หัวหน้าภาควิชาคณิตศาสตร์ และคณาจารย์ภาควิชาคณิตศาสตร์ ได้ให้เกียรติร่วมพิธีเปิด ณ อาคารบรรยายรวม (ตึกกลม) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไทรองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี กล่าวว่า โลกต้องการนักคณิตศาสตร์อย่างมาก เนื่องจากในปัจจุบันรูปแบบของการทำธุรกิจ ไม่ว่าเป็นประกันภัย โลจิสติกส์ หรือการจัดการข้อมูลที่อยู่ในรูปของดิจิทัล ไปจนถึงเรื่องปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่กำลังทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ

คณะวิทย์ ม.มหิดล เปิดบ้านจัดกิจกรรม International Pi Day ฉลอง International Day of Mathematics เปิดโอกาสนักเรียน ม.ปลาย เสริมสร้างทักษะนักคณิตศาสตร์ประกันภัย และนักคณิตศาสตร์อุตสาหการและวิทยาการข้อมูล พร้อมแนะนำอาชีพสุดรุ่งของคนชอบเรียนเลข Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ BRIT Education UK จัดกิจกรรม UK University Fair on tour เปิดเวทีแนะนำเส้นทางการเรียนต่อมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักร

15 มีนาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ BRIT Education UK จัดกิจกรรม UK University Fair on tour แนะนำเส้นทางการเรียนต่อ 11 มหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักร ทุนแลกเปลี่ยนเพื่อการวิจัย ฝึกงาน หรือศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ และหลักสูตรนานาชาติในระดับปริญญาโทของคณะวิทยาศาสตร์ พร้อมเปิดเวทีบอกเล่าประสบการณ์เรียนต่อมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรโดยคณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล แก่น้อง ๆ นักศึกษา โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพงษ์ จอห์นส์ แสงวิไล ผู้ช่วยคณบดี ร่วมพิธีเปิดกิจกรรม ณ บริเวณอาคารเรียนรวม (ตึกกลม) และซุ้มเฟื่องฟ้า คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไทรองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี กล่าวว่า ขอขอบคุณผู้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ทุกคน ความร่วมมือของคณะวิทยาศาสตร์ และ BRIT

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ BRIT Education UK จัดกิจกรรม UK University Fair on tour เปิดเวทีแนะนำเส้นทางการเรียนต่อมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักร Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมเดินขบวนพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล “มหิดลเกมส์” (Mahidol Games 2023 : Good Health and Well – Being)

        วันศุกร์ที่ 10 มีนาคม 2566 คณะผู้บริหารและบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี และรองศาสตราจารย์ ดร.วีระชัย สิริพันธ์วราภรณ์ รองคณบดี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมเดินขบวนพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 “มหิดลเกมส์” (Mahidol Games 2023 : Good Health and Well – Being) ณ ลานสมเด็จพระราชบิดา ศูนย์การเรียนรู้มหิลดล (MLC) ศาลายา โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดการแข่งขันกีฬาในครั้งนี้         โดยขบวนพาเหรดได้เริ่มเคลื่อนขบวน นำขบวนด้วยวงโยธวาทิตจากบริเวณหน้าหอพักนักศึกษา ผ่านหน้าวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา เลี้ยวเข้ามาในอาคารศูนย์การเรียนรู้ ม.มหิดล

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมเดินขบวนพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล “มหิดลเกมส์” (Mahidol Games 2023 : Good Health and Well – Being) Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับมหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่นจัดการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยในวาระครบรอบ 20 ปี การก่อตั้งหน่วยความร่วมมือการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยโอซาก้า (MU-OU:CRC) และหน่วยความร่วมมือการวิจัยสำหรับประเทศในตะวันออกเฉียงใต้ ศูนย์นานาชาติด้านเทคโนโลยีชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยโอซาก้า (OU:CRS)

       8 มีนาคม 2566 เวลา 9.00-13.00 น. หน่วยความร่วมมือการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยโอซาก้า (MU-OU:CRC) และหน่วยความร่วมมือการวิจัยสำหรับประเทศในตะวันออกเฉียงใต้ ศูนย์นานาชาติด้านเทคโนโลยีชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยโอซาก้า (OU:CRS) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับมหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น จัดงานประชุมสัมมนา “Commemorative Symposium of 20th Anniversary of OU-MU:CRC and OU:CRS” ในวาระครบรอบ 20 ปี แห่งการก่อตั้งหน่วยงานทั้งสอง ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ณ ห้องประชุม K102 ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และระบบ WebEx Meeting โดยมีวิทยากรจากมหาวิทยาลัยในเครือข่ายความร่วมมือ ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น      

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับมหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่นจัดการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยในวาระครบรอบ 20 ปี การก่อตั้งหน่วยความร่วมมือการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยโอซาก้า (MU-OU:CRC) และหน่วยความร่วมมือการวิจัยสำหรับประเทศในตะวันออกเฉียงใต้ ศูนย์นานาชาติด้านเทคโนโลยีชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยโอซาก้า (OU:CRS) Read More »

Activity Photo

ม.มหิดล ร่วมงานเปิดตัวโครงการ SPACE-F Batch 4 จับมือพันธมิตรปั้น FoodTech Startup ส่งเสริมระบบนิเวศวิสาหกิจเริ่มต้น สร้างนวัตกรรมอาหารตอบโจทย์ความยั่งยืน

3 มีนาคม 2566 มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte, RISE ต้อนรับ Startup ผู้เข้าร่วม “SPACE-F Batch 4” หรือ โครงการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตทางธุรกิจเทคโนโลยีอาหารระดับโลกแห่งแรกของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รุ่นที่ 4 ณ ชั้น 6 อาคารชีววิทยาใหม่ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และระบบออนไลน์ผ่าน Zoom meeting ในโอกาสอันดีนี้ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปานนท์ ลาชโรจน์ รองผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิวัฒน์ เลิศศิริ ผู้แทนคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานพันธมิตร ดร. ธัญญวัฒน์ เกษมสุวรรณ ผู้อำนวยการกลุ่มด้านนวัตกรรม (Group Director, Global Innovation) บริษัท

ม.มหิดล ร่วมงานเปิดตัวโครงการ SPACE-F Batch 4 จับมือพันธมิตรปั้น FoodTech Startup ส่งเสริมระบบนิเวศวิสาหกิจเริ่มต้น สร้างนวัตกรรมอาหารตอบโจทย์ความยั่งยืน Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต้อนรับคณาจารย์โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเยี่ยมชมภาคชีววิทยาเพื่อนำเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

           22 กุมภาพันธ์ 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดยอาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง หัวหน้าภาควิชาชีววิทยา เป็นประธาน พร้อมทีมบริหารและคณาจารย์ ให้การต้อนรับ ผู้บริหารและคณาจารย์จำนวน 15 ท่าน จากกองวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า นำโดยพันตรี ภัทรพล คงสุข อาจารย์ส่วนการศึกษา ในโอกาสเข้าศึกษาดูงานด้านกิจกรรมเสริมหลักสูตร ของภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำแนวไปปรับปรุงโครงสร้างหลักสูตรของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าต่อไป           ในโอกาสนี้ อาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง หัวหน้าภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้พาเยี่ยมชมการเรียนการสอนพร้อมทั้งแนะนำภาควิชาชีววิทยาและพันธกิจ ก่อนนำเสนอโครงสร้างหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเปิดให้ศึกษาดูงานในส่วนของห้องปฏิบัติการ และนำเสนอวิธีการประเมินความรู้และทักษะของนักศึกษา ปิดท้ายด้วยการถ่ายภาพร่วมกัน ณ อนุสรณ์สถาน ศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข คณบดีท่านแรกของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เขียนข่าว : นายธีรเทพ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต้อนรับคณาจารย์โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเยี่ยมชมภาคชีววิทยาเพื่อนำเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษ Mahidol Science Café: Astrophysics and Space Science Projects in Korea and Thailand สร้างการรับรู้โครงการดาราศาสตร์ฟิสิกส์และอวกาศในเกาหลี-ไทย

14 พฤศจิกายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษ Mahidol Science Café ตอน Mahidol Science Cafe: Astrophysics and Space Science Projects in Korea and Thailand เปิดเวทีพูดคุยสร้างการรับรู้เกี่ยวกับโครงการดาราศาสตร์ฟิสิกส์และอวกาศในเกาหลีและไทย ทิศทางการวิจัย และการสร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศในอนาคต รวมถึงสร้างความเข้าใจ และเพิ่มการตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านดาราศาสตร์ฟิสิกส์และอวกาศ แก่ประชาคมอาจารย์ นักศึกษา และผู้สนใจด้านวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย เนื่องในโอกาสที่คณะผู้บริหารจาก Korea Astronomy & Space Science Institute (KASI) เดินทางเยือนประเทศไทย ณ ห้องประชุม K102 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ในการเสวนาครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก Dr. Young-Deuk Park, President of Korea Astronomy and

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษ Mahidol Science Café: Astrophysics and Space Science Projects in Korea and Thailand สร้างการรับรู้โครงการดาราศาสตร์ฟิสิกส์และอวกาศในเกาหลี-ไทย Read More »

สรุปการแสวงหาความร่วมมือทางวิชาการด้านการศึกษาและการวิจัยครั้งที่ 2 ระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ Prof. Dr. Annette Ladstaetter-Weissenmayer, Dean of the Faculty of Physics and Electrical Engineering, University of Bremen ประเทศเยอรมนี

          คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยลัยมหิดล นำโดย ผศ.ดร. ปฐมพงษ์ แสงวิไล ผู้ช่วยคณบดี ร่วมกับอาจารย์ ดร.วิทูร ชื่นวชิรศิริ หัวหน้าภาควิชาฟิสิกส์ รศ.ดร. ดาครอง พิศสุวรรณ หัวหน้ากลุ่มสาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ และ รศ.ดร. ดวงใจ นาคะปรีชา ผู้แทนหัวหน้าภาควิชาเคมี ได้ร่วมให้การต้อนรับ Prof. Dr. Annette Ladstaetter-Weissenmayer, Dean of the Faculty of Physics and Electrical Engineering, University of Bremen ประเทศเยอรมนี โอกาสเข้าร่วมประชุมพูดคุยปรึกษาหารือในรายละเอียดเพิ่มเติม เพื่อสร้างความร่วมมือทางด้านการศึกษาและการวิจัย ระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ Faculty of Physics and Electrical Engineering, University

สรุปการแสวงหาความร่วมมือทางวิชาการด้านการศึกษาและการวิจัยครั้งที่ 2 ระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ Prof. Dr. Annette Ladstaetter-Weissenmayer, Dean of the Faculty of Physics and Electrical Engineering, University of Bremen ประเทศเยอรมนี Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมงาน SPACE-F Batch 3 Incubator Demo Day Foodtech สนับสนุนการบ่มเพาะฟู้ดเทคสตาร์ทอัพ สร้างนวัตกรรมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารไทย

29 กันยายน 2565 สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ร่วมกับบริษัทไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมพันธมิตรภาคธุรกิจ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จํากัด เปิดเวทีนำเสนอนวัตกรรมอาหารจาก 7 ทีมฟู้ดเทคสตาร์ทอัพผู้เข้าร่วมโครงการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตทางธุรกิจเทคโนโลยีอาหารระดับโลกแห่งแรกของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รุ่นที่ 3 SPACE-F Batch 3 Incubator Demo Day Foodtech ณ ห้อง Ballroom 2-3 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ในโอกาสนี้ นายวาลเดอมาร์ ดูบันยอฟสกี้ (Your Excellency, Mr. Waldemar Dubaniowski) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐโปแลนด์ประจำประเทศไทย, ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA, คุณธีรพงศ์ จันศิริ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมงาน SPACE-F Batch 3 Incubator Demo Day Foodtech สนับสนุนการบ่มเพาะฟู้ดเทคสตาร์ทอัพ สร้างนวัตกรรมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารไทย Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับและพูดคุยเพื่อแสวงหาความร่วมมือทางวิชาการกับ Prof. Dr. Annette Ladstaetter-Weissenmayer, Dean of the Faculty of Physics and Electrical Engineering, University of Bremen ประเทศเยอรมนี

             คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดยคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ รศ.ดร.พลังพล คงเสรี พร้อมด้วย ศ.ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ และ รศ.ดร. กิตตศักดิ์ หยกทองวัฒนา รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและพัฒนานักศึกษา ได้ร่วมให้การต้อนรับ Prof. Dr. Annette Ladstaetter-Weissenmayer, Dean of the Faculty of Physics and Electrical Engineering, University of Bremen ประเทศเยอรมนี ในโอกาสเดินทางมาพูดคุยปรึกษาหารือเพื่อแสวงหาความร่วมมือทางวิชาการด้านการศึกษาและการวิจัยระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ Faculty of Physics and Electrical Engineering, University of Bremen เมื่อวันจันทร์ที่ 19 กันยายน 2565  

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับและพูดคุยเพื่อแสวงหาความร่วมมือทางวิชาการกับ Prof. Dr. Annette Ladstaetter-Weissenmayer, Dean of the Faculty of Physics and Electrical Engineering, University of Bremen ประเทศเยอรมนี Read More »

activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านต้อนรับคณาจารย์และนักศึกษาแลกเปลี่ยนจากมหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ภายใต้โครงการ “Field Study Program S “Bio-resource and Environment” กระชับความสัมพันธ์การวิจัยไทย-ญี่ปุ่น

8 – 9 กันยายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านต้อนรับอาจารย์และนักศึกษาแลกเปลี่ยนระดับปริญญาโทชั้นปีที่ 1 และ 2 จากมหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ภายใต้โครงการ “Field Study Program S “Bio-resource and Environment” ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษาวิจัยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำวิจัยในประเทศไทย กระชับความสัมพันธ์ความร่วมมือด้านวิชาการที่เข้มแข็งของประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยโอซาก้า เป็นมหาวิทยาลัยพันธมิตรที่มีความร่วมมือทางวิชาการมาอย่างยาวนานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 ภายใต้โครงการความร่วมมือในระบบมหาวิทยาลัยแม่ข่าย (Core University System) ซึ่งเป็นโครงการแลกเปลี่ยนทางวิชาการในสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ ที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์การส่งเสริมวิชาการแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan Society for the Promotion of Science) หรือ JSPS หลังจากโครงการดังกล่าวประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดีจึงได้พัฒนาความร่วมมือทางวิชาการ และการวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพต่อไปอีกก้าวหนึ่ง ด้วยการจัดตั้งหน่วยความร่วมมือการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพ แห่งมหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยโอซาก้า หรือ MU-OU:CRC ขึ้น พร้อมกับเปิดหน่วยความร่วมมือการวิจัย สำหรับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นสาขาต่างประเทศแห่งแรกของศูนย์นานาชาติด้านเทคโนโลยีชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยโอซาก้า (CRS, ICBiotech, Osaka University) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมนวัตกรรมและพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเน้นที่งานวิจัยและการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านต้อนรับคณาจารย์และนักศึกษาแลกเปลี่ยนจากมหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ภายใต้โครงการ “Field Study Program S “Bio-resource and Environment” กระชับความสัมพันธ์การวิจัยไทย-ญี่ปุ่น Read More »

activity photo

ภาควิชาพฤกษศาสตร์ และเครือข่ายวิทย์สานศิลป์ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จัดนิทรรศการ “สานพฤกษพรรณผ่านงานพฤกษศิลป์” ครั้งที่ 4

7 มิถุนายน 2565 ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สมาคมพฤกษศาสตร์ในพระบรมราชินูปถัมภ์ โครงการ อพ.สธ. หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เครือข่ายวิทย์สานศิลป์ และหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จัดนิทรรศการภาพวาดพฤกษศาสตร์ “สานพฤกษพรรณผ่านงานพฤกษศิลป์ ครั้งที่ 4 Botanical Art Thailand 2022” สร้างความเข้าใจและทำให้ประชาชนทั่วไปเห็นคุณค่าและความสำคัญของการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของพืช ผ่านการชื่นชมความสวยงามของภาพวาดพฤกษศาสตร์ สนองพระราชดำริ ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) เนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปีการก่อตั้งภาควิชาพฤกษศาสตร์ และ 23 ปี การก่อตั้งเครือข่ายวิทย์สานศิลป์โดยในพิธีเปิดได้รับเกียรติจาก ดร.วีระชัย ณ นคร นายกสมาคมพฤกษศาสตร์ในพระบรมราชินูปถัมภ์ คุณพรชัย จุฑามาศ รองผู้อำนวยการ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) อาจารย์พันธุ์ศักดิ์ จักกะพาก ศิลปินอาวุโส และ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานร่วมในพิธี

ภาควิชาพฤกษศาสตร์ และเครือข่ายวิทย์สานศิลป์ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จัดนิทรรศการ “สานพฤกษพรรณผ่านงานพฤกษศิลป์” ครั้งที่ 4 Read More »

activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้ เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก ประจำปี 2565

27 พฤษภาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยอาจารย์ ดร.ธิติคม พัวพันสวัสดิ์ ประธานสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล และบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ งานศาลายา เป็นผู้แทนเข้าร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้ เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก ประจำปี 2565 ณ บริเวณทางเดินเท้าเลียบถนนดำรงวิจัย ตรงข้ามหอพักโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลด้วยองค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้วันที่ 5 มิถุนายนของทุกปี เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก โดยในปี 2565 ได้มีการกำหนดหัวข้อวันสิ่งแวดล้อมโลกคือ Only One Earth ทั้งนี้ เพื่อเป็นการแสดงเจตจำนงด้านสิ่งแวดล้อม กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม จึงได้ดำเนินการจัดโครงการวันสิ่งแวดล้อมโลก ประจำปี 2565 โดยจัดกิจกรรมปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวและเพื่อเป็นแหล่งดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภายในมหาวิทยาลัย ตลอดจนเป็นการสนับสนุนการดำเนินการไปสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี พ.ศ. 2573 ของมหาวิทยาลัยมหิดล เขียนข่าว : นางสาวปนิดา พยุหกฤษ ตรวจสอบโดย : งานสื่อสารองค์กร ภาพข่าวโดย: ว่าที่ร้อยตรีภัทรพล ตันตระกูล เว็บมาสเตอร์:

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้ เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก ประจำปี 2565 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานนิทรรศการ SciEx2022 เปิดโอกาสนักศึกษา ป.ตรี โชว์ศักยภาพและพัฒนาความสามารถเชิงวิชาการในระดับสากล

27 พฤษภาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานนิทรรศการโครงงานวิทยาศาสตร์ (Science Project Exhibition) ครั้งที่ 23 หรือ SciEx2022 เสริมสร้างบรรยากาศวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้นำโชว์ศักยภาพ ฝึกทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์การทำงานวิจัยกับเพื่อนนักศึกษาจากต่างสาขาวิชาและคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ อันเป็นการบ่มเพาะและพัฒนาความสามารถเชิงวิชาการในระดับสากล โดยมีนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 ทุกหลักสูตรในคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึงนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ร่วมนำเสนอผลงานออนไลน์กว่า 192 โครงงาน มีผู้ลงทะเบียนและเข้ารับชมการบรรยายรวมกว่า 665 คน ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting งานนิทรรศการโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมที่มีมาอย่างยาวนาน โดยปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 23 ซึ่งได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ธณัฏฐ์คุณ มงคลอัศวรัตน์ นายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมพิธีเปิดและกล่าวอวยพรให้กับน้อง ๆ นักศึกษาให้ประสบความสำเร็จในการเรียน การทำงาน ขอให้เป็นตัวอย่างที่ดีของรุ่นน้อง เข้าใจวิทยาศาสตร์และถ่ายทอดให้เด็กรุ่นใหม่เรียนวิทยาศาสตร์ด้วยความเข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น และสามารถนำไปพัฒนาประเทศต่อไปได้ และหวังว่าทุกคนจะมีส่วนในการขับเคลื่อนประเทศ เพราะวิทยาศาสตร์ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำ เป็นการลงทุนให้ประเทศไทยดีขึ้นในอนาคต พร้อมกันนี้ รองศาสตราจารย์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานนิทรรศการ SciEx2022 เปิดโอกาสนักศึกษา ป.ตรี โชว์ศักยภาพและพัฒนาความสามารถเชิงวิชาการในระดับสากล Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับรางวัลสถานศึกษาปลอดภัยต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 และรางวัลห้องปฏิบัติการต้นแบบความปลอดภัย ประจำปี 2564 กว่า 14 รางวัล

28 เมษายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้แทนคณบดีเข้าร่วมกิจกรรม “MU Safety Day รณรงค์อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ครั้งที่ 6” รับเกียรติบัตรดีเด่น รางวัลสถานศึกษาปลอดภัย ประจำปี 2564 ซึ่งเป็นการรับรางวัลต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 พร้อมเป็นผู้แทน 14 ห้องปฏิบัติการภายในคณะวิทยาศาสตร์ซึ่งผ่านการรับรองมาตรฐาน ESPReL รับรางวัลห้องปฏิบัติการต้นแบบความปลอดภัย ประจำปี 2564 จาก ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ณ มหาวิทยาลัยหิดล ศาลายาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เข้าร่วมกิจกรรมสถานศึกษาปลอดภัย เพื่อสร้างวิสัยทัศน์อุบัติเหตุจากการทำงานเป็นศูนย์ (Zero Vision) ตามนโยบายของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 และได้รับรางวัลเกียรติบัตรดีเด่นมาโดยตลอด (คะแนนตั้งแต่ร้อยละ 90 ขึ้นไป) โดยคณะวิทยาศาสตร์ มุ่งปลูกฝังวัฒนธรรมความปลอดภัยให้กับนักศึกษาก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน ผ่านการจัดกิจกรรมเสริมสร้างทัศนคติและจิตสำนึกที่ดีเกี่ยวกับความปลอดภัย

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับรางวัลสถานศึกษาปลอดภัยต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 และรางวัลห้องปฏิบัติการต้นแบบความปลอดภัย ประจำปี 2564 กว่า 14 รางวัล Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล จับมือ Thai Union และ NIA จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café SPACE-F webinar จุดประกายนักศึกษาและคณาจารย์ก้าวเข้าสู่เส้นทางของผู้ประกอบการนวัตกรรม

27 เมษายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café SPACE-F webinar จุดประกายนักศึกษา คณาจารย์ และผู้ที่สนใจด้านเทคโนโลยีด้านอาหาร ในการก้าวเข้าสู่เส้นทางของผู้ประกอบการเปิดโอกาสแชร์ความคิดสร้างสรรค์ ทดลองสร้างธุรกิจ ทำวิจัยร่วมเชิงพาณิชย์ รวมถึงฝึกงานกับบริษัทสตาร์ทอัพในโครงการ SPACE-F โดยมี Dr. Chris Aurand, Open Innovation Leader จากบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และ คุณจิตรภณ จิรกุลสมโชค นักพัฒนานวัตกรรม จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA มาอัปเดตเกี่ยวกับโอกาสและเทรนด์ในวงการฟู้ดเทคสตาร์ทอัพ พร้อมด้วยรุ่นพี่สตาร์ทอัพ ในโครงการ SPACE-F ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เมธา มีแต้ม จากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัท Advanced Greenfarm คุณตรัย สัสตวัฒนา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายนวัตกรรมและการสร้างสรรค์บริษัท

คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล จับมือ Thai Union และ NIA จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café SPACE-F webinar จุดประกายนักศึกษาและคณาจารย์ก้าวเข้าสู่เส้นทางของผู้ประกอบการนวัตกรรม Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ 5 สถาบันลงนามความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลผลการดำเนินการตามเกณฑ์ EdPEx ตั้งเป้ายกระดับกระบวนการบริหาร การจัดการศึกษา การวิจัย และการบริการวิชาการ

8 เมษายน 2565 รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร.พลกฤษณ์ แสงวณิช คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมพงษ์ สิทธิพรหม ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายรักษาความปลอดภัย รักษาการแทนคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, รองศาสตราจารย์ ดร.อัญชนา ประเทพ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ ศาสตราจารย์ ดร.ธรณินทร์ ไชยเรืองศรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ลงนามบันทึกความร่วมมือเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลผลการดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) ระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ 5 มหาวิทยาลัย ณ โรงแรมแคนทารี ฮิลล์ จังหวัดเชียงใหม่ มุ่งเป้าสร้างความร่วมมือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ข้อมูล สารสนเทศ ประสบการณ์ และแนวปฏิบัติที่ดี เพื่อปรับปรุงและพัฒนากระบวนการบริหาร การจัดการศึกษา การวิจัย และการบริการวิชาการในอนาคต เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพ ตรวจสอบโดย

คณะวิทยาศาสตร์ 5 สถาบันลงนามความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลผลการดำเนินการตามเกณฑ์ EdPEx ตั้งเป้ายกระดับกระบวนการบริหาร การจัดการศึกษา การวิจัย และการบริการวิชาการ Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café อัพเดตข้อมูลการระบาด ในวันที่โควิด-19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่น

8 เมษายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café: อัพเดตข้อมูลการระบาด ในวันที่โควิด-19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่น พูดคุยเกี่ยวกับแนวโน้มการระบาดของโควิด-19 และการรับมือ ในมุมมองของนักวิทยาศาสตร์กับ รองศาสตราจารย์ ดร.ชรินทร์ โหมดชัง อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นักวิจัยทางด้านระบาดวิทยาและชีวฟิสิกส์ ดร.นําชัย ชีววิวรรธน์ ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สวทช. นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ นักแปล และบรรณาธิการหนังสือ ‘เมื่อโลกติดเชื้อ ฉบับกระชับ’ ดำเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อุ่นใจ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นักชีวฟิสิกส์ และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ ผู้ร่วมแปลหนังสือ ‘เมื่อโลกติดเชื้อ ฉบับกระชับ’ ผ่านทาง Facebook live และทาง Mahidol Channel โดยมีผู้รับชมกว่า 1,000 คนดร.นําชัย ชีววิวรรธน์ ได้ปูความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างการระบาดใหญ่ (Pandemic)

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café อัพเดตข้อมูลการระบาด ในวันที่โควิด-19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่น Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมเปิดตัว Startup หน้าใหม่ในโครงการ SPACE-F Batch 3 จับมือพันธมิตรขับเคลื่อนนวัตกรรม FoodTech ระดับโลก

21 มีนาคม 2565 มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ศาสตราจารย์ ดร. นพ.ภัทรชัย กีรติสิน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล และ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานพันธมิตร ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน), Mr. Ludovic Garnier, Group Chief Financial Officer จาก บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน), Mr. Jean Lebreton, Senior Vice President จากบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และ Mr. Bart Bellers, CEO จาก Xpdite ร่วมงานเปิดตัว SPACE-F Batch

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมเปิดตัว Startup หน้าใหม่ในโครงการ SPACE-F Batch 3 จับมือพันธมิตรขับเคลื่อนนวัตกรรม FoodTech ระดับโลก Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดให้นักเรียนเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์ สร้างแรงบันดาลใจศึกษาต่อวิทยาศาสตร์ระดับสูง

8 มีนาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดห้องปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์ (อาจารย์ใหญ่) ให้นักเรียนจากโรงเรียนสตรีวิทยา 2 ในพระราชูปถัมภ์ฯ จำนวน 35 คน เข้าเยี่ยมชมและศึกษาร่างอาจารย์ใหญ่ จุดประกายสร้างแรงบันดาลใจศึกษาต่อวิทยาศาสตร์ ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “เปิดโลกทัศน์วิทยาศาสตร์และนวัตกรรม” จัดขึ้นโดยสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อพัฒนาศักยภาพและเพิ่มพูนความรู้ทางวิทยาศาสตร์ให้แก่นักเรียน รวมถึงเป็นแรงจูงใจให้ศึกษาต่อในสาขาวิทยาศาสตร์ระดับสูงในอนาคต เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพ ตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษ ภาพข่าวโดย: สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล เว็บมาสเตอร์: นางสาวปัณณพร แซ่แพ วันที่ 15 มีนาคม 2565

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดให้นักเรียนเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์ สร้างแรงบันดาลใจศึกษาต่อวิทยาศาสตร์ระดับสูง Read More »

Activity Photo

หลักสูตร ป.โท สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล ผ่านเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน

9 มีนาคม 2565 หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี และ รองศาสตราจารย์ ดร.ทวีชัย อมรศักดิ์ชัย ประธานหลักสูตรฯ พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร.จิตต์ลัดดา ศักดาภิพาณิชย์ รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธนะวันต์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญรัตน์ วัฒนพานิช เป็นผู้แทนรับมอบประกาศนียบัตรการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน จาก ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมรับมอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีจาก รองศาสตราจารย์ ดร. ภก.เนติ สุขสมบูรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา ในพิธีมอบประกาศนียบัตรการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน ครั้งที่ 221 และ 226” ณ มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายาโดยหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์

หลักสูตร ป.โท สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล ผ่านเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน Read More »

Activity Photo

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ (CEMB) เปิดเวทีเสวนาวิชาการ “ทางเลือกในการตรวจโควิด – 19 สำหรับประชาชนในยุคโอมิครอน!!”

10 กุมภาพันธ์ 2565 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ (CEMB) เปิดเวทีเสวนาวิชาการ “ทางเลือกในการตรวจโควิด-19 สำหรับประชาชนในยุคโอมิครอน!!” Covid-19 testing: Current and alternative (future) methods ในรูปแบบ online ผ่านทาง Zoom meeting และ Facebook live ให้ข้อมูลทางเลือกในการตรวจโควิด – 19 ในยุคโอมิครอน โดย 4 ผู้เชี่ยวชาญ และผู้พัฒนาเทคโนโลยีตรวจโควิด – 19 ในไทยและต่างประเทศ พร้อมอัปเดตเทคโนโลยีการตรวจโควิด – 19 สุดล้ำ ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้มีผู้สนใจร่วมกว่า 97 คนในการเสวนาในครั้งนี้วิทยากร ทั้ง 4 ท่าน ได้แก่ Mr. William Whittington, Chief Operations Officer (COO) จากบริษัท Tiger Tech

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ (CEMB) เปิดเวทีเสวนาวิชาการ “ทางเลือกในการตรวจโควิด – 19 สำหรับประชาชนในยุคโอมิครอน!!” Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café ส่องแนวคิดเบื้องหลังการวิจัยฟิสิกส์อวกาศของนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ

17 มกราคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café : ส่องแนวคิดเบื้องหลังการวิจัยฟิสิกส์อวกาศของนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ พูดคุยเจาะลึกเบื้องหลังความสำเร็จของ Professor Dr. David John Ruffolo นักฟิสิกส์อวกาศ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นักวิทยาศาสตร์รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2565 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ และคณิตศาสตร์ ดำเนินรายการโดย อาจารย์ ดร.วิทูร ชื่นวชิรศิริ หัวหน้าภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผ่านทาง Facebook live ซึ่งมีผู้รับชมกว่า 42 คนตลอดการเสวนา Professor Dr. David หรืออาจารย์เดวิดของนักศึกษา ได้เล่าถึงความสำคัญของการศึกษารังสีคอสมิก และสภาพอวกาศ ก่อนจะนำเสนองานของทีมวิจัยในปัจจุบันและผลงานวิจัยเด่นที่ผ่านมา ต่อด้วยงานของทีมวิจัยในอนาคต รวมถึงความตั้งใจแรกและแนวคิดในการทำงานที่ยืดมั่นมาตลอดการขับเคลื่อนวงการวิจัยด้านฟิสิกส์อวกาศในประเทศไทยกว่า 33 ปีอาจารย์เดวิดเล่าถึงความสำคัญของการศึกษารังสีคอสมิกให้เห็นภาพอย่างง่าย ๆ ว่าที่ผิวดวงอาทิตย์มีการระเบิดเป็นครั้งคราวที่เรียกว่าพายุสุริยะ จะมีอนุภาคพลังงานสูงในอวกาศ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café ส่องแนวคิดเบื้องหลังการวิจัยฟิสิกส์อวกาศของนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.3: Nobel Prize in Chemistry: An ingenious tool for building molecules เครื่องมืออันชาญฉลาดในการสร้างโมเลกุล

5 พฤศจิกายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.3: Nobel Prize in Chemistry: An ingenious tool for building molecules เครื่องมืออันชาญฉลาดในการสร้างโมเลกุล เล่าเรื่องงานวิจัยของ 2 นักวิทยาศาสตร์ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปีนี้ ได้แก่ ศาสตราจารย์เบนจามิน ลิสต์ (Benjamin List) จาก Max-Planck-Institute für Kohlenforschung ประเทศเยอรมนี และ ศาสตราจารย์เดวิด แมคมิลแลน (David W.C. MacMillan) จาก Princeton University ประเทศสหรัฐอเมริกา จากการพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาอินทรีย์แบบอสมมาตร พร้อมอธิบายถึงการสร้างโมเลกุลด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาแบบใหม่ นำไปสู่การผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ปรียานุช แสงไตรรัตน์นุกูล และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ต่อศักดิ์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.3: Nobel Prize in Chemistry: An ingenious tool for building molecules เครื่องมืออันชาญฉลาดในการสร้างโมเลกุล Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.2: Nobel Prize in Physiology or Medicine: From Heat & Hug to Pain treatment discoveries. การค้นพบตัวรับอุณหภูมิและการรับสัมผัส สู่การนำไปใช้ในการรักษาอาการปวด

3 พฤศจิกายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.2: Nobel Prize in Physiology or Medicine: From Heat & Hug to Pain treatment discoveries. การค้นพบตัวรับอุณหภูมิและการรับสัมผัส สู่การนำไปใช้ในการรักษาอาการปวด เล่าเรื่องงานวิจัยของ 2 นักวิทยาศาสตร์ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ในปีนี้ ได้แก่ ศาสตราจารย์ เดวิด จูเลียส (David Julius) และศาสตราจารย์ อาร์เด็ม พาทาพูเที่ยน (Ardem Patapoutian) พร้อมอธิบายถึงกลไกการรับอุณหภูมิและสัมผัสของมนุษย์ที่น่าทึ่งอันนำไปสู่การรักษาอาการปวด โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพพร จงกมลวิวัฒน์ และ อาจารย์ ดร.อธิคุณ สุวรรณขันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยากร ดำเนินรายการโดย

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.2: Nobel Prize in Physiology or Medicine: From Heat & Hug to Pain treatment discoveries. การค้นพบตัวรับอุณหภูมิและการรับสัมผัส สู่การนำไปใช้ในการรักษาอาการปวด Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.1: Nobel Prize in Physics: Physics of global warming and other complex phenomena ฟิสิกส์เรื่องโลกร้อนและปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนอื่น ๆ

2 พฤศจิกายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.1: Nobel Prize in Physics: Physics of global warming and other complex phenomena ฟิสิกส์เรื่องโลกร้อนและปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนอื่น ๆ เล่าเรื่องงานวิจัยของ 3 นักฟิสิกส์ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปีนี้ ได้แก่ ศาสตราจารย์ ชูคุโระ มานาเบะ (Syukuro Manabe) ศาสตราจารย์ เคลาส์ ฮาสเซิลมานน์ (Klaus Hasselmann) และ ศาสตราจารย์ จอร์จิโอ ปาริซี (Giorgio Parisi) พร้อมอธิบายถึงการประยุกต์ใช้ฟิสิกส์ศึกษาปัญหาเรื่องโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่ซับซ้อน โดยมี Professor Dr.David John Ruffolo และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วฤทธิ์ มิตรธรรมศิริ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.1: Nobel Prize in Physics: Physics of global warming and other complex phenomena ฟิสิกส์เรื่องโลกร้อนและปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนอื่น ๆ Read More »