หัวหน้าคณะที่ปรึกษาศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC)
VIDEO
1. พัฒนา Scrap Lab หรือ ศูนย์ปฏิบัติการออกแบบจากวัสดุเหลือใช้ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นหน่วยงานแรกๆ ของโลก ที่มุ่งเน้นการสร้างองค์ความรู้และผลักดันนวัตกรรมอัพไซเคิล (Upcycle) เพื่อเป็นฐานสำหรับ Circular Economy โดยนำของเหลือใช้ที่เกิดจากการก่อสร้าง จากการผลิตเชิงอุตสาหกรรม และจากชุมชน รวมทั้งสถานพยาบาล ผ่านงานวิจัยและการเรียนการสอน มาพัฒนาเพิ่มมูลค่าด้วยกระบวนการ Upcycling ตั้งแต่ปี 2007 จนได้ผลลัพธ์ ดังนี้
ผลิตภัณฑ์อัพไซคลิ่งจากของเหลือใช้ จำนวนมากกว่า 1,000 ผลิตภัณฑ์ รวมกับ SMEs
จำนวนสิทธิบัตรของผลิตภัณฑ์อัพไซคิ่งจากของเหลือใช้ จำนวนกว่า 90 ฉบับ (ดังเอกสารแนบ)
หนังสือด้านอัพไซเคิล ตีพิมพ์กว่า 10,000 เล่ม อาทิ Upcycling, Upcycle Design, แบบบ้านบ้าน, REUSE เป็นต้น
เกณฑ์การประเมินผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากวัสดุเหลือใช้ อันแรกของโลก เพื่อรับตรา G-Upcycle ภายใต้การดูแลของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2556
เกณฑ์และระบบการประเมินผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากวัสดุเหลือใช้คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Upcycle Carbon Footprint) พ.ศ. 2558 เพื่อร่วมช่วยลดการปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศ
เกณฑ์การประเมินผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากวัสดุเหลือใช้เพื่อรับตรา UPCYCLE Circular Economy พ.ศ. 2564 เพื่อส่งเสริมการก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนของประเทศไทย
2. พัฒนา ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (Research & Innovation for Sustainability Center--RISC)
วางแผนและก่อตั้ง ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) ในภาคเอกชน ภายใต้การสนับสนุนของ แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น (MQDC) เพื่อพัฒนาและต่อยอดงานวิจัยและงานต้นแบบอัพไซเคิลต่างๆ ของศูนย์ปฏิบัติการฯ และศูนย์วิจัยฯ สู่การใช้งานจริงในงานสถาปัตยกรรมและการก่อสร้าง รวมถึงการให้ความรู้จากงานวิจัยและนวัตกรรมที่ได้พัฒนาขึ้นต่อสังคมวงกว้างและองค์กรต่างๆ โดยมุ่งเป้าไปที่การยกระดับอุตสาหกรรมก่อสร้างสู่ความยั่งยืนด้วยการผสานศาสตร์และศิลป์ การดำเนินงานที่ผ่านมาทำให้สามารถนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมลงสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม ดังนี้
การประยุกต์งานวิจัยในโครงการอสังหาริมทรัพย์ อาทิ The Forestias, True Digital Park, Whizdom, The Aspen Tree และ Mulberry Grove:
1) Recycled Concrete Aggregate (RCA)
ขยะหัวเสาเข็มเป็นปัญหาของพื้นที่ก่อสร้างที่ต้องนำไปทิ้งโดยเร็ว โครงการรีไซเคิลหัวเสาเข็มในพื้นที่ก่อสร้าง โดยพัฒนากระบวนการนำขยะหัวเสาเข็มมาเป็นส่วนผสมในพื้น/ถนนคอนกรีต เพื่อลดปริมาณขยะหัวเสาเข็ม และส่งเสริมแนวคิดด้าน Circular Economy ซึ่งเป็นงานบริหารจัดการที่ยากหลายด้านในบริเวณก่อสร้าง ทั้งในด้านการพัฒนาสูตรผสมขยะหัวเสาเข็ม การจัดการพื้นที่อัพไซเคิล และการบริหารต้นทุนจนสามารถนำมาใช้ได้จริงในพื้น/ถนนคอนกรีตรอบโครงการ