ศิษย์เก่าสัมพันธ์
ข้อบังคับสมาคมศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
พ.ศ. 2545
หมวดที่
1
ชื่อ เครื่องหมาย สถานที่ตั้ง
หมวดที่ 2
วัตถุประสงค์
หมวดที่ 3
ประเภทสมาชิก คุณสมบัติ การสมัครเข้าเป็นสมาชิกและค่าบำรุง
10.1 ผู้ประสงค์จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกให้ยื่นใบสมัครตามแบบของสมาคมต่อเลขาธิการ
10.2 ให้เลขาธิการนำรายชื่อผู้สมัคร เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารเพื่อพิจารณาการรับสมัครเข้าเป็นสมาชิก
10.3 เมื่อคณะกรรมการบริหารได้ลงมติรับสมัครเข้าเป็นสมาชิกแล้วให้เลขาธิการแจ้งให้ผู้สมัครทราบเป็นลายลักษณ์อักษร
ผู้สมัครยัง
ไม่มีสิทธิเป็นสมาชิกโดยสมบูรณ์จนกว่าจะได้ชำระค่าบำรุงครบถ้วนตามระเบียบว่าด้วยค่าบำรุง
10.4 ผู้ที่ได้เป็นสมาชิกโดยสมบูรณ์แล้วให้นายทะเบียนลงชื่อไว้ในทะเบียนสมาชิกของสมาคม
11.1 สมาชิกกิตติมศักดิ์ไม่ต้องเสียค่าบำรุง
11.2 สมาชิกสามัญและวิสามัญ เสียค่าบำรุงสมาคมตลอดชีพ
1,000 บาท
11.3 ยุวสมาชิก เสียค่าสมัคร 100 บาท ครั้งเดียวเมื่อแรกเข้าเป็นนักศึกษาจนจบหลักสูตร
ในกรณีที่ประสงค์จะเปลี่ยน เป็นสมาชิกสามัญตลอดชีพหลังสำเร็จการศึกษาเงินส่วนนี้จะถือว่าได้ชำระค่าบำรุงสมาชิกไว้ส่วนหนึ่งแล้ว
หมวดที่ 4
สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก
12.1 ประดับตราเครื่องหมายของสมาคม
12.2 เข้าร่วมการประชุมใหญ่สามัญ ประชุมใหญ่วิสามัญ
และการประชุมวิชาการของสมาคม
12.3 สมาชิกสามัญ มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง
และเป็นกรรมการบริหารสมาคม
12.4 ได้รับบริการหรือผลประโยชน์ที่สมาคมจัดให้สมาชิก
12.5 มีสิทธิร้องขอต่อคณะกรรมการ เพื่อตรวจสอบเอกสารและบัญชีทรัพย์สินของสมาคม
12.6 มีสิทธิเข้าชื่อร่วมกันอย่างน้อย 1
ใน 5 ของสมาชิกสามัญทั้งหมด หรือสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่า
50 คน ทำหนังสือแจ้งต่อคณะกรรมการให้จัดประชุมใหญ่วิสามัญได้
ข้อ 13 สมาชิกมีหน้าที่
13.1 ปฏิบัติตามข้อบังคับและระเบียบของสมาคมซึ่งคณะกรรมการบริหารกำหนดขึ้น
13.2 สนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมของสมาคม
เพื่อให้การดำเนินงานของสมาคมบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
13.3 ช่วยเผยแพร่ชื่อเสียงของสมาคมให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย
13.4 ไม่ประพฤติตนเป็นที่เสื่อมเสียชื่อเสียงแก่สมาคม
หมวดที่ 5
การขาดจากสมาชิกภาพ
14.1 ตาย
14.2 ลาออก โดยยื่นหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรต่อคณะกรรมการ
และคณะกรรมการได้พิจารณาอนุมัติ และสมาชิกผู้นั้นได้ชำระหนี้สินที่ยังติดค้างอยู่กับสมาคมเป็นที่เรียบร้อย
14.3 ที่ประชุมใหญ่ของสมาคม หรือคณะกรรมการได้พิจารณาลงมติให้พ้นสมาชิกภาพด้วยเหตุที่ผู้นั้นประพฤติตนนำความเสื่อมเสียมาสู่สมาคม
หมวดที่ 6
คณะกรรมการบริหาร
หมวดที่ 7
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหาร
หมวดที่ 8
การพ้นจากตำแหน่งกรรมการบริหาร
28.1 ออกตามวาระ
28.2 ตาย
28.3 ลาออก
28.4 ขาดจากสมาชิกภาพ
28.5 ที่ประชุมใหญ่ลงมติให้ออก
28.6 ต้องรับอาญาจำคุกโดยคำพิพากษาจำคุก
เว้นแต่ความผิดลหุโทษหรือความผิดอันได้กระทำขึ้นโดยประมาท
28.7 ในกรณีก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่สมาคม
ที่ประชุมใหญ่ลงมติไม่ไว้วางใจและถอนกรรมการบริหารทั้งคณะหรือบางคนได้
ด้วยคะแนนเสียง 3 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกที่มาประชุม
ข้อ 29 กรรมการที่ประสงค์จะลาออกจากตำแหน่งกรรมการให้ยื่นใบลาออกเป็นลายลักษณ์อักษรต่อคณะกรรมการ
และให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อคณะกรรมการมีมติให้ออก
หมวดที่ 9
การดำเนินงานของคณะกรรมการบริหาร
30.1 มีอำนาจออกระเบียบปฏิบัติต่างๆ เพื่อให้สมาชิกได้ปฏิบัติโดยระเบียบปฏิบัตินั้นจะต้องไม่ขัดต่อข้อบังคับ
30.2 มีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนเจ้าหน้าที่ของสมาคม
30.3 มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการที่ปรึกษา หรืออนุกรรมการได้
แต่กรรมการที่ปรึกษาหรืออนุกรรมการ จะสามารถอยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกินวาระของคณะกรรมการที่แต่งตั้ง
30.4 มีอำนาจเรียกประชุมใหญ่สามัญประจำปี
และประชุมใหญ่วิสามัญ
30.5 มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการในตำแหน่งอื่นๆ
ที่ยังมิได้กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้
30.6 มีอำนาจบริหารกิจการของสมาคม เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
ตลอดจนมีอำนาจอื่นๆ ตามที่ข้อบังคับได้กำหนดไว้
30.7 มีหน้าที่รับผิดชอบในกิจการทั้งหมด
รวมทั้งการเงิน และทรัพย์สินทั้งหมดของสมาคม
30.8 มีหน้าที่จัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญ
ตามที่สมาชิกสามัญจำนวน 1 ใน 3 ของสมาชิกทั้งหมดได้เข้าชื่อร้องขอให้จัดประชุมใหญ่วิสามัญขึ้น
ซึ่งการนี้จะต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญขึ้นภายใน
30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือร้องขอ
30.9 มีหน้าที่อื่นๆ ตามที่ข้อบังคับได้กำหนดไว้
หมวดที่ 10
การประชุม
31.1 การประชุมคณะกรรมการบริหาร
31.2 การประชุมใหญ่วิสามัญ
31.3 การประชุมใหญ่สามัญ
ข้อ 32 การประชุมคณะกรรมการบริหาร มีดังนี้
32.1 ให้คณะกรรมการบริหารประชุมปรึกษาหารือกิจการของสมาคม
ปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง โดยให้เลขาธิการเป็นผู้เรียกประชุมตามความเห็นชอบของนายกหรือของกรรมการบริหารตั้งแต่
5 คนขึ้นไป
32.2 องค์ประชุมทุกครั้งต้องมีกรรมการบริหารเข้าประชุม
ไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของคณะกรรมการบริหารทั้งหมด
ให้นายกเป็นประธานที่ประชุม ถ้าประธานหรือผู้ทำหน้าที่แทนไม่อยู่
ให้ที่ประชุมเลือกตั้งประธานชั่วคราวในการประชุมนั้น
32.3 นอกจากจะได้บังคับไว้เป็นอย่างอื่น
มติของคณะกรรมการบริหารให้ถือเสียงข้างมาก
ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมเป็นผู้ชี้ขาด
ข้อ 33 การประชุมใหญ่สามัญ
ให้มีการประชุมใหญ่สามัญ อย่างน้อยปีละ
1 ครั้ง โดยให้เลขาธิการเป็นเป็นผู้นัดหมาย
พร้อมส่งระเบียบวาระการประชุมให้สมาชิกทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า
15 วัน องค์ประชุมของการประชุมใหญ่สามัญต้องประกอบด้วย
สมาชิกหรือสมาชิกที่ได้รับมอบหมายเป็นลายลักษณ์อักษร
ให้สมาชิกอื่นเป็นผู้แทนไม่น้อยกว่า 50
คน ในกรณีที่พ้นเวลานัดหมายไป 30 นาทีแล้ว
ยังไม่ครบองค์ประชุม ให้ยกเลิกการประชุมในวันนั้นและให้เรียกประชุมใหม่ภายใน
30 วัน นับแต่วันที่นัดประชุมครั้งแรก การประชุมครั้งนี้สมาชิกจะมาเท่าใดไม่จำกัดให้ถือเป็นองค์ประชุมได้
การประชุมใหญ่สามัญให้มีระเบียบวาระดังนี้
33.1 นายกแถลงผลงานในรอบปี
33.2 เหรัญญิกเสนองบดุล ซึ่งผู้ตรวจบัญชีของสมาคมรับรองแล้ว
33.3 เสนอประมาณการรายรับ - รายจ่าย ประจำปี
33.4 ปรึกษากิจการของสมาคม
33.5 เลือกตั้งตำแหน่งนายกใหม่ตามวาระ (ถ้ามี)
33.6 แต่งตั้งผู้ตรวจสอบบัญชี
ข้อ 34 การประชุมใหญ่วิสามัญ ให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญดังนี้
34.1 ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารเห็นสมควรให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญด้วยคะแนนเสียงไม่ต่ำกว่าครึ่งหนึ่ง
34.2 สมาชิกสามัญไม่น้อยกว่า 50 คน มีสิทธิร้องขอให้เปิดประชุมใหญ่ได้
โดยแสดงความจำนงเป็นหนังสือต่อเลขาธิการล่วงหน้า
ไม่น้อยกว่า 15 วัน
34.3 ให้เลขาธิการเป็นผู้นัดหมายพร้อมกับส่งระเบียบวาระการประชุมให้สมาชิกทราบล่วงหน้าก่อนเวลาประชุมไม่น้อยกว่า
7 วัน
34.4 การประชุมใหญ่วิสามัญทุกครั้งต้องมีสมาชิกเข้าประชุมไม่น้อยกว่า
50 คน จึงจะเป็นองค์ประชุมและดำเนินการได้
ถ้าพ้นเวลานัดหมายไป 30 นาทีแล้ว ยังไม่ครบองค์ประชุมให้ยกเลิกการประชุมใหญ่วิสามัญนั้น
ข้อ 35 การประชุมใหญ่ทุกครั้งให้นายกเป็นประธานที่ประชุม
ถ้านายกไม่อยู่หรือไม่สามารถดำเนินการได้
ให้อุปนายกเป็นประธานที่ประชุม ถ้าทั้งนายกและอุปนายกไม่สามารถดำเนินการได้
ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการบริหารคนหนึ่งเป็นประธานที่ประชุมนั้น
ข้อ 36 นอกจากจะบังคับไว้เป็นอย่างอื่น
มติของที่ประชุมใหญ่ให้ถือเสียงข้างมาก
ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานที่ประชุมเป็นผู้ชี้ขาด
ข้อ 37 ในการประชุมใหญ่และประชุมคณะกรรมการบริหารทุกครั้ง
ให้เลขาธิการเป็นผู้บันทึกรายงานการประชุมและให้ประธานที่ประชุมลงนามรับรองเพื่อรักษาไว้เป็นหลักฐาน
หมวดที่ 11
การเงินและทรัพย์สิน
หมวดที่ 12
การแก้ไขข้อบังคับ
หมวดที่ 13
การเลิกสมาคมและการชำระบัญชี
หมวดที่ 14
บทเฉพาะกาล
(ศาสตราจารย์พรชัย มาตังคสมบัติ)
นายกสมาคม