logo

ภาพข่าวกิจกรรมคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ภาพข่าวและกิจกรรมประจำปี 2558

 

Annual Symposium of TRF Research Team Building Grant (Senior Scholar) " Enzyme Catalysis "

วันที่ 19 ตุลาคม 2558 เวลา 08.00 น. ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์ใจ ใจเย็น รองคณบดีฝ่ายวิจัย ผู้ได้รับทุนเมธีวิจัยอาวุโส สกว. 2556 จัดงานประชุมวิชาการภายใต้งาน Enzyme Catalysis งานนี้ได้เชิญนักวิจัยจากหน่วยงานภายใน และภายนอก อาทิ สวทช. ภาควิชาชีวเคมี ม.มหิดล ภาควิชาเคมี ม.เกษตรศาสตร์ และภาควิชาเคมี ม.บูรพา และ Special Lecture เรื่อง Nobel Prize in Chemistry ปีนี้ด้วย โดยความร่วมมือของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และมหาวิทยาลัยมหิดล มีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วม 105 คน

งานสัมมนาประจำปีครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.ศกรณ์ มงคลสุข คณบดี คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล เป็นประธานเปิดงาน โดยกล่าวว่า "ยินดีกับทุกท่านที่มาร่วมงานครั้งนี้ ซึ่งงานนี้จะมี ศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์ใจ ใจเย็น และ นักวิจัยท่านอื่น มาอธิบายถึงเรื่อง การเร่งปฏิกิริยาของเอนไซม์ เป็นเรื่องที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่งและในปีนี้ก็มีเรื่อง เอนไซม์ที่ได้รับรางวัลโนเบล 2015 ด้วย ขอให้ทุกท่านที่เข้าร่วมสัมมนาในวันนี้จะได้รับความรู้กันไปอย่างเต็มที่ ขอกล่าวเปิดงานเพียงเท่านี้ครับ" ภายหลังประธานกล่าวเปิดงาน ศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์ใจ ใจเย็น ได้บอกเล่าถึงคณะการทำงานวิจัยว่ามีสมาชิกร่วมกับหน่วยงานอื่นอีกหลายหน่วยงานทั้ง นักวิจัยจากจุฬาลงกรณ์ 2 ท่าน สวทช. 2 ท่าน และคนอื่นที่ไม่ได้กล่าวถึงอีกหลายท่าน พร้อมทั้งอธิบายความหมายของเอนไซม์ว่ามีลักษณะเหมือนกล่องดำ ที่มีผลิตภัณฑ์ออกมาข้างนอกทำปฏิกิริยากับเคมี เรื่องที่น่าสนใจของเอนไซม์จะมุ่งไปที่ Enzyme drug target ส่วนการทำงานของทีมวิจัยเป็นแบบ Application tree for research

การสัมมนาในช่วงเช้าพูดถึงเอนไซม์ในด้าน Biomedicine มี รองศาสตราจารย์ ดร.จิรันดร ยูวะนิยม ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย มีผู้มาอธิบายงานวิจัยของตนเองที่เกี่ยวกับเอนไซม์ถึง 7 ท่าน 7 เรื่องในช่วงเช้า เรื่องที่ชูโรงของงานวันนี้คงจะหนีไม่พ้นงานวิจัยของ ดร.ดนยา ปโกฏิปภา ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล เรื่อง "Mechanistic studies of DNA repair and impact on biomedicine" ซึ่งคล้ายกับเรื่องที่ได้รับรางวัลโนเบลด้านเคมี ปี 2015 พอดี นับว่าเป็นเรื่องที่ดีน่าติดตาม เนื้อหาที่ ดร. ดนยา หยิบยกมาพูดจากงานวิจัยของเขา ได้อธิบาย type DNA ของคน มีลักษณะอย่างไรบ้าง มีโปรตีนชนิดใดอยู่ในเซลล์ DNA และกระบวนการทำงานของเอนไซม์เกิดขึ้นได้อย่างไร หลังจากที่พูดเรื่องนี้จบมีผู้ให้ ความสนใจทำการซักถามกันมากถือว่าเป็นบรรยากาศที่สบายๆ ถัดจากช่วงนี้เป็นเรื่องของเอนไซม์ด้าน Biocatalysis and Biorefinery มี ดร.รัชนก ตินิกุล อาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย ถึงเวลาเที่ยงมีการพักรับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน ต่อจากนั้นเจ้าของงานวิจัยที่นำโปสเตอร์มาเสนอมีการนำมาพูดคุยกันแบบเป็นกันเองกับผู้เข้าร่วมงาน เข้าสู่ช่วงบ่าย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ ดร.จีรัสย์ สุจริตกุล ภาควิชาชีวเคมี คณะทันตแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย ด้าน Fundamental in Enzyme Catalysis มีนักวิจัย 3 ท่าน หนึ่งในสามท่าน เป็นนักวิจัยชาวต่างชาติ Assoc. Prof. Dr. Albert Schulte อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี นำเรื่องของ การศึกษาปฏิกิริยาเอนไซม์โดยเคมีที่มีอิธิพลกับไฟฟ้า ก่อนจบการประชุมวิชาการประจำปีครั้งนี้ ศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์ใจ ใจเย็น ได้กล่าวปิดงาน และสรุปผลการดำเนินงานการวิจัยของปีนี้ด้วย

: : http://www.sc.mahidol.ac.th/trf_enzyme_2015 : :

ถ่ายภาพ : นายเทพทัต คุ้มสังข์
เขียนข่าว : นางสาวพนารัตน์ เตชะเลิศสุวรรณ
เว็บมาสเตอร์ : นางสาวอริศรา เฉิดมนูเสถียร