คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านต้อนรับนักเรียนมัธยมปลายกว่า 1,341 คน ในงานมหิดลวิชาการ ประจำปี 2563 คณะวิทยาศาสตร์ (Mahidol Science Open House 2020) ในวันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 09:00 -16:00 น. ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ซึ่งในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติศักดิ์ หยกทองวัฒนา รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและพัฒนานักศึกษา และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ ได้ให้การต้อนรับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ร.ท. ทพ.ชัชชัย คุณาวิศรุต รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล เยี่ยมชมงานในช่วงเช้าอีกด้วย
สำหรับภายในงานนั้น เต็มไปด้วยความสนุกสนานจากกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่พาให้น้อง ๆ นักเรียนได้รู้จักร่างกายของตัวเองดียิ่งขึ้น ไขข้อสงสัย ให้ความรู้เรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ใกล้ตัว และมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต อย่างเช่น กิจกรรมอาจารย์ใหญ่ไขความรู้ การจำลองการระบาดของ COVID-19 การแสดงวัตถุลอยได้ภายใต้อิทธิพลของสนามแม่เหล็กกับการยกระดับการสร้างรถไฟ ฯลฯ รวมถึงกิจกรรมทดลองใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ เช่น การวัดคลื่นแผ่นดินไหว TED talk เสวนาสร้างแรงบันดาลใจ พร้อมให้ข้อมูลหลักสูตรที่เปิดสอนทั้งหลักสูตรไทยและนานาชาติ สิ่งที่ต้องรู้ในการเข้ามหาวิทยาลัยผ่านระบบ TCAS และกิจกรรมอีกหลากหลายรูปแบบจาก 12 ภาควิชา 1 กลุ่มสาขาวิชา และหน่วยงานต่าง ๆ ที่ยกมาให้น้อง ๆ นักเรียนได้สัมผัส และเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากการลงมือทำด้วยตนเอง ซึ่งได้รับการตอบรับจากนักเรียนผู้ร่วมงานเป็นอย่างดี อาทิ
ภาควิชาฟิสิกส์
- การจำลองการระบาดของโรค COVID-19
ศึกษาและพยากรณ์การระบาดของโรค COVID-19 โดยใช้แบบจำลองเชิงคณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์
- รู้จักแผ่นดินไหว และการสำรวจโครงสร้างโลกด้วยแผ่นดินไหว
ภาควิชาสรีรวิทยา : "มารู้จักสรีรวิทยากันเถอะ"
กิจกรรมนันทนาการและแจกของรางวัล
- การแนะนำห้องปฏิบัติการของภาควิชา ในรูปแบบโปสเตอร์ และ VDO แนะนำภาคฯ
- การจำลองเนื้อหาระบบต่าง ๆ ผ่านโปรแกรมออนไลน์
กายวิภาคศาสตร์ : อาจารย์ใหญ่ไขความรู้
ศึกษาร่างอาจารย์ใหญ่เพื่อทำความเข้าใจร่างกายของเราให้ดียิ่งขึ้น พร้อมชมวีดีโอ 3D
ภาควิชาจุลชีววิทยา
- ทายนิสัยจากหมู่เลือด
คำทำนายนิสัยจากหมู่เลือด แม้ไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงทางวิชาการได้แต่เป็นประโยชน์ต่อท่านในการศึกษาอุปนิสัยผู้อื่น อันจะนำไปสู่สัมพันธภาพที่ราบรื่น เพราะการคบหากับคนรู้ใจย่อมเกิดผลดีเหมือนคำพังเพยของจีนที่ว่า “ถ้ารู้เขารู้เรา แม้รบกันร้อยครั้งก็ต้องชนะทั้งร้อยครั้ง”
- องค์รักษ์ประจำตัว
Blood smear and stain with Giemsa, Microscopic imaging. And show a little bit of VDO
- ไวรัสในห้องปฏิบัติการ
แสดงเชื้อไวรัสที่สำคัญทางการแพทย์ ได้แก่ Dengue virus, Rabies virus, HIV, Influenza virus ชมการสาธิตการทดลองการตรวจสอบไวรัสในห้องปฏิบัติการ โดยเทคนิคทาง cellular และ molecular virology อาทิการตรวจดูการเกิด cytopathic effect (CPE) ในเซลล์เพาะเลี้ยง, การทำ Plaque asay, PCR, การตรวจrapid test เป็นต้น
- Monster inside me
พบเชื้อโรคพยาธิชนิดต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดโรคในตัวเรา
ภาควิชาพยาธิชีววิทยา : Patho พยากรณ์
รับชมวิดีโอ presentation ของภาควิชา หลังจากนั้นทำการเลือกแผ่นป้ายทำนายซึ่งระบุสาเหตุของการเกิดโรค เมื่อเลือกเสร็จแล้วจะไปตาม station เพื่อเรียนรู้ว่าสาเหตุของโรคนั้นทำให้เกิดพยาธิสภาพอย่างไร
ศูนย์วิจัยพัฒนาและฝึกอบรมเทคโนโลยีชีวภาพของแมลงระดับภูมิภาค (RCIB) : Insect Biotech สู่วิถีอนาคต
ชมแสดงผลงานและให้ความรู้เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพของแมลงสำหรับการดำเนินชีวิตในอนาคต
ภาควิชาเภสัชวิทยา : "กินให้สวย..กินเป็นยา"
ร่วมทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในอาหาร ผลไม้ อาหารเสริม และเครื่องสำอางค์ทั่วไป โดยใช้วิธีอย่างง่าย
ภาควิชาชีวเคมี
- มาสกัด DNA กันเถอะ
เรียนรู้การสกัด DNA จากผลไม้ชนิดต่าง ๆ
- ลูซิเฟอเรส-เอนไซม์เร่งปฏิกิริยาการเรืองแสง
สนุกกับปฏิกิริยาเรืองแสงและการทดลองเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานของเอนไซม์
ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
- Agricultural Biotechnology
รู้จักกับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช และจัดแสดงการปลูกผักแบบ hydroponics พร้อมอธิบายหลักการ
- Food Biotechnology
เกมจับคู่ผลิตภัณฑ์อาหารกับจุลินทรีย์ที่ใช้ในการผลิตอาหารนั้น ๆ เช่น นมเปรี้ยว คู่กับ แบคทีเรีย, ขนมปัง คู่กับ ยีสต์ เป็นต้น
- Industrial Biotechnology
อธิบายภาพรวมของภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ในแง่ของการนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรม พร้อมทั้งจัดแสดงเครื่อง fermenter อธิบายหลักการทำงาน และยกตัวอย่างการนำไปใช้จริงในอุตสาหกรรม
- Molecular and Medical Biotechnology
เปิดให้ได้ลองเทคนิคการ streak โดย streak ลงบนจานอาหารเลี้ยงเชื้อแบคทีเรีย พร้อมทั้งมีการให้ความรู้เกี่ยวกับแบคทีเรียเรืองแสง
ภาควิชาคณิตศาสตร์
- Math talk
หยิบสาระจากตำราออกมาคุยกันด้วยภาษาที่ทุกคนเข้าใจ ในรูปแบบการพูดเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ ในประเด็น “คณิตศาสตร์คือการเรียนอะไร” “คณิตศาสตร์ใช้ทำอะไร” และ “นักคณิตศาสตร์ทำงานอะไร”
- หมวกคัดสรร : เมื่อฉันจะเป็นนักคณิตศาสตร์
มาหาเรา แล้วหมวกคัดสรรจะช่วยเลือกสาขาของคณิตศาสตร์ที่เหมาะกับตัวตนของคุณ (ร่วมสนุกได้ทุกคน แม้ไม่ได้เลือกเรียนคณิตศาสตร์)
- “IMDS : แค่ชื่อแปลกแต่ไม่แตกต่าง”
มารู้จักกับพวกเรา สาขาคณิตศาสตร์อุตสาหการและวิทยาการข้อมูล (IMDS) ให้มากยิ่งขึ้นผ่านเกมตอบคำถามชิงรางวัล
- เงินน่ะมีไหม
ทดลองมาเป็นนักลงทุนผ่านเกมบริหารจัดการเงิน พร้อมสาระความรู้มากมายเกี่ยวกับการเงินและการลงทุน
ภาควิชาชีววิทยา
- สัตว์มหัศจรรย์และถิ่นที่อยู่
ส่องดูสิ่งมีชีวิตในน้ำ เล่นเกมตอบคำถามชิงรางวัล
- ผ่าอาจารย์เล็ก
ผ่างูเหลือมยักษ์ยาว 4 เมตร ดูและสัมผัสความอัศจรรย์ของโครงสร้างและกายวิภาคของสิ่งมีชีวิต
ภาควิชาเคมี
- เคมี @ มหิดล
แนะนำหลักสูตรปริญญาตรี และการรับสมัครประจำปีการศึกษา 2564
- ChemEx : Chemistry Experiments
พวงกุญแจหนูทำได้ : เปลี่ยนพลาสติกเป็นพวงกุญแจ
ลูกบอลยางเด้งดึ๋ง เด้งได้ เด้งดี
“L-ก-ฮ” นี้ฆ่าเชื้อได้หรือไม่
Micro PAD Bookmarks : ที่คั่นหนังสือจากอุปกรณ์ตรวจวัดทางเคมีแบบกระดาษ
เคมีคำนวณ : โครงสร้างของแอลกอฮอล์
ภาควิชาพฤกษศาสตร์
- ยกป่ามาตึก
จัดแสดงต้นไม้ที่ใช้ในการเรียนการสอนตั้งแต่มอส เฟิน สน หม้อข้าวหม้อแกงลิง ว่านต่าง ๆ และอื่น ๆ
- ไม้จิ๋วในขวดแก้ว
สาธิตการทำ Tissue culture ของต้นไม้ต่าง ๆ
- Plant Chromosome
การสาธิตการศึกษาโครโมโซมพืชและการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ
- ปังปุริเย่ดีเอ็นเอพาเพลิน
สาธิตการสกัดดีเอ็นเอและเล่นเกม
- ไปดูมา มาดูใบ
ส่องดูลักษณะทางสัณฐานวิทยา (Micromorphology) ของใบประเภทต่าง ๆ
- ภูมิแพ้ เราไม่แพ้
ดูเรณูพืชก่อภูมิแพ้ ตอบคำถาม
กลุ่มสาขาวิชาวัสดุศาสตร์ และนวัตกรรมวัสดุ
- "มารู้จักวัสดุฟิล์มบางสำหรับเซลล์แสงอาทิตย์ แอลอีดี และฟิล์มกันความร้อน"
แนะนำเกี่ยวกับวัสดุฟิล์มบางหลายชนิด นวัตกรรมวัสดุกำลังพัฒนาต่อยอดเป็นเซลล์แสงอาทิตย์ แอลอีดี และฟิล์มกันความร้อนแบบใหม่ที่มีคุณสมบัติที่ดีขึ้นและหลากหลายขึ้นกว่าแบบที่มีอยู่ในปัจจุบัน
- GELPRO
- สนุกกับอนุภาคนาโน
หน่วยวิจัยด้านแคลเซียมและกระดูก : แคลเซียม...สำคัญ รู้เท่าทัน ทุกช่วงวัย
ให้ความรู้ด้านแคลเซียมและกระดูก โดยจัดบรรยายเป็นรอบ พร้อมชมโมเดลกระดูกแสดงภาวะกระดูกปกติ และกระดูกพรุน เล่นเกมตอบคำถามชิงรางวัล
หลักสูตรพิษวิทยา : ทดสอบพิษในชีวิตจริง
ทำการทดสอบหรือตรวจสอบสารพิษในของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น เครื่องสำอาง อาหาร น้ำมันที่ใช้ประกอบอาหาร ผักและผลไม้ฯ โดยใช้ชุดทดสอบตรวจสอบสารพิษในผลิตภัณฑ์เหล่านี้
ตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษ
เขียนข่าว: นางสาวปัณณพร แซ่แพ
ภาพกิจกรรม: นายนภาศักดิ์ ผลพานิช
เว็บมาสเตอร์: นางสาวนุชสรา บุญครอง