logo

ภาพข่าวกิจกรรมคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ภาพข่าวและกิจกรรมประจำปี 2560

 

Tech Plan Demo Day in Thailand 2017
By Faculty of Science, Mahidol University and leave a Nest Co., Ltd.

เมื่อวันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน 2560 ที่ผ่านมา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยหน่วยพัฒนาธุรกิจ งานพันธกิจพิเศษ ร่วมกับ Leave a Nest Co., Ltd. ประเทศญี่ปุ่น ในการจัดกิจรรม Tech Plan Demo Day in Thailand ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นการนำเสนอนวัตกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีเกณฑ์การพิจารณา ได้แก่ Novelty, Practicability, Society (It could bring about change to the world), และ Passion โดยผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ นอกจากจะได้รับเงินรางวัล 200,000 ¥ (60,000 บาท) แล้ว ยังจะได้เข้าร่วมการประชุมในรอบชิงชนะเลิศระดับเอเชียแปซิฟิค ที่สาธารณรัฐสิงคโปร์ ในวันที่ 29 กรกฎาคม 2560 และในโอกาสนี้ รศ ดร.สิทธิวัฒน์ เลิศศิริ คณบดี คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล ได้รับเชิญให้เป็นกรรมการตัดสิน (Judge) ในครั้งนี้ด้วย

สำหรับทีมที่ผ่านการคัดเลือกจำนวน 11 ทีม จากสถาบันการศึกษาต่างๆ ได้แก่

Team Name

Theme

University

1

Barance

Exercise stick for enhancing senior’s barance

KMUTT

2

SMART SLEEP

Do you have a happy sleep at night?

MU

3

CERAMICSWORLD

Ceramics fabrication by FDM printing

MU

4

FILTERMU

Nanofiltration system

MU

5

Su-APRL

IOT Alcohol meter

CMU

6

Health CAL

Youth meter

KKU

7

Future Drugs for Pets

New drug for AIDS in cats

KU

8

Teeracs

Foldable electronic personal mobility

KMUTT

9

RMUTT-ENG

Pineapple fiber reinforced polylactic acid

RMUTT

10

Aquatic animal health: algae

Transgenic algae for control WSSV in shrimp

KU

11

Fish health: Kasetsart

Development of practical vaccine formulation for control streptococcosis disease

KU

 

เมื่อการแข่งขันเสร็จสิ้นลง ทีมที่ชนะเลิศ เป็นทีม Fish health: Kasetsart จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำหรับคณะวิทยาศาสตร์ ม. มหิดล มีทีมที่ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่ 11 ทีมสุดท้ายจำนวน 3 ทีม ได้แก่ 1) ทีม  SMART  SLEEP  เป็นผลงานของ ผศ. ดร.ธีรเกียรติ์ เกิดเจริญ และคณะ จากหลักสูตรวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุ เพื่อการนอนอย่างมีคุณภาพ โดยมีเซ็นเซอร์ตรวจจับท่าทางการนอนของบุคคล และนำข้อมูลจากระบบเซ็นเซอร์ที่ได้มาแปลผล เพื่อให้ทราบเกี่ยวกับการนอนที่มีคุณภาพ อันส่งผลที่ดีต่อสุขภาพร่างกายทำให้มีสุขภาพที่ดีและแข็งแรง 2) ทีม CERAMICSWORLD (Ceramic 3D printing) ผลงานของ อ.ดร.กิตติทัศน์ สุบรรณจุ้ย และคณะ จากหน่วยสหสาขา ในไอเดียที่ว่า “การพิมพ์พลาสติกด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติไม่ใช่เรื่องใหม่อีกต่อไป” แต่สำหรับการพิมพ์วัสดุเซรามิก ไม่ว่าจะเป็นวัสดุกึ่งตัวนำสำหรับงานด้านเซนเซอร์ หรือวัสดุทนความร้อน ยังจำเป็นต้องใช้เครื่องพิมพ์ที่ใช้เลเซอร์ ซึ่งมีราคาสูงถึง 20 ล้านบาท แต่งานนี้ได้นำเสนอวิธีการพิมพ์เซรามิกจากเครื่องพิมพ์สามมิติทั่วๆ ไป ซึ่งสามารถทำได้และลงทุนเพียง 30,000 บาทเท่านั้น และ 3) ทีม  FILTERMU  นำโดย อ.ดร.กิตติทัศน์ สุบรรณจุ้ย และคณะ จากหน่วยสหสาขาวิชา ซึ่งได้รับรางวัล Passionate Presentation ให้ไปร่วมนำเสนอผลงานที่ประเทศญี่ปุ่น

ผลงานเรื่อง FILTERMU (Nanofilter) มีแนวความคิดที่ว่า ในปัจจุบัน โลกของเรามีการใช้ระบบฟอกอากาศหรือระบบกรองที่พึ่งพาเทคโนโลยีพลาสม่าเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นระบบที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ ดังนั้น เราจึงสร้างระบบกรองที่ประกอบไปด้วยวัสดุนาโนสองประเภทเข้าด้วยกัน เพื่อนำมาใช้ทดแทนระบบพลาสม่า และไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้ใช้งาน

 

ถ่ายภาพ : นายนภาศักดิ์ ผลพานิช
เขียนข่าว : หน่วยพัฒนาธุรกิจ งานพันธกิจพิเศษ
เว็บมาสเตอร์ : นางสาวอริศรา เฉิดมนูเสถียร