logo
กิจกรรม Tech Planter

ภาพข่าวกิจกรรมคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ภาพข่าวและกิจกรรมประจำปี 2559

 

Tech Plan Demo Day in Thailand

เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2559 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมกิจกรรม Tech Plan Demo Day in Thailand จัดโดย Leave a Nest Co., Ltd. จากประเทศญี่ปุ่น กิจกรรมนี้เป็นการนำเสนอเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์ ที่มีการนำปัจจัย 4 อย่างเข้ามาประกอบกันได้แก่ Novelty, Practicability, Society, และ Passion มาช่วยแก้ปัญหาด้านต่างๆ

มีโครงการสมัครเข้าแข่งขันทั้งสิ้น 21 โดยมี 12 โครงการได้ผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการ ที่มาจากประเทศญี่ปุ่นให้เหลือโครงการที่เข้ารอบสุดท้าย 12 โครงการ ได้แก่่

  1. Gold nanoparticle สำหรับรักษาแผล (ทีม N-BMR)
  2. เอนไซม์เร่งปฏิกิริยาการเรืองแสงเพื่อเป็นตัวตรวจวัดชีวภาพ (ทีม Enzmart)
  3. Electronic nose สำหรับตรวจจับสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ (ทีม Nose4En)
  4. กรรมวิธีสกัดเส้นใยสัปปะรดมาเป็น ส่วนผสมใน polymer (ทีม Zuppar )
  5. แว่นตาช่วยคนตาบอด 
  6. หุ่นยนต์แนะนำอาหาร 
  7. App หาหน่วยปฐมพยาบาลฉุกเฉิน
  8. hydrogel ดูดซับสารพิษ
  9. เครื่องระเหยน้ำจากน้ำผึ้ง
  10. สารสกัดจาก Omega 3 จากเมล็ดดาวอินคา
  11. วัสดุ Gum metal เพื่อเป็นวัสดุเทียมสำหรับการรักษา
  12. ระบบนำส่งยาอัจฉริยะ เป็นต้น

ซึ่งแต่ละทีมจะได้เสนอผลงานตัวเอง ให้กรรมการฟังภายใน 7 นาที ในส่วนของ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้เข้ารอบทั้งหมด 4 ทีม (ทีม 1-4)

ทีมที่ชนะใจกรรมการได้ชนะเลิศของโครงการ Tech Planter Thailand ได้แก่ ทีม N-BMR ซึ่งเป็นทีมกลุ่มวิจัย Nanobiotechnology & Nanobiomaterials Research มีสมาชิกประกอบด้วยอาจารย์ นักศึกษาของหลักสูตรวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุ หน่วยสหสาขา นักศึกษาจากหลักสูตรพิษวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดาครอง พิศสุวรรณ อาจารย์ประจำ จากคณะวิทยาศาสตร์ เป็นตัวแทนและผู้นำของทีมนำเสนอเรื่อง "Gold nanoparticles for wound healing" ซึ่งเป็นการนำเสนอแนวทางการนำอนุภาคนาโนของทองร่วมกับการฉายแสงในช่วงความยาวคลื่น ของแสงอินฟาเรดคลื่นสั้น มาใช้ในกระตุ้นการสมานบาดแผลทีผิวหนังให้กลับมาสู่สภาพปกติ ในระยะเวลาที่เร็วขึ้นกว่าวิธีที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยจะได้เงินรางวัล 200,000 เยน ได้ไปประกวด รอบ Semi final ที่สิงคโปร์ เดือนกรกฎาคม เพื่อหาผู้ชนะจะได้ไปแข่งรอบ Final ที่ประเทศญี่ปุ่น

นอกจากนี้ยังมี ทีม Enzmart ซึงเป็นทีมกลุ่มวิจัย Enzyme Catalysis and Engineering ของ ศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์ใจ ใจเย็น มีสมาชิกประกอบด้วยอาจารย์ นักศึกษา นักวิจัย ศิษย์เก่า ของหลักสูตรชีวเคมี และหน่วยวิจัยเทคโนโลยีโปรตีนและเอนไซม์ ผู้ร่วมงานวิจัยจาก มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยมี ดร. รัชนก ตินิกุล (ศิษย์เก่าชีวเคมี) ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ เป็นตัวแทนของทีม นำเสนอเรื่อง เอนไซม์เร่งปฏิกิริยาการเรืองแสงเพื่อเป็นตัวตรวจวัดชีวภาพ โดยทีม Enzmart ได้รับรางวัล ที่ 3 และรางวัลพิเศษจากบริษัท Leave a Nest เพื่อไปร่วมงาน Tech Planter Grand Prix ที่ประเทศญี่ปุ่น โดยบริษัท Leave a Nest ให้เหตุผลว่าที่เลือกทีม Enzmart ให้รับรางวัลนี้เพราะ มี Strong science evidence อธิบายการค้นพบและเป็นงานที่เป็นของประเทศไทยจริงๆ ซึ่งนักธุรกิจกับลูกค้าในประเทศญี่ปุ่นต้องให้ความสนใจแน่ๆ จึงอยากให้ได้ไปร่วมงานที่ประเทศญี่ปุ่น โดย Leave a Nest จะช่วยจัดให้ทีม Enzmart ได้พบกับผู้สนใจต่อไป

 

ถ่ายภาพ : ทีม Enzmart
เขียนข่าว : นางวริศรา ทาทอง
เว็บมาสเตอร์ : นางสาวอริศรา เฉิดมนูเสถียร