logo

ภาพข่าวกิจกรรมคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ภาพข่าวและกิจกรรมประจำปี 2563

 

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับมูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก และ Hornbill International จัดกิจกรรมวันรักนกเงือก ประจำปี 2563

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับมูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก และ Hornbill International จัดกิจกรรมวันรักนกเงือก ประจำปี 2563 เพื่อสร้างจิตสำนึกของคนในชาติให้ตระหนักในการรักษาธรรมชาติและรณรงค์การดูแลรักษานกเงือกให้อยู่คู่ป่าของประเทศไทย ในวันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 10:00 – 19:00 น. ณ บริเวณสวนนกเงือก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ในการนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวรายงานและต้อนรับ โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานในพิธี และ ดร.วรพัฒน์ อรรถยุกติ ประธานมูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก กล่าวรายงานการดำเนินงานของมูลนิธิฯ

สำหรับกิจกรรมภายในงาน ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานหลากหลายภาคส่วนในการจัดนิทรรศการ ได้แก่ บริษัท SCG ภายใต้แนวคิดหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy), มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร, สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) แห่งประเทศไทย, สถาบันบริหารจัดการสวนสัตว์ องค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, สวนสัตว์เปิดเขาเขียว, มูลนิธิสำนึกรักบ้านเกิด, สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย,สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง, คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, สมาคมอุทยานแห่งชาติ, สาขาชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี, Save Wildlife Thailand, มูลนิธิรามาธิบดี, คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ, บมจ. กสท. โทรคมนาคม, ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ, ตำรวจตระเวณชายแดนที่44 จ.ยะลา, กลุ่มสาขาวิชาเวชศาสตร์ปริวรรต คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และโครงการฝึกวาดการ์ตูนไทย หัวใจอินเตอร์ผ่านโลกออนไลน์ (คุณขวด การ์ตูนขายหัวเราะ) นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานที่มาร่วมจำหน่ายของที่ระลึกภายในงาน ได้แก่ กลุ่มนกเค้าแมว, 4เกลอเจอหมี กาแฟ, Hornbill Charity Project 2019, กลุ่มใบไม้, คุณบุ๊น (Happy Boom) , ครูเกรียง BNS, ครูกานต์ (Friendly creators), คุณกิรณา นิสะโสก, จอมทัพ, ชมรมเด็กรักนก, คุณหมู คุณวรรณ นักปั่นรอบโลก, Nature Toon & Refill Station และ Thailand Tiger Project

โดยกิจกรรมบนเวทีในปีนี้ ได้รับเกียรติจากคุณคมสัน นันทจิต นักเขียนเรื่องสั้น นักแสดง และพิธีกรรายการโทรทัศน์ เป็นพิธีกร กล่าวเรียนเชิญ คุณสวัสดิ์ โพธิ์สินสมวงศ์ ผู้อำนวยการผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกาย HORNBILL เปิดตัว โครงการประกวดออกแบบลวดลาย “เสื้อคู่รัก” (HORNBILL LOVER) และการเดินแบบเสื้อผ้าคู่รัก จากคู่รักดารา คุณชาคริต – คุณภัททิรา แย้มนาม พร้อมด้วยอาจารย์และนักศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์ฯ นอกจากนี้มีการเปิดจำหน่ายเสื้อ T-Shirt Hornbill Limited edition ลายนกชนหิน ต่อด้วยการเสวนาพูดคุยในหัวข้อ “นกชนหิน ฤาจะเหลือแต่ความทรงจำ” โดยมี นพ.รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และประธานชมรมอนุรักษ์นกและธรรมชาติล้านนา คุณเมธินีย์ ภัสสราอุดมศักดิ์ นักวิจัยและฝ่ายข้อมูลจากองค์กร TRAFFIC องค์การติดตามการค้าสัตว์ป่า คุณโน้ต วัชรบูล ลี้สุวรรณ กรรมการและรองเลขาธิการ / ประชาสัมพันธ์ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิจักขณ์ ฉิมโฉม เลขานุการมูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก ดำเนินการเสวนา ปิดท้ายด้วยบรรยากาศสนุกสนานกับคอนเสิร์ตจากศิลปิน วง 25hours ตลอดกิจกรรมทั้งช่วงเช้าและบ่ายมีผู้สนใจเข้าร่วมอย่างคับคั่ง

"วันรักนกเงือก" จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ติดต่อกันมาเป็นปีที่ 21 มูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก ได้รับพระราชทานชื่อจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ถูกก่อตั้งโดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.พิไล พูลสวัสดิ์ อดีตอาจารย์ประจำภาควิชา จุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ทำหน้าที่ด้วยความมุ่งมั่นในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์นกเงือกและทรัพยากรธรรมชาติมายาวนานกว่า 40 ปี จนได้รับการขนานนามว่า "มารดาแห่งนกเงือก" (GREAT MOTHER OF THE HORNBILLS) ก่อให้เกิดการขับเคลื่อนทางสังคมเพื่อการคุ้มครอง-อนุรักษ์นกเงือกและธรรมชาติ จนได้เป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติระดับโลก พร้อมกันถึง 2 รางวัล เมื่อปี พ.ศ. 2549 ได้แก่รางวัล The 2006 ROLEX Awards for Enterprises จาก Rolex SA ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และ The 52nd Annual Chevron Conservation Awards จาก Chevron Corporation ประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ ยังได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา สาขาวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2550 จากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเป็นผู้แทนพระองค์ ท่านเป็นผู้ริเริ่มโครงการศึกษานิเวศวิทยาของนกเงือก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ขึ้นมาเพื่อทำการศึกษาวิจัยเฉพาะในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ในปี พ.ศ. 2521 ก่อนจะขยายพื้นที่ศึกษาวิจัยออกไปในเขตผืนป่าภาคตะวันตก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง และภาคใต้ อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี ปัจจุบันได้มีการสำรวจการแพร่กระจายและสถานภาพของนกเงือกทั่วประเทศ และมีเครือข่ายศึกษาวิจัยร่วมกับหลายหน่วยงานไม่ว่าจะเป็น กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) แห่งประเทศไทย คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยศิลปากร

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

ตรวจสอบโดย: รองศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง และนางสาวปนิดา พยุหกฤษ
ภาพกิจกรรม: นางสาวปัณณพร แซ่แพ, นายนภาศักดิ์ ผลพานิช
เขียนข่าว: นางสาวจิรนันท์ นามั่ง
เว็บมาสเตอร์: นางอริศรา รักษ์ดำรงธรรม