logo

ภาพข่าวกิจกรรมคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ภาพข่าวและกิจกรรมประจำปี 2562

 

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมจัดนิทรรศการในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2562

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของปีและของประเทศอีกครั้ง ในงานมหกรรมกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2562 ที่จัดขึ้นภายใต้แนวคิดหลัก จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริมสร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม โดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นเจ้าภาพจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีเนื่องในสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ เพื่อเทิดพระเกียรติพระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงเป็น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" เผยแพร่ผลงานวิจัยและพัฒนาความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งในประเทศและนานาชาติ กระตุ้นความสนใจด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของคนไทย และส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงอาชีพด้านวิทยาศาสตร์แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป ซึ่งในปีนี้มีมหาวิทยาลัยร่วมจัดนิทรรศการกว่า 19 แห่ง หน่วยงานในสังกัดกระทรวงอุดมศึกษาฯ 16 หน่วยงาน และหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สภาสมาคม อีกกว่า 33 หน่วยงาน รวมถึงหน่วยงานต่างประเทศอีก 11 ประเทศ

สำหรับในปีนี้ เป็นปีที่พิเศษของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เนื่องจากตรงกับโอกาสครบรอบ 100 ปี ชาตกาลของศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข หรือ "อาจารย์สตางค์" ผู้มีคุณูปการต่อวงการการศึกษา วิทยาศาสตร์รวมถึงการแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงร่วมจัดนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ รวมถึงแสดงผลงานและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาจารย์สตางค์ในงานด้วยภายใต้ชื่อ 100 Years of Prof.Stang Mongkolsuk “One in a hundred” Science Exhibition ซึ่งประกอบด้วยนิทรรศการวิทยาศาสตร์หมุนเวียนจากภาควิชาต่างๆ 11 ภาควิชาไม่ซ้ำกัน ดังนี้

16 สิงหาคม เป็นกิจกรรม “เล่าเรื่องโรค (Story of Diseases)” จากภาควิชาพยาธิชีววิทยา เป็นการจัดแสดงตัวอย่างกายวิภาคศาสตร์ของโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับอวัยวะในระบบของร่างกาย เช่น ไขมันพอกที่ตับ มะเร็งตับ มะเร็งปอด เส้นลือดสมองอุดตัน ไส้ติ่งอักเสบ นิ่วในไต ตัวอ่อนที่ฝังตัวอยู่นอกมดลูก พร้อมให้ความรู้เกี่ยวกับสาเหตุและวิธีการป้องกันโรค นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมตอบคำถามชิงรางวัลอีกด้วย

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

17 สิงหาคม พิธีเปิดงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ อย่างเป็นทางการโดยมี รศ.ดร.วีระพงศ์ แพสุวรรณ ประธานที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธาน และ รศ.นพ. สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นผู้กล่าวรายงาน นอกจากนั้นยังมีพิธีมอบรางวัล Prime Minister’s Science Award 2019 และท่านประธานได้เดินชมการจัดแสดงนิทรรศการภายในงานโดยรอบ ในส่วนของบูธนิทรรศการคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีการแสดงผลงานจากภาควิชา พฤกษศาสตร์ Green Solutions for Future Living ความสัมพันธ์ระหว่างพฤกษศาสตร์จากฐานรากสู่นวัตกรรมสีเขียวเพื่ออนาคต และผลงานจากภาควิชา เภสัชวิทยา การผลิตสบู่กลีเซอรีนจากสมุนไพร

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

18 สิงหาคม ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล รศ.นพ.ธันย์ สุภัทรพันธุ์ รักษาการแทนรองอธิการบดี ร่วมเป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะผู้จัดโครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 5 ในปี พ.ศ. 2563 ณ เวทีกลาง งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2562

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

19 สิงหาคม ซึ่งเป็นวันที่ 4 ของงานมหกรรมวิทยาศาสตร์ฯ เป็นกิจกรรม "แคลเซียมสำคัญไฉน?" โดย ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีการจัดแสดงโปสเตอร์ให้ความรู้เรื่องแคลเซียมและกระดูก รวมถึงโมเดลกระดูกเพื่อให้เห็นภาพโครงสร้างของกระดูกมากขึ้น ทั้งยังเปิดโอกาสให้น้องๆ นักเรียน ที่มาเยี่ยมชมบูธ ทดลองชิมผลิตภัณฑ์แคลเซียมสำหรับแม่ให้นมบุตร ที่พัฒนาขึ้นจากหน่วยวิจัยด้านแคลเซียมและกระดูก พร้อมให้ความรู้เรื่องการรับประทานแคลเซียมอย่างไรให้เพียงพอผ่านการเล่นเกมตอบคำถามชิงรางวัลอีกด้วย

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

20 สิงหาคม ภาควิชาชีววิทยาได้จำลองระบบนิเวศต่างๆ มาแสดงไว้ที่บูธคณะวิทยาศาสตร์ ในกิจกรรมชื่อ Microcosm ระบบนิเวศจิ๋ว ที่เปิดโอกาสให้น้องๆ ได้เรียนรู้ลักษณะของสภาพแวดล้อมในระบบนิเวศน้ำจืด และความเป็นอยู่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น กิ้งกือ ปลิง หอย ตะเข็บ ในระบบนิเวศดิน ประกอบกับการตอบคำถามชิงรางวัล นอกจากนั้นยังมีการส่องกล้องจุลทรรศน์ สำหรับดูสัตว์ที่มีขนาดเล็กมากจนไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งทุกกิจกรรมได้รับความสนใจจากนักเรียนร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

วันที่ 21 สิงหาคม 2562 ซึ่งเป็นวันที่ 6 ของการจัดกิจกรรมในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2562 ภาควิชาคณิตศาสตร์ จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องของปัญหาการหาค่าที่ดีที่สุดอย่างง่าย ผ่านเกมแข่งขันบรรจุสิ่งของโดยใช้ภาชนะให้น้อยที่สุดและเกมแข่งขันหาเส้นทางที่ดีที่สุดชิงของรางวัล โดยมีการบันทึกสถิติของผู้ที่ทำคะแนนได้ดีที่สุดไว้บนกระดาน สร้างความท้าทายและบรรยากาศสนุกสนานให้กับนักเรียนที่มาเยี่ยมบูธคณะวิทยาศาสตร์ได้เป็นอย่างดี

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

วันที่ 22 สิงหาคม 2562 เป็นการจัดกิจกรรมร่วมของ 2 ภาควิชาซึ่งได้รับความสนใจจากนักเรียนเยี่ยมชมบูธเป็นจำนวนมาก โดยภาควิชาจุลชีววิทยา นำเสนอเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเรา โดยจัดแสดงภาพและอาหารเลี้ยงเชื้อแบคทีเรียที่แสดงโคโลนีแบคทีเรียบนมือของคน ตอนก่อนล้างมือเปรียบเทียบกับหลังล้างมือ รวมถึงตั้งกล้องจุลทรรศน์ไว้สำหรับส่องดูเชื้อแบคทีเรียที่พบในอาหาร เช่น "แลคโตแบซิลลัส" ซึ่งนำมาจากโยเกิร์ต และไข่พยาธิใบไม้ที่กรองได้จากอุจจาระวัว ซึ่งเป็นไข่พยาธิในระยะที่สามารถติดต่อถึงคนได้ พร้อมแสดงชุดทดสอบพยาธิใบไม้ตับและพยาธิใบไม้กระเพาะอาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้อง อันเป็นนวัตกรรมที่คิดค้นขึ้นโดยภาควิชาเพื่อช่วยลดระยะเวลาในการตรวจหาสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น วัว ที่ติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับและพยาธิใบไม้กระเพาะอาหาร โดยนำตัวอย่างเลือด หรือ อุจจาระของสัตว์ มาหยดด้วยน้ำยาเฉพาะ ด้านภาควิชากายวิภาคศาสตร์ ได้จำลองเอาห้องเรียน Anatomy 3D มาไว้ภายในบูธ โดยยกเอา 3D Printer และ 3D Model มาจัดแสดง ประกอบกับโปสเตอร์ให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพการเรียนการสอนทางกายวิภาคศาสตร์และสื่อการสอน 3 มิติ ด้วยเทคโนโลยีและวัสดุใหม่ พร้อมให้ความรู้เรื่องระบบสืบพันธุ์เพศชาย และเพศหญิง นอกจากนั้นยังจัดการแข่งเล่นเกมส์บิงโกอวัยวะ เกมส์ Cross word ตอบคำถามลุ้นรับรางวัลอีกด้วย

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

วันที่ 23 สิงหาคม 2562 ซึ่งเป็นวันที่ 8 ของงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคที่เกี่ยวข้องกับกระดูกในผู้สูงอายุ เช่น โรคเก๊าท์ โดยภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งอธิบายถึงสาเหตุของการเกิดโรคเก๊าท์ ความแตกต่างระหว่างเก๊าท์แท้-เก๊าท์เทียม อาการของโรค การวินิจฉัยโรค และวิธีการรักษาในปัจจุบัน เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลผู้สูงอายุ ประกอบกับแสดงผลึกจำลองของโรคเก๊าท์แท้และเก๊าท์เทียม พร้อมทั้งตั้งกล้องจุลทรรศน์สำหรับให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมวาดรูปตามภาพที่มองเห็นจากกล้องเพื่อแลกของรางวัล และยังมีกิจกรรมระบายสีภาพโครงกระดูกสำหรับเด็กเล็กอีกด้วย

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

วันที่ 24 สิงหาคม 2562 เป็นการจัดกิจกรรมร่วมกันของภาควิชาฟิสิกส์ และภาควิชาเคมี ซึ่งประกอบด้วยการจัดแสดงนวัตกรรม “เซนเซอร์ฉลาด (smart sensor)-รอยต่อความรู้วิทย์และปัญญาประดิษฐ์” โดยภาควิชาฟิสิกส์ ที่นำเอา จมูกอัจฉริยะ (e-nose) ผลงานจากการคิดค้นเชิงวัสดุศาสตร์เพื่อการตรวจวัด (sensor) และนำเอาปัญญาประดิษฐ์มาช่วยในการวิเคราะห์และประมวลผล กลายเป็นปัญญาประดิษฐ์ที่เรียกว่าโครงข่ายประสาทเทียม (Artificial Neural Network: ANN) ทำให้สามารถแยกแยะกลิ่นต่างๆ ได้ เช่น บอกได้ว่าพื้นดินมีองค์ประกอบอะไรอยู่บ้าง วัสดุรอบตัวเราประกอบไปด้วยสสารอะไร ในลมหายใจของเรามีโมเลกุลที่มาจากการทํางานของอวัยวะใดบ้าง และอวัยวะใดบ้างที่ผิดปกติไป เป็นต้น

ส่วนภาควิชาเคมี เป็นการจัดกิจกรรมเรียนรู้เรื่องวิทยาศาสตร์รอบตัว ผ่านการทดลองและเกมอย่างง่าย เช่น สีเต้นระบำ ที่อาศัยหลักการของแรงตึงผิวอย่างง่าย Bingo วิทยาศาสตร์ และการทดลองเปลี่ยนสีด้วยไฟฟ้า ซึ่งเกิดขึ้นจากผลของปฏิกิริยาเคมี สร้างความตื่นเต้นและสนุกสนานให้กับน้องๆ นักเรียน และเด็กเล็กได้เป็นอย่างดี

Activity Photo

Activity Photo

วันที่ 25 สิงหาคม 2562

Activity Photo

Activity Photo

ทั้งนี้ผู้ที่สนใจสามารถร่วมกิจกรรมได้ที่บูธคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ฮอลล์ 7 อิมแพ็ค เมืองทองธานี ตั้งแต่วันที่ 16 – 25 สิงหาคม 2562 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร 0-2201-5090 งานสื่อสารองค์กร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


ภาพกิจกรรม : นางสาวนันท์มนัส วิมลเศรษฐ, นางสาวปัณณพร แซ่แพ, นางสาวจิณนพัฒ มหานนท์, นายเทพทัต คุ้มสังข์,
นายสุทธิเดช จำเนียรพรหม, นางสาวปิยะพร พุ่มประเสริฐ, นายนริศ เหลี่ยมกำแหง
นางสาวขนิษฐา ธรรมรักษ์, นางสาวนนทวรรณ ปินตา
เขียนข่าว: นางสาวปัณณพร แซ่แพ
ตรวจสอบโดย:ดร.ณภัศศรณ์ ปัญญาสุข
เว็บมาสเตอร์: นางอริศรา รักษ์ดำรงธรรม, นางสาวนุชสรา บุญครอง