ศาสตราจารย์ปิยะรัตน์ได้รับความไว้วางใจให้ดํารงตําแหน่งหัวหน้าภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่าง ปี พ.ศ. 2546 - 2550 ภาควิชาชีวเคมี ได้จัดตั้งขึ้นสําเร็จจากการผลักดันในสมัยการดํารงตําแหน่งหัวหน้าภาควิชาของศาสตราจารย์ปิยะรัตน์และได้รับการพัฒนาต่อเนื่องมาจนถึงระดับวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต ในปัจจุบัน
ในด้านการพัฒนาวิชาการวิจัยศาสตราจารย์ปิยะรัตน์เป็นผู้แสวงหา สนับสนุน และใช้ประสบการณ์ ความรู้ที่สั่งสม และทักษะทางชีวเคมีพื้นฐาน พัฒนาความร่วมมือกับอาจารย์และนักวิจัยอย่างกว้างขวาง ทําให้ เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ขั้นพื้นฐาน และต่อยอดในการประยุกต์ใช้ทางคลินิกได้จริง เช่น การพัฒนาความร่วมมือ กับหน่วยโรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อศึกษากลไกพื้นฐานทางชีวเคมีของโรคไหลตาย อันเป็นปัญหา สําคัญของประทศไทยในยุคหนึ่งที่ผ่านมา จากการวิจัยทําให้ได้ข้อมูลบ่งชี้ว่าผู้ป่วยโรคไหลตายมีความสัมพันธ์กับการขาดสารโพแทสเซียม และมีปริมาณแมกนีเซียมและสังกะสีต่ํากว่าปกติ ซึ่งนําไปสู่แนวทางการป้องกันรักษาได้ งานวิจัยนี้ได้รับการอ้างอิงอย่างกว้างขวาง
จากงานวิจัยที่อาจารย์สนใจล้วนเป็นงานวิจัยที่เกี่ยวกับปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยเป็นหลัก อันจะนําไปประยุกต์ใช้เพื่อหาแนวทางการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน การรักษา ติดตามและฟื้นฟู ในการพัฒนา คุณภาพชีวิต ได้จริง เช่น เคยร่วมออกคลินิกด้านโภชนาการให้กับผู้ป่วยโรคไตที่มารับการบําบัดรักษา ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เพื่อให้ความรู้และแนวทางป้องกัน รักษา และฟื้นฟู ด้านโครงการมะนาวผงเพื่อ ป้องกันและรักษาโรคนิ่วไต นอกจากนี้ยังทํางานวิจัยร่วมกับ Prof Yoshihide Ogawa มหาวิทยาลัยริวกิว เมือง โอกินาว่า ประเทศญี่ปุ่น แม้ในปัจจุบันภายหลังการเกษียณอายุราชการมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้วก็ตาม ศาสตราจารย์ปิยะรัตน์ก็ยังทํางานเป็นที่ปรึกษาการให้คําแนะนําทางโภชนาการเพื่อสร้างเสริมสุขภาพในผู้ป่วย โรคนิ่วทางเดินปัสสาวะ โดยร่วมมือกับหน่วยศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ ฝ่ายศัลยกรรม โรงพยาบาลสรรพสิทธิ ประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี และโรงพยาบาลในเครือข่ายที่ 11