มหาวิทยาลัยมหิดล

activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้ เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก ประจำปี 2565

27 พฤษภาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยอาจารย์ ดร.ธิติคม พัวพันสวัสดิ์ ประธานสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล และบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ งานศาลายา เป็นผู้แทนเข้าร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้ เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก ประจำปี 2565 ณ บริเวณทางเดินเท้าเลียบถนนดำรงวิจัย ตรงข้ามหอพักโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลด้วยองค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้วันที่ 5 มิถุนายนของทุกปี เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก โดยในปี 2565 ได้มีการกำหนดหัวข้อวันสิ่งแวดล้อมโลกคือ Only One Earth ทั้งนี้ เพื่อเป็นการแสดงเจตจำนงด้านสิ่งแวดล้อม กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม จึงได้ดำเนินการจัดโครงการวันสิ่งแวดล้อมโลก ประจำปี 2565 โดยจัดกิจกรรมปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวและเพื่อเป็นแหล่งดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภายในมหาวิทยาลัย ตลอดจนเป็นการสนับสนุนการดำเนินการไปสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี พ.ศ. 2573 ของมหาวิทยาลัยมหิดล เขียนข่าว : นางสาวปนิดา พยุหกฤษ ตรวจสอบโดย : งานสื่อสารองค์กร ภาพข่าวโดย: ว่าที่ร้อยตรีภัทรพล ตันตระกูล เว็บมาสเตอร์: […]

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้ เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก ประจำปี 2565 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานนิทรรศการ SciEx2022 เปิดโอกาสนักศึกษา ป.ตรี โชว์ศักยภาพและพัฒนาความสามารถเชิงวิชาการในระดับสากล

27 พฤษภาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานนิทรรศการโครงงานวิทยาศาสตร์ (Science Project Exhibition) ครั้งที่ 23 หรือ SciEx2022 เสริมสร้างบรรยากาศวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้นำโชว์ศักยภาพ ฝึกทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์การทำงานวิจัยกับเพื่อนนักศึกษาจากต่างสาขาวิชาและคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ อันเป็นการบ่มเพาะและพัฒนาความสามารถเชิงวิชาการในระดับสากล โดยมีนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 ทุกหลักสูตรในคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึงนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ร่วมนำเสนอผลงานออนไลน์กว่า 192 โครงงาน มีผู้ลงทะเบียนและเข้ารับชมการบรรยายรวมกว่า 665 คน ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting งานนิทรรศการโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมที่มีมาอย่างยาวนาน โดยปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 23 ซึ่งได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ธณัฏฐ์คุณ มงคลอัศวรัตน์ นายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมพิธีเปิดและกล่าวอวยพรให้กับน้อง ๆ นักศึกษาให้ประสบความสำเร็จในการเรียน การทำงาน ขอให้เป็นตัวอย่างที่ดีของรุ่นน้อง เข้าใจวิทยาศาสตร์และถ่ายทอดให้เด็กรุ่นใหม่เรียนวิทยาศาสตร์ด้วยความเข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น และสามารถนำไปพัฒนาประเทศต่อไปได้ และหวังว่าทุกคนจะมีส่วนในการขับเคลื่อนประเทศ เพราะวิทยาศาสตร์ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำ เป็นการลงทุนให้ประเทศไทยดีขึ้นในอนาคต พร้อมกันนี้ รองศาสตราจารย์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานนิทรรศการ SciEx2022 เปิดโอกาสนักศึกษา ป.ตรี โชว์ศักยภาพและพัฒนาความสามารถเชิงวิชาการในระดับสากล Read More »

Activity Photo

ภาควิชาพฤกษศาสตร์ 3 สถาบัน มหิดล เกษตร จุฬา เปิดเวทีนำเสนอผลงานวิจัยด้านพืชและพันธุศาสตร์ระดับชาติสำหรับนักศึกษาและนักเรียน TURFPaG#7 และ T-JuRFPaG#3

29 เมษายน 2565 ภาควิชาพฤกษศาสตร์ จากคณะวิทยาศาสตร์ 3 สถาบัน มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมมือจัดประชุมวิชาการระดับปริญญาตรีด้านพืชและพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 7 (The 7th Thailand Undergraduate Research Forum on Plants and Genetics) หรือ TURFPaG#7 และการประชุมวิชาการระดับเยาวชนด้านพืชและพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 3 (The 3rd Thailand Junior Research Forum on Plants and Genetics) หรือ T-JuRFPaG#3 เปิดโอกาสให้นักเรียน นิสิตนักศึกษา และคณาจารย์ในวงการพืชและพันธุศาสตร์ พบปะแลกเปลี่ยนความองค์ความรู้และประสบการณ์การทำงานวิจัยในสาขาที่เกี่ยวข้องใกล้เคียงกัน เพื่อบ่มเพาะและพัฒนาความสามารถเชิงวิชาการด้านพืชและพันธุศาสตร์ เสริมความแข็งแกร่งของเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการด้านพืชและพันธุศาสตร์ให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น โดยมีนักศึกษาและนักเรียนร่วมนำเสนอผลงานออนไลน์รวม 19 ผลงาน จาก 7 สถาบันในระดับมหาวิทยาลัยและโรงเรียน และมีผู้ลงทะเบียนและเข้ารับชมการบรรยายกว่า 150

ภาควิชาพฤกษศาสตร์ 3 สถาบัน มหิดล เกษตร จุฬา เปิดเวทีนำเสนอผลงานวิจัยด้านพืชและพันธุศาสตร์ระดับชาติสำหรับนักศึกษาและนักเรียน TURFPaG#7 และ T-JuRFPaG#3 Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับรางวัลสถานศึกษาปลอดภัยต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 และรางวัลห้องปฏิบัติการต้นแบบความปลอดภัย ประจำปี 2564 กว่า 14 รางวัล

28 เมษายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้แทนคณบดีเข้าร่วมกิจกรรม “MU Safety Day รณรงค์อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ครั้งที่ 6” รับเกียรติบัตรดีเด่น รางวัลสถานศึกษาปลอดภัย ประจำปี 2564 ซึ่งเป็นการรับรางวัลต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 พร้อมเป็นผู้แทน 14 ห้องปฏิบัติการภายในคณะวิทยาศาสตร์ซึ่งผ่านการรับรองมาตรฐาน ESPReL รับรางวัลห้องปฏิบัติการต้นแบบความปลอดภัย ประจำปี 2564 จาก ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ณ มหาวิทยาลัยหิดล ศาลายาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เข้าร่วมกิจกรรมสถานศึกษาปลอดภัย เพื่อสร้างวิสัยทัศน์อุบัติเหตุจากการทำงานเป็นศูนย์ (Zero Vision) ตามนโยบายของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 และได้รับรางวัลเกียรติบัตรดีเด่นมาโดยตลอด (คะแนนตั้งแต่ร้อยละ 90 ขึ้นไป) โดยคณะวิทยาศาสตร์ มุ่งปลูกฝังวัฒนธรรมความปลอดภัยให้กับนักศึกษาก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน ผ่านการจัดกิจกรรมเสริมสร้างทัศนคติและจิตสำนึกที่ดีเกี่ยวกับความปลอดภัย

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับรางวัลสถานศึกษาปลอดภัยต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 และรางวัลห้องปฏิบัติการต้นแบบความปลอดภัย ประจำปี 2564 กว่า 14 รางวัล Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ 5 สถาบันลงนามความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลผลการดำเนินการตามเกณฑ์ EdPEx ตั้งเป้ายกระดับกระบวนการบริหาร การจัดการศึกษา การวิจัย และการบริการวิชาการ

8 เมษายน 2565 รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร.พลกฤษณ์ แสงวณิช คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมพงษ์ สิทธิพรหม ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายรักษาความปลอดภัย รักษาการแทนคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, รองศาสตราจารย์ ดร.อัญชนา ประเทพ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ ศาสตราจารย์ ดร.ธรณินทร์ ไชยเรืองศรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ลงนามบันทึกความร่วมมือเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลผลการดำเนินการตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) ระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ 5 มหาวิทยาลัย ณ โรงแรมแคนทารี ฮิลล์ จังหวัดเชียงใหม่ มุ่งเป้าสร้างความร่วมมือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ข้อมูล สารสนเทศ ประสบการณ์ และแนวปฏิบัติที่ดี เพื่อปรับปรุงและพัฒนากระบวนการบริหาร การจัดการศึกษา การวิจัย และการบริการวิชาการในอนาคต เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพ ตรวจสอบโดย

คณะวิทยาศาสตร์ 5 สถาบันลงนามความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลผลการดำเนินการตามเกณฑ์ EdPEx ตั้งเป้ายกระดับกระบวนการบริหาร การจัดการศึกษา การวิจัย และการบริการวิชาการ Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café อัพเดตข้อมูลการระบาด ในวันที่โควิด-19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่น

8 เมษายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café: อัพเดตข้อมูลการระบาด ในวันที่โควิด-19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่น พูดคุยเกี่ยวกับแนวโน้มการระบาดของโควิด-19 และการรับมือ ในมุมมองของนักวิทยาศาสตร์กับ รองศาสตราจารย์ ดร.ชรินทร์ โหมดชัง อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นักวิจัยทางด้านระบาดวิทยาและชีวฟิสิกส์ ดร.นําชัย ชีววิวรรธน์ ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สวทช. นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ นักแปล และบรรณาธิการหนังสือ ‘เมื่อโลกติดเชื้อ ฉบับกระชับ’ ดำเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อุ่นใจ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นักชีวฟิสิกส์ และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ ผู้ร่วมแปลหนังสือ ‘เมื่อโลกติดเชื้อ ฉบับกระชับ’ ผ่านทาง Facebook live และทาง Mahidol Channel โดยมีผู้รับชมกว่า 1,000 คนดร.นําชัย ชีววิวรรธน์ ได้ปูความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างการระบาดใหญ่ (Pandemic)

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café อัพเดตข้อมูลการระบาด ในวันที่โควิด-19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่น Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมการสัมมนาระหว่างคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ผู้บริหารมหาวิทยาลัย และผู้บริหารส่วนงาน (Retreat) ประจำปี พ.ศ. 2565

18 มีนาคม 2565 รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย อาจารย์ ดร.ธิติคม พัวพันสวัสดิ์ ประธานสภาคณาจารย์ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เดวิด จอห์น รูฟโฟโล กรรมการสภามหาวิทยาลัยจากคณาจารย์ประจำ และ คุณคำรณ โชธนะโชติ กรรมการสภามหาวิทยาลัย จากผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยที่มิใช่คณาจารย์ประจำ เข้าร่วมการสัมมนาระหว่างคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ผู้บริหารมหาวิทยาลัย และผู้บริหารส่วนงาน (Retreat) ประจำปี พ.ศ. 2565 หัวข้อ “แนวทางการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยมหิดลภายใต้บริบทที่เปลี่ยนแปลงรอบด้าน” การสัมมนาในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานเปิดการสัมมนา และเป็นวิทยากรบรรยาย เรื่อง “มุมมองของสภามหาวิทยาลัยต่อการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัย” โดยมี ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยทีมรองอธิการบดีทุกฝ่าย กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ ประธานสภาคณาจารย์ และผู้บริหารส่วนงานมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมการประชุม ณ โรงแรม

คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมการสัมมนาระหว่างคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ผู้บริหารมหาวิทยาลัย และผู้บริหารส่วนงาน (Retreat) ประจำปี พ.ศ. 2565 Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดให้นักเรียนเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์ สร้างแรงบันดาลใจศึกษาต่อวิทยาศาสตร์ระดับสูง

8 มีนาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดห้องปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์ (อาจารย์ใหญ่) ให้นักเรียนจากโรงเรียนสตรีวิทยา 2 ในพระราชูปถัมภ์ฯ จำนวน 35 คน เข้าเยี่ยมชมและศึกษาร่างอาจารย์ใหญ่ จุดประกายสร้างแรงบันดาลใจศึกษาต่อวิทยาศาสตร์ ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “เปิดโลกทัศน์วิทยาศาสตร์และนวัตกรรม” จัดขึ้นโดยสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อพัฒนาศักยภาพและเพิ่มพูนความรู้ทางวิทยาศาสตร์ให้แก่นักเรียน รวมถึงเป็นแรงจูงใจให้ศึกษาต่อในสาขาวิทยาศาสตร์ระดับสูงในอนาคต เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพ ตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษ ภาพข่าวโดย: สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล เว็บมาสเตอร์: นางสาวปัณณพร แซ่แพ วันที่ 15 มีนาคม 2565

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดให้นักเรียนเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์ สร้างแรงบันดาลใจศึกษาต่อวิทยาศาสตร์ระดับสูง Read More »

Activity Photo

หลักสูตร ป.โท สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล ผ่านเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน

9 มีนาคม 2565 หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี และ รองศาสตราจารย์ ดร.ทวีชัย อมรศักดิ์ชัย ประธานหลักสูตรฯ พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร.จิตต์ลัดดา ศักดาภิพาณิชย์ รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธนะวันต์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญรัตน์ วัฒนพานิช เป็นผู้แทนรับมอบประกาศนียบัตรการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน จาก ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมรับมอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีจาก รองศาสตราจารย์ ดร. ภก.เนติ สุขสมบูรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา ในพิธีมอบประกาศนียบัตรการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน ครั้งที่ 221 และ 226” ณ มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายาโดยหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์

หลักสูตร ป.โท สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล ผ่านเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café ส่องแนวคิดเบื้องหลังการวิจัยฟิสิกส์อวกาศของนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ

17 มกราคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café : ส่องแนวคิดเบื้องหลังการวิจัยฟิสิกส์อวกาศของนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ พูดคุยเจาะลึกเบื้องหลังความสำเร็จของ Professor Dr. David John Ruffolo นักฟิสิกส์อวกาศ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นักวิทยาศาสตร์รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2565 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ และคณิตศาสตร์ ดำเนินรายการโดย อาจารย์ ดร.วิทูร ชื่นวชิรศิริ หัวหน้าภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผ่านทาง Facebook live ซึ่งมีผู้รับชมกว่า 42 คนตลอดการเสวนา Professor Dr. David หรืออาจารย์เดวิดของนักศึกษา ได้เล่าถึงความสำคัญของการศึกษารังสีคอสมิก และสภาพอวกาศ ก่อนจะนำเสนองานของทีมวิจัยในปัจจุบันและผลงานวิจัยเด่นที่ผ่านมา ต่อด้วยงานของทีมวิจัยในอนาคต รวมถึงความตั้งใจแรกและแนวคิดในการทำงานที่ยืดมั่นมาตลอดการขับเคลื่อนวงการวิจัยด้านฟิสิกส์อวกาศในประเทศไทยกว่า 33 ปีอาจารย์เดวิดเล่าถึงความสำคัญของการศึกษารังสีคอสมิกให้เห็นภาพอย่างง่าย ๆ ว่าที่ผิวดวงอาทิตย์มีการระเบิดเป็นครั้งคราวที่เรียกว่าพายุสุริยะ จะมีอนุภาคพลังงานสูงในอวกาศ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café ส่องแนวคิดเบื้องหลังการวิจัยฟิสิกส์อวกาศของนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับมอบเมล็ดราชพฤกษ์กลับจากสถานีอวกาศนานาชาติ ภายใต้โครงการ Asian Herb in Space (AHiS) ระยะที่ 2

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับมอบเมล็ดราชพฤกษ์กลับจากสถานีอวกาศนานาชาติ ภายใต้โครงการ Asian Herb in Space (AHiS) ระยะที่ 2 โดยความร่วมมือระหว่างองค์กรสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (JAXA) สวทช. สทอภ. และหน่วยงานพันธมิตร เดินหน้าวิจัยผลกระทบของอวกาศต่อการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์และพัฒนาการของไม้ต้นในวันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชีรา วิบูลย์จันทร์ หัวหน้าภาควิชาพฤกษศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.กัณยารัตน์ สุไพบูลย์วัฒน หัวหน้ากลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพอัจฉริยะ ดร.ทัฏพงศ์ ตุลยานนท์ และนักศึกษาจาก Plant Biology and Astroculture Laboratory (PBA Lab) ของกลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมฯ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต้อนรับคุณกุลประภา นาวานุเคราะห์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. คุณปราณปริยา วงค์ษา ผู้อำนวยการสำนักเครือข่ายองค์ความรู้ สทอภ. และหน่วยงานพันธมิตร พร้อมรับมอบเมล็ดพันธุ์ราชพฤกษ์อวกาศซึ่งเดินทางกลับสู่พื้นโลกด้วยยาน SpaceX Cargo Dragon

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับมอบเมล็ดราชพฤกษ์กลับจากสถานีอวกาศนานาชาติ ภายใต้โครงการ Asian Herb in Space (AHiS) ระยะที่ 2 Read More »

Activity Photo

ประชุมการรับฟังข้อตกลงการปฏิบัติงานของส่วนงาน (PA-Visit) ประจำปีงบประมาณ 2565 ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

7 ธันวาคม 2564 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล เข้ารับฟังข้อตกลงการปฏิบัติงานของส่วนงาน (PA-Visit) ประจำปีงบประมาณ 2565 ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ พร้อมด้วย ผู้บริหารคณะฯ ให้การต้อนรับ และนำเสนอผลการดำเนินงานของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมรับฟังข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน ในปีงบประมาณ 2565 ผ่านระบบออนไลน์โดยอธิการบดี ได้กล่าวถึงการดำเนินงานในภาพรวมของมหาวิทยาลัย นำเสนอผลงานวิจัยที่โดดเด่น การสนับสนุนผลงานวิจัย และการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์แต่ละด้านของมหาวิทยาลัยมหิดล จากนั้น คณบดีจึงนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับผลการดำเนินงานตาม MU-KPI ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ตาม 5 เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของคณะฯ พร้อมทั้งนำเสนอแผนการดำเนินงานของคณะวิทยาศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2565 ความพร้อมในการต้อนรับนักศึกษา และการเปิดสถานศึกษาอย่างเต็มรูปแบบ การปรับตัวสู่อนาคต Digital Education /Digital Transformation เพื่อขับเคลื่อนความเป็น คณะวิทยาศาสตร์ แห่งแผ่นดิน

ประชุมการรับฟังข้อตกลงการปฏิบัติงานของส่วนงาน (PA-Visit) ประจำปีงบประมาณ 2565 ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.3: Nobel Prize in Chemistry: An ingenious tool for building molecules เครื่องมืออันชาญฉลาดในการสร้างโมเลกุล

5 พฤศจิกายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.3: Nobel Prize in Chemistry: An ingenious tool for building molecules เครื่องมืออันชาญฉลาดในการสร้างโมเลกุล เล่าเรื่องงานวิจัยของ 2 นักวิทยาศาสตร์ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปีนี้ ได้แก่ ศาสตราจารย์เบนจามิน ลิสต์ (Benjamin List) จาก Max-Planck-Institute für Kohlenforschung ประเทศเยอรมนี และ ศาสตราจารย์เดวิด แมคมิลแลน (David W.C. MacMillan) จาก Princeton University ประเทศสหรัฐอเมริกา จากการพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาอินทรีย์แบบอสมมาตร พร้อมอธิบายถึงการสร้างโมเลกุลด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาแบบใหม่ นำไปสู่การผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ปรียานุช แสงไตรรัตน์นุกูล และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ต่อศักดิ์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.3: Nobel Prize in Chemistry: An ingenious tool for building molecules เครื่องมืออันชาญฉลาดในการสร้างโมเลกุล Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.2: Nobel Prize in Physiology or Medicine: From Heat & Hug to Pain treatment discoveries. การค้นพบตัวรับอุณหภูมิและการรับสัมผัส สู่การนำไปใช้ในการรักษาอาการปวด

3 พฤศจิกายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.2: Nobel Prize in Physiology or Medicine: From Heat & Hug to Pain treatment discoveries. การค้นพบตัวรับอุณหภูมิและการรับสัมผัส สู่การนำไปใช้ในการรักษาอาการปวด เล่าเรื่องงานวิจัยของ 2 นักวิทยาศาสตร์ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ในปีนี้ ได้แก่ ศาสตราจารย์ เดวิด จูเลียส (David Julius) และศาสตราจารย์ อาร์เด็ม พาทาพูเที่ยน (Ardem Patapoutian) พร้อมอธิบายถึงกลไกการรับอุณหภูมิและสัมผัสของมนุษย์ที่น่าทึ่งอันนำไปสู่การรักษาอาการปวด โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพพร จงกมลวิวัฒน์ และ อาจารย์ ดร.อธิคุณ สุวรรณขันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยากร ดำเนินรายการโดย

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.2: Nobel Prize in Physiology or Medicine: From Heat & Hug to Pain treatment discoveries. การค้นพบตัวรับอุณหภูมิและการรับสัมผัส สู่การนำไปใช้ในการรักษาอาการปวด Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.1: Nobel Prize in Physics: Physics of global warming and other complex phenomena ฟิสิกส์เรื่องโลกร้อนและปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนอื่น ๆ

2 พฤศจิกายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.1: Nobel Prize in Physics: Physics of global warming and other complex phenomena ฟิสิกส์เรื่องโลกร้อนและปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนอื่น ๆ เล่าเรื่องงานวิจัยของ 3 นักฟิสิกส์ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปีนี้ ได้แก่ ศาสตราจารย์ ชูคุโระ มานาเบะ (Syukuro Manabe) ศาสตราจารย์ เคลาส์ ฮาสเซิลมานน์ (Klaus Hasselmann) และ ศาสตราจารย์ จอร์จิโอ ปาริซี (Giorgio Parisi) พร้อมอธิบายถึงการประยุกต์ใช้ฟิสิกส์ศึกษาปัญหาเรื่องโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่ซับซ้อน โดยมี Professor Dr.David John Ruffolo และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วฤทธิ์ มิตรธรรมศิริ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.1: Nobel Prize in Physics: Physics of global warming and other complex phenomena ฟิสิกส์เรื่องโลกร้อนและปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนอื่น ๆ Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีครบรอบ 63 ปีการก่อตั้ง

28 ตุลาคม 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ฉลองครบรอบ 63 ปี การก่อตั้ง ในงานวันคล้ายวันสถาปนาในรูปแบบ Hybrid ถ่ายทอดสดทาง online และการเข้าร่วมงานในพื้นที่ ณ ห้อง L-01 อาคารบรรยายรวม ตึกกลม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไทในการนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ประธานในพิธี กล่าวต้อนรับและกล่าวถึงการจัดงานในครั้งนี้ว่า “ในโอกาสครบรอบ 63 ปี แห่งการก่อตั้ง เรามุ่งมั่นที่จะ ‘เป็นสติของประชา เป็นปัญญาของสังคม’ ผ่านวิทยาศาสตร์และการสร้างบุคลากรคุณภาพสูง การลงทุนทางการศึกษาและวิทยาศาสตร์พื้นฐาน อันจะส่งผลต่อการพัฒนาและคุณภาพชีวิต จึงเป็นเหมือนการสร้างโอกาส และสร้างบุคลากรคุณภาพอันเป็นอนาคตของสังคม มีความรู้ที่ทันสมัย ผ่านงานวิจัยระดับโลก ต่อยอดเพื่อสร้างสังคมคุณภาพสูงในอนาคต ด้วยการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการพัฒนาอย่างยั่งยืน นับเป็นภารกิจและเป้าประสงค์ที่มุ่งมั่น เพื่อสร้างศรัทธาแห่งวิทยาศาสตร์ในฐานะ ‘คณะวิทยาศาสตร์แห่งแผ่นดิน’” จากนั้นเป็นการนำเสนอผลงานเด่นของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในรอบปี 2564 ปาฐกถาศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข ครั้งที่

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีครบรอบ 63 ปีการก่อตั้ง Read More »

3 หลักสูตร นานาชาติ คณะวิทยาศาสตร์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวัสดุศาสตร์และวิศวกรรมนาโน และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุ รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA มหาวิทยาลัยมหิดล รูปแบบ 3.0

ด้วยหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวัสดุศาสตร์และวิศวกรรมนาโน (หลักสูตรนานาชาติ) และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA มหาวิทยาลัยมหิดล รูปแบบ 3.0 (MU AUN-QA Assessment 3.0) จากคณะกรรมการตรวจประเมินของมหาวิทยาลัย ในวันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564 ก่อนนำเสนอผลการตรวจประเมินด้วยวาจาในวันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ซึ่งในครั้งนี้เป็นการตรวจประเมินในรูปแบบ Online MU AUN-QA Assessment ผ่านโปรแกรม Cisco Webex Meetings ทั้งกระบวนการ โดยในปีงบประมาณ พ.ศ.2564 คณะวิทยาศาสตร์ได้รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA มหาวิทยาลัยมหิดล ครบทุกหลักสูตร (ไม่รวมหลักสูตรเปิดใหม่และหลักสูตรที่อยู่ระหว่างการขอปิด) จำนวน 45 หลักสูตร ประกอบด้วย ระดับปริญญาตรี จำนวน 12 หลักสูตร

3 หลักสูตร นานาชาติ คณะวิทยาศาสตร์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวัสดุศาสตร์และวิศวกรรมนาโน และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุ รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA มหาวิทยาลัยมหิดล รูปแบบ 3.0 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามการจัดทำข้อตกลงการปฏิบัติงานของส่วนงาน มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีงบประมาณ 2565

           วันพุธที่ 22 กันยายน 2564 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และรองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมลงนามการจัดทำข้อตกลงการปฏิบัติงานของส่วนงาน ประจำปีงบประมาณ 2565 ในการประชุมคณะกรรมการประจำมหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งที่ 18/2564 ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ Cisco WebEx Meetings เขียนข่าว : นางสาวจิรนันท์ นามั่ง ตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษ ภาพข่าวโดย: นางสาวนันท์มนัส วิมลเศรษฐ เว็บมาสเตอร์: นางสาวจิรนันท์ นามั่ง วันที่ 22 กันยายน 2564

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามการจัดทำข้อตกลงการปฏิบัติงานของส่วนงาน มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีงบประมาณ 2565 Read More »

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทรัพยากรชีวภาพและชีววิทยาสภาวะแวดล้อม (หลักสูตรนานาชาติ) ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA มหาวิทยาลัยมหิดล รูปแบบ 3.0

ด้วยหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทรัพยากรชีวภาพและชีววิทยาสภาวะแวดล้อม (หลักสูตรนานาชาติ) ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA มหาวิทยาลัยมหิดล รูปแบบ 3.0 (MU AUN-QA Assessment 3.0) จากคณะกรรมการตรวจประเมินของมหาวิทยาลัย ในวันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2564 ก่อนนำเสนอผลการตรวจประเมินด้วยวาจาในวันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2564 โดยมี ผศ. ดร.กภ.วรินทร์ กฤตยาเกียรณ เป็นประธานกรรมการตรวจประเมินฯ ซึ่งในครั้งนี้เป็นการตรวจประเมินในรูปแบบ Online MU AUN-QA Assessment ผ่านโปรแกรม Cisco Webex Meetings ทั้งกระบวนการ คณะวิทยาศาสตร์ เปิดสอนในระดับปริญญาตรี จำนวน 12 หลักสูตร ปริญญาโทและเอก จำนวน 36 หลักสูตร รวมทั้งหมด 48 หลักสูตร โดยกว่า 42

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทรัพยากรชีวภาพและชีววิทยาสภาวะแวดล้อม (หลักสูตรนานาชาติ) ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA มหาวิทยาลัยมหิดล รูปแบบ 3.0 Read More »

บุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คว้ารางวัล TEQ Award ประจำปี 2563 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

9 กันยายน 2564 นักวิทยาศาสตร์ประจำหน่วยสัตว์ทดลอง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล แสดงศักยภาพการปฏิบัติงานด้านการเลี้ยงและดูแลสัตว์ทดลองเพื่องานทางวิทยาศาสตร์ คว้ารางวัล ที อี คิว (TEQ Award) สำหรับพนักงานเลี้ยงสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ดีเด่น จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ นายณรงค์ แขวงซ้าย นักวิทยาศาสตร์ ประจำหน่วยสัตว์ทดลอง งานวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ได้รับรางวัล ที อี คิว (TEQ Award) ประจำปี 2563 ได้เข้าร่วมพิธีรับรางวัลจากสถาบันพัฒนาการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ (สพสว.) ภายใต้สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างการสัมมนาคณะกรรมการกำกับดูแลการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ของสถานที่ดำเนินการ (คกส.) ประจำปี 2564 ผ่านทางระบบประชุมออนไลน์ Zoom meeting เมื่อวันที่ 9 กันยายน ที่ผ่านมาทั้งนี้ รางวัล ที อี คิว (TEQ Award) เป็นรางวัลสำคัญระดับประเทศเพื่อยกย่องเชิดชูพนักงานเลี้ยงสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ ยึดถือปฏิบัติตามกฎหมายและจรรยาบรรณการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ความสำเร็จในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการกำกับดูแลการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ของสถานที่ดำเนินการ (คกส.) และผู้บริหาร

บุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คว้ารางวัล TEQ Award ประจำปี 2563 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ Read More »

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (นานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน ครั้งที่ 226 ในรูปแบบ Online

ระหว่างวันที่ 2 – 6 สิงหาคม 2564 หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (นานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ (Master of Science Programme in Polymer Science and Technology (International Programme), Faculty of Science) รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน ครั้งที่ 226 ในรูปแบบ Online ผ่านโปรแกรม Zoom (The 226th Online/Remote Site Visit in the AUN-QA Program Assessment at Mahidol University) จากคณะกรรมการตรวจประเมิน (AUN-QA Assessor Team) โดยมีหลักสูตรที่เข้ารับการตรวจประเมินพร้อมกันในครั้งนี้อีก 3 หลักสูตร ได้แก่1. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (นานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน ครั้งที่ 226 ในรูปแบบ Online Read More »

การเยี่ยมชมและรับฟังผลการดำเนินงานของคณะวิทยาศาสตร์ จากสภามหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2564 (ครั้งที่ 2 : University Council Visit 2)

29 กรกฎาคม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการเยี่ยมชมและรับฟังผลการดำเนินงานของคณะวิทยาศาสตร์ จากสภามหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2564 (ครั้งที่ 2 : University Council Visit 2) ผ่านระบบ Online Cisco WebEx Meeting โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 63 ท่าน ได้แก่ คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล และกรรมการประจำคณะวิทยาศาสตร์ฯ โดยเริ่มต้นการประชุมด้วย รศ. ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวเกี่ยวกับ วิสัยทัศน์ และพันธกิจของคณะวิทยาศาสตร์ฯ รวมทั้งผลการดำเนินงานในด้านต่างๆ อย่างเป็นองค์รวมตามรูปแบบ Operation/Transformation Model การศึกษาสากลบ่มเพาะผู้ประกอบการ World Class Research ความรู้เพื่อปวงชน นวัตกรรมเพื่อประเทศ และองค์กรที่ยังยืน อีกทั้งเน้นย้ำในเรื่องสังคมไทยที่ใช้วิทยาศาสตร์ Learning Organization และการปรับตัวสู่อนาคต Digital Education และ Digital Transformation หลังจากนั้น

การเยี่ยมชมและรับฟังผลการดำเนินงานของคณะวิทยาศาสตร์ จากสภามหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2564 (ครั้งที่ 2 : University Council Visit 2) Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการศรีตรังปันสุข ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากวิกฤติโควิด-19

“โครงการศรีตรังปันสุข” โดย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สุขใจทั้งผู้ให้ และผู้รับ ด้วยการทำบุญหลายต่อ สนับสนุนซื้ออาหารจากพ่อค้า แม่ค้า ของโรงอาหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ ในช่วงปิดอาคารสำนักงาน ตามประกาศ พรก.ฉุกเฉิน และนำส่งบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อนบ้าน ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี เพื่อเป็นกำลังใจให้แก่คุณหมอ คุณพยาบาล และพี่น้องเจ้าหน้าที่ ที่ทุ่มเท สละเวลาทำงานเพื่อพวกเราทุกคน โดยโครงการนี้มีการระดมทุนจากผู้มีจิตศรัทธาบริจาค 102 บาท หรือตามกำลังศรัทธา นอกจากการทำดีเพื่อส่งกำลังใจให้กับบุคลากรทางการแพทย์แล้ว ยังเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้กับบูรพาจารย์ ในปีแห่งการครบรอบ รำลึก 102 ปี ชาตกาล ศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข คณบดีท่านแรกผู้ก่อตั้งคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยผู้บริจาคสามารถ ปันสุขได้โดยการโอนเงินเข้าบัญชี “โครงการศรีตรังปันสุข โดยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล” บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 026 – 475703 – 3 ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขารามาธิบดี ส่งสำเนาโอนเงิน และขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางไลน์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการศรีตรังปันสุข ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากวิกฤติโควิด-19 Read More »

4 สถาบัน ภายใต้มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมใจสื่อสารวิธีการดูแลสุขภาพ และการจัดการอย่างยั่งยืน กรณีเหตุไฟไหม้โรงงานสารเคมีในงานเสวนาพิเศษ Mahidol Science Café ถอดบทเรียน “ไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว”

                5 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา 4 สถาบันภายใต้มหาวิทยาลัยมหิดล คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะสาธารณสุขศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสารเคมีที่ใช้ในการผลิตโฟมพีอีเอส (Expanded Polystyrene Foam: ESP) เชื้อเพลิงในเหตุระเบิดโรงงานผลิตโฟม ซอยกิ่งแก้ว 21 พร้อมเสนอความเห็นเบื้องต้นด้านการจัดการปัญหาในระยะสั้นและระยะยาวอย่างยั่งยืน จากมุมมองคนในแวดวงสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ การแพทย์ และการสาธารณสุข ในงานเสวนาพิเศษ Mahidol Science Café ถอดบทเรียน “ไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว” โดยมี รศ. ดร.กิติกร จามรดุสิต รองอธิการบดีฝ่ายสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยมหิดล และ รศ. นพ.สัมมน โฉมฉาย ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม ศูนย์พิษวิทยาศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ร่วมกับ รศ. ดร.สราวุธ เทพานนท์

4 สถาบัน ภายใต้มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมใจสื่อสารวิธีการดูแลสุขภาพ และการจัดการอย่างยั่งยืน กรณีเหตุไฟไหม้โรงงานสารเคมีในงานเสวนาพิเศษ Mahidol Science Café ถอดบทเรียน “ไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว” Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท เข้ารับการตรวจประเมินกิจกรรม “สถานศึกษาปลอดภัย” ประจำปี พ.ศ. 2564

วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2564 สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พื้นที่ 5 (เขตดินแดง พญาไท ราชเทวี และห้วยขวาง) กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน เข้าตรวจประเมินกิจกรรม “สถานศึกษาปลอดภัย” ประจำปี พ.ศ. 2564 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการปลูกฝังวัฒนธรรมความปลอดภัยให้กับยุวแรงงานก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงานเพื่อขับเคลื่อน ความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของประเทศไทย (Safety Thailand) ครอบคลุมถึงการเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการเชิงป้องกันด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน ในปี พ.ศ. 2564 นี้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ได้เข้าประกวด “สถานศึกษาปลอดภัย” เป็นปีที่ 4 โดยมี รศ.ดร. พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และ ผศ.ดร. ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม คุณคำรณ โชธนะโชติ หัวหน้างานบริหารและธุรการ และทีมงานงานบริหารและธุรการ ให้การต้อนรับคณะผู้ประเมินฯ นำโดย นางสุนีย์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท เข้ารับการตรวจประเมินกิจกรรม “สถานศึกษาปลอดภัย” ประจำปี พ.ศ. 2564 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ยกระดับห้องปฏิบัติการวิจัยสู่สากล มอบประกาศนียบัตรและโล่รางวัลแก่ 17 ห้องปฏิบัติการสารเคมีมาตรฐาน ESPRel ผ่านระบบออนไลน์

24 มิถุนายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีมอบประกาศนียบัตร และโล่รางวัล แก่ 17 ห้องปฏิบัติการที่ได้รับรางวัล ห้องปฏิบัติการวิจัยต้นแบบมาตรฐานความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีตามมาตรฐาน ESPRel จากมหาวิทยาลัยมหิดล ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ Cisco WebEx Meeting ในโอกาสอันดีนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ ได้กล่าวแสดงความยินดีและขอบคุณ รองศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ กังสมัครศิลป์ หัวหน้าภาควิชาชีวเคมี รองศาสตราจารย์ ดร.วิฑูร แสงศิริสุวรรณ หัวหน้าภาควิชาสรีรวิทยา รองศาสตราจารย์ ดร.เทียนทอง ทองพันชั่ง หัวหน้าภาควิชาเคมี รวมถึงอาจารย์และผู้แทนอาจารย์ประจำห้องปฏิบัติการทั้ง 17 ห้องปฏิบัติการที่ให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ และแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ เพื่อความปลอดภัยของผู้ที่เกี่ยวข้องและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการให้ความสำคัญกับการสร้างงานวิจัยที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับสากลควบคู่กับการดำเนินงานที่มีมาตรฐานความปลอดภัย โดยห้องปฏิบัติการวิจัยที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ ได้แก่ 1. ห้องปฏิบัติการวิจัยเคมี C211 รองศาสตราจารย์ ดร.รัตติกาล จันทิวาสน์ 2.

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ยกระดับห้องปฏิบัติการวิจัยสู่สากล มอบประกาศนียบัตรและโล่รางวัลแก่ 17 ห้องปฏิบัติการสารเคมีมาตรฐาน ESPRel ผ่านระบบออนไลน์ Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สื่อสารข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ของวัคซีนต้านโควิด-19 สู่สังคมในงานเสวนาพิเศษ Science Café COVID-19 vol.2 “Current COVID-19 situation in Thailand, vaccine and its development”

10 มิถุนายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานเสวนาพิเศษ Science Café COVID-19 vol.2 “Current COVID-19 situation in Thailand, vaccine and its development” ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือโควิด-19 ในประเทศไทย และสื่อสารข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่มีการอนุมัติใช้ฉุกเฉินในปัจจุบัน พร้อมเผยความคืบหน้าของการพัฒนาวัคซีนของทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี รองศาสตราจารย์ พญ.อรุณี ธิติธัญญานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หัวหน้าห้องปฏิบัติการไวรัสวิทยา ตามมาตรฐานความปลอดภัยระดับที่ 3 (Bio Safety Level 3; BSL-3) และ นายโชติวัฒน์ ศรีเพชรดี นักศึกษาปริญญาเอกภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หนึ่งในทีมนักวิจัยวัคซีนโควิด-19 เป็นวิทยากร และมี อาจารย์ ดร.ภากร เอี้ยวสกุล อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สื่อสารข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ของวัคซีนต้านโควิด-19 สู่สังคมในงานเสวนาพิเศษ Science Café COVID-19 vol.2 “Current COVID-19 situation in Thailand, vaccine and its development” Read More »

12 หน่วยงาน ผนึกกำลังจัดตั้ง “ภาคีความร่วมมืออวกาศไทย” หวังใช้เทคโนโลยีอวกาศพัฒนาคน ยกระดับอุตสาหกรรมไทย

         5 เมษายน 2564 ณ ห้องกมลทิพย์บอลรูม ชั้น 2 โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพ ฯ 6 หน่วยงานวิทยาศาสตร์ชั้นนำ จับมือ 6 สถาบันอุดมศึกษา สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ( อว. ) เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษา วิจัย และพัฒนานวัตกรรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีอวกาศไทย สร้าง “ดาวเทียมวิจัยวิทยาศาสตร์ฝีมือคนไทย” พิธีเปิดได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ( อว. ) กล่าวแสดงความยินดีและเป็นสักขีพยานในการลงนาม            ในนามมหาวิทยาลัยมหิดล โดย ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล

12 หน่วยงาน ผนึกกำลังจัดตั้ง “ภาคีความร่วมมืออวกาศไทย” หวังใช้เทคโนโลยีอวกาศพัฒนาคน ยกระดับอุตสาหกรรมไทย Read More »

หลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาชีวนวัตกรรม (นานาชาติ) และหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาสรีรวิทยาการออกกำลังกาย (นานาชาติ)รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA จากมหาวิทยาลัยมหิดล

24 มีนาคม 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พัฒนาคุณภาพหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง ส่งหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาชีวนวัตกรรม (นานาชาติ) กลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพอัจฉริยะ และหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาสรีรวิทยาการออกกำลังกาย (นานาชาติ) ภาควิชาสรีรวิทยา รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA รูปแบบ 2.0 (MU AUN-QA Assessment 2.0) จากคณะกรรมการตรวจประเมินของมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2564 โดยมี รองศาสตราจารย์ ชวลิต วงษ์เอก เป็นประธานตรวจประเมินหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาชีวนวัตกรรม (นานาชาติ) ผ่านระบบออนไลน์ CISCO Webex Meeting และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรลัชชา ศิวรักษ์ เป็นประธานกรรมการตรวจประเมินหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาสรีรวิทยาการออกกำลังกาย (นานาชาติ) ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท คณะวิทยาศาสตร์ เปิดสอนในระดับปริญญาตรี จำนวน 12 หลักสูตร ปริญญาโทและเอก จำนวน 34

หลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาชีวนวัตกรรม (นานาชาติ) และหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาสรีรวิทยาการออกกำลังกาย (นานาชาติ)รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA จากมหาวิทยาลัยมหิดล Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ หารือ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จับมือพัฒนางานวิจัยด้าน Drug Discovery

15 มีนาคม 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ หัวหน้าภาควิชาเภสัชวิทยา ผู้ทรงคุณวุฒิภาควิชาชีวเคมี ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้นหาตัวยา (ECDD) และหัวหน้าหน่วยสัตว์ทดลอง พร้อมคณาจารย์จากภาควิชาและกลุ่มสาขาวิชาต่าง ๆ รวมถึงหัวหน้างานวิจัย ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดี รองศาสตราจารย์ ดร. ภญ.ดวงดาว ฉันทศาสตร์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม หัวหน้าภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม, เภสัชวินิจฉัย, เภสัชพฤกษศาสตร์, จุลชีววิทยา, สรีรวิทยา และชีวเคมี พร้อมคณาจารย์ รวม 14 ท่าน หารือเกี่ยวกับความร่วมมือในการวิจัยโครงการ Reinventing University: Drug Discovery ณ ห้องประชุม K101 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท

คณะวิทยาศาสตร์ หารือ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จับมือพัฒนางานวิจัยด้าน Drug Discovery Read More »