ปัณณพร แซ่แพ

Activity Photo

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเปิดงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2566 และพระราชทานเกียรติบัตรให้แก่อาจารย์อาวุโสและคณาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหิดล ผู้ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2566

4 กุมภาพันธ์ 2566 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเปิดงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2566 (Thailand Inventor’s Day 2023) ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 24 ภายใต้แนวคิด “ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมด้วยสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม” เพื่อน้อมรำลึกถึงวันประวัติศาสตร์ การทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ์ “กังหันน้ำชัยพัฒนา” แด่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร“พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย” และพระราชทานเกียรติบัตรให้แก่ผู้ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2566 ได้แก่ รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัย รางวัลวิทยานิพนธ์ และรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ โดยมี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ศาสตราจารย์ ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาฯ ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ผู้แทนศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค และอาจารย์อาวุโสและคณาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ เฝ้ารับเสด็จและเข้ารับพระราชทานเกียรติบัตร […]

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเปิดงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2566 และพระราชทานเกียรติบัตรให้แก่อาจารย์อาวุโสและคณาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหิดล ผู้ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2566 Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการส่งเสริมทักษะทางการเงินสำหรับคนวัยทำงาน (Fin. ดี Happy Life) ในหัวข้อ “เส้นทางสู่อิสรภาพทางการเงิน Road to Millionaire”

27 มกราคม 2566 งานบริหารและธุรการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมทักษะทางการเงินสำหรับคนวัยทำงาน Fin. ดี Happy Life “เส้นทางสู่อิสรภาพทางการเงิน Road to Millionaire” ให้แก่บุคลากร โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ เป็นประธานกล่าวเปิดการอบรม และ คุณเสกสรร โตวิวัฒน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ BF Knowledge Center บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด คณะอนุกรรมการด้านการตลาด นักวางแผนการเงิน CFP® สมาคมนักวางแผนการเงินไทย มาเป็นวิทยากรรับเชิญให้ความรู้การจัดการทางการเงินเพื่ออิสรภาพทางการเงิน พร้อมชวนผู้เข้าร่วมอบรมวางแผนการเงินเพื่อชีวิตหลังเกษียณที่มีคุณภาพ ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพตรวจสอบโดย : นางสาวนัชย์นภัส เราอัครรุ่งเรืองภาพข่าวโดย: นายนภาศักดิ์ ผลพานิชเว็บมาสเตอร์:

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการส่งเสริมทักษะทางการเงินสำหรับคนวัยทำงาน (Fin. ดี Happy Life) ในหัวข้อ “เส้นทางสู่อิสรภาพทางการเงิน Road to Millionaire” Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมการแข่งขันกีฬาสานสัมพันธ์เครือข่ายมหิดลพญาไท ครั้งที่ 12 “Phayathai Music Festival 2023”

1 กุมภาพันธ์ 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รวมพลังบุคลากรในธีม “โปงลาง สะท้านไห คณะวิทย์ ม่วนซื่น” ร่วมการแข่งขันกีฬาสานสัมพันธ์เครือข่ายมหิดลพญาไท ครั้งที่ 12 ที่ปีนี้จัดขึ้นในธีม “Phayathai Music Festival 2023” ณ สนามข้างตึกเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากร 9 ส่วนงานมหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ได้แก่ วิทยาลัยการจัดการ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คณะเวชศาสตร์เขตร้อน คณะเภสัชศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา โดยมีคณะทันตแพทยศาสตร์ เป็นเจ้าภาพ ในโอกาสนี้ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์คลินิก ดร. นพ. ทพ.ศิริชัย เกียรติถาวรเจริญ คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์กล่าวเปิดงาน และ รองศาสตราจารย์ ทพ.ยสวิมล คูผาสุข รองคณบดีฝ่ายทรัพยากรบุคคล กล่าวรายงานการจัดกิจกรรม และ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมการแข่งขันกีฬาสานสัมพันธ์เครือข่ายมหิดลพญาไท ครั้งที่ 12 “Phayathai Music Festival 2023” Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ มหิดล ร่วมกับสมาคมศิษย์เก่าฯ เปิดบ้านต้อนรับศิษย์เก่าในงานคืนสู่เหย้า “ย้อนคืนวันวาน ณ ลานตึกกลม”

28 มกราคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสมาคมศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมคืนสู่เหย้า “ย้อนคืนวันวาน ณ ลานตึกกลม” ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหิดล พญาไท เปิดบ้านต้อนรับศิษย์เก่าทั้งรุ่นเล็กรุ่นใหญ่กว่า 200 คน ท่ามกลางบรรยากาศอบอุ่นเป็นกันเองกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.พรชัย มาตังคสมบัติ นายกสมาคมฯ และ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ กล่าวเปิดงาน พร้อมด้วยคณาจารย์ และศิษย์เก่าผู้มีคุณูปการ มาร่วมงานกันอย่างคับคั่งภายในงานเต็มไปด้วยอาหารจากร้านในความทรงจำ และร้านดังในเมืองกรุง รวมถึงการแสดงดนตรีโดยนักศึกษาชมรมดนตรี และผู้แทนนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และยังมีกิจกรรมหลากหลายรูปแบบให้ร่วมสนุก ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมศิษย์เก่าน้อมรำลึกถึงคณาจารย์ผู้สอนในสมัยเรียน (Dear my teacher) ที่เปิดโอกาสให้บรรดาศิษย์เก่าเขียนจดหมายถึงอาจารย์ผู้สอนสมัยเรียนที่เคารพรัก กิจกรรมจากใจพี่เพื่อน้อง SC โดยผู้แทนกรรมการสมาคมศิษย์เก่าฯ กิจกรรมเรื่องเม้าท์ประจำรุ่น ที่เชิญผู้แทนอาจารย์และศิษย์เก่ามาเล่าเรื่องราวเมื่อครั้งเป็นนักศึกษาในรั้วคณะวิทยาศาสตร์สู่กันฟัง กิจกรรมเกมจับรางวัล นอกจากนั้นยังเปิดให้ศิษย์เก่าได้สัมผัสบรรยากาศในชั้นเรียนแห่งความทรงจำ L01 และถ่ายภาพที่ระลึกก่อนปรับปรุงใหม่ ในปีนี้อีกด้วยทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสมัครสมาชิกสมาคมศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สามารถสมัครได้ที่

คณะวิทย์ มหิดล ร่วมกับสมาคมศิษย์เก่าฯ เปิดบ้านต้อนรับศิษย์เก่าในงานคืนสู่เหย้า “ย้อนคืนวันวาน ณ ลานตึกกลม” Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านสัมภาษณ์นักเรียนเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ผ่านระบบ TCAS รอบ Portfolio 1/2

21 มกราคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์เปิดบ้านต้อนรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ผู้สมัครเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต ผ่านระบบ TCAS รอบ 1/2 หรือรอบแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ที่เดินทางมาเข้ารับการสัมภาษณ์กับคณาจารย์ พร้อมจัดกิจกรรมพบปะผู้ปกครอง ณ ห้อง L-02 อาคารบรรยายรวม (ตึกกลม) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โดยในรอบ Portfolio 1/2 นี้ มีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 จากทั่วประเทศร่วมการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อกว่า 308 คนคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีหลักสูตรที่เปิดสอนในระดับปริญญาตรีที่ตอบโจทย์การพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศกว่า 12 หลักสูตร แบ่งเป็นหลักสูตรไทย 6 หลักสูตร ได้แก่ ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา, คณิตศาสตร์, พฤกษศาสตร์ และเทคโนโลยีชีวภาพ หลักสูตรนานาชาติ 6 หลักสูตร ได้แก่ คณิตศาสตร์ประกันภัย, คณิตศาสตร์อุตสาหการและวิทยาการข้อมูล,

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านสัมภาษณ์นักเรียนเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ผ่านระบบ TCAS รอบ Portfolio 1/2 Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับการประเมินการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2566 คณะแพทยศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก จากสถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาแพทยศาสตร์ (สมพ.) ประเทศไทย

23 มกราคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะคู่ความร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก ให้การต้อนรับคณะกรรมการจากสถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาแพทยศาสตร์ (สมพ.) ของประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจากสมาพันธ์แพทยศาสตร์ศึกษาโลกว่าเป็นสถาบันที่ตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาแพทยศาสตร์ด้วยเกณฑ์มาตรฐานสากล TWC.WEME.BME.Standards 2021 ในการตรวจประเมินหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2566 ซึ่งคณะวิทยาศาสตร์และคณะแพทยศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนกได้ร่วมกันจัดทำขึ้น โดยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับผิดชอบจัดการเรียนการสอนในส่วนของรายวิชาปรีคลินิก ชั้นปีที่ 1-3ในโอกาสนี้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติศักดิ์ หยกทองวัฒนา รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและพัฒนานักศึกษา รองศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ อสุวพงษ์พัฒนา ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายแพทยศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรกนก บุญวงษ์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการศึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ ร่มแสง ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ หัวหน้าภาควิชาปรีคลินิก ประธานรายวิชาฯ ปรีคลินิก ได้ร่วมต้อนรับและรับการสัมภาษณ์จาก ศาสตราจารย์ นพ.พงษ์ศักดิ์ วรรณไกรโรจน์ ผู้อำนวยการสถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาแพทยศาสตร์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับการประเมินการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2566 คณะแพทยศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก จากสถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาแพทยศาสตร์ (สมพ.) ประเทศไทย Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาสาธารณะ “จริยธรรมการวิจัยกับปัญหาการซื้อขายผลงาน” แสดงความคิดเห็นในประเด็นการซื้อขายผลงานวิจัยในวงการ

20 มกราคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาสาธารณะ “จริยธรรมการวิจัยกับปัญหาการซื้อขายผลงาน” แสดงความคิดเห็นในประเด็นการซื้อขายผลงานวิจัยในวงการวิชาการ ณ ห้อง K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท พร้อมถ่ายทอดผ่านระบบประชุม online WebEx Meeting การเสวนาในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. ม.ร.ว.ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ อาจารย์อาวุโสคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ปรึกษาสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ศาสตราจารย์ ดร. นพ.ภัทรชัย กีรติสิน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล และ ศาสตราจารย์ ดร.ประมวล ตั้งบริบูรณ์รัตน์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ดำเนินรายการโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งได้รับความสนใจจากประชาคมชาวมหาวิทยาลัยมหิดลร่วมฟังการเสวนากว่า 300 คนในตอนต้นของการเสวนา ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. ม.ร.ว.ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ ได้เล่าถึงความเชื่อมโยงกันของการวิจัย การตีพิมพ์ผลงาน และจริยธรรมการวิจัย

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาสาธารณะ “จริยธรรมการวิจัยกับปัญหาการซื้อขายผลงาน” แสดงความคิดเห็นในประเด็นการซื้อขายผลงานวิจัยในวงการ Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หารือสานต่อความร่วมมือ SCG Chemicals x Mahidol Science

18 มกราคม 2566 ผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.วีระชัย สิริพันธ์วราภรณ์ รองคณบดี ศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์. และ รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ ผู้ช่วยคณบดี ร่วมด้วยกับ ทีมอาจารย์จากภาควิชาเคมี รองศาสตราจารย์ ดร.เอกสิทธิ์ สมสุข ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชญาณิศา ชิติโชติปัญญา และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มัณฑนา จริยาบูรณ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี พร้อมด้วยทีมงานหน่วยพันธกิจพิเศษด้านพัฒนาธุรกิจ หรือ BDU (Business Development Unit) และงานวิจัย เข้าเยี่ยมชมและหารือความร่วมมือกับ บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด มหาชน ผู้นำธุรกิจเคมีภัณฑ์ครบวงจรเพื่อความยั่งยืนรายใหญ่ของไทยและภูมิภาคอาเซียน ณ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยองในโอกาสนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.สุเมธ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หารือสานต่อความร่วมมือ SCG Chemicals x Mahidol Science Read More »

Activity photo

ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล และคณะวิทยาศาสตร์ หารือการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต หลักสูตร พ.ศ. 2566 ร่วมกับผู้บริหารสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

เมื่อช่วงเช้าวันจันทร์ที่ 16 มกราคม 2566 ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.ภก.เนติ สุขสมบูรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา พร้อมทีมบริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ทีมบริหารจากคณะวิทยาศาสตร์ และผู้แทนจากคณะศิลปศาสตร์ ให้การต้อนรับ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.นพ.วิชัย เทียนถาวร อธิการบดีสถาบันพระบรมราชชนก ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ นพ.สวรรค์ ขวัญใจพานิช คณบดีคณะแพทยศาสตร์ และทีมผู้บริหารสถาบันพระบรมราชชนก พร้อมเดินหน้าปรึกษาหารือเรื่องการจัดการเรียนการสอน การประเมินผล ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมวดวิทยาศาสตร์พื้นฐานทางการแพทย์ ระบบช่วยเหลือและการดูแลนักศึกษาช่วงเปลี่ยนถ่ายหลักสูตรให้คงความมีอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมหิดลและสถาบันพระบรมราชชนก จากนั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพพล เผ่าสวัสดิ์ ผู้อำนวยการหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะ ได้นำทีมบริหารสถาบันพระบรมราชชนกเยี่ยมชมหอสมุดฯ ซึ่งภายในแบ่งออกเป็น Co-working space และ E-lecture zone โดยทีมบริหารสถาบันพระบรมราชชนกได้ให้ความสนใจระบบการบันทึกการเรียนการสอนเป็นอย่างยิ่งต่อมา รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระชัย สิริพันธ์วราภรณ์ และคณะได้นำทีมบริหารสถาบันพระบรมราชชนกเยี่ยมชมคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา โดยให้การต้อนรับและนำชมห้องเรียนรวม

ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล และคณะวิทยาศาสตร์ หารือการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต หลักสูตร พ.ศ. 2566 ร่วมกับผู้บริหารสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข Read More »

Activity photo

13 คณาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้ารับประกาศนียบัตรการประเมินระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ระดับที่ 2

13 มกราคม 2566 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล มอบประกาศนียบัตรแก่คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดลผู้ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพอาจารย์ตามกรอบ UKPSF ประเภท Senior Fellow และผู้ผ่านการประเมินระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพของมหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรเนติ สุขสมบูรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวรายงาน ณ ศูนย์ประชุมมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายาโดยในครั้งนี้มีคณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ 13 ท่าน ได้รับประกาศนียบัตรผู้ผ่านการประเมินระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหิดลระดับที่ 2 ได้แก่ 1. รองศาสตราจารย์ ดร.เทียนทอง ทองพันชั่ง, อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี2. รองศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ อสุวพงษ์พัฒนา, อาจารย์ประจำภาควิชากายวิภาคศาสตร์3. รองศาสตราจารย์ ดร.ดนยา ปโกฏิประภา, อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรทิพา กอประเสริฐถาวร, อาจารย์ประจำเภสัชวิทยา5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อินทนนท์ กลศาสตร์เสนี, อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อลิสา ดำเนินสวัสดิ์, อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา7.

13 คณาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้ารับประกาศนียบัตรการประเมินระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ระดับที่ 2 Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีมอบป้ายสัญลักษณ์ห้องปฏิบัติการระดับ BSL2 และ BSL3 ภายใต้ ”โครงการห้องแล็บ BSL ปลอดภัย งานวิจัยได้มาตรฐาน”

12 มกราคม 2566 เวลา 13.00 -14.00 น. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีมอบป้ายสัญลักษณ์ห้องปฏิบัติการระดับ BSL2 แก่ ห้องปฏิบัติการจำนวนทั้งสิ้น 35 ห้อง และห้องปฏิบัติการระดับ BSL3 จำนวน 1 ห้อง ที่ได้รับใบรับรองสถานที่ผลิตเชื้อโรคหรือพิษจากสัตว์ ประจำปี 2565 จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ณ ห้อง K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไทโดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ ร่มแสง ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ และประธานคณะกรรมการควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ กล่าวแสดงความยินดีและขอบคุณหัวหน้าห้องปฏิบัติการและผู้เกี่ยวข้องทั้ง 36 ห้องปฏิบัติในการมีส่วนร่วมจัดทำข้อมูลการต่ออายุใบรับรองสถานที่ผลิตเชื้อโรคหรือพิษจากสัตว์ ประจำปี 2565 โดยให้ความสำคัญและให้ความร่วมมือในการดำเนินการปรับปรุงห้องปฏิบัติการให้เป็นไปตามมาตรฐาน ตรวจสอบข้อมูลและแก้ไขข้อมูลต่าง ๆ ทั้งการถ่ายภาพ การทำคู่มือเอกสารห้องปฏิบัติการของภาควิชา เพื่อนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ PAT ACT ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ได้รับใบรับรอง การแจ้งการผลิต / นำเข้า

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีมอบป้ายสัญลักษณ์ห้องปฏิบัติการระดับ BSL2 และ BSL3 ภายใต้ ”โครงการห้องแล็บ BSL ปลอดภัย งานวิจัยได้มาตรฐาน” Read More »

Activity photo

คณะวิทย์ มหิดล จัดเต็ม ‘Workshop Science Wow สนุกได้ทั้งบ้าน’ 4 กิจกรรม ฉลองวันเด็กแห่งชาติ 2566 ต่อเนื่องเป็นวันที่ 2

15 มกราคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม ‘Workshop Science Wow สนุกได้ทั้งบ้าน’ ส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเด็กและเยาวชนกับครอบครัว ฉลองวันเด็กแห่งชาติ 2566 ต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 โดยในวันนี้เป็นกิจกรรมสำหรับน้อง ๆ อายุ 7 – 9 และ 10 – 12 ปี ที่สามารถทำได้ง่าย ๆ ที่บ้านทั้งหมด 4 กิจกรรม ได้แก่กิจกรรม ‘ไข่แตกไหม’ ที่ชวนน้อง ๆ มาท้าพิสูจน์ดูว่าระหว่างไข่ดิบธรรมดากับไข่ดิบที่แช่น้ำส้มสายชูเป็นเวลา 24 ชั่วโมง จนเปลือกไข่ที่มีแคลเซียมคาร์บอเนต หรือหินปูน ถูกกัดกร่อนไปจนหมดแตกต่างกันอย่างไร จะแตกไหมหากเราลองเคาะเปลือกไข่ทั้ง 2 ฟอง พร้อมเฉลยปริศนาไข่กับไก่อะไรเกิดก่อนกันให้น้อง ๆ หายสงสัยกิจกรรม ‘ไข่ลอยน้ำ’ ที่ทดลองเปรียบเทียบไข่ดิบในแก้วน้ำเปล่า กับไข่ดิบในแก้วน้ำเกลือ แสดงให้เห็นถึงพลังของความหนาแน่น ที่ทำให้ไข่ในน้ำเกลือลอยขึ้นมาได้อย่างน่าอัศจรรย์ สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับน้อง ๆ ได้อย่างดีกิจกรรม

คณะวิทย์ มหิดล จัดเต็ม ‘Workshop Science Wow สนุกได้ทั้งบ้าน’ 4 กิจกรรม ฉลองวันเด็กแห่งชาติ 2566 ต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 Read More »

Activity photo

คณะวิทย์ มหิดล จัด ‘Workshop Science Wow สนุกได้ทั้งบ้าน’ ต้อนรับวันเด็กแห่งชาติ 2566

14 มกราคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม ‘Workshop Science Wow สนุกได้ทั้งบ้าน’ ส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ต้อนรับวันเด็กแห่งชาติ 2566 ในรูปแบบออนไลน์ เปิดโอกาสให้น้อง ๆ ทางบ้านได้ทดลองวิทยาศาสตร์แสนสนุกจากอุปกรณ์ที่หาได้ง่ายกับครอบครัว โดยมีพี่ ๆ นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คอยดูแลให้คำแนะนำน้อง ๆ เป็นอย่างเป็นกันเองตลอดกิจกรรมเริ่มด้วยกิจกรรมสำหรับน้อง ๆ อายุไม่เกิน 6 ปี กิจกรรมแรก ‘ผักเปลี่ยนสี’ ที่นำเอาผักที่เราคุ้นเคยอย่างผักกาดขาว แกะเป็นใบ ๆ แล้วจุ่มลงไปในน้ำสีผสมอาหารสีต่าง ๆ ทั้งสีส้ม แดง ม่วง ฯลฯ และสังเกตการณ์สีที่เปลี่ยนแปลงไปของใบผักกาดขาวต่อด้วยกิจกรรม ‘น้ำอัญชันสีอะไร’ ที่ใช้อุปกรณ์ง่าย ๆ อย่างน้ำอัญชัน และน้ำมะนาว โดยนำเอาน้ำมะนาวหยดลงในน้ำอัญชันแล้วสังเกตดูสีที่เปลี่ยนไป สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับน้อง ๆ เป็นอย่างดีกิจกรรม ‘Workshop Science Wow สนุกได้ทั้งบ้าน’ ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ ในวันอาทิตย์ที่ 15

คณะวิทย์ มหิดล จัด ‘Workshop Science Wow สนุกได้ทั้งบ้าน’ ต้อนรับวันเด็กแห่งชาติ 2566 Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมปฏิบัติการหลักสูตรดับเพลิงขั้นต้น และหลักสูตรดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟประจำปี 2566 เตรียมความพร้อมรับมือเหตุเพลิงไหม้

10 มกราคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท จัดกิจกรรมปฏิบัติการหลักสูตรดับเพลิงขั้นต้น และหลักสูตรดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟประจำปี 2566 เตรียมพร้อมบุคลากรและนักศึกษารับมือเหตุเพลิงไหม้ โดยมีวิทยากรจากสถานีดับเพลิงและกู้ภัยลาดกระบังให้ความรู้ และสาธิตการปฏิบัติตนขณะเกิดเหตุไฟไหม้ การใช้ถังดับเพลิงประเภทต่าง ๆ ให้กับนักศึกษาและบุคลากร ณ ลานระหว่างห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข และอาคารหน่วยสัตว์ทดลอง ก่อนจำลองสถานการณ์ไฟไหม้ตามอาคารต่าง ๆ และฝึกซ้อมการอพยพผู้ที่อยู่ในอาคารขณะเกิดไฟไหม้มายังจุดรวมพลทั้ง 3 จุดภายในคณะวิทยาศาสตร์ ได้แก่ จุดที่ 1 ลานหน้าอาคารเฉลิมพระเกียรติ และอาคารบรรยายรวม สำหรับนักศึกษาและบุคลากรที่ปฏิบัติงาน ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ, อาคารฟิสิกส์, อาคารพรีคลินิก, อาคาร Venture Club และอาคารบรรยายรวมจุดที่ 2 สนามหญ้าระหว่างอาคารเคมีและอาคารคอมพิวเตอร์ สำหรับนักศึกษาและบุคลากรที่ปฏิบัติงาน ณ อาคารชีววิทยา, อาคารเคมี และอาคารวิจัยและจุดที่ 3 บริเวณพื้นที่หน้าอาคารชีววิทยาใหม่ และอาคารอเนกประสงค์ สำหรับนักศึกษาและบุคลากรที่ปฏิบัติงาน ณ อาคารชีววิทยาใหม่, อาคารกายวิภาคศาสตร์, อาคารชีวภาพการแพทย์, อาคารเทคโนโลยีชีวภาพ, อาคารอเนกประสงค์,

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมปฏิบัติการหลักสูตรดับเพลิงขั้นต้น และหลักสูตรดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟประจำปี 2566 เตรียมความพร้อมรับมือเหตุเพลิงไหม้ Read More »

Activity photo

นักศึกษาแพทยศาสตร์ โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมงาน Syringe Game ครั้งที่ 32 เล่นกีฬากระชับความสัมพันธ์นักศึกษาแพทย์ทั่วประเทศ ชิงถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี

วันที่ 6 – 8 มกราคม 2566 นักศึกษาแพทย์ ชั้นปีที่ 1, 2 และ 3 ได้ร่วมงานกีฬาสมาพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์แห่งประเทศไทยฯ (Syringe game) ครั้งที่ 32 ณ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา จังหวัดนครปฐม ซึ่งในปีนี้คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นเจ้าภาพฯ โดยมีสถาบันแพทยศาสตร์เข้าร่วมจำนวน 26 สถาบัน แข่งขันกัน 11 ประเภทกีฬา ได้แก่ ฟุตบอล บาสเก็ตบอล วอลเลย์บอล แบดมินตัน เทนนิส ปิงปอง เปตอง วิ่ง ว่ายน้ำ A-math และ Bridge ผู้ชนะการแข่งขันจะได้รับรางวัลถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ซึ่งในโอกาสนี้ นักศึกษาแพทยศาสตร์ โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล (PI) เข้าร่วมแข่งขัน 9

นักศึกษาแพทยศาสตร์ โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมงาน Syringe Game ครั้งที่ 32 เล่นกีฬากระชับความสัมพันธ์นักศึกษาแพทย์ทั่วประเทศ ชิงถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี Read More »

Activity photo

หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาการวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) ลงพื้นที่ติดตามโครงการวิจัยของปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

19 ธันวาคม 2565 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิรินันท์ กุลชาติ รองผู้อำนวยการ บพค. พร้อมด้วยคณะผู้ทรงคุณวุฒิฯ รวมถึงนักวิเคราะห์โครงการ ร่วมลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินโครงการวิจัย ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 2 โครงการ1. โครงการภายใต้แผนงานข้อริเริ่มการวิจัยขั้นแนวหน้าประเทศไทย โปรแกรม 5 ส่งเสริมการวิจัยขั้นแนวหน้า และการวิจัยพื้นฐานที่ประเทศไทยมีศักยภาพ : โครงการ “บูรณาการองค์ความรู้พื้นฐานของระบบทางเดินอาหารกุ้งอย่างเป็นระบบ: โครงสร้าง บทบาทและหน้าที่” โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.รพีพรรณ วานิชวิริยกิจ สังกัดภาควิชากายวิภาคศาสตร์/ หน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง (Centex Shrimp) เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย2. แผนงานโครงการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือนานาชาติเพื่อการยกระดับความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัย/ สถาบันวิจัยไทย โปรแกรม 16 การปฏิรูประบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม Organization Bridging Fund : โครงการ “การผลิตกำลังคนคุณภาพสูงและการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาผ่านการสร้างความร่วมมือด้านนวัตกรรมทรัพยากรชีวภาพทางเคมีชีวภาพเมตาโบโลมิกส์ของสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและวัสดุเพื่อความยั่งยืน” โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.วิชัย ริ้วตระกูล สังกัดภาควิชาเคมี เป็นหัวหน้าโครงการโดยมี

หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาการวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) ลงพื้นที่ติดตามโครงการวิจัยของปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล Read More »

Activity photo

สวทช. ร่วมกับ JAXA คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และหน่วยงานคู่ความร่วมมือ ประกาศความสำเร็จของโครงการ AHiS Mission II ส่งมอบต้นกล้าราชพฤกษ์อวกาศแก่ 21 สถาบันการศึกษาทั่วประเทศ

20 ธันวาคม 2565 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น หรือ แจ็กซา (Japan Aerospace Exploration Agency: JAXA) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และหน่วยงานคู่ความร่วมมือ ส่งมอบ ‘ต้นกล้าราชพฤกษ์อวกาศ’ ภายใต้โครงการ Asian Herb in Space (AHiS) Mission II ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการด้านชีววิทยาอวกาศ (Space Biology) ให้แก่โรงเรียน มหาวิทยาลัย และหน่วยงานภาครัฐรวม 21 แห่งทั่วประเทศ เพื่อนำไปปลูกและต่อยอดสู่การเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากการศึกษาเปรียบเทียบการเติบโตระหว่างต้นราชพฤกษ์ที่ปลูกด้วยเมล็ดที่เดินทางไปอวกาศ กับต้นราชพฤกษ์ที่ปลูกด้วยเมล็ดปกติ ณ ห้องประชุม SD-601 อาคารสราญวิทย์ สวทช. อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานีการเดินทางของต้นกล้าราชพฤกษ์อวกาศให้เยาวชนและประชาชนชาวไทยได้เรียนรู้และใกล้ชิดเทคโนโลยีอวกาศมากยิ่งขึ้นในครั้งนี้ เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่าง สวทช. JAXA มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย กลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพอัจฉริยะ คณะวิทยาศาสตร์

สวทช. ร่วมกับ JAXA คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และหน่วยงานคู่ความร่วมมือ ประกาศความสำเร็จของโครงการ AHiS Mission II ส่งมอบต้นกล้าราชพฤกษ์อวกาศแก่ 21 สถาบันการศึกษาทั่วประเทศ Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

20 ธันวาคม 2565 ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยและส่วนงาน ซึ่งคณะวิทยาศาสตร์ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระชัย สิริพันธ์วราภรณ์ รองคณบดี อาจารย์ ดร.ธิติคม พัวพันสวัสดิ์ ประธานสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคุณชิตหทัย ภัทรธิยานนท์ หัวหน้างานศาลายา เข้าร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ณ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โดยร่วมลงนามถวายพระพรชัยมงคล ณ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษภาพข่าวโดย : คุณชิตหทัย ภัทรธิยานนท์,งานสื่อสารองค์กร สำนักงานอธิการบดีเว็บมาสเตอร์ : นางสาวปัณณพร แซ่แพวันที่ 20 ธันวาคม 2565

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแสดงความยินดีกับ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสครบรอบ 19 ปี การก่อตั้ง

19 ธันวาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย อาจารย์ ดร.มีโชค ชูดวง รองคณบดีฝ่ายคลังและพัสดุ เป็นผู้แทนคณบดี เข้าร่วมแสดงความยินดีกับ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสครบรอบ 19 ปีการก่อตั้ง ซึ่งได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิวิชญ์ เลี้ยงอิสสระ คณบดีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปณิชา นิติสกุลวุฒิ รองคณบดีฝ่ายบริหารและจัดการยุทธศาสตร์ ให้การต้อนรับพร้อมรับมอบเงินบริจาคจำนวน 2,000 บาทโดยในโอกาสนี้ได้ร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ถวายสังฆทาน จตุปัจจัยไทยธรรม และภัตตาหารเพล รวมถึงพิธีมอบรางวัลศิลปาวิชชาธร และมอบทุนการศึกษา ณ ห้อง 217 ชั้น 2 อาคารสิริวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายาคณะวิทยาศาสตร์ และ คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีความผูกพันกันแน่นแฟ้นมาอย่างยาวนาน ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นพ.พรชัย มาตังคสมบัติ อดีตคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดลในขณะนั้น

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแสดงความยินดีกับ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสครบรอบ 19 ปี การก่อตั้ง Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมถวายแจกันดอกไม้ และลงนามถวายพระพร สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา

19 ธันวาคม 2565 รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย อาจารย์ ดร.มีโชค ชูดวง รองคณบดีฝ่ายคลังและพัสดุ และ รองศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ อสุวพงษ์พัฒนา ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายแพทยศาสตร์ ทูลเกล้าฯ ถวายแจกันดอกไม้ และลงนามถวายพระพร สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ณ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เขียนข่าว : นางวริศรา ทาทอง ภาพข่าวโดย : นางวริศรา ทาทอง เว็บมาสเตอร์: นางสาวปัณณพร แซ่แพ วันที่ 19 ธันวาคม 2565

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมถวายแจกันดอกไม้ และลงนามถวายพระพร สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแสดงความยินดีกับ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสครบรอบ 53 ปี การก่อตั้ง

14 ธันวาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระชัย สิริพันธ์วราภรณ์ รองคณบดี และ คุณชิตหทัย ภัทรธิยานนท์ หัวหน้างานศาลายา เป็นผู้แทนคณบดี เข้าร่วมแสดงความยินดีกับ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสครบรอบ 53 ปีการก่อตั้ง ซึ่งได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.เสาวคนธ์ รัตนวิจิตราศิลป์ คณบดีคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภัทรียา กิจเจริญ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร ให้การต้อนรับและเป็นผู้แทนรับมอบเงินบริจาคจากคณะวิทยาศาสตร์ จำนวน 2,000 บาทคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ก่อตั้งขึ้นเป็นคณะลำดับที่ 12 ของมหาวิทยาลัยมหิดล ตามประกาศของสำนักนายกรัฐมนตรี ถือกำเนิดขึ้นจากกระแสรับสั่งของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) เมื่อครั้งคณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ต้องการจะขยายมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ให้เป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์แบบ เพื่อให้สอดคล้องและตอบสนองต่อความต้องการของสังคมและประเทศ จึงขอพระบรมราชานุญาตเข้าเฝ้าเพื่อขอพระราชทานนาม “มหิดล” ให้เป็นชื่อของมหาวิทยาลัยที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่ โดยพระราชทานคำแนะนำว่า “ถ้าจะเพิ่มคณะขึ้นใหม่

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแสดงความยินดีกับ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสครบรอบ 53 ปี การก่อตั้ง Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษ Mahidol Science Café: Astrophysics and Space Science Projects in Korea and Thailand สร้างการรับรู้โครงการดาราศาสตร์ฟิสิกส์และอวกาศในเกาหลี-ไทย

14 พฤศจิกายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษ Mahidol Science Café ตอน Mahidol Science Cafe: Astrophysics and Space Science Projects in Korea and Thailand เปิดเวทีพูดคุยสร้างการรับรู้เกี่ยวกับโครงการดาราศาสตร์ฟิสิกส์และอวกาศในเกาหลีและไทย ทิศทางการวิจัย และการสร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศในอนาคต รวมถึงสร้างความเข้าใจ และเพิ่มการตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านดาราศาสตร์ฟิสิกส์และอวกาศ แก่ประชาคมอาจารย์ นักศึกษา และผู้สนใจด้านวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย เนื่องในโอกาสที่คณะผู้บริหารจาก Korea Astronomy & Space Science Institute (KASI) เดินทางเยือนประเทศไทย ณ ห้องประชุม K102 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ในการเสวนาครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก Dr. Young-Deuk Park, President of Korea Astronomy and

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษ Mahidol Science Café: Astrophysics and Space Science Projects in Korea and Thailand สร้างการรับรู้โครงการดาราศาสตร์ฟิสิกส์และอวกาศในเกาหลี-ไทย Read More »

Activity photo

ศูนย์ CENMIG ฉลองครบรอบ 2 ปี การก่อตั้ง จัดกิจกรรม Free public lectures และ Entry-Level Genomics Workshop เผยแพร่องค์ความรู้ด้านจีโนมิกส์สู่สังคม

7 ธันวาคม 2565 ศูนย์วิจัยจีโนมจุลินทรีย์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ พรชัย มาตังคสมบัติ จัดกิจกรรม Free public lectures ครบรอบ 2 ปี การก่อตั้งศูนย์วิจัยจีโนมจุลินทรีย์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ พรชัย มาตังคสมบัติ “Pornchai Matangkasombut Center for Microbial Genomics (CENMIG)” เพื่อการควบคุมรักษาโรคติดเชื้อสำคัญ ณ อาคารสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ซึ่งได้รับความสนใจจากนักศึกษาและนักวิจัยเข้าร่วมกว่า 67 คนในโอกาสอันดีนี้ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นพ.พรชัย มาตังคสมบัติ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้วางรากฐานอันแข็งแกร่งให้แก่การเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา และการวิจัยด้านจุลชีววิทยาของประเทศ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และแขกผู้มีเกียรติอีกมากมาย ร่วมพิธีเปิดและแสดงความยินดี โดยมี ศาสตราจารย์ นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์

ศูนย์ CENMIG ฉลองครบรอบ 2 ปี การก่อตั้ง จัดกิจกรรม Free public lectures และ Entry-Level Genomics Workshop เผยแพร่องค์ความรู้ด้านจีโนมิกส์สู่สังคม Read More »

Activity photo

คณาจารย์ และบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการนานาชาติ The 48th International Congress on Science, Technology and Technology-based Innovation (STT48)

29 พฤศจิกายน 2565 คณาจารย์ นักศึกษา และบัณฑิต จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึง ศาสตราจารย์ ดร.เทวัญ จันทร์วิไลศรี อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี รองศาสตราจารย์ ดร. เอกสิทธิ์ สมสุข อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อุ่นใจ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา ได้เข้าร่วมการประชุมวิชาการนานาชาติ The 48th International Congress on Science, Technology and Technology-based Innovation (STT48) ณ อาคารศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราชในงานนี้ ศาสตราจารย์ ดร.เทวัญ จันทร์วิไลศรี อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี ได้ร่วมจัดงานโดยเป็นประธานดูแลการนำเสนอผลงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้รวมถึงเป็นกรรมการตัดสินรางวัลการนำเสนอใน Session B1: Biological Science ซึ่งครอบคลุมสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพใน 6 หัวข้อ ได้แก่ ชีวเคมี (Biochemistry), เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology), จุลชีววิทยา

คณาจารย์ และบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการนานาชาติ The 48th International Congress on Science, Technology and Technology-based Innovation (STT48) Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดบรรยายพิเศษ Mahidol Science Research Forum “Polymer Based Nanosystems and Hydrogels for Biomedical Applications”

30 พฤศจิกายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับเกียรติจาก Prof. Ravin Narain จาก Department of Chemical and Materials Engineering, Donadeo Innovation Centre for Engineering จากมหาวิทยาลัยอัลเบอร์ตา ประเทศแคนาดา มาบรรยายพิเศษ ในกิจกรรม Mahidol Science (MUSC) Research Forum หัวข้อเรื่อง Polymer Based Nanosystems and Hydrogels for Biomedical Applications โดยได้รับเกียรติจาก คุณ Poornima Ramesh Lyer นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรวิทยาศาตร์และวิศวกรรมวัสดุ กลุ่มสาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ เป็นผู้ดำเนินรายการ และ ศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง กล่าวเปิดกิจกรรมการบรรยายพิเศษในครั้งนี้ ด้วยความร่วมมือจากงานวิจัย กลุ่มสาขาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดบรรยายพิเศษ Mahidol Science Research Forum “Polymer Based Nanosystems and Hydrogels for Biomedical Applications” Read More »

Activity photo

ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม Biology Pitching Day นำเสนอแนวคิดนวัตกรรมจากองค์ความรู้ชีววิทยา ส่งเสริมการประยุกต์ใช้องค์ความรู้อย่างสร้างสรรค์

25 พฤศจิกายน 2565 ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมวัน pitching day : การนำเสนอแนวคิดนวัตกรรมจากองค์ความรู้ชีววิทยา เปิดเวทีให้นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาควิชาชีววิทยา ที่ลงเรียนในรายวิชา Biocreative process and design (SCBI 428) นำเสนอแนวคิดนวัตกรรมจากองค์ความรู้ชีววิทยา ณ ห้อง N516 ภาคชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ ผ่านระบบ online WebEx Meeting โดยมีผู้รู้จริงจากวงการสตาร์ทอัพ ได้แก่ คุณชาคริต จันทร์รุ่งสกุล ผู้ก่อตั้งและ CEO Fireoneone, ที่ปรึกษาระดับชาติด้านการทำ Business Transformation และโรงเรียนผู้ประกอบการ Wecosystem, ผศ.ดร.ป๋วย อุ่นใจ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา, นักวิจัย, นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และคอลัมนิสต์ประจำมติชนสุดสัปดาห์ และ ดร.ชนกพร พัวพัฒนกุล อาจารย์การสื่อสารสำหรับผู้ประกอบการ,

ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม Biology Pitching Day นำเสนอแนวคิดนวัตกรรมจากองค์ความรู้ชีววิทยา ส่งเสริมการประยุกต์ใช้องค์ความรู้อย่างสร้างสรรค์ Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมนำเสนอผลงานพัฒนาคุณภาพการทำงาน คว้า 2 รางวัล Popular Vote ในงานมหกรรมคุณภาพ Mahidol Quality Fair 2022

29 พฤศจิกายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมนำเสนอโครงการ 2 ผลงานพัฒนาคุณภาพการทำงาน คว้ารางวัล Popular Vote ในงานมหกรรมคุณภาพ Mahidol Quality Fair 2022 เวทีจัดแสดงผลงานการพัฒนางานจากบุคลากรของมหาวิทยาลัย ซึ่งจัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 9 ภายใต้หัวข้อ”Good Governance in Digital Era: ธรรมาภิบาลในยุคดิจิทัล” ณ มหิดลสิทธาคาร และศูนย์ประชุมและอาคารจอดรถมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายาโดยกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร. ภญ.จุฑามณี สุทธิสีสังข์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานเปิดงานมหกรรมคุณภาพ ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เป็นผู้บรรยายพิเศษเรื่อง “บทบาทมหาวิทยาลัยกับการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล” ทั้งยังได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ในองค์กรจากหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมการเสวนา “Digital Transformation” โดยมี อาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง หัวหน้าภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ดำเนินการเสวนาสำหรับการนำเสนอผลงานในปีนี้

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมนำเสนอผลงานพัฒนาคุณภาพการทำงาน คว้า 2 รางวัล Popular Vote ในงานมหกรรมคุณภาพ Mahidol Quality Fair 2022 Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “Fundamental Biosafety for BSL-2 (English Version)” เสริมความรู้และทักษะการทำวิจัยในห้องปฏิบัติการทางชีวภาพอย่างปลอดภัยตามมาตรฐานสากล

28 – 29 พฤศจิกายน 2565 งานวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพ จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “Fundamental Biosafety for BSL-2 (English Version)” เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย มาตรฐาน และแนวปฏิบัติต่าง ๆ ทางด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ ฝึกฝนทักษะเกี่ยวกับการทำงานในห้องปฏิบัติการทางชีวภาพตามมาตรฐานในระดับสากล รวมถึงกระตุ้นเตือนถึงการปฏิบัติงานให้ปลอดภัยต่อตนเอง บุคคลอื่น และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม โดยมี ศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกร ชลภัทร สุขเกษม ประธานคณะกรรมการควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้เกียรติร่วมเป็นวิทยากรรับเชิญ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ ร่มแสง ประธานคณะกรรมการควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ชี้แจงภาพรวมและดำเนินกิจกรรมในการอบรมทั้งภาคบรรยายและภาคปฏิบัติการ ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์มงคลสุขการอบรมในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งบุคคลภายในและภายนอกกว่าร้อยคน อาทิ เจ้าหน้าที่บริหารชีวนิรภัยของหน่วยงาน (BSO) นักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ รวมทั้งบุคลากรทางการแพทย์ ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับเชื้อโรคหรือพิษจากสัตว์ จากหน่วยงานต่าง

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “Fundamental Biosafety for BSL-2 (English Version)” เสริมความรู้และทักษะการทำวิจัยในห้องปฏิบัติการทางชีวภาพอย่างปลอดภัยตามมาตรฐานสากล Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมศึกษาดูงานหลักสูตรแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

28 พฤศจิกายน 2565 คณะผู้บริหาร อาจารย์ เจ้าหน้าที่ คณะแพทยศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก คณะผู้บริหารศูนย์แพทย์ศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิกโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ โรงพยาบาลนครศรีธรรมราช โรงพยาบาลราชบุรี คณะวิทยาศาสตร์ และ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ศึกษาดูงานการจัดการศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อนำมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานของ คณะแพทยศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก โดยมี รองศาสตราจารย์ นพ.ศักนัน มะโนทัย รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารคณะแพทยศาสตร์ ให้การต้อนรับและบรรยายหัวข้อที่เกี่ยวข้องอาทิ Outcome-based & integrated pre-clerkship curriculum, Holistic at-risk student, Student engagement และ Technology in medical education คณะวิทยาศาสตร์ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ อสุวพงษ์พัฒนา ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายแพทยศาสตร์ พร้อมด้วยอาจารย์จากภาควิชาปรีคลินิก ได้แก่ รองศาสตราจารย์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมศึกษาดูงานหลักสูตรแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อสังคมใน “วันนิทรรศการวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า 2565”

29 – 30 พฤศจิกายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ ผู้ช่วยคณบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลิตา คงฤทธิ์ รองหัวหน้าภาควิชาชีววิทยา และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พูนทวี แซ่เตีย อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อสังคมใน “วันนิทรรศการวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า 2565” ณ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จังหวัดนครนายก โดยในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 ได้จัดแสดงผลงานให้แก่นักเรียนโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเข้าชม ซึ่งได้รับความสนใจจากนักเรียนจำนวนมาก และต่อมาในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 จึงนำเสนอผลงานแก่ พลโท ปิยพงศ์ กลิ่นพันธุ์ ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า และคณะผลงานวิจัยและนวัตกรรมเด่นที่นำเสนอในปีนี้ ได้แก่ หน่วยปฏิบัติการชีววิทยาศาสตร์ระบบดิจิทัล (Digital Bioscience Laboratory) ซึ่ง อาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลิตา คงฤทธิ์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อสังคมใน “วันนิทรรศการวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า 2565” Read More »