คณะวิทย์ ม.มหิดล เดินหน้าสานความร่วมมือ SCGC ต่อเนื่อง นำทีมนักวิจัยเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการทาง Material Science และ Polymer Chemistry ที่ ม.มหิดล วิทยาเขตศาลายา

Activity Photo

6 มิถุนายน 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เดินหน้าสานความร่วมมือบริษัทเอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC เพื่อหารือการทำวิจัยแนวการสร้างนวัตกรรมแบบเปิด (Open innovation) อย่างต่อเนื่อง โดยผ่านกิจกรรมประชุมกลุ่มย่อย (Focus group) ระหว่างอาจารย์และนักวิจัย SCGC พร้อมด้วยการเปิดบ้านให้นักวิจัย SCGC 18 ท่าน เข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการของกลุ่มสาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ และกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

โดยในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.วีระชัย สิริพันธ์วราภรณ์ รองคณบดี และทีมผู้ช่วยคณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.พันธ์ญา สุนินทบูรณ์ รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพงษ์ แสงวิไล ให้การต้อนรับ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ดาครอง พิศสุวรรณ หัวหน้ากลุ่มสาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ นำเสนอภาพรวมของกลุ่มสาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ (School of Materials Science and Innovation) และงานวิจัยทางด้านวัสดุศาสตร์ วิศวกรรมวัสดุ และวิศวกรรมนาโน และรองศาสตราจารย์ ดร.ทวีชัย อมรศักดิ์ชัย ประธานหลักสูตรกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (Polymer Science and Technology) อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี นำเสนอภาพรวมของงานวิจัยทางเทคโนโลยีพอลิเมอร์ต่าง ๆ ของภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และได้ร่วมประชุมหารือกับคณาจารย์ท่านอื่น ๆ พร้อมทีมนักวิจัย SCGC ณ ห้องประชุม SC2-220
จากนั้นจึงเข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการ Material Science โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.พงศกร กาญจนบุษย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หนึ่งนิตย์ วัฒนวิเชียร รองศาสตราจารย์ ดร.รักชาติ ไตรผล รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติทัศน์ สุบรรณจุ้ย และ อาจารย์ ดร.ฒนันท์ วาริทฒนันท์ นำเยี่ยมชม ต่อด้วยห้องปฏิบัติการ Polymer Chemistry รองศาสตราจารย์ ดร.ทวีชัย อมรศักดิ์ชัย และ ศาสตราจารย์ ดร.กัลยาณี สิริสิงห นำเยี่ยมชมเครื่องมือวิทยาศาสตร์และสิ่งอำนวยความสะดวกภายในห้องปฏิบัติการ
กิจกรรมครั้งนี้เป็นหนึ่งในซีรีส์พัฒนาความร่วมมือทางงานวิจัยแบบ Open innovation ของคณะวิทยาศาสตร์และ SCGC ซึ่งเป็นการผสมผสานองค์ความรู้ของแต่ละองค์กร โดยเป็นกระบวนการเร่งให้เกิดการสร้างนวัตกรรมภายในองค์กร และเพื่อนำนวัตกรรมที่สร้างขึ้นออกสู่ตลาดได้ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้อาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษาของคณะวิทยาศาสตร์ได้เชื่อมต่อกับภาคเอกชน เปิดมุมมองการวิจัยในเชิงพาณิชย์ ซึ่งนำไปสู่ผลงานวิจัยและการสร้างนวัตกรรมพร้อมใช้สำหรับภาคธุรกิจ รวมถึงการร่วมพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์เพื่อก่อให้เกิดการสร้างมูลค่าเชิงพาณิชย์ ช่วยระบบเศรษฐกิจทั้งภายในและต่างประเทศ ทั้งนี้คณะวิทยาศาสตร์และ SCGC จะมีการจัดกิจกรรม Mahidol Science x SGCG Symposium ครั้งที่ 2 ในหัวข้อเรื่อง Advanced Functional Materials for the Future ในเร็ว ๆ นี้

เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพ
ตรวจสอบโดย : รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ
ภาพข่าวโดย : ว่าที่ ร.ต.ภัทรพล ตันตระกูล
เว็บมาสเตอร์ : นางสาวปัณณพร แซ่แพ
วันที่ 6 มิถุนายน 2566