S1 : วิจัย และนวัตกรรม คุณภาพสากล (World Class Research and Innovation)
S2 : นวัตกรรมการศึกษา และส่งเสริมการเรียนรู้ที่แท้จริง (Innovative Education and Authentic Learning)
S3 : บริการวิชาการเข้มแข็ง และผลักดันงานวิชาการสู่ระดับนโยบาย (Excellence in Academic Service, Policy Advocacy)
S4 : องค์กรยั่งยืน และพึ่งตนเองได้ (Sustainable Organization and Self-Sufficiency)
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัยมหิดล |
Download อัตลักษณ์ใหม่ : สำหรับจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ - Fonts ( Font DB Lim X ใช้สำหรับใส่ชื่อหน่วยงานในคู่กับ Logo มหาวิทยาลัย / Font DB Helvethaica และ Cordia New ใช้สำหรับงาน AW และ งานออกแบบ) สีน้ำเงินมหิดล สีเหลืองมหิดล สีทองมหิดล |
[ ข้อมูลเดิม ปี 2566 ]
แผนยุทธศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2567 - 2570
โครงสร้างองค์กรคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (เมษายน 2567)
แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2567-2570
แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580)
มาตรา 7 มหาวิทยาลัยเป็นสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อม พระราชทานนามาภิไธย ของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ให้เป็นนามของมหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์ในการสร้าง พัฒนา ประมวล และประยุกต์องค์ความรู้ทั้งมวลและดำเนินการให้มีการเรียนรู้ในองค์ความรู้ดังกล่าว รวมตลอดทั้งเผยแพร่ความรู้ ส่งเสริม ป้องกันและรักษาสุขภาพอนามัย ทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และการกีฬา ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมเป็นส่วนรวม
มาตรา 8 เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามมาตรา 7 มหาวิทยาลัยมีภาระหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) ทำการวิจัย รวมตลอดทั้งส่งเสริม และสนับสนุนให้ทำการวิจัย เพื่อสร้างหรือพัฒนาองค์ความรู้โดยกระทำอย่างต่อเนื่อง และนำความรู้นั้นไปใช้เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประเทศและสังคมและก่อให้เกิดประโยชน์แก่มหาวิทยาลัย
(2) ผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยมุ่งเน้นให้บัณฑิตมีความรู้ ความสามารถในวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม มีความสำนึกต่อสังคมและมีความใฝ่รู้และเรียนรู้ด้วยตนเอง
(3) ส่งเสริม ประยุกต์ และพัฒนาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง
(4) ให้บริการทางการแพทย์ การพยาบาล การสาธารณสุข และการบริการทางวิชาการและวิชาชีพ ให้เป็นที่ยอมรับในประเทศ และในระดับนานาชาติ
(5) ทำการวิจัยและพัฒนาเพื่อปรับปรุงกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
(6) สนับสนุนและส่งเสริมให้บุคลากรของสถาบันอื่น เข้าร่วมในการสร้างและพัฒนาองค์ความรู้และเข้ารับการถ่ายทอดองค์ความรู้
(7) ร่วมมือกับสถาบันอื่นทั้งในและต่างประเทศ เพื่อดำเนินการตาม (1) ถึง (6)
(8) ส่งเสริมและทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม รวมทั้งบำรุงรักษาและใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลยั่งยืน