ศาสตราจารย์
ดร.วิชัย ริ้วตระกูล
(Professor Dr.Vichai Reutrakul)
รางวัลผลงานวิจัยเกียรติยศ
สกว. ปี พ.ศ. 2545
รางวัลผลงานวิจัยที่ได้รับการอ้างอิงโดยรวมสูงสุด
ของบทความระหว่าง ปี ค.ศ.1991
ถึงปัจจุบัน
สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและวิศวกรรมศาสตร์ |
|
- มีผลงานตีพิมพ์ระหว่างปี ค.ศ.1991-ปัจจุบัน
ที่ ศ.ดร.วิชัย
ริ้วตระกูล เป็นผู้นิพนธ์ชื่อแรก
หรือชื่อสุดท้าย หรือเป็น corresponding
auther และผลงานนั้นได้รับการอ้างอิง
จำนวน 28 เรื่อง รวมความถี่ในการอ้างอิง
186 ครั้ง
- ผลงานวิจัยที่ได้รับการอ้างอิงสูงสุด
คือ Tetrahedron 1997;53:17625. มีจำนวนการอ้างอิง
18 ครั้ง
- ผลงานวารสารที่มี impact factor
สูงสุด คือ Tetrahedron Lett มีค่า
impact factor เท่ากับ 2.558
ประวัติส่วนตัว
เกิดเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2485 ที่ตำบลทับยา
อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี จบการศึกษาระดับมัธยมต้นจากโรงเรียนประจำจังหวัดสิงห์บุรี
และมัธยมปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
ปริญญาตรีทางเคมี (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง)
จากมหาวิทยาลัยซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย
และปริญญาเอกทางด้านเคมีอินทรีย์ จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน
เมืองเมดิสัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ
พ.ศ.2509 และ 2514 ตามลำดับ ในปี 2540
ได้รับพระราชทานปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
สาขาเคมี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
สมรสกับนางแสงโสม (วิเชียรโชติ) ริ้วตระกูล
มีธิดา 2 คนชื่อ แพทย์หญิงสิริมนต์
ประเทืองธรรม และนางมนฑิรา ทวีสิน
ประวัติการทำงาน
เริ่มเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ประจำ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2514 จนถึงปัจจุบัน โดยได้รับตำแหน่งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ในปีพ.ศ.
2519, 2522 และ 2527 ตามลำดับ ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาเคมี
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในปี
2537-2545
นอกจากนี้ยังเคยดำรงตำแหน่งต่างๆ
อาทิ ประธานคณะกรรมการจัดการประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
ครั้งที่ 17 และ 18 ที่ปรึกษาชั่วคราว
HRP/WHO และประธานของ The Steering
Committee of WHO Task on Plants for
Fertility Regulation กรรมการสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
ระหว่างปี พ.ศ. 2539-2542 กรรมการในคณะกรรมการอุดมศึกษาเอกชน
ทบวงมหาวิทยาลัย และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสภาวิชาการ
สภาสถาบันราชภัฏ ระหว่างปี 2541-2543
ปัจจุบันเป็นประธานกรรมการพิจารณาขอเปิดดำเนินการหลักสูตร
และการรับรองมาตรฐานการศึกษา สาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและเทคโนโลยี
ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ทบวงมหาวิทยาลัย
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประจำสำนักวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และประจำสำนักวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หัวหน้าคณะผู้ประสานงานโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก
สกว. ผู้อำนวยการโครงการพัฒนาบัณฑิตศึกษาและการวิจัยทางเคมี
(Postgraduate Education and Research
Program in Chemistry - PERCH) ซึ่งเป็น
Consortium การผลิตนักศึกษาและงานวิจัยทางเคมี
ร่วมกัน 5 มหาวิทยาลัย คือ มหาวิทยาลัยมหิดล
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
กรรมการในกองบรรณาธิการเกียรติคุณ ของวารสารสงขลานครินทร์ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ได้รับรางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ของมูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ประเทศไทยประเภทบุคคล
ประจำปี พ.ศ.2538 ได้รับเลือกเป็นเมธีวิจัยอาวุโส
สกว. พ.ศ.2539-2546 ในด้านที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศ
เป็นผู้ประสานงานและดำเนินการควบคุมการวิจัย
โครงการแลกเปลี่ยนระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล
กับประเทศบังคลาเทศ และศรีลังกา โดยได้รับการสนับสนุนจากประเทศสวีเดน
เป็นที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ของ International
Foundation For Science (IFS), The
Asian Network of Research on Antidiabetes
Plants (ANRAP) และ International Program
in the Chemical Sciences (IPICS) เป็น
Editorial Board Associate Editor ของ
Asian Journal of Andrology และ Pharmaceutical
Biology ตามลำดับ นอกจากนี้ยังเป็นเครือข่าย
และผู้ประสานงานเครือข่ายเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติประเทศไทย
ขององค์การยูเนสโก ปี 2545-2548
สำหรับทุนวิจัย ศาสตราจารย์ ดร.วิชัย
ริ้วตระกูล ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง
อาทิเช่น จากองค์การอนามัยโลก ทางด้าน
Male and Female Fertility Regulation
จาก CONRAD, USAID ทางด้าน Male Fertility
Regulation จาก International Foundation
for Science (IFS) ทางด้าน Bioactive
Natural Products ในขณะนื้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย
ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
(สกว.) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
โครงการพัฒนาบัณฑิตศึกษาและการวิจัยทางเคมี
(Postgraduate
Education and Research Program in
Chemistry - PERCH) และ International
Program in Chemical Sciences (IPICS)
ผลงานวิจัยโดยสรุป
ศาสตราจารย์ ดร.วิชัย ริ้วตระกูล
ทำหน้าที่ควบคุมวิจัยของนักศึกษาในระดับปริญญาตรี
โท และเอก ได้ผลิตนักศึกษาภายใต้การ
Supervision ในระดับปริญญาโท 40 คน
และปริญญาเอก 5 คน ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารนานาชาติ
90 เรื่อง จดสิทธบัตรในระดับนานาชาติ
1 เรื่อง ในระหว่างปี 2534-2544 มีผลงาน
82 เรื่อง ได้รับการอ้างอิงเป็นจำนวน
610 ครั้ง
ผลงานวิจัยทำให้ศาสตราจารย์ ดร.วิชัย
ริ้วตระกูล ได้รับเชิญให้เป็น Invited
และ Plenary Speakers ในการประชุมนานาชาติอย่างสม่ำเสมอ
อาทิเช่น ได้รับเชิญเป็น Plenary Speaker
ในการประชุม 2000 Years of Natural
Products Research - Past, Present
and Future, The Netherlands ปี 2542
และ Tenth Asian Symposium on Medicinal
Plants, Spices and Other Natural Products,
Bangladesh ปี 2543 ได้รับเชิญจากสำนักพิมพ์
John Wiley & Sons ให้เขียนสรุปผลงานด้าน a-Haloalkyl
Aryl Sulfides, Sulfoxides and Sulfones
ลงใน Encyclopedia of Reagents for
Organic Synthesis ในปี 2538 จำนวน
24 หน้า นอกจากนี้ ยังได้รับเชิญให้เขียนบทความลงในหนังสือ
ซึ่งเป็น Proceeding ของการประชุมทางวิชาการ
อาทิเช่น Natural Products and Drug
Development, Edited by P. Krogsgaard-Larsen,
S. Brogger Chistensen and H. Kojod,
Munksgaard, Copenhagen, Denmark ปี
2527 หนังสือ Folk Medicine, The Art
and the Science, Edited by R.P Steiner,
American Chemical Society, Washington
DC ปี 2528 หนังสือ 2000 Years of Natural
Products Research - Past, Present
and Future, Edited by Teus J.C. Luijendijk,
Phytoconsult, The Netherlands ปี2543
และล่าสุดได้รับเชิญให้เขียนบทความเรื่อง
Occurrence, Structure and Bioactivity
of 1,7-Diaryheptanoids ลงในหนังสือ
Studies in Natural Products Chemistry,
Editor Atta-Ur-Rahman, Elsevier Science
Publishers, Amsterdam, The Netherlands
ปี 2545 จำนวน 27 หน้า
งานวิจัยที่สำคัญเน้นทางด้านเคมีอินทรีย์สังเคราะห์
(Organic Synthesis) และสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ
(Bioactive Natural Products) การวิจัยทางด้าน
Organic Synthesis เป็นงานวิจัยพื้นฐานของสารประเภท a-Haloalkyl
Aryl Sulfides, Sulfoxides และ Sulfones
งานวิจัยนี้ได้นำไปสู่การค้นพบปฏิกิริยาเคมีที่สำคัญและใหม่
อาทิเช่น ปฏิกิริยาที่นำมาใช้ในการสังเคราะห์สารประเภท
Vinyl Halides (Chlorides, Bromide,
Iodides Fluorides), Activated Cyclopropanes,
Piperidines Derivatives, Protoberberine,
Benzazepine ปฏิกิริยา Aldol-Tischenko
ของ Samarium Dienolate และปฏิกิริยาของ a-Phenylsulfonyl, a, a-Difluorophenylthio
Radicals สารประเภท Organofluorines
เป็นสารที่เตรียมยาก และมีประโยชน์มากในทางอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัสดุชนิดใหม่
และเกี่ยวกับอุตสาหกรรมยา งานวิจัยทางด้านที่ได้ค้นพบวิธีใหม่ๆ
ที่ใช้สังเคราะห์สารประเภทดังกล่าวได้
นอกจากนี้ยังได้ศึกษาการสังเคราะห์สารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ
ที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ (Bioactive Natural
Products) หลายตัว เช่นสารในกลุ่ม Diarylheptanoids
สารกลุ่ม Butenolides จาก Melodorum
fruitcosum สารกลุ่ม Pyranonaphthoquinones
และสารประเภท "Caged Xanthones"
โครงการ Drug Discovery ที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง
เกี่ยวข้องกับการศึกษาและค้นหาสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ
เพื่อนำมาเป็นสารโครงสร้างนำ (Lead
Structures) ในการพัฒนายาครอบคลุมสารชนิด
Non-steroidal ที่มีฤทธิ์แก้อาการอักเสบทั้งชนิดกินและชนิดทา
(Non-Steroidal Topical and Oral Anti-inflammatory
Agents) สารฆ่าเซลล์มะเร็ง สารฆ่าเชื้อไวรัส
HIV และสารที่มีฤทธิ์เกี่ยวกับการควบคุมการเจริญพันธุ์ในเพศชาย
การพัฒนาโครงการนี้ได้นำไปสู่การพัฒนาห้องปฏิบัติการ
การทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพที่ได้มาตรฐาน
ทางด้าน Anti-inflammatory และ Antifertility
(Male and Female) Activities ที่ภาควิชาเภสัชวิทยา
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การทดสอบ Cytotoxic,
Antimitotic และ Anti-HIV Activities
ที่ภาควิชาสรีรวิทยาและจุลชีววิทยา
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตามลำดับ
การศึกษานี้ได้พบสารใหม่ประเภท Arylbutanoids,
Diarylheptanoids และ Xanthones ที่มี
Anti-inflammatory Activitty สาร seco-Cycloartanes,
Xanthones, Cyclichexapeptides และ
Flavonoids มี Cytotoxic Activity ที่ดีมาก
นอกจากนี้ยังพบว่าสาร Flavonoid, Caged
Xanthone และ Cyclichexapeptide มี
Antitumor Activity ในสัตว์ทดลองสารเหล่านี้
มีศักยภาพที่จะเป็นสารโครงสร้างนำ (Lead
Structures) ในการพัฒนาเป็นสารรักษาโรคมะเร็ง
สารใหม่ประเภท Pyranonaphthoquinones
และ Cycloartane Derivatives แสดงฤทธิ์ที่ดีในการฆ่าเชื้อโรค
AIDS (MC99) และมีศักยภาพที่ดีจะพัฒนาต่อเป็นยารักษาโรค
AIDS สาร Pyranonaphthoquinone 1 ชนิดที่มี
Anti-HIV Activity ได้ผ่านการศึกษาทางด้านพิษวิทยา
(Preclinical Toxicology) และผลเป็นที่น่าพอใจ
จากการศึกษาอย่างต่อเนื่องพบว่าสาร
Triptolide ซึ่งมี Male Antifertility
Activity นั้นเป็นสารที่ Non-mutagenic
จากการทำ Mutagenicity Assay ภายใต้สภาพ
GLP การวิจัยสารนี้ในลิง Marmoset ตัวผู้พบว่า
สาร Triptolide สามารถทำให้ลิง Marmoset
เป็นหมันแบบชั่วคราว (Reversible) จำนวน
Sperm ของลิง Marmoset เพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับเหมือนก่อน
Treatment หลังจากที่หยุดการให้สาร
Triptolide 6 อาทิตย์ เท่าที่ได้ศึกษามาจนถึงขณะนี้
ไม่พบความเป็นพิษของสารนี้ต่อสัตว์ทดลอง
นับได้ว่าสาร Triptolide เป็นสารตัวแรกที่มีฤทธิ์
Male Antifertility ที่ได้ผ่านการทดสอบทาง
Preclinical Toxicology และการศึกษาฤทธิ์ใน
Primate ได้เป็นที่น่าพอใจ บางส่วนของงานวิจัยนี้
ได้ถูกนำไปเผยแพร่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์
BBC World ผ่านดาวเทียม ในรายการ Tomorrow's
World: Vision of the Future เมื่อเดือนเมษายน
ปี 2540
เนื่องด้วย ศาสตราจารย์
ดร.วิชัย ริ้วตระกูล เป็นผู้ทุ่มเทให้กับการเรียนการสอนและการวิจัย
ทางด้านอินทรีย์เคมีอย่างต่อเนื่องและจริงจัง
จึงเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางทั้งในและต่างประเทศ
ดังจะเห็นได้จากการได้รับรางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ของมูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย
ประเภทบุคคล ประจำปี 2538 ได้รับเลือกให้เป็นเมธีวิจัยอาวุโส
สกว. ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2539
เป็นหัวหน้าผู้ประสานงานเครือข่ายโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก
ของ สกว. เพื่อจัดกิจกรรมเสริมการเรียนการสอนและการวิจัยในระดับปริญญาเอก
เพื่อให้ได้บัณฑิตที่มีคุณภาพระดับนานาชาติ
เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสถาบันการศึกษาหลายแห่ง
ในด้านต่างประเทศได้รับเชิญให้เป็นทั้ง
Invited, Plenary และ Seminar Speakers
อยู่อย่างสม่ำเสมอ นอกเหนือจากที่ได้กล่าวถึงข้างต้นแล้ว
ยังได้รับเชิญเป็น Invited Speaker
ของการประชุม Singapore International
Chemical Conference (SICC-2) "Frontiers
in Chemical Design and Synthesis"
December 2544, Singapore ได้รับเชิญให้บรรยายสัมมนา
อาทิเช่น ที่ Humbolt-Univesitat zu
Berlin, March 2542, Germany; University
of Uppsala, March 2542, Sweden; Finn
Sandberg Symposium, Univesity of Wisconsin,
Madison, Department of Chemistry and
Wisconsin Regional Primate Research
Center, U.S.A., January 2545 จนถึงขณะนี้
ศาสตราจารย์ ดร.วิชัย ริ้วตระกูล ยังผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณค่าอย่างต่อเนื่อง
เป็นนักวิจัยอาวุโสที่เป็นแบบอย่าง
ของนักวิจัยรุ่นใหม่ๆ ในวงการวิทยาศาสตร์ของประเทศ
จากหนังสือ เมธีวิจัยอาวุโส สกว.
2545. TRF Senior Research Scholar
2002.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
[ISBN 974-7206-07-5] หน้า 68-70 |