logo

Mahidol Science Environment & Sustainability Award

นายศิรชัย อรุณรักษ์ติชัย

เป็นช่างภาพสารคดีอิสระที่เน้นงานด้านประเด็นอนุรักษ์ทางทะเล ศิรชัยได้รับการศึกษาปริญญาตรีจากวิทยาลัยนานาชาติมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาสิ่งแวดล้อม (นิเวศวิทยา) ก่อนที่จะไปทำงานฟื้นฟูและวิจัยแนวปะการังร่วมกับกลุ่มชุมชนที่เกาะเต่าเป็นเวลาสามปี หลังจากนั้นศิรชัยได้ศึกษาปริญญาโทต่อที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ สาขานิเวศวิทยา (หลักสูตรนานาชาติ) ศึกษาเรื่องการประมงปลาฉลามและฝึกงานกับทาง CSIRO องค์การวิจัยวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมแห่งเครือจักรภพ ของออสเตรเลีย และตีพิมพ์งานวิจัยออกมาสองชิ้นในเรื่องของปลาฉลามในทะเลอันดามัน ระหว่างนั้นศิรชัยก็เริ่มงานในฐานช่างภาพอิสระกับทางนิตยสาร National Geographic (ฉบับภาษาไทย) ด้วยการถ่ายทำเรื่องภัยคุกคามต่อปลาฉลามในทะเลไทยเป็นเรื่องแรกก่อนที่จะถ่ายงานออกมาอีกสี่เรื่องกับนิตยสารเล่มนี้ในเวลาต่อมา ในปี 2016 ศิรชัยได้รับทุนช่างภาพสิ่งแวดล้อมจากมูลนิธิ Save Our Seas Foundation หลังจากนั้นศิรชัยก็ถูกคัดเลือกให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของ International League of Conservation Photographers สมาพันธ์นานาชาติของช่างภาพอนุรักษ์ และเป็นหนึ่งในผู้พูดในงาน TEDx Bangkok ในปี 2017 จากนั้นก็เป็นหนึ่งในช่างภาพที่ถูกคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ 6x6 Global Talent ของสมาคม World Press Photo ในปี 2018 และเป็นหนึ่งใน 30 ช่างภาพที่ถูกเลือกเข้าลิสต์ช่างภาพที่ควรจับตามองของ Photo District News และได้รับทุนนักสำรวจรุ่นใหม่ของสมาคม National Geographic Society ในปี 2019 และได้รับทุนสื่อมวลชนในการทำงานเรื่องประเด็น COVID-19 จากสมาคม National Geographic Society ต่อมาในปี 2020. ศิรชัยได้ทำงานสารคดีร่วมกับองค์กรสิ่งแวดล้อมหลายองค์กรเช่น IUCN, Save Our Seas Foundation, WildAid, Greennpeace, Oxfam และอื่นๆรวมถึงหน่วยงานของไทยเช่น กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และยังทำงานในฐานะช่างภาพสื่อมวลชนให้ Getty Images ปัจจุบันผลงานภาพถ่ายของศิรชัยถูกตีพิมพ์ลงสื่อนานาชาติหลายชิ้นรวมถึง National Geographic, Smithsonian, The Washington Post, The New York Times, The Guardian, Times Magazine และมีรางวัลภาพถ่ายระดับนานาชาติมากว่า 20 รางวัลรวมถึง The Big Picture Natural World Photography Competition ของ California Academy of Science และ Pictures of the Year International ของสถาบัน Donald W. Reynolds Journalism Institute ของ the University of Missouri School of Journalism

จุดเริ่มต้นหรือแรงบันดาลใจในการใช้วิทยาศาสตร์เพื่อสิ่งแวดล้อม

ผมเชื่อว่าภาพถ่ายมีพลังในการสื่อสารที่สามารถช่วยให้เรื่องประเด็นสิ่งแวดล้อมหรืองานอนุรักษ์เข้าถึงผู้คนทั่วได้มากขึ้น เป็นสื่อกลางในการเล่าเรื่องที่สามารถข้ามกำแพงของภาษาและนอกจากการให้ข้อมูลภาพถ่ายยังสามารถปลุกสะกิดความรู้สึกและอารมณ์ของผู้ได้รับชมภาพถ่ายได้ ผมต้องการสื่อสารกับผู้คนในวงกว้างถึงเรื่องราวสิ่งแวดล้อมทางทะเลจึงเปลี่ยนเส้นทางอาชีพจากงานวิทยาศาสตร์มาสู่งานภาพถ่ายสารคดีในที่สุด….

รายละเอียด และจุดเด่นของผลงาน

ผลงานที่คัดเลือกมาบางส่วนนี้เป็นสารคดีภาพประเด็นอนุรักษ์ทางทะเลที่สอดคล้องกับ SDG 14 ทุกชิ้น

ปี 2016 สารคดีภาพ “ฉลาม นักล่าสิ้นลาย” ลงนิตยสาร National Geographic ฉบับภาษาไทย เป็นงานสารคดีภาพเกี่ยวกับภัยคุกคามและประเด็นอนุรักษ์ของปลาฉลามที่กำลังลดจำนวนอย่างมากจากท้องทะเลไทยภาพและเรื่องโดย ศิรชัย อรุณรักษ์ติชับ

ปี 2016 สารคดีภาพ “อันดามัน กำลังป่วย” ลงนิตยสาร National Geographic ฉบับภาษาไทย เป็นงานสารคดีภาพเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงต่อทะเลและชายฝั่งอันดามันของประเทศไทยที่ทรัพยากรชายฝั่งและทะเลเสื่อมโทรมลง ภาพโดย ศิรชัย อรุณรักษ์ติชัย และเริงฤทธ์ คงเมือง เรื่องโดยบำเพ็ญ ไชยรักษ์

ปี 2016 สารคดีภาพ “Islands in the Stream” ลงนิตยสาร Save Our Seas ของ Save Our Seas Foundation เป็นงานสารคดีเกี่ยวกับภัยคุกคามต่อระบบนิเวศป่าโกงกางที่สมบูรณ์ของเกาะบิมินี่ ประเทศบาฮามาส และการทำงานของนักวิจัยที่ แลปปลาฉลามบิมินี่ ที่ทำโครงการศึกษาปลาฉลามที่เกาะแห่งนี้มาหลายสิบปีและมีบทบาทสำคัญในการผลักดันการคุ้มครองปลาฉลามในน่านน้ำแอตแลนติคเหนือ ภาพโดย ศิรชัย อรุณรักษ์ติชัย เรื่องโดย Philippa Erhlich

ปี 2017 สารคดีภาพ “ทางแพร่งของปากบารา” ลงนิตยสาร National Geographic ฉบับภาษาไทย เป็นงานสารคดีภาพเกี่ยวกับระบบนิเวศทางทะเลวิถีชีวิตของชุมชนชายฝั่งที่ถูกคุกคามจากแผนการสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา ที่จังหวัดสตูล ภาพ โดยศิรชัย อรุณรักษ์ติชัย เรื่องโดย ศักดิ์อนันด์ ปลาทอง

ปี 2017 ภาพประกอบรายงาน “Shark Fins Demand in Thailand” ขององค์กร WildAid เป็นงานภาพถ่ายใช้ประกอบรายงานจากการเก็บข้อมูลเรื่องการบริโภคหูฉลามในประเทศไทย ภาพโดย ศิรชัย อรุณรักษ์ติชัย รายงานโดย WildAid

ปี 2018 สารคดีภาพ “บันทึกภาคสนามนักอนุรักษ์: ฉลาม นักล่าผู้ตกเป็นเหยื่อ” ลงเว็บไซท์ National Geographic ฉบับภาษาไทย เป็นงานสารคดีภาพสั้นออนไลน์เพื่อให้ข้อมูลเร่งด่วนเกี่ยวกับภัยคุกคามของปลาฉลามในน่านน้ำไทย ภาพโดย ศิรชัย อรุณรักษ์ติชัย เรื่องโดย ดร. เพชรร มโนปวิตร

ปี 2018 สารคดีภาพ “พื้นที่คุ้มครองทางทะเล ความหวังสุดท้ายของทะเลไทย ลงนิตยสาร National Geographic ฉบับ ภาษาไทย เป็นสารคดีภาพเกี่ยวกับความสำคัญของพื้นที่คุ้มครองทางทะเลในการบริหารจัดการทรัพยากรชายฝั่งของไทยที่สำคัญต่อการฟื้นตัวของน่านน้ำสองฝั่งไทย ภาพโดย ศิรชัย อรุณรักษ์ติชัย เรื่องโดย ดร. เพชร มโนปวิตร

ปี 2018 สารคดีภาพ “บันทึกภาคสนามนักอนุรักษ์: ชะตากรรมบนเส้นด้ายของปลาโรนัน” ลงเว็บไซท์ National Geographic ฉบับภาษาไทย เป็นงานสารคดีสั้นออนไลน์เพื่อให้ข้อมูลเร่งด่วน เกี่ยวกับปลาโรนันที่ประชากรถูกคุกคามอย่างหนักจากการประมงเกินขนาด ภาพโดย ศิรชัย อรุณรักษ์ติชัย เรื่องโดย ดร. เพชร มโนปวิตร

ปี 2018 สารคดีภาพ “อ่าวมาหยา กับความงามที่เลือนหาย” ลงเว็บไซท์ National Geographic ฉบับภาษาไทย เป็นงานสารคดีสั้นออนไลน์เพื่อให้ข้อมูลเรื่องด่วน เกี่ยวกับอ่าวมาหยาที่นักท่องเที่ยวหนาแน่นจนเกินขนาดไปอย่างมาก ก่อนที่จะโดนปิดอ่าวในเวลาใกล้เคียงถัดมาหลังตีพิมพ์ ภาพโดย ศิรชัย อรุณรักษ์ติชัย เรื่องโดยกองบรรณาธิการ

ปี 2019 สารคดีภาพ “บันทึกภาคสนามนักอนุรักษ์: เต่ามะเฟือง” ลงเว็บไซท์ National Geographic ฉบับภาษาไทย เป็นงานสารคดีสั้นออนไลน์เพื่อให้ข้อมูลเร่งด่วนเกี่ยวกับการกลับมาวางไข่อีกครั้งของเต่ามะเฟือง ภาพโดย ศิรชัย อรุณรักษ์ติชัย เรื่องโดย ดร. เพชร มโนปวิตร

ปี 2019 สารคดีภาพ “ปลากระเบน ในทุกวันนี้ยังสบายดีอยู่หรือไม่” ลงเว็บไซท์ National Geographic ฉบับภาษาไทย เป็นสารคดีสั้นออนไลน์เพื่อให้ข้อมูลเร่งด่วน เกี่ยวกับสถานะภาพการถูกคุกคามของปลากระเบนหลังจากมีประเด็นเรื่องปลากระเบนนกในรายการทำอาหาร ภาพโดย ศิรชัย อรุณรักษ์ติชัย เรื่องโดย กองบรรณาธิการ

ปี 2019 สารคดีภาพ “บันทึกภาคสนามนักอนุรักษ์: มาเรียม : ดุหยงน้อยสู่ความหวังพะยูนไทย” ลงเว็บไซท์ National Geographic ฉบับภาษาไทย เป็นสารคดีสั้นที่ถ่ายทอดการทำงานของทีมสัตวแพทย์ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งร่วมกับกลุ่มชุมชนในการดูแล “มาเรียม” พะยูนวัยเด็กกำพร้าแม่ที่ถูกช่วยเหลือจากการเกยตื้นและถูกเลี้ยงดูแลในธรรมชาติ ภาพโดย ศิรชัย อรุณรักษ์ติชัย เรื่องโดย ดร. เพชร มโนปวิตร

ปี 2019 ภาพประกอบรายงาน “ความตายของวาฬหัวทุย” ขององค์กร Greenpeace เป็นภาพประกอบรายงานสั้นถึงกรณีการพบซากวาฬหัวทุยที่เกาะลันตา จังหวัดกระบี่ที่พบเศษขยะพลาสติคอุดตันในทางเดินอาหารจากการผ่าพิสูจน์ซากโดยสัตวแพทย์ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ภาพโดย ศิรชัย อรุณรักษ์ติชัย รายงานโดย Greenpeace

ปี 2019 สารคดีภาพ “The Ray the World Forgot” ลงนิตยสาร Save Our Seas ของ Save Our Seas Foundation เป็นสารคดีภาพเกี่ยวกับ ปลาโรนัน และ โรนินวงศ์ Rhinidae ที่ถูกจัดเป็นปลากลุ่มหนึ่งที่ถูกคุกคามมากที่สุดในโลกและภัยคุกคามของพวกมันในยุคปัจจุบัน เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเรื่องปลากลุ่มนี้ก่อนงาน CITES ภาพโดย ศิรชัย อรุณรักษ์ติชัย คำบรรยายโดย Dr. William T. White


ปี 2565

ปี 2564