logo

Mahidol Science Environment & Sustainability Award

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์ชัย ดำรงโรจน์วัฒนา

สังกัด ภาควิชา ชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตำแหน่งการทำงานในปัจจุบัน

- รองหัวหน้าภาควิชาชีววิทยา ฝ่ายวิชาการ

- กรรมการบริหารหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต สาขาสัตววิทยา

- กรรมการบริหารหลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ

เกียรติประวัติ

- รางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติ อาจารย์ด้านการเรียนการสอน ระดับดีเด่น กองทุนกาญจนาภิเษกเฉลิมพระเกย ประจำปี 2562 (สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพกับวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

- Best Oral Presentation Award: The 8th International ThaiSim Conference: Power of games, simulations, and debriefing to teach more in less time. 28-29 July 2016, Sripatum University Chonburi Campus, Chonburi, Thailand
สาขาที่เชี่ยวชาญ นิเวศวิทยา การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
สาขาที่สนใจสารสนเทศภูมิศาสตร์ การใช้แบบจำลองเชิงบูรณาการ
ผลงานวิชาการ มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติและระดับชาติ บทความในหนังสอ โดยเป็นผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับนิเวศวิทยาและสื่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ อย่างมีส่วนร่วม การใช้เกมและสถานการณ์จำลอง โดยเป็นงานวิจัยที่ได้ทำร่วมกับนิสิตและชุมชน

จุดเริ่มต้นหรือแรงบันดาลใจในการใช้วิทยาศาสตร์เพื่อสิ่งแวดล้อม

ข้าพเจ้าได้มีโอกาสศึกษาในภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ และได้ทำโครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับปริญญาตรีเกี่ยวกับชีววิทยาการสืบพันธุ์ของนกชาปีไหน ภายใต้การให้คำปรึกษาโดยรองศาสตราจารย์วีณา เมฆวิชัย และได้ร่วมกับอาจารย์ในการออกภาคสนามในพื้นที่ป่าต่าง ๆ ในประเทศไทย ทำใหได้เรียนรู้ว่าระบบนิเวศและ สิ่งแวดล้อมของประเทศเริ่มมีความเสื่อมโทรมและจำเป็นต้องใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะด้านนิเวศวิทยาใน ระดับต่าง ๆ เข้ามาช่วย ซึ่งข้าพเจ้าคิดว่าความรู้ในระดับปริญญาตรีที่เกี่ยวกับนิเวศวิทยาประชากรยังไม่เพียงพอใน การแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงได้มีความสนใจศึกษาต่อในด้านนิเวศวิทยาระบบนิเวศและ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทำให้ในระดับปริญญาโท ข้าพเจ้าได้ทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการรบกวนพื้นที่ป่า การสะสม ธาตุคาร์บอนในระบบนิเวศป่าไม้และการทำฐานข้อมูลต้นไม้ โดยได้รับคำแนะนำจากรองศาสตราจารย์ ดร.นันทนา คชเสนี และ รองศาสตราจารย์ ดร.จิรากรณ์ คชเสนี ในด่านที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สมบัติ อยู่เมือง (ภาควิชาธรณีวิทยา) และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยะกาญจน์ เที้ยธิทรัพย์ (คณะสิ่งแวดล้อมและ ทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล) ในด่านที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ซึ่งทำให้ตระหนักถึงงานวิจัย ด่านข้อมูลมากขึ้น และในระหว่างนั้นเองข้าพเจ้ได้มีโอกาสทำงานร่วมกับเครือข่าย Wetland University Network ซึ่งเน้นงานด้านการสร้างเครือข่ายการอนุรักษ์และจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ จึงมีความรู้ที่เกี่ยวข้องระบบนิเวศมากขึ้นและ ตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลในงานวิทยาศาสตร์และการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ

แต่อย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้าพบว่าในการทำงานป่าไม้นั้น ยังมีกลุ่มชาวบ้านที่มีความจำเป็นต้องใช้ประโยชน์จาก ทรัพยากรป่าไม้อยู่ และมีความพยายามในการอนุรักษ์ป่าผ่านป่าชุมชน จึงเริ่มสนใจงานวิจัยในมิติที่เกี่ยวข้องกับทาง สังคมและเศรษฐกิจมากขึ้น และมีความเข้าใจมากขึ้นว่าการอนุรักษ์และการจัดการระบบนิเวศให้ประสบความสำเร็จ ได้นั้นไม่สามารถใช้ความรู้ด่านวิทยาศาสตร์เพียงอย่างเดียวได้ จำเป็นต้องเข้าใจความต้องการของผู้ใช้ทรัพยากร และ นักวิทยาศาสตร์ต้องสื่อสารกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่าง ๆ ด้วย ทั้งนี้ ช่วงใกล้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ทางภาควิชาชีววิทยาได้มีโครงการวิจัยร่วมกับสถาบัน CIRAD ประเทศฝรั่งเศส เกี่ยวกับการใช่แบบจำลองเชิงบูรณาการ (วิทยาศาสตร์และเศรษฐกิจ-สังคม) ภายใต้แนวคิดแบบจำลองเพื่อนคู่คิด (Companion Modelling Approach) ซึ่งเป็นการใช้แบบจำลองเพื่อการเรียนรู้ (learning model) เพื่อแก้ปัญหาทรัพย์สินร่วม ซึ่งจากการเข้าร่วมออก ภาคสนามในร่วมกับโครงการดังกล่าว ทำให้ข้าพเจ้ามีความสนใจในการใช้แบบจำลองดังกล่าวมากขึ้น โดยพบว่า สามารถใช้เป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้มีส่วนกลุ่มต่าง ๆ ทำความเข้าใจพลวัตของระบบนิเวศ และ เศรษฐกิจ สังคม ซึ่งนำไปสู่การสร้างความเข้าใจร่วมกันและหาแนวทางการจัดการทรัพยากรธรรมชาติแบบมีส่วนร่วม

ดังนั้น ในระดับปริญญาเอก ข้าพเจ้าจึงได้ทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการใช้แบบจำลองเชิงบูรณาการในการแก้ปัญหา ความขัดแย้งด่านการใช้ที่ดินเพื่อการทำการเกษตรและเลี้ยงวัว และการปลูกป่าต้นน้ำ ระหว่างเกษตรกรชาวเขาเผ่าม้ง บ้านดอยติ้ว กับเจ้าหน้าที่ปลูกป่าจากหน่วยจัดการต้นน้ำน้ำคางและเจ้าหน้าที่อุทยานแห้งชาตินันทบุรี อ.ท่าวังผา จ. น่าน ซึ่งพบว่าสามารถนำไปสู่การลดข้อขัดแย้งลงได้และมีแนวทางการอนุรักษ์พื้นที่รูปแบบใหม่เกิดขึ้น ซึ่งทำให้รู้สึก ดีใจเป็นอย่างมากที่ตัวเองมีส่วนร่วมในการคลี่คลายปัญหาระบบนิเวศและสังคม จึงตั้งใจว่าจะใช้แบบจำลองนี้ต่อไป นอกจากนี้ ช่วงท้ายของการศึกษาระดับปริญญาเอก ข้าพเจ้าได้มีโอกาสรู้จักกับรองศาสตราจารย์ ดร.ทรงศรี สรณสถาพร (คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล) ผ่านการประชุมวิชาการที่เกี่ยวข้องกับเกมและสถานการณ์จำลอง (Gaming and Simulation) ซึ่งอาจารย์มีความเชี่ยวชาญด่านการใช้เกมเพื่อการเรียนรู้ ทำให้ข้าพเจ้าได้เป็ดโลกทัศน์ ว่าเราสามารถประยุกต์ใช้แบบจำลองเพื่อนคู่คิดที่เรียนมานี้ มาสร้างเกมที่เกี่ยวข้องกับทางนิเวศวิทยา/ชีววิทยาอย่าง ง่าย เพื่อใชในการเรียนการสอนและพัฒนาศักยภาพของเยาวชนและส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ช่วงนั้น คำว่า “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” เริ่มใช้มากขึ้นในสังคมไทย) และท่านอาจารย์ทรงศรีจึงได้ชวนให้ร่วมก่อตั้งสมาคมเกมและ สถานการณจำลองเพื่อการเรียนรู้แห่งประเทศไทย (Thai Simulation and Gaming Association: ThaiSim) และ ร่วมดำเนินกิจกรรมวิชาการต่าง ๆ เช่น การจัดประชุมและการทำวารสาร เป็นต้น หากกล่าวโดยสรุป แรงบันดาลใจในการใช้วิทยาศาสตร์เพื่อสิ่งแวดล้อมของข้าพเจ้านั้น เกิดจากการที่มี แบบอย่างที่ดีทั้งในระดับปริญญาตรี โทและเอก (ทั้งอาจารย์จากภาควิชาชีววิทยาและอาจารย์ที่ปรึกษาจากประเทศ ฝรั่งเศส ซึ่งยังคงร่วมสรรค์สร้างบทความวิชาการร่วมกันจนถึงปัจจุบัน) และการได้รับการสนับสนุนด่านวิชาการจาก อาจารย์หลาย ๆ ท่านจากหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งข้าพเจ้าได้นำเอาคำสอนของทุกท่านมา เป็นแนวทางและกำลังใจในการสอนนิสิต ทำวิจัย และจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ของเยาวชนในพื้นที่ต่าง ๆ ของ ประเทศ ในด้านนิเวศวิทยาและการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสงิ่ แวดล้อม โดยได้ดำเนินการควบคู่กัน ทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย


ปี 2565

ปี 2564