logo

Mahidol Science Innovative Educator Award

รองศาสตราจารย์ ดร.วรากร  ลิ่มบุตร

ตำแหน่งทางวิชาการ : รองศาสตราจารย์ ตั้งแต่ 23 มกราคม 2562 ถึงปัจจุบัน

ตำแหน่งการบริหาร : รองผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยความเป็นเลิศด้านการวิเคราะห์สารปริมาณน้อยและไบโอเซนเซอร์ (Center of Excellence for Trace Analysis and Biosensor) สังกัด มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2561 ถึง ปัจจุบัน

การศึกษา

Ph.D. Chemistry, Prince of Songkla University Thailand, 2007
M.Sc. Chemical analysis, Prince of Songkla University Thailand, 2001
B.Ed. Chemistry, Rajabhat Institute Phuket Thailand, 1997

จุดเริ่มต้นหรือแรงบันดาลใจในการใช้วิทยาศาสตร์เพื่อนวัตกรรมการศึกษา

ต้องการพัฒนารูปแบบและ โมเดลในการสอนทางวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยเหมาะกับผู้เรียนในยุคใหม่ GenZ ทำให้ผู้เรียนสนุกผ่านการฝึกทักษะการ คิดที่เชื่อมโยงความรู้ใน 4 สหวิทยาการทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (STEM Education) ผ่านการสอนแบบ Problem based และการสอน Project based จากสถานการณ์จริง ทำให้นักศึกษาเข้าใจ ในเนื้อหาได้ง่ายขึ้น ตลอดจนสามารถร่วมกันอภิปราย วิเคราะห์ และวิจารณ์ถึงเหตุและผลที่เกิดขึ้น ทำให้นักศึกษาสามารถนำ ประสบการณ์นี้ไปประยุกต์ใช้ในอนาคตได้ ดังนั้นจึงมีความมุ่งมั่นและตั้งใจในการเตรียมการสอน และการสร้างสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นนวัตกรรมทางการศึกษา มากว่า 23 ผลงาน ที่ซึ่งนำมาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนที่สอดคล้องและ เหมาะสมแก่เด็กนักศึกษายุค GenZ ที่เป็นแบบกระตุ้นผู้เรียนในห้องเรียนในรายวิชาต่างๆ ดังนี้

  • รายวิชา 340-331 ชีวเคมีไฟฟ้าเบื้องต้น (BIOELECTROCHEMISTRY)
  • รายวิชา 340-341 นิติเคมีไฟฟ้าเบื้องต้น (INTRODUCTION TO FORENSIC ELECTROCHEMISTRY)
  • รายวิชา 340-213 วิทยาศาสตร์อุตสาหกรรมการชุบโลหะ (METAL PLATING INDUSTRIAL SCIENCE)
  • รายวิชา 340-312 เซนเซอร์ไฟฟ้าเคมีสำหรับสิ่งแวดล้อม (ELECTROCHEMICAL SENSORS FOR ENVIRONMENT)
  • รายวิชา 324-544 เคมิคัลเซนเซอร์และไบโอเซนเซอร์ (CHEMICAL SENSORS AND BIOSENSORS)
  • รายวิชา 309-151 นิติเคมีไฟฟ้า (FORENSIC ELECTROCHEMISTRY)

จากการสอนโดยใช้วิธีการที่หลากหลายและใช้เทคโนโลยีการสอนที่เหมาะสม โดยนำเอาผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่ คิดค้นขึ้นมาใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอน จากการสอนด้วยวิธีดังกล่าวในปีที่ผ่านมาพบว่าทำให้นักศึกษาเกิดแรง กระตุ้น เกิดความอยากรู้ เกิดแรงผลักดัน และแรงบัลดาลใจในการเรียนให้สนุก โดยจากการสังเกตพบว่าระหว่างการ เรียนการสอนเมื่อมีการนำสื่อการเรียนการสอนที่ประดิษฐ์ขึ้นมาใช้สอน นักศึกษาทุกคนจะรู้สึกตื่นเต้น และให้ความ สนใจ เพราะหลังจากเรียนทฤษฎีเสร็จก็จะใช้สื่อดังกล่าวให้เห็นถึงหลักการทำงานทำให้นักศึกษาเข้าใจได้ดีกว่าเดิม และที่สำคัญสังเกตว่าระหว่างการใช้สื่อนักศึกษาส่วนใหญ่อยากรู้และคอยถามเสมอว่า อาจารย์คิดประสิ่งสื่อเหล่านี้มา ได้อย่างไร มีแนวคิดอย่างไร และมีแรงบันดาลใจมากจากไหนซึ่งถึงได้ว่าเป็นความภูมิใจอย่างหนึ่งที่สามารถเป็น แบบอย่างที่ดีแก่นักศึกษา และสิ่งที่สำคัญที่จำเป็นต้องทำประจำทุกปีคือ แต่ละปีการศึกษาได้มีการนำข้อเสนอแนะที่ ได้จากนักศึกษาแต่ละรุ่นมาปรับปรุงแผนการสอนให้ตรงกับความต้องการและทันสมัยอยู่เสมอตามหลัก PDCA เพื่อให้ บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแต่รายวิชา

นอกจากนี้ยังมีบทบาทด้านการสอนระดับนานาชาติ โดยที่ผ่านมา รศ.ดร.วรากร ลิ่มบุตร ได้เป็นตัวแทนจาก คณะวิทยาศาสตร์ ในการเป็นอาจารย์พิเศษที่ Yogyakarta State University ประเทศอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 15- 20 พ.ค. 2559 โดยได้นำสิ่งประดิษฐ์ที่ใช้เป็นสื่อประกอบการสอนในรายวิชาเคมีไฟฟ้าให้แก่นักศึกษาในชั้นเรียน นักศึกษาให้ความสนใจมาก จนได้รับความชื่นชมเป็นอย่างมากจาก Yogyakarta State University ดังแสดงในขอ ความที่ Prof.De. Kristian ส่งมาให้กับผู้ช่วยคณบดี คณะวิทยาศาสตร์

Dear prof Nararak

As keynote speech Mr. Limbut presentation was very very tremendous. He got a lot of applous not only at the beginning but also at the mid as well as at the last. He got many participants to ask and then have pothograph. For guest lecturing all students so engaged in the activity of demonstrating in front of class. In short we are all satisfied his performance. Thanks for allowing him to do so at myuniv.Best wishes Prof.De. Kristian.”

นอกจากนี้ทาง Yogyakarta State University ได้นำเสนอข้อมูลการไปนำเสนองานและการไปเป็นอาจารย์ พิเศษใน WebPage ของ Yogyakarta State University โดยมีรายละเอียดดังนี้

“Guest Lecture from Prince of Songkla University (PSU), Thailand On May 16th to 20th, 2016, Department of Chemistry Education YSU accepted guest lecturers from The Prince of Songkla University, Prof. Dr.Warakorn Limbut. The main objective of the Guest lecturing program was to increase the motivation of the participants to grow towards an international level. Also, it is expected that there will be a cooperation or joint research and sharing information about the recent developments of chemistry. On this occasion, Prof. Dr. Warakorn Limbut delivered a big topic of the Invention of electrochemistry Apparatus for Chemistry Classroom. The topic was divided into specific sub-topics, namely:
1. Electrolysis of Water: Experimental Principle + Design and Fabrication an Electrolyte Hydrogen Generator
2. Electroless Plating of Silver: Principle + Experimental + Design and Fabrication a Mirror Glass
3. Electroless Plating of Silver: Principle + Experimental + Design and Fabrication a Gold Electroplating Pen
In each session, all participants (both students and faculty) were very enthusiastic about the event. An active and interesting discussions happen every session. At the end of the activity, Prof. Dr. Warakorn Limbut donated electroplating equipment which is especially brought from Thailand to be used as a learning tool for chemistry students who pursue these fields.”

อีกทั้งได้มอบสื่อการเรียนการสอนทางเคมีไฟฟ้าที่เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นเองให้แก่ Yogyakarta State University ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอบกับนักศึกษารุ่นต่อไป ซึ่งถือได้ว่าเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีโดยมีการใช้ การศึกษาเป็นตัวเชื่อมโยง อีกทั้งยังเป็นการประชาสัมพันธ์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์อย่างดี ส่งผลให้มีนักศึกษาจาก Yogyakarta State University ตามมาศึกษาต่อทั้งในกรณีที่เป็นนักศึกษาแลกเปลี่ยนใน ระดับปริญญาตรี และมาเรียนต่อทั้งในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ซึ่งเป็นอีกเหตุผล ที่เป็นตัวบ่งชี้ถึง ความสามารถและสมรรถนะอาจารย์ในการจัดการเรียนการสอนของ รศ.ดร.วรากร ลิ่มบุตร จากความมุ่งมั่นอุทิศตนเพื่อการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง โดยทำงานด้วยความศรัทธาในงานของตนเอง กระตือรือร้น ขยันหมั่นเพียร มีความรับผิดชอบ และมีความอดทนไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค อีกทั้งมีความซื่อสัตย์สุจริตทั้ง ต่อตนเองและผู้อื่น ปฏิบัติตนชอบด้วยคุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม มีจรรยาบรรณและเป็นที่ยอมรับของบุคคลในส่วน ราชการและสังคม จนได้รับรางวัลที่ เป็ นเกียรติอย่างยิ่งและเป็ นมงคลในชีวิตของความเป็นครูในรั่ว มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นั้นคือ
1. รางวัลครูวิทยาศาสตร์ดีเด่น ระดับอุดมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2558 โดยเข้ารับพระราชทานรางวัล โล่ เกียรติยศ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานประชุมวิทยาการวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยครั้งที่ 41 วันที่ 6 พฤศจิกายน 2558 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
2. รางวัลอาจารย์ตัวอย่างรุ่นใหม่ดีเด่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประจำปี 2558 เข้ารับพระราชทาน รางวัลโล่เกียรติยศจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
3. รางวัลบุคลากรดีเด่นมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประจำปี 2557 เข้ารับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติคุณ และโล่เกียรติคุณ นอกจากนี้ ผศ.ดร.วรากร ลิ่มบุตร
4.รางวัลอาจารย์ดีเด่นด้านการเรียนการสอน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประจำปี 2560
5. รางวัลอาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ พ.ศ. 2561 สาขาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี (ปอมท.) โดยเข้ารับโล่รางวัล เกียรติยศ โนการประชุมวิชาการประจำปีของที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศ ไทย ในวันพุธที่ 21 พฤศจิกายน 2561 ณ หอดนตรีและศิลปะการแสดงอโศกมนตรี อาคารนวัตกรรม : ศาสตาจารย์ ดร.สาโรจ บัวศรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กรุงเทพมหานคร
6. อาจารย์ตัวอย่างด้านการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประจำปี 2561 โดยเข้ารับ พระราชทานรางวัลโล่เกียรติยศ ในงานพระราชทานปริญญาบัตร แก่ผู้สำเ ร็จการศึกษาจาก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประจำปี 2560 ในวันที่ 22 กันยายน 2561
7. อาจารย์อันเป็นที่รัก ชื่นชนและศรัทธา ประจำปีการศึกษา 2554, 2555, 2556, 2557, 2558 และ 2559, 2562, และ 2563 อย่างต่อเนื่อง
8. และรางวัลอื่นๆ ด้านการสอน และด้านวิชาการอีกมากมายรวมกว่า 78 รางวัลในแสดงในรายละเอียดที่ ให้ไว้ในหัวข้อเกียรติประวัติ


ปี 2565

ปี 2564