logo

Mahidol Science Innovative Educator Award

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุฬาลักษณ์  วัฒนานนท์

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ประวัติการศึกษา

พ.ศ. 2553 ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

พ.ศ. 2546 วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

พ.ศ. 2541 บริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ) สาขาวิชาระบบสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

เกียรติประวัติ

• ได้รับรางวัลรางวัลชนะเลิศ สำหรับอาจารย์ผู้นำเสนอรูปแบบการเรียนการสอน Active Learning ดีเด่น กลุ่ม STEM ปี 2562

• ได้รับรางวัลชนะเลิศ จากการประกวดการจัดการความรู้ด้านการเรียนการสอน ระดับคณะ/วิทยาลัย ปี การศึกษา 2561

• ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 2 จากการประกวดการจัดการเรียนการสอนรูปแบบสะเต็มศึกษา 2557

จุดเริ่มต้นหรือแรงบันดาลใจในการใช้วิทยาศาสตร์เพื่อนวัตกรรมการศึกษา

จุดเริ่มต้นหรือแรงบันดาลใจในการใช้วิทยาศาสตร์เพื่อนวัตกรรมการศึกษาของข้าพเจ้า คือ ความท้า ทายที่ต้องการจัดการความไม่สนใจเรียนของนักศึกษาในชั้นเรียน เนื่องจากได้ประสบปัญหาเรื่องความสนใจ ความ ตั้งใจ ความเข้าใจในเนื้อหา ตลอดจนถึงความตั้งใจมาเรียนของนักศึกษาในชั้นเรียน ที่บางครั้งประสบปัญหานักศึกษา ส่งตัวแทนมาเรียนบ้าง หรือแม้กระทั่งมานั่งเรียนในห้องแต่ทำกิจกรรม / งาน หรือการบ้านของรายวิชาอื่น ส่งผลให้ ความสนใจของนักศึกษาต่อรายวิชาที่กำลังสอนนั้นลดลง ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาทฤษฎีหรือปฏิบัติก็ตาม กระทบต่อ กำลังใจและอารมณ์ของอาจารย์ผู้สอนเป็นอย่างมาก นั่นจึงเป็น “สาเหตุและจุดเริ่มต้น” ของการปรับปรุงรูปแบบการ เรียนการสอนและวิธีการสอนของตนเอง ที่ตั้งเป้าหมายว่า “จะต้องทำให้นักศึกษากลุ่มนี้กลับมาสนใจเรียน มีความ เข้าใจ และเข้าชั้นเรียนเพิ่มมากขึ้น”

ดังนั้น จึงเลือกใช้แนวคิดของ สะเต็มศึกษา (STEM Education) เข้ามาเป็นตัวเชื่อมเนื้อหาความรู้ ทางทฤษฎีและแนวคิดของรายวิชา ระบบสื่อประสมและการประยุกต์ใช้งาน เพื่อกระตุ้นกระบวนการคิดทางตรรกะและความเป็นเหตุเป็นผลของนักศึกษาที่ละเรื่องที่สอดคล้องกัน จากนั้นเชื่อมโยงและพิสูจน์ทฤษฎีด้วยการสอดแทรก กิจกรรมเพื่อให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง (Hands-on) อันจะส่งผลให้นักศึกษาได้เกิดการกระตุ้นการเรียนรู้ และ ยกระดับองค์ความรู้ของผู้เรียนที่มีความแตกต่างกันให้สามารถถ่ายทอดและเติมเต็มซึ่งกันและกันได้ เนื่องจากข้าพเจ้า มองว่า ทุกสรรพสิ่งที่อยู่รายล้อมตัวเรา คือ วิทยาศาสตร์ ซึ่งไม่ใช่ความรู้ใหม่แต่เราขาดการใส่ใจและเชื่อมโยงองค์ ความรู้อย่างเป็นระบบ ดังนั้น หากเรานำเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวเรามาอธิบายและสอดแทรกเนื้อหาทฤษฎีของรายวิชานั้น ๆ เข้าไปด้วย จะทำให้มนุษย์เราหรือนักศึกษาเกิดความสนใจมองเห็นถึงความสำคัญของสิ่งที่ต้องเรียนรู้ สามารถนำไป ปรับประยุกต์ใช้ในชีวิต หรือแก้ปัญหาได้อย่างมีเหตุและมีผล อันส่งผลให้นักศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และ สร้างสรรค์ชิ้นงาน (ใบงานรายสัปดาห์) ที่มีคุณภาพและเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตเพิ่มมากขึ้น


ปี 2565

ปี 2564