logo

ภาพข่าวกิจกรรมคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ภาพข่าวและกิจกรรมประจำปี 2559

 

นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล สาขาเคมี ประจำปี 1987 มาบรรยายที่คณะวิทย์ มหิดล

วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ 2559 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท งานวิจัย จัด กิจกรรม Research Forum Professor Jean-Marie LEHN , ISIS, Université de Strasbourg ประเทศฝรั่งเศส นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล สาขาเคมี ประจำปี คศ.1987 เป็นวิทยากรบรรยาย ก่อนเริ่มการบรรยายได้มีการประชุมปรึกษาหารือร่วมกัน โดยมี รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.วิชัย ริ้วตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางเคมี (PERCH-CIC) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนากร โอสถจันทร์ รองคณบดีฝ่ายวิจัย ดร.รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล รองคณบดีฝ่ายสารสนเทศและสื่อสารองค์กร รองศาสตราจารย์ ดร.เอกสิทธิ์ สมสุข ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจกรรมนักศึกษา รองศาสตราจารย์ ดร.ปราณี ภิญโญชีพ หัวหน้าภาควิชาเคมี และคณาจารย์จากภาควิชาเคมี เข้าร่วม

จากนั้นเป็นการบรรยาย ในหัวข้อ Perspectives in Chemistry :Molecular, Supramolecular, Adaptive Chemistry ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข โดยมี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.วิชัย ริ้วตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางเคมี (PERCH-CIC) เป็นประธาน พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนากร โอสถจันทร์ รองคณบดีฝ่ายวิจัย ดร.รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล รองคณบดีฝ่ายสารสนเทศและสื่อสารองค์กร รองศาสตราจารย์ ดร.เอกสิทธิ์ สมสุข ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจกรรมนักศึกษา รองศาสตราจารย์ ดร.ปราณี ภิญโญชีพ หัวหน้าภาควิชาเคมี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. หม่อมราชวงศ์ ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สกล พันธุ์ยิ้ม และคณาจารย์และนักศึกษา เข้าร่วมฟังจำนวน 240 คน และมีการถ่ายทอดสดผ่าน IPTV ด้วย ซึ่ง รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี ภาควิชาเคมี เป็นผู้ดำเนินรายการ และได้ช่วยสรุปข้อมูลให้ดังนี้

"ความรู้เกี่ยวกับเคมีโมเลกุลในปัจจุบัน ทำให้สามารถสร้างโมเลกุลที่ซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการใช้อะตอมต่อเชื่อมด้วยพันธะโควาเลนต์ ศาสตร์ของเคมีซูปราโมเลกุล (supramolecular chemistry) มีจุดประสงค์ในการสร้างระบบทางเคมีที่ซับซ้อนจากส่วนประกอบที่จับตัวกันด้วยแรง ระหว่างโมเลกุลชนิดนอน-โควาเลนต์ โดยอาศัยข้อมูลของโมเลกุลที่อยู่ในโครงร่างหลัก โดย ออกแบบระบบที่สามารถสร้างตัวเองได้ กล่าวคือสามารถเกิดการจัดเรียงตัวอย่างทันทีได้เอง ด้วยส่วนประกอบต่างๆ ที่จัดตัวอย่างจำเพาะ เหมาะสม คล้ายกับระบบที่ถูกตั้งโปรแกรมทางเคมีไว้แล้ว

เคมีของซูปราโมเลกุลจะไม่คงตัว เนื่องจากการเคลื่อนที่และเปลี่ยนแปลงของแรงอันตรกิริยาที่เชื่อมส่วนประกอบต่างๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งก็เป็นหลักการเดียวกันในกรณีของระบบที่ประกอบด้วยพันธะโควาเลนต์ที่สามารถสร้างและสลายกลับไปมาได้ ลักษณะเหล่านี้เองที่ทำให้เกิดการเปลียนแปลงอย่างต่อเนื่องสำหรับการจัดตัวและแลกเปลี่ยนส่วนประกอบต่างๆ ที่อธิบายถึงความรู้ด้าน Constitutional Dynamic Chemistry (CDC) ซึ่งนำมาสู่การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ทางเคมี ศาสตร์นี้ใช้ประโยชน์จากความหลากหลายของส่วนประกอบย่อย ที่ทำให้เกิดความหลากหลายของ ระบบที่ซับซ้อนทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ความรู้นี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับระบบ ทางเคมีที่ปรับและพัฒนาตัวเองได้โดยอาศัยระบบที่มีความซับซ้อนนี้ และนำไปสู่การพัฒนาทางเคมีของวัสดุที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นไป" : J.M.

ถ่ายภาพ : นายนภาศักดิ์ ผลพานิช
เขียนข่าว : นางวริศรา ทาทอง
เว็บมาสเตอร์ : นางสาวอริศรา เฉิดมนูเสถียร