เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2557 เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิด "ศูนย์นวัตกรรมแห่งแรก เพื่อมุ่งใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการสร้างนวัตกรรมที่เน้นคุณภาพแบบยั่งยืน" ร่วมกับ ศาสตราจารย์ ดร. ศกรณ์ มงคลสุข คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของกลุ่มบริษัทไทยยูเนี่ยน และ คุณดวงใจ อัศวจินตจิตร์ รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)
การจัดตั้งศูนย์นวัตกรรม Global Innovation Incubator (GII) มูลค่ากว่า 100 ล้านบาท นี้ มีพื้นที่ใช้สอย 600 ตารางเมตร ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท เป็นความร่วมมือ ระหว่าง คณะวิทยาศาสตร์ และกลุ่มบริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) หรือทียูเอฟ ผู้ผลิตและเจ้าของแบรนด์ชั้นนำปลาทูน่าบรรจุกระป๋องอันดับหนึ่งของโลก ซึ่งเป็นศูนย์ที่จะก่อให้เกิดความร่วมมือด้านงานวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการคิดค้นนวัตกรรมร่วมกับภาคเอกชน ซึ่งจะมีผลอย่างมากทั้งต่อคุณภาพชีวิต ความมั่นคงด้านอาหาร การสร้างงาน เศรษฐกิจ สังคม และความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยมุ่งเน้นการใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ในการสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมที่สำคัญมาอย่างต่อเนื่องในทุกด้าน ส่วนหนึ่งคือการส่งเสริมให้เกิดการศึกษาค้นคว้าแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ ระหว่างนักวิจัยในทุกระดับทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งการให้ความสำคัญต่อการสร้างและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อตอบโจทย์แก้ปัญหาด้านต่างๆ ของทุกภาคส่วน โดยทำหน้าที่เชื่อมโยงทางวิทยาการโภชนาการสมัยใหม่เข้ากับนวัตกรรมการผลิต เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดและอุตสาหกรรมอาหารโลก ในอนาคต
นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของกลุ่มบริษัทไทยยูเนี่ยน กล่าวให้ความเห็นว่า “ปัจจุบัน การสร้างคุณค่านวัตกรรมมีบทบาทสำคัญในการดำเนินธุรกิจให้โดดเด่นและยั่งยืน การคิดค้นพัฒนานวัตกรรมจะช่วยสร้างความสามารถในการแข่งขัน สร้างความแตกต่าง และเพิ่มศักยภาพให้กับอุตสาหกรรมอาหารของโลก ทั้งนี้ศูนย์นวัตกรรมแห่งนี้ถือเป็นการตอบโจทย์หนึ่งในกลยุทธ์หลักของกลุ่มบริษัทไทยยูเนี่ยน ที่ให้ความสำคัญกับการเพิ่มคุณค่าทางนวัตกรรมซึ่งมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการผลักดันการเติบโตของรายได้กลุ่มให้ถึงเป้าหมายที่ 8 พันล้านเหรียญสหรัฐในอีก 6 ปีข้างหน้านี้ และในฐานะที่กลุ่มบริษัทไทยยูเนี่ยน ถือเป็นหนึ่งในผู้ดำเนินธุรกิจอาหารอันดับต้นๆ ของโลกโดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจอาหารทะเล ปลาทูน่าจึงถือเป็นวัตถุดิบที่มีความสำคัญต่อธุรกิจของเราเป็นอย่างมาก และจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผล รวมถึงการเพิ่มมูลค่าให้หมวดหมู่ผลิตภัณฑ์ และสร้างนวัตกรรมความยั่งยืนให้เกิดเป็นรูปธรรมให้กับกลุ่มบริษัทได้อย่างต่อเนื่อง อนึ่งการสร้างคุณค่าทางนวัตกรรมที่สำคัญ จะต้องเน้นไปที่ความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า ผู้บริโภค คู่ค้าภาคเอกชน ภาครัฐ รวมถึง นักวิชาการ ทั้งนี้ เพื่อให้แน่ใจว่านวัตกรรมที่จะนำออกสู่ตลาดนั้นจะก่อประโยชน์สูงสุดและตอบสนองต่อความต้องการของอุตสาหกรรมและผู้บริโภคอย่างแท้จริง ซึ่งทียูเอฟ เล็งเห็นถึงความสำคัญของการสร้างคุณค่านวัตกรรมดังกล่าว จึงได้ลงนามข้อตกลงร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมอย่างเป็นทางการแห่งแรกของโลกในวันนี้ ศูนย์นวัตกรรมแห่งนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความร่วมมือระดับโลกของทียูเอฟ กับนักวิชาการจากสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศ รวมถึงนักวิทยาศาสตร์ของทียูเอฟเองอีกด้วย”
ในส่วนของ ศาสตราจารย์ ดร. ศกรณ์ มงคลสุข คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสนับสนุนความร่วมมือด้านงานวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการคิดค้นนวัตกรรมร่วมกับภาคเอกชน ซึ่งจะมีผลอย่างมากทั้งต่อคุณภาพชีวิต ความมั่นคงด้านอาหาร การสร้างงาน เศรษฐกิจ สังคม และต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยมุ่งเน้นการใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ในการสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมที่สำคัญมาอย่างต่อเนื่องในทุกด้าน ส่วนหนึ่งคือการส่งเสริมให้เกิดการศึกษาค้นคว้าแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ ระหว่างนักวิจัยในทุกระดับทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งการให้ความสำคัญต่อการสร้างและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อตอบโจทย์แก้ปัญหาด้านต่างๆ ของทุกภาคส่วน การริเริ่มความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล โดยคณะวิทยาศาสตร์ กับเครือข่ายนักวิจัยของทียูเอฟทั่วโลก โดยการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรม Global Innovation Incubator (GII) ของกลุ่มบริษัทไทยยูเนี่ยน ในครั้งนี้ จะเป็นศูนย์กลางการศึกษาค้นคว้านวัตกรรมด้านโภชนาการ เพื่อยังประโยชน์ต่อสุขภาพอนามัยและสร้างคุณค่าต่อผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อผู้บริโภคต่อไป มหาวิทยาลัยมหิดลได้รวบรวมบรรดาคณาจารย์และนักวิจัยผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าร่วมทีมวิจัยที่ศูนย์นวัตกรรมฯ ดังกล่าว เพื่อร่วมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ในอุตสาหกรรมอาหารของไทยให้ทัดเทียมกับคู่แข่งในระดับโลกอันจะนำมาซึ่งความภาคภูมิใจต่อมหาวิทยาลัยมหิดลและสร้างประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไป”
ทั้งนี้ ทีมคณะนักวิจัยในศูนย์นวัตกรรมของกลุ่มบริษัทไทยยูเนี่ยน (Global Innovation Incubator – GII) ประกอบไปด้วยทีมนักวิจัยกว่า 60 คน ได้แก่คณะที่ปรึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ (Scientist Advisory Board -SAB) จำนวน 5 คน คณะนักวิจัยผู้ทรงคุณวุฒิ (Principle Investigator) จำนวน 16 คน และมีผู้ช่วยนักวิจัย (Research Assistant) 24 คน รวมถึงทีมนักวิจัยของทียูเอฟอีก 20 คน
โครงสร้างของศูนย์วิจัยนวัตกรรม กลุ่มบริษัทไทยยูเนี่ยน ประกอบไปด้วย 6 ฐานปฏิบัติการ (Platforms) โดยมีรายละเอียดดังนี้
ฐานปฏิบัติการ ที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานของปลาทูน่า (Fundamental Studies of TUNA)
เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความสดของปลาทูน่า เพื่อใช้ในการวิเคราะห์อายุการเก็บของปลาทูน่าแช่แข็ง การควบคุมคุณภาพวัตถุดิบ เพื่อใช้ในการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการจัดเก็บปลาทูน่าดิบแช่แข็ง เพื่อให้รักษาความสด เพื่อใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตต่อไป ตลอดจนศึกษาเกี่ยวกับสายพันธุ์และการระบุแหล่งอาศัยของปลาทูน่า เพื่อให้เข้าใจต่อปัจจัยที่สำคัญต่อคุณภาพของปลาทูน่า เป็นต้น
ฐานปฏิบัติการ ที่ 2 การศึกษาปลาทูน่าเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ และอนามัย (Health & wellness) การศึกษาคุณลักษณะทางชีวเคมี กรดอมิโน และเปปไทด์ที่มีคุณค่าทางโภชนาการจากเนื้อปลาทูน่า รวมถึงการศึกษาการนำแคลเซียมจากเนื้อปลาทูน่าไปใช้ในร่างกาย โดยที่มีการวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของเนื้อปลาทูน่า และเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ เพื่อทำให้เราได้เข้าใจประโยชน์ที่เราจะได้รับ จากปลาทูน่าได้ดียิ่งขึ้น
ฐานปฏิบัติการ ที่ 3 การศึกษาเทคโนโลยีการแปรรูปใหม่สำหรับการผลิตปลาทูน่า (New Processing Technology) การหาเทคโนโลยีทางเลือกในการผลิตและแปรรูปปลาทูน่าเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าและผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้ที่มีคุณภาพสูงสุด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยลดการใช้พลังงาน ลดการใช้น้ำ และลดมลภาวะ รวมทั้งการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างคุณประโยชน์เชิงโภชนาการแก่ผู้บริโภค
ฐานปฏิบัติการ ที่ 4 การศึกษาเพื่อเพิ่มมูลค่าผลพลอยได้จากการผลิต ผลิตภัณฑ์ทูน่า (Co-products science and technology) การศึกษาวิเคราะห์คุณสมบัติเชิงสุขภาพของส่วนประกอบจากวัสดุเศษเหลือจากปลาทูน่าเช่น เศษเนื้อ น้ำนึ่งปลาทูน่า เลือด ก้าง และหนังปลาทูน่าเพื่อนำมาต่อยอดหรือมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่นการพัฒนากระบวนการเพื่อให้ได้สารสกัดเจล โปรตีน แคลเซี่ยม และเปปไทด์ที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพจากกระบวนการผลิตและแปรรูปปลาทูน่าเป็นต้น
ฐานปฏิบัติการ ที่ 5 การศึกษาคุณสมบัติทางด้านประสาทสัมผัสและความต้องการของผู้บริโภคของผลิตภัณฑ์ปลาทูน่า (Sensory properties of tuna products and consumers research) การศึกษาเพื่อทำความเข้าใจความต้องการที่แตกต่างกันในการรับประทานปลาทูน่าของผู้บริโภค ทำความเข้าใจกับคุณลักษณะทางกลิ่น รส และผิวสัมผัสของปลาทูน่า เพื่อสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่ทำให้ผู้บริโภคในตลาดต่างๆ ทั่วโลกเกิดความพึงพอใจสูงสุด
ฐานปฏิบัติการที่ 6 การพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ปลาทูน่า ตามความต้องการของตลาด (Perfect TUNA product research and development) การพัฒนาเพื่อเสริมสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ประโยชน์เชิงสุขภาพ และคุณภาพของปลาทูน่าจากการศึกษาของฐานปฏิบัติการทั้ง 5 อย่างมีนัยสำคัญ เพื่อความพึงพอใจสูงสุดของผู้บริโภคทั่วโลก
โดยมีทีมคณะนักวิจัยศูนย์นวัตกรรมของกลุ่มบริษัทไทยยูเนี่ยน ดังนี้
คณะที่ปรึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ (Scientist Advisory board) 5 ท่าน
1. ศาสตราจารย์เกียรติคุณไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์
2. ศาสตราจารย์เกียรติคุณอมเรศ ภูมิรัตน
3. รองศาสตราจารย์ศักรินทร์ ภูมิรัตน
4. ดร. โรเบิร์ต เอ เบอนส์
5. ดร. ฮอร์โดร์ จี คริสเตนส์สัน
คณะนักวิจัยผู้ทรงคุณวุฒิ (Principle Investigator) และผู้ช่วยนักวิจัย (Co-principle Investigator)
1.รศ.ดร.สิทธิวัฒน์ เลิศศิริ
2.ดร. นิสา ปฏิการมณฑล
3.ดร. ณัฎฐวี เนียมศิริ
4.ผศ.ดร. อทิตยา ศิริภิญญานนท์
5.ผศ.ดร. สุภาณี ด่านวิริยะกุล
6.ดร. สิริพงษ์ ฐิตะมาดี
7.ดร. ณภัศศรณ์ ปัญญาสุข
8.รศ.ดร. จิรันดร ยูวะนิยม
9.ดร. กัลยา ประไพนพ
10.ศ.ดร. นทีทิพย์ กฤษณามระ
11.ศ.ดร. นรัตถพล เจริญพันธุ์
12.ศ.ดร. ภาวิณี ชินะโชติ
13.ผศ.ดร. สันทัด วิเชียรโชติ
14.รศ.ดร. สักกมน เทพหัสดิน ณ อยุธยา
15.รศ.ดร.นภาพร เชี่ยวชาญ
16.รศ.ดร. เสาวนีย์ จันทร์เจริญสิน
17.รศ.ดร. ชนิดา หันสวัสดิ์
18.ดร. วลีรัตน์ สินสวัสดิ์
19.ดร. นิรัชรา เลาหประสิทธิ์
20.ดร. ชยานันต์ หงษ์ฟ้า
21.ดร. ภัสริน วงศ์กำแหง
22.รศ.ดร. ธงชัย สุวรรณสิชณน์
23.รศ.ดร. เพ็ญขวัญ ชมปรีดา
24.รศ.ดร. สุนทรี สุวรรณสิชณน์
25.ผศ.ดร. วิษฐิดา จันทราพรชัย
26.รศ.ดร. วรรณวิบูลย์ กาญจนกุญชร
27.ธวัช สุธาสินีนนท์