คณะวิทยาศาสตร์

Activity Photo

หลักสูตร ป.โท สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล ผ่านเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน

9 มีนาคม 2565 หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี และ รองศาสตราจารย์ ดร.ทวีชัย อมรศักดิ์ชัย ประธานหลักสูตรฯ พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร.จิตต์ลัดดา ศักดาภิพาณิชย์ รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธนะวันต์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญรัตน์ วัฒนพานิช เป็นผู้แทนรับมอบประกาศนียบัตรการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน จาก ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมรับมอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีจาก รองศาสตราจารย์ ดร. ภก.เนติ สุขสมบูรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา ในพิธีมอบประกาศนียบัตรการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน ครั้งที่ 221 และ 226” ณ มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายาโดยหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ […]

หลักสูตร ป.โท สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล ผ่านเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café ส่องแนวคิดเบื้องหลังการวิจัยฟิสิกส์อวกาศของนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ

17 มกราคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café : ส่องแนวคิดเบื้องหลังการวิจัยฟิสิกส์อวกาศของนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ พูดคุยเจาะลึกเบื้องหลังความสำเร็จของ Professor Dr. David John Ruffolo นักฟิสิกส์อวกาศ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นักวิทยาศาสตร์รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2565 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ และคณิตศาสตร์ ดำเนินรายการโดย อาจารย์ ดร.วิทูร ชื่นวชิรศิริ หัวหน้าภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผ่านทาง Facebook live ซึ่งมีผู้รับชมกว่า 42 คนตลอดการเสวนา Professor Dr. David หรืออาจารย์เดวิดของนักศึกษา ได้เล่าถึงความสำคัญของการศึกษารังสีคอสมิก และสภาพอวกาศ ก่อนจะนำเสนองานของทีมวิจัยในปัจจุบันและผลงานวิจัยเด่นที่ผ่านมา ต่อด้วยงานของทีมวิจัยในอนาคต รวมถึงความตั้งใจแรกและแนวคิดในการทำงานที่ยืดมั่นมาตลอดการขับเคลื่อนวงการวิจัยด้านฟิสิกส์อวกาศในประเทศไทยกว่า 33 ปีอาจารย์เดวิดเล่าถึงความสำคัญของการศึกษารังสีคอสมิกให้เห็นภาพอย่างง่าย ๆ ว่าที่ผิวดวงอาทิตย์มีการระเบิดเป็นครั้งคราวที่เรียกว่าพายุสุริยะ จะมีอนุภาคพลังงานสูงในอวกาศ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café ส่องแนวคิดเบื้องหลังการวิจัยฟิสิกส์อวกาศของนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับมอบเมล็ดราชพฤกษ์กลับจากสถานีอวกาศนานาชาติ ภายใต้โครงการ Asian Herb in Space (AHiS) ระยะที่ 2

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับมอบเมล็ดราชพฤกษ์กลับจากสถานีอวกาศนานาชาติ ภายใต้โครงการ Asian Herb in Space (AHiS) ระยะที่ 2 โดยความร่วมมือระหว่างองค์กรสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (JAXA) สวทช. สทอภ. และหน่วยงานพันธมิตร เดินหน้าวิจัยผลกระทบของอวกาศต่อการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์และพัฒนาการของไม้ต้นในวันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชีรา วิบูลย์จันทร์ หัวหน้าภาควิชาพฤกษศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.กัณยารัตน์ สุไพบูลย์วัฒน หัวหน้ากลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพอัจฉริยะ ดร.ทัฏพงศ์ ตุลยานนท์ และนักศึกษาจาก Plant Biology and Astroculture Laboratory (PBA Lab) ของกลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมฯ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต้อนรับคุณกุลประภา นาวานุเคราะห์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. คุณปราณปริยา วงค์ษา ผู้อำนวยการสำนักเครือข่ายองค์ความรู้ สทอภ. และหน่วยงานพันธมิตร พร้อมรับมอบเมล็ดพันธุ์ราชพฤกษ์อวกาศซึ่งเดินทางกลับสู่พื้นโลกด้วยยาน SpaceX Cargo Dragon

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับมอบเมล็ดราชพฤกษ์กลับจากสถานีอวกาศนานาชาติ ภายใต้โครงการ Asian Herb in Space (AHiS) ระยะที่ 2 Read More »

Activity Photo

ประชุมการรับฟังข้อตกลงการปฏิบัติงานของส่วนงาน (PA-Visit) ประจำปีงบประมาณ 2565 ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

7 ธันวาคม 2564 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล เข้ารับฟังข้อตกลงการปฏิบัติงานของส่วนงาน (PA-Visit) ประจำปีงบประมาณ 2565 ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ พร้อมด้วย ผู้บริหารคณะฯ ให้การต้อนรับ และนำเสนอผลการดำเนินงานของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมรับฟังข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน ในปีงบประมาณ 2565 ผ่านระบบออนไลน์โดยอธิการบดี ได้กล่าวถึงการดำเนินงานในภาพรวมของมหาวิทยาลัย นำเสนอผลงานวิจัยที่โดดเด่น การสนับสนุนผลงานวิจัย และการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์แต่ละด้านของมหาวิทยาลัยมหิดล จากนั้น คณบดีจึงนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับผลการดำเนินงานตาม MU-KPI ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ตาม 5 เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของคณะฯ พร้อมทั้งนำเสนอแผนการดำเนินงานของคณะวิทยาศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2565 ความพร้อมในการต้อนรับนักศึกษา และการเปิดสถานศึกษาอย่างเต็มรูปแบบ การปรับตัวสู่อนาคต Digital Education /Digital Transformation เพื่อขับเคลื่อนความเป็น คณะวิทยาศาสตร์ แห่งแผ่นดิน

ประชุมการรับฟังข้อตกลงการปฏิบัติงานของส่วนงาน (PA-Visit) ประจำปีงบประมาณ 2565 ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.3: Nobel Prize in Chemistry: An ingenious tool for building molecules เครื่องมืออันชาญฉลาดในการสร้างโมเลกุล

5 พฤศจิกายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.3: Nobel Prize in Chemistry: An ingenious tool for building molecules เครื่องมืออันชาญฉลาดในการสร้างโมเลกุล เล่าเรื่องงานวิจัยของ 2 นักวิทยาศาสตร์ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปีนี้ ได้แก่ ศาสตราจารย์เบนจามิน ลิสต์ (Benjamin List) จาก Max-Planck-Institute für Kohlenforschung ประเทศเยอรมนี และ ศาสตราจารย์เดวิด แมคมิลแลน (David W.C. MacMillan) จาก Princeton University ประเทศสหรัฐอเมริกา จากการพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาอินทรีย์แบบอสมมาตร พร้อมอธิบายถึงการสร้างโมเลกุลด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาแบบใหม่ นำไปสู่การผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ปรียานุช แสงไตรรัตน์นุกูล และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ต่อศักดิ์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.3: Nobel Prize in Chemistry: An ingenious tool for building molecules เครื่องมืออันชาญฉลาดในการสร้างโมเลกุล Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.2: Nobel Prize in Physiology or Medicine: From Heat & Hug to Pain treatment discoveries. การค้นพบตัวรับอุณหภูมิและการรับสัมผัส สู่การนำไปใช้ในการรักษาอาการปวด

3 พฤศจิกายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.2: Nobel Prize in Physiology or Medicine: From Heat & Hug to Pain treatment discoveries. การค้นพบตัวรับอุณหภูมิและการรับสัมผัส สู่การนำไปใช้ในการรักษาอาการปวด เล่าเรื่องงานวิจัยของ 2 นักวิทยาศาสตร์ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ในปีนี้ ได้แก่ ศาสตราจารย์ เดวิด จูเลียส (David Julius) และศาสตราจารย์ อาร์เด็ม พาทาพูเที่ยน (Ardem Patapoutian) พร้อมอธิบายถึงกลไกการรับอุณหภูมิและสัมผัสของมนุษย์ที่น่าทึ่งอันนำไปสู่การรักษาอาการปวด โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพพร จงกมลวิวัฒน์ และ อาจารย์ ดร.อธิคุณ สุวรรณขันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยากร ดำเนินรายการโดย

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.2: Nobel Prize in Physiology or Medicine: From Heat & Hug to Pain treatment discoveries. การค้นพบตัวรับอุณหภูมิและการรับสัมผัส สู่การนำไปใช้ในการรักษาอาการปวด Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.1: Nobel Prize in Physics: Physics of global warming and other complex phenomena ฟิสิกส์เรื่องโลกร้อนและปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนอื่น ๆ

2 พฤศจิกายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.1: Nobel Prize in Physics: Physics of global warming and other complex phenomena ฟิสิกส์เรื่องโลกร้อนและปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนอื่น ๆ เล่าเรื่องงานวิจัยของ 3 นักฟิสิกส์ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปีนี้ ได้แก่ ศาสตราจารย์ ชูคุโระ มานาเบะ (Syukuro Manabe) ศาสตราจารย์ เคลาส์ ฮาสเซิลมานน์ (Klaus Hasselmann) และ ศาสตราจารย์ จอร์จิโอ ปาริซี (Giorgio Parisi) พร้อมอธิบายถึงการประยุกต์ใช้ฟิสิกส์ศึกษาปัญหาเรื่องโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่ซับซ้อน โดยมี Professor Dr.David John Ruffolo และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วฤทธิ์ มิตรธรรมศิริ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.1: Nobel Prize in Physics: Physics of global warming and other complex phenomena ฟิสิกส์เรื่องโลกร้อนและปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนอื่น ๆ Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีครบรอบ 63 ปีการก่อตั้ง

28 ตุลาคม 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ฉลองครบรอบ 63 ปี การก่อตั้ง ในงานวันคล้ายวันสถาปนาในรูปแบบ Hybrid ถ่ายทอดสดทาง online และการเข้าร่วมงานในพื้นที่ ณ ห้อง L-01 อาคารบรรยายรวม ตึกกลม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไทในการนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ประธานในพิธี กล่าวต้อนรับและกล่าวถึงการจัดงานในครั้งนี้ว่า “ในโอกาสครบรอบ 63 ปี แห่งการก่อตั้ง เรามุ่งมั่นที่จะ ‘เป็นสติของประชา เป็นปัญญาของสังคม’ ผ่านวิทยาศาสตร์และการสร้างบุคลากรคุณภาพสูง การลงทุนทางการศึกษาและวิทยาศาสตร์พื้นฐาน อันจะส่งผลต่อการพัฒนาและคุณภาพชีวิต จึงเป็นเหมือนการสร้างโอกาส และสร้างบุคลากรคุณภาพอันเป็นอนาคตของสังคม มีความรู้ที่ทันสมัย ผ่านงานวิจัยระดับโลก ต่อยอดเพื่อสร้างสังคมคุณภาพสูงในอนาคต ด้วยการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการพัฒนาอย่างยั่งยืน นับเป็นภารกิจและเป้าประสงค์ที่มุ่งมั่น เพื่อสร้างศรัทธาแห่งวิทยาศาสตร์ในฐานะ ‘คณะวิทยาศาสตร์แห่งแผ่นดิน’” จากนั้นเป็นการนำเสนอผลงานเด่นของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในรอบปี 2564 ปาฐกถาศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข ครั้งที่

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีครบรอบ 63 ปีการก่อตั้ง Read More »

3 หลักสูตร นานาชาติ คณะวิทยาศาสตร์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวัสดุศาสตร์และวิศวกรรมนาโน และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุ รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA มหาวิทยาลัยมหิดล รูปแบบ 3.0

ด้วยหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวัสดุศาสตร์และวิศวกรรมนาโน (หลักสูตรนานาชาติ) และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA มหาวิทยาลัยมหิดล รูปแบบ 3.0 (MU AUN-QA Assessment 3.0) จากคณะกรรมการตรวจประเมินของมหาวิทยาลัย ในวันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564 ก่อนนำเสนอผลการตรวจประเมินด้วยวาจาในวันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ซึ่งในครั้งนี้เป็นการตรวจประเมินในรูปแบบ Online MU AUN-QA Assessment ผ่านโปรแกรม Cisco Webex Meetings ทั้งกระบวนการ โดยในปีงบประมาณ พ.ศ.2564 คณะวิทยาศาสตร์ได้รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA มหาวิทยาลัยมหิดล ครบทุกหลักสูตร (ไม่รวมหลักสูตรเปิดใหม่และหลักสูตรที่อยู่ระหว่างการขอปิด) จำนวน 45 หลักสูตร ประกอบด้วย ระดับปริญญาตรี จำนวน 12 หลักสูตร

3 หลักสูตร นานาชาติ คณะวิทยาศาสตร์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวัสดุศาสตร์และวิศวกรรมนาโน และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุ รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA มหาวิทยาลัยมหิดล รูปแบบ 3.0 Read More »

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทรัพยากรชีวภาพและชีววิทยาสภาวะแวดล้อม (หลักสูตรนานาชาติ) ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA มหาวิทยาลัยมหิดล รูปแบบ 3.0

ด้วยหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทรัพยากรชีวภาพและชีววิทยาสภาวะแวดล้อม (หลักสูตรนานาชาติ) ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA มหาวิทยาลัยมหิดล รูปแบบ 3.0 (MU AUN-QA Assessment 3.0) จากคณะกรรมการตรวจประเมินของมหาวิทยาลัย ในวันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2564 ก่อนนำเสนอผลการตรวจประเมินด้วยวาจาในวันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2564 โดยมี ผศ. ดร.กภ.วรินทร์ กฤตยาเกียรณ เป็นประธานกรรมการตรวจประเมินฯ ซึ่งในครั้งนี้เป็นการตรวจประเมินในรูปแบบ Online MU AUN-QA Assessment ผ่านโปรแกรม Cisco Webex Meetings ทั้งกระบวนการ คณะวิทยาศาสตร์ เปิดสอนในระดับปริญญาตรี จำนวน 12 หลักสูตร ปริญญาโทและเอก จำนวน 36 หลักสูตร รวมทั้งหมด 48 หลักสูตร โดยกว่า 42

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทรัพยากรชีวภาพและชีววิทยาสภาวะแวดล้อม (หลักสูตรนานาชาติ) ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA มหาวิทยาลัยมหิดล รูปแบบ 3.0 Read More »

บุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คว้ารางวัล TEQ Award ประจำปี 2563 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

9 กันยายน 2564 นักวิทยาศาสตร์ประจำหน่วยสัตว์ทดลอง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล แสดงศักยภาพการปฏิบัติงานด้านการเลี้ยงและดูแลสัตว์ทดลองเพื่องานทางวิทยาศาสตร์ คว้ารางวัล ที อี คิว (TEQ Award) สำหรับพนักงานเลี้ยงสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ดีเด่น จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ นายณรงค์ แขวงซ้าย นักวิทยาศาสตร์ ประจำหน่วยสัตว์ทดลอง งานวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ได้รับรางวัล ที อี คิว (TEQ Award) ประจำปี 2563 ได้เข้าร่วมพิธีรับรางวัลจากสถาบันพัฒนาการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ (สพสว.) ภายใต้สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างการสัมมนาคณะกรรมการกำกับดูแลการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ของสถานที่ดำเนินการ (คกส.) ประจำปี 2564 ผ่านทางระบบประชุมออนไลน์ Zoom meeting เมื่อวันที่ 9 กันยายน ที่ผ่านมาทั้งนี้ รางวัล ที อี คิว (TEQ Award) เป็นรางวัลสำคัญระดับประเทศเพื่อยกย่องเชิดชูพนักงานเลี้ยงสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ ยึดถือปฏิบัติตามกฎหมายและจรรยาบรรณการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ความสำเร็จในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการกำกับดูแลการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ของสถานที่ดำเนินการ (คกส.) และผู้บริหาร

บุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คว้ารางวัล TEQ Award ประจำปี 2563 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ Read More »

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “แนวทางการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล”

          เมื่อวันที่ 9 และ 10 กันยายน พ.ศ. 2564 งานพัฒนาระบบและเทคโนโลยี ร่วมกับ งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข จัดโครงการฝึกอบรมความรู้ทางวิชาการด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) แก่บุคลากรของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในรูปแบบออนไลน์ ผ่าน Zoom meeting  ในหัวข้อ “แนวทางการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล” เพื่อเผยแพร่ความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 สามารถวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลที่กระจายอยู่ในกระบวนการทำงานของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ผกาพร เพ็งศาสตร์ รองคณบดีฝ่ายวิศวกรรมและระบบ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล และ ผศ. ดร.โษฑศ์รัตต ธรรมบุษดี อาจารย์ประจำกลุ่มเทคโนโลยีการจัดการระบบสารสนเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และดำรงตำแหน่งคณะกรรมการเตรียมความพร้อมในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (มหาวิทยาลัยมหิดล) เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมอบรมได้ฝึกปฏิบัติการจัดทำกระบวนงานการปฏิบัติงาน (Records of

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “แนวทางการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล” Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมใจถวายเทียนพรรษา ประจำปี 2564

         8 กันยายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยบุคลากรงานสื่อสารองค์กร เป็นผู้แทนชาวคณะวิทยาศาสตร์ร่วมใจถวายเทียนพรรษาแด่พระภิกษุสงฆ์เพื่อเป็นพุทธบูชา พร้อมถวายไทยธรรมจำนวน 9 ชุด เพื่อร่วมสืบสานวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม อีกทั้งเป็นการส่งเสริมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและส่งเสริมพระพุทธศาสนา ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร เขียนข่าว : นางสาวจิรนันท์ นามั่ง ตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษ ภาพข่าวโดย: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล, นายสมชัย ละออ เว็บมาสเตอร์: นางสาวจิรนันท์ นามั่ง วันที่ 8 กันยายน 2564

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมใจถวายเทียนพรรษา ประจำปี 2564 Read More »

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (นานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน ครั้งที่ 226 ในรูปแบบ Online

ระหว่างวันที่ 2 – 6 สิงหาคม 2564 หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (นานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ (Master of Science Programme in Polymer Science and Technology (International Programme), Faculty of Science) รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน ครั้งที่ 226 ในรูปแบบ Online ผ่านโปรแกรม Zoom (The 226th Online/Remote Site Visit in the AUN-QA Program Assessment at Mahidol University) จากคณะกรรมการตรวจประเมิน (AUN-QA Assessor Team) โดยมีหลักสูตรที่เข้ารับการตรวจประเมินพร้อมกันในครั้งนี้อีก 3 หลักสูตร ได้แก่1. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (นานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน ครั้งที่ 226 ในรูปแบบ Online Read More »

การเยี่ยมชมและรับฟังผลการดำเนินงานของคณะวิทยาศาสตร์ จากสภามหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2564 (ครั้งที่ 2 : University Council Visit 2)

29 กรกฎาคม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการเยี่ยมชมและรับฟังผลการดำเนินงานของคณะวิทยาศาสตร์ จากสภามหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2564 (ครั้งที่ 2 : University Council Visit 2) ผ่านระบบ Online Cisco WebEx Meeting โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 63 ท่าน ได้แก่ คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล และกรรมการประจำคณะวิทยาศาสตร์ฯ โดยเริ่มต้นการประชุมด้วย รศ. ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวเกี่ยวกับ วิสัยทัศน์ และพันธกิจของคณะวิทยาศาสตร์ฯ รวมทั้งผลการดำเนินงานในด้านต่างๆ อย่างเป็นองค์รวมตามรูปแบบ Operation/Transformation Model การศึกษาสากลบ่มเพาะผู้ประกอบการ World Class Research ความรู้เพื่อปวงชน นวัตกรรมเพื่อประเทศ และองค์กรที่ยังยืน อีกทั้งเน้นย้ำในเรื่องสังคมไทยที่ใช้วิทยาศาสตร์ Learning Organization และการปรับตัวสู่อนาคต Digital Education และ Digital Transformation หลังจากนั้น

การเยี่ยมชมและรับฟังผลการดำเนินงานของคณะวิทยาศาสตร์ จากสภามหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2564 (ครั้งที่ 2 : University Council Visit 2) Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการศรีตรังปันสุข ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากวิกฤติโควิด-19

“โครงการศรีตรังปันสุข” โดย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สุขใจทั้งผู้ให้ และผู้รับ ด้วยการทำบุญหลายต่อ สนับสนุนซื้ออาหารจากพ่อค้า แม่ค้า ของโรงอาหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ ในช่วงปิดอาคารสำนักงาน ตามประกาศ พรก.ฉุกเฉิน และนำส่งบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อนบ้าน ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี เพื่อเป็นกำลังใจให้แก่คุณหมอ คุณพยาบาล และพี่น้องเจ้าหน้าที่ ที่ทุ่มเท สละเวลาทำงานเพื่อพวกเราทุกคน โดยโครงการนี้มีการระดมทุนจากผู้มีจิตศรัทธาบริจาค 102 บาท หรือตามกำลังศรัทธา นอกจากการทำดีเพื่อส่งกำลังใจให้กับบุคลากรทางการแพทย์แล้ว ยังเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้กับบูรพาจารย์ ในปีแห่งการครบรอบ รำลึก 102 ปี ชาตกาล ศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข คณบดีท่านแรกผู้ก่อตั้งคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยผู้บริจาคสามารถ ปันสุขได้โดยการโอนเงินเข้าบัญชี “โครงการศรีตรังปันสุข โดยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล” บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 026 – 475703 – 3 ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขารามาธิบดี ส่งสำเนาโอนเงิน และขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางไลน์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการศรีตรังปันสุข ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากวิกฤติโควิด-19 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท เข้ารับการตรวจประเมินกิจกรรม “สถานศึกษาปลอดภัย” ประจำปี พ.ศ. 2564

วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2564 สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พื้นที่ 5 (เขตดินแดง พญาไท ราชเทวี และห้วยขวาง) กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน เข้าตรวจประเมินกิจกรรม “สถานศึกษาปลอดภัย” ประจำปี พ.ศ. 2564 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการปลูกฝังวัฒนธรรมความปลอดภัยให้กับยุวแรงงานก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงานเพื่อขับเคลื่อน ความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของประเทศไทย (Safety Thailand) ครอบคลุมถึงการเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการเชิงป้องกันด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน ในปี พ.ศ. 2564 นี้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ได้เข้าประกวด “สถานศึกษาปลอดภัย” เป็นปีที่ 4 โดยมี รศ.ดร. พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และ ผศ.ดร. ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม คุณคำรณ โชธนะโชติ หัวหน้างานบริหารและธุรการ และทีมงานงานบริหารและธุรการ ให้การต้อนรับคณะผู้ประเมินฯ นำโดย นางสุนีย์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท เข้ารับการตรวจประเมินกิจกรรม “สถานศึกษาปลอดภัย” ประจำปี พ.ศ. 2564 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ยกระดับห้องปฏิบัติการวิจัยสู่สากล มอบประกาศนียบัตรและโล่รางวัลแก่ 17 ห้องปฏิบัติการสารเคมีมาตรฐาน ESPRel ผ่านระบบออนไลน์

24 มิถุนายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีมอบประกาศนียบัตร และโล่รางวัล แก่ 17 ห้องปฏิบัติการที่ได้รับรางวัล ห้องปฏิบัติการวิจัยต้นแบบมาตรฐานความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีตามมาตรฐาน ESPRel จากมหาวิทยาลัยมหิดล ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ Cisco WebEx Meeting ในโอกาสอันดีนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ ได้กล่าวแสดงความยินดีและขอบคุณ รองศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ กังสมัครศิลป์ หัวหน้าภาควิชาชีวเคมี รองศาสตราจารย์ ดร.วิฑูร แสงศิริสุวรรณ หัวหน้าภาควิชาสรีรวิทยา รองศาสตราจารย์ ดร.เทียนทอง ทองพันชั่ง หัวหน้าภาควิชาเคมี รวมถึงอาจารย์และผู้แทนอาจารย์ประจำห้องปฏิบัติการทั้ง 17 ห้องปฏิบัติการที่ให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ และแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ เพื่อความปลอดภัยของผู้ที่เกี่ยวข้องและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการให้ความสำคัญกับการสร้างงานวิจัยที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับสากลควบคู่กับการดำเนินงานที่มีมาตรฐานความปลอดภัย โดยห้องปฏิบัติการวิจัยที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ ได้แก่ 1. ห้องปฏิบัติการวิจัยเคมี C211 รองศาสตราจารย์ ดร.รัตติกาล จันทิวาสน์ 2.

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ยกระดับห้องปฏิบัติการวิจัยสู่สากล มอบประกาศนียบัตรและโล่รางวัลแก่ 17 ห้องปฏิบัติการสารเคมีมาตรฐาน ESPRel ผ่านระบบออนไลน์ Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สื่อสารข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ของวัคซีนต้านโควิด-19 สู่สังคมในงานเสวนาพิเศษ Science Café COVID-19 vol.2 “Current COVID-19 situation in Thailand, vaccine and its development”

10 มิถุนายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานเสวนาพิเศษ Science Café COVID-19 vol.2 “Current COVID-19 situation in Thailand, vaccine and its development” ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือโควิด-19 ในประเทศไทย และสื่อสารข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่มีการอนุมัติใช้ฉุกเฉินในปัจจุบัน พร้อมเผยความคืบหน้าของการพัฒนาวัคซีนของทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี รองศาสตราจารย์ พญ.อรุณี ธิติธัญญานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หัวหน้าห้องปฏิบัติการไวรัสวิทยา ตามมาตรฐานความปลอดภัยระดับที่ 3 (Bio Safety Level 3; BSL-3) และ นายโชติวัฒน์ ศรีเพชรดี นักศึกษาปริญญาเอกภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หนึ่งในทีมนักวิจัยวัคซีนโควิด-19 เป็นวิทยากร และมี อาจารย์ ดร.ภากร เอี้ยวสกุล อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สื่อสารข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ของวัคซีนต้านโควิด-19 สู่สังคมในงานเสวนาพิเศษ Science Café COVID-19 vol.2 “Current COVID-19 situation in Thailand, vaccine and its development” Read More »

SciEx2021 งานนิทรรศการโครงงานวิทยาศาสตร์ (Science Project Exhibition) ครั้งที่ 22

           คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานนิทรรศการ Science Project Exhibition ครั้งที่ 22 ในวันศุกร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 ผ่านระบบออนไลน์ WebEx Meeting เปิดโอกาสให้นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 ได้นำเสนอผลงานวิจัยของตนเองอย่างเต็มประสิทธิภาพ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี ประธานในพิธี กล่าวเปิดงานและกล่าวแสดงความยินดีกับว่าที่บัณฑิตคณะวิทยาศาสตร์ รวมทั้งให้แนวคิดแก่นักศึกษาในการรับมือกับช่วงสถานการณ์การระบาดของเชื้อโควิด-19 แบ่งปันประสบการณ์การทำงานด้านวิทยาศาสตร์ พร้อมทิ้งท้ายด้วยข้อคิดที่ว่า “NEVER before, SCIENCE is so significant.” โดยในช่วงเช้าของงานมีการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “เส้นทางอาชีพการเป็นนักวิทยาศาสตร์ในอนาคต” ซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร.วรรณพ วิเศษสงวน ผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ที่มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ แนวคิดหลังการสำเร็จการศึกษา พร้อมให้ข้อแนะนำในการทำงานในอนาคต กลยุทธ์การทำงานร่วมกับลูกค้า การสะสมองค์ความรู้ให้ได้มากที่สุดและมีกระบวนการ ที่ส่งผลให้ประสบความสำเร็จในการทำงาน  จากนั้นจึงเป็นการนำเสนอผลงานวิจัยคุณภาพของนักศึกษาในสาขาต่าง ๆ

SciEx2021 งานนิทรรศการโครงงานวิทยาศาสตร์ (Science Project Exhibition) ครั้งที่ 22 Read More »

การประเมินส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2560-2563 (คณะวิทยาศาสตร์) โดยบริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด

มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดจ้าง บริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นที่ปรึกษาในการประเมินส่วนงานของมหาวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.2550 มาตรา 44 ที่กำหนดให้มหาวิทยาลัยจะต้องจัดให้มีการประเมินส่วนงานโดยผู้ประเมินซึ่งสภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งจากผู้ซึ่งมิใช่ผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย ทุกส่วนงานต้องได้รับการประเมิน ทั้งส่วนงานที่จัดตั้งตามมาตรา 10 และส่วนงานที่มิได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตลอดจนหน่วยงานสังกัดสำนักงานอธิการบดีที่มีลักษณะการบริหารงานคล้ายส่วนงาน จำนวนรวมทั้งสิ้น 42 ส่วนงาน คณะวิทยาศาสตร์ ได้บันทึกข้อมูลตัวชี้วัดจำนวน 39 ตัวชี้วัด พร้อมแนบไฟล์หลักฐาน (PDF) เข้าในระบบ MahidolxTris Survey เมื่อวันที่ 19 เมษายน – 5 พฤษภาคม 2564 และรับการตรวจเยี่ยมจากผู้แทนบริษัท TRIS ในรูปแบบออนไลน์ด้วยระบบ WebEx Meeting เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2564 โดยมีกิจกรรมสำคัญ ดังนี้ 1) เวลา 9.00-10.00 น. ทดสอบภาวะวิกฤติ (Stress Test) โดยการสัมภาษณ์คณบดีและทีมบริหาร เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ส่วนงาน

การประเมินส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2560-2563 (คณะวิทยาศาสตร์) โดยบริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลเข้าร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้ เนื่องในกิจกรรมวันสิ่งแวดล้อมโลก

          19 พฤษภาคม 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดยอาจารย์ ดร.ธิติคม พัวพันสวัสดิ์ ประธานสภาคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยนางชิตหทัย ภัทรธิยานนท์ หัวหน้างานศาลายา และบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวภายในมหาวิทยาลัย จัดโดยกองกายภาพและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล เนื่องในกิจกรรมวันสิ่งแวดล้อมโลก ตามที่องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้เป็นวันที่ 5 มิถุนายนของทุกปี และปฏิบัติตามนโยบายขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่การพัฒนายั่งยืน (Sustainable University) โดยมีกรอบการดำเนินงานอยู่ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ณ ลานด้านหน้าหอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล เขียนข่าว : นางสาวจิรนันท์ นามั่ง ตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษ  ภาพข่าวโดย: ว่าที่ร้อยตรีภัทรพล  ตันตระกูล เว็บมาสเตอร์: นางสาวจิรนันท์ นามั่ง วันที่ 19 พฤษภาคม 2564

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลเข้าร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้ เนื่องในกิจกรรมวันสิ่งแวดล้อมโลก Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดสอบสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาระบบ TCAS รอบที่ 2 โควตา (Quota) ปีการศึกษา 2564 พร้อมเปิดรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาระบบ TCAS รอบที่ 3

            วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดสอบสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาระบบ TCAS รอบที่ 2 โควตา (Quota) ปีการศึกษา 2564 ผ่านระบบออนไลน์ Cisco Webex Meetings ในการนี้รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรกนก บุญวงษ์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการศึกษา กล่าวต้อนรับผู้เข้าสัมภาษณ์พร้อมชี้แจงข้อมูลด้านการเรียนการสอนในคณะวิทยาศาสตร์ ทุนการศึกษา รวมทั้งข้อปฏิบัติและการเตรียมตัวในการสอบสัมภาษณ์ โดยร่วมรับฟังการเข้าสัมภาษณ์ สุดท้ายนี้ได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าสัมภาษณ์ถาม – ตอบทุกข้อสงสัย ซึ่งการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาระบบ TCAS รอบที่ 2 โควตา (Quota) ปีการศึกษา 2564 นี้ จะประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกได้ในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2564 ผ่านทาง https://tcas.mahidol.ac.th หรือเว็บไซต์ของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดสอบสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาระบบ TCAS รอบที่ 2 โควตา (Quota) ปีการศึกษา 2564 พร้อมเปิดรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาระบบ TCAS รอบที่ 3 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ “OOCA-It’s Okay แพลตฟอร์มเพื่อการเข้าถึงการบริการสุขภาพจิตสำหรับทุกคน”

            21 เมษายน 2564 เวลา 13:30-15:00น. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ “OOCA-It’s Okay แพลตฟอร์มเพื่อการเข้าถึงการบริการสุขภาพจิตสำหรับทุกคน” ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting โดยได้รับเกียรติจาก ทพญ.กัญจน์ภัสสร สุริยาแสงเพ็ชร์ หรือหมออิ๊ก ผู้ก่อตั้ง OOCA Application เป็นวิทยากร โดยมีอาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง หัวหน้าภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ดำเนินรายการ ร่วมเปิดประสบการณ์เรื่องสุขภาพจิตที่เจอมาตลอดตั้งแต่วัยเด็กจนถึงปัจจุบัน แบ่งปันการปรับเปลี่ยนมุมมอง mindset เมื่อเจอปัญหาในชีวิต พร้อมแนะนำวิธีจัดการอารมณ์ตนเอง การดูแลตนเองเมื่อมีภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง อีกทั้งให้กำลังใจกับทุกท่านที่มีปัญหาสุขภาพจิตมาร่วมเปิดใจในการให้โอกาสตนเองและเชิญชวนเข้ารับบริการสุขภาพใจ พร้อมเล่าถึงแรงบันดาลใจในการสร้าง OOCA Application ช่องทางการปรึกษาสุขภาพใจ ที่สามารถปรึกษาปัญหาคาใจกับจิตแพทย์และนักจิตวิทยาจากที่บ้านได้อย่างสะดวกสบาย และแนะนำช่องทางดี ๆ ให้แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล โดย OOCA ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดลจัดโครงการ “Wall of

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ “OOCA-It’s Okay แพลตฟอร์มเพื่อการเข้าถึงการบริการสุขภาพจิตสำหรับทุกคน” Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม “แบ่งสรร ปันบุญ มหาสงกรานต์ 2564”

         9 เมษายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม “แบ่งสรร ปันบุญ มหาสงกรานต์ 2564” อีกหนึ่งกิจกรรมเพื่อสังคมที่ชาวคณะ ฯ ร่วมใจบริจาคสิ่งของเพื่อแบ่งปันความสุขให้แก่ผู้อื่น ในการนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี ดร.รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล รองคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพและสังคมสัมพันธ์ นำทีมเข้ามอบสิ่งของ ณ ชุมชมซอยสวนเงิน แขวงทุ่งพญาไท และได้ร่วมสรงน้ำพระพุทธรูป พร้อมไหว้ขอพรผู้สูงอายุ หลังจากนั้น ได้เดินทางไปมอบสิ่งของให้แก่คนพิการ เด็กกำพร้า ผู้ด้อยโอกาส และผู้ต้องขังที่พ้นโทษ ณ มูลนิธิหลวงตาน้อย อำเภอคลองโยง จังหวัดนครปฐม และสุดท้ายนี้ได้ร่วมบริจาคสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ชายแดนแม่ฮ่องสอน ผ่านกลุ่มนักศึกษาชาวเมียนมาร์ที่ศึกษาอยู่ในคณะ ฯ นับเป็นกุศลอันยิ่งใหญ่รับเทศกาลสงกรานต์ที่ชาวคณะ ฯ ร่วมมือ ร่วมใจจัดขึ้น เขียนข่าว : น.ส.จิรนันท์ นามั่ง ตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม “แบ่งสรร ปันบุญ มหาสงกรานต์ 2564” Read More »

12 หน่วยงาน ผนึกกำลังจัดตั้ง “ภาคีความร่วมมืออวกาศไทย” หวังใช้เทคโนโลยีอวกาศพัฒนาคน ยกระดับอุตสาหกรรมไทย

         5 เมษายน 2564 ณ ห้องกมลทิพย์บอลรูม ชั้น 2 โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพ ฯ 6 หน่วยงานวิทยาศาสตร์ชั้นนำ จับมือ 6 สถาบันอุดมศึกษา สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ( อว. ) เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษา วิจัย และพัฒนานวัตกรรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีอวกาศไทย สร้าง “ดาวเทียมวิจัยวิทยาศาสตร์ฝีมือคนไทย” พิธีเปิดได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ( อว. ) กล่าวแสดงความยินดีและเป็นสักขีพยานในการลงนาม            ในนามมหาวิทยาลัยมหิดล โดย ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล

12 หน่วยงาน ผนึกกำลังจัดตั้ง “ภาคีความร่วมมืออวกาศไทย” หวังใช้เทคโนโลยีอวกาศพัฒนาคน ยกระดับอุตสาหกรรมไทย Read More »

สภาอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ งานวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนา MUSC Research Forum ในหัวข้อ “Mass Spectrometry Research Networking”

           สภาอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ งานวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนา MUSC Research Forum ในหัวข้อ “Mass Spectrometry Research Networking” ในวันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 13.00 – 15.30 น. ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผ่านทางช่องทาง Online Facebook Live ในการนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานกล่าวเปิดการเสวนา โดยในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากวิทยากร 3 ท่าน ได้แก่ 1. รองศาสตราจารย์ ดร.อรภัค เรี่ยมทอง ภาควิชาชีวโมเลกุลและพันธุศาสตร์โรคเขตร้อน

สภาอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ งานวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนา MUSC Research Forum ในหัวข้อ “Mass Spectrometry Research Networking” Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมโครงการปลูกต้นไม้เพื่อดูดกลับก๊าซเรือนกระจก ปี 3

          25 มีนาคม 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี เข้าร่วมพิธีเปิดตัวโครงการปลูกต้นไม้เพื่อดูดกลับก๊าซเรือนกระจก ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีที่ 3 ในการนี้รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต รองอธิการบดีฝ่ายสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวเปิดงาน และรองศาสตราจารย์ ดร.ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวในนามตัวแทนกลุ่มคณะในวิทยาเขตพญาไท โดยภายในงานมีพิธีรับมอบของที่ระลึกเป็นต้นกล้วยไม้ฟาแลนด์นอปซิสแคระและพันธุ์ไม้พร้อมถ่ายภาพร่วมกัน ณ หอประชุมราชพฤกษ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล          โครงการปลูกต้นไม้เพื่อดูดกลับก๊าซเรือนกระจก เป็นแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืน พ.ศ. 2563 – 2566 โดยเป็นหนึ่งในแผนการดำเนินงานคือการปรับปรุงระบบภูมิทัศน์ที่มุ่งเน้นการอนุรักษ์และเพิ่มพื้นที่สีเขียวแห่งใหม่ภายในมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักศึกษาและบุคลากร นอกจากนี้ ยังช่วยเพิ่มการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยจากกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นการส่งเสริมการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน เขียนข่าว : นางสาวจิรนันท์ นามั่ง ตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมโครงการปลูกต้นไม้เพื่อดูดกลับก๊าซเรือนกระจก ปี 3 Read More »

หลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาชีวนวัตกรรม (นานาชาติ) และหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาสรีรวิทยาการออกกำลังกาย (นานาชาติ)รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA จากมหาวิทยาลัยมหิดล

24 มีนาคม 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พัฒนาคุณภาพหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง ส่งหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาชีวนวัตกรรม (นานาชาติ) กลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพอัจฉริยะ และหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาสรีรวิทยาการออกกำลังกาย (นานาชาติ) ภาควิชาสรีรวิทยา รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA รูปแบบ 2.0 (MU AUN-QA Assessment 2.0) จากคณะกรรมการตรวจประเมินของมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2564 โดยมี รองศาสตราจารย์ ชวลิต วงษ์เอก เป็นประธานตรวจประเมินหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาชีวนวัตกรรม (นานาชาติ) ผ่านระบบออนไลน์ CISCO Webex Meeting และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรลัชชา ศิวรักษ์ เป็นประธานกรรมการตรวจประเมินหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาสรีรวิทยาการออกกำลังกาย (นานาชาติ) ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท คณะวิทยาศาสตร์ เปิดสอนในระดับปริญญาตรี จำนวน 12 หลักสูตร ปริญญาโทและเอก จำนวน 34

หลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาชีวนวัตกรรม (นานาชาติ) และหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาสรีรวิทยาการออกกำลังกาย (นานาชาติ)รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA จากมหาวิทยาลัยมหิดล Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มอบรางวัลนักศึกษาวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2563

         22 มีนาคม 2564 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานมอบประกาศนียบัตรเชิดชูเกียรติและเงินรางวัลจำนวน 10,000 บาท แก่ นายกช อามระดิษฐ์ นักศึกษาระดับปริญญาตรีหลักสูตรวัสดุศาสตร์และวิศวกรรมนาโน (นานาชาติ) ในโอกาสได้รับรางวัลนักศึกษาวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2563 ประเภทนักศึกษาผลงานวิจัยตีพิมพ์ดีเด่น ระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2563 ในหัวข้องานวิจัยเรื่อง Layer-by-Layer spray coating of stacked perovskite absorber for perovskite solar cell with better performance and stability under humid environment. ที่ได้รับการตีพิมพ์ผลงานวิจัยระดับนานาชาติ เป็นชื่อแรก ในวารสาร

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มอบรางวัลนักศึกษาวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2563 Read More »