logo
อาจารย์คณะวิทย์ มหิดล ร่วมกิจกรรม Quantum in C major

ภาพข่าวกิจกรรมคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ภาพข่าวและกิจกรรมประจำปี 2559

 

อาจารย์คณะวิทย์ มหิดล ร่วมกิจกรรม Quantum in C major "the 2nd harmonic"

เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2559 เวลา 14.00 น. ณ ห้อง L03 อาคารเรียนรวม(ตึกกลม) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิทูร ชื่นวชิรศิริ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม Quantum in C major "the 2nd harmonic" เป็นกิจกรรมที่จะช่วยให้ผู้ร่วมกิจกรรมคุ้นเคยกับโลกของควอนตัมที่อาจารย์วิทูรบรรยายให้ฟัง พอบรรยายถึงจุดสำคัญก็จะมีเสียงเพลงจากคณาจารย์ของคณะฯ ที่ผลัดเปลี่ยนกันมาร้องเพลงประกอบให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่เล่า...

ก่อนหน้านี้เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ตำนานการเล่าเรื่องควอนตัม เคล้าด้วยเสียงเพลงและเสียงดนตรีได้ถือกำเนิดมาแล้ว อาจารย์วิทูรได้กล่าวว่า... ทฤษฎีควอนตัมที่พูดไปครั้งก่อนเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น ยังไม่จบ...ซึ่งนักฟิสิกส์ต้องคิดกันอีกเยอะ ...คิดมาก ...เสียงเพลงคิดมาก จาก อาจารย์ สุนทรี อุณหพิพัฒน ภาควิชาคณิตศาสตร์ ก็ดังขึ้น

คลื่น...สิ่งที่นักฟิสิกส์ก็เริ่มต้นค้นหาความจริงต่อไป ...เพลงความจริง จาก อาจารย์ ดร.วิษุวัต สงนวล ภาควิชาพฤกษศาสตร์ แทนที่เสียงบรรยาย

มีความจริงที่ซ่อนเร้นอีกเยอะ นักฟิสิกส์เริ่มมีมุมมองคำอธิบายวิธีคิด ย่อมแตกต่าง...เพลงพื้นที่ทับซ้อน จาก นักร้องชมรมสบายสบาย ของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์

แนวคิดหลักที่เกิดขึ้นระหว่างความน่าจะเป็น และความแน่นอน แล้วโลกเราจะเอาอย่างไร ...เพลงสรุปแล้วจะเอายังไงกัน จาก นักร้องชมรมสบายสบาย ของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์

ไอน์สไตน์ไม่ชอบทฤษฎีควอนตัม... ไอน์สไตน์รู้สึกขัดใจ ...เพลงขัดใจ โดย อาจารย์ ดร.ไกรกมล หมื่นเดช และอาจารย์ ดร.มัณฑนา ชุดทอง ภาควิชาคณิตศาสตร์

มันน่าขัดใจอย่างไร ...เพลงจูบเย้ยจันทร์ อาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ และอาจารย์ ดร.วารุณี สาริกา ภาควิชาคณิตศาสตร์ ขับร้อง

ไอน์สไตน์ยังมั่นใจว่าเรามีบางอย่างที่ซ่อนอยู่... ยังยื้อความคิด...เพลงยื้อ โดย อาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์

ยังมีเรื่องราวที่นอกเหนือจากนั้น สมบัติของอนุภาคผูกถึงกันได้... เป็นคู่กัน ...เพลง แยกจากกันไม่ได้ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิทูร ชื่นวชิรศิริ ภาควิชาฟิสิกส์

ไม่ว่าไกลแค่ไหน ไม่ว่าจะแยกกันไปไกลแค่ไหน..ไกลแค่ไหนคือใกล้ โดย อาจารย์ ดร.วโรดม เจริญสวรรค์ ภาควิชาชีวเคมี

เมื่อมีวิญญาณบางอย่างเชื่อมโยงกันอยู่ ...เพลงเล่าสู่กันฟัง โดย อาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์

ผลการทดลองยืนยันการพัวพัน ภายใต้ทฤษฎีควอนตัม ดูเหมือนว่า ...ความรัก (ในความรักไม่ช่วยอะไร) อาจารย์ ดร.วารุณี สาริกา และอาจารย์ ดร.มัณฑนา ชุดทอง ภาควิชาคณิตศาสตร์

แนวคิดเรื่องความแน่นอน ดูจะต้อง...ทิ้งไว้กลางทาง อาจารย์ ดร.ณัฐกรณ์ ผิวชื่น ภาควิชาคณิตศาสตร์

ถึงจุดที่ยอมรับว่า ทฤษฎีควอนตัม เป็นสิ่งที่ใกล้เคียงความเป็นไปที่แท้จริงมากที่สุด...รัก...ที่เป็นของจริง โดย อาจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุติมา เจียรพินิจนันท์ ภาควิชาเคมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โสรยา จาตุรงคกุล และ อาจารย์ ดร.รดีกร อัครวงศาพัฒน์ ภาควิชาจุลชีววิทยา

นี่แหละคือความไม่แน่อน... ทฤษฎีควอนตัม ไอน์สไตน์ ต่อสู้กับแนวคิดตัวเอง เขาอาจเสียใจบ้างแต่ก็เป็น ...เจ็บที่ต้องรู้ ...

ยิ่งเราทำความรู้จักธรรมชาติมากขึ้น คำถามก็มีต่อไป...กระบวนการทางวิทยาศาสตร์...นี่แหละความเสียใจ โดย อาจารย์ ดร.ธเนศ กังสมัครศิลป์ ภาควิชาชีวเคมี

เมื่อใดก็ตามที่...ยิ่งรู้ยิ่งไม่เข้าใจ...เรากำลังก้าวไปข้างหน้า..ยิ่งรู้ยิ่งไม่เข้าใจ อาจารย์ ดร.วฤทธิ์ มิตรธรรมศิริ ภาควิชาฟิสิกส์

นอกจากความรู้เรื่องควอนตัม และความบันเทิงที่ผู้ร่วมกิจกรรมได้รับแล้ว สิ่งที่อาจารย์วิทูร แอบแฝงไว้ในกิจกรรมนี้ ได้แก่ "เรื่องราวของ CSR สำหรับพวกเราที่ได้มาร่วมทำกิจกรรมด้วยกัน แต่ก็ยังมีวิทยาศาสตร์แฝงอยู่ Do More of What Makes you happy มีความสุขกับการใช้ชีวิตในคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล" 

ถ่ายภาพ : นายนภาศักดิ์ ผลพานิช
เขียนข่าว : นางวริศรา ทาทอง
เว็บมาสเตอร์ : นางสาวอริศรา เฉิดมนูเสถียร