logo


รางวัลเกียรติยศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ศาสตราจารย์ ยงค์วิมล เลณบุรี
(Professor Dr. Yongwimon Lenbury)

นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2541 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์

เกียรติคุณประกาศ
คณะกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ ได้พิจารณาเห็นว่า ศาสตราจารย์ ยงค์วิมล เลณบุรี แห่งคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้อุทิศตนให้กับการวิจัยด้านการนำขบวนการทางคณิตศาสตร์ใหม่ๆ ไปใช้อธิบายปรากฏการณ์ และระบบต่างๆ ในทางชีววิทยาและการแพทย์ รวมไปถึงระบบทางนิเวศวิทยาและเทคโนโลยีชีวภาพอย่างจริงจังและต่อเนื่องเป็นเวลามากกว่า 10 ปี และทำให้เกิดการตื่นตัวในการนำขบวนการดังกล่าวไปใช้ ผลงานวิจัยทำให้เกิดความเข้าใจที่ดีขึ้น ก่อให้เกิดความสามารถในการจัดการและควบคุมระบบที่ยากต่อความเข้าใจและสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษยชาติ ศาสตราจารย์ ยงค์วิมล เลณบุรี เป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์ มีจริยธรรมและคุณธรรมของนักวิจัยสมควรเป็นแบบอย่างแก่นักวิจัยอื่น คณะกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ จึงมีมติประกาศเกียรติคุณ ศาสตราจารย์ ยงค์วิมล เลณบุรี เป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2541 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์

 

1. ประวัติส่วนตัว
ชื่อ นามสกุล    นางยงค์วิมล เลณบุรี Yongwimon Lenbury
วัน เดือน ปีที่เกิด    23 สิงหาคม พ.ศ. 2495 อายุ 46 ปี
หน่วยงานที่สังกัด   ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร. 0 2247-9893 โทรสาร 0 2247-7050
สถานที่ติดต่อ (ที่บ้าน)    177 ซอยจันทนชาติ แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800
โทร. 0 2587-7903
E-mail :    scylb@mahidol.ac.th

 

2. ประวัติการศึกษา
2519    B.Sc. (Honours) (Applie Mathematics) Australian National University, Australia.
2521    M.Sc. (Applied Mathematics) Australian National University, Australia.
2528    Ph.D. (Mathematics) Vanderbilt University, U.S.A.

 

3. ประวัติการทำงาน

ตำแหน่งในปัจจุบัน

- ศาสตราจารย์ ระดับ 9 ขั้น 24,170 บาท คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย (2542-2545)
- พ.ศ. 2541- ปัจจุบัน หัวหน้าภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน (2546)


ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง

- ตำแหน่งอาจารย์ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2520
- ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2530
- ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2533
- ตำแหน่งศาสตราจารย์ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2539
- พ.ศ. 2533-2538 รองหัวหน้า ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2532-2538 ประธานกรรมการ หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาคณิตศาสตร์ประยุกต์

 

4. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ
ประถมมาภรณ์มงกุฎไทย

 

5. ผลงานวิจัยโดยสรุป
ศาสตราจารย์ ยงค์วิมล ได้รับอุทิศตนให้กับงานวิจัยในด้านคณิตศาสตร์เชิงพลวัต และการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมา โดยได้ริเริ่มการศึกษาวิจัยด้านการนำกระบวนการทางคณิตศาสตร์ใหม่ๆ ไปใช้อธิบายระบบต่างๆ ในเชิงชีววิทยาและการแพทย์ เช่น การศึกษาวิเคราะห์แบบจำลองของระบบชุมชนนิเวศวิทยา (ecological communities) หรือแบบจำลองของระบบการหลั่งฮอร์โมนคอร์ทิซอลในร่างกายมนุษย์ หรือ การวิเคราะห์แบบจำลองของ electrical activity ในเซลบีตาของตับอ่อน อันเกี่ยวกับระดับของ insulin ซึ่งควบคุมระดับของน้ำตาลในเส้นเลือดเป็นต้น ซึ่งผลของการวิเคราะห์เชิงทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ จะสามารถช่วยให้เกิดความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับระบบที่กำลังศึกษา รวมทั้งเพิ่มสมรรถภาพในการตรวจสอบและควบคุมระบบนั้นๆ ให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และป้องกันผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการทำงานที่บกพร่องของระบบดังกล่าว

 

ทั้งนี้ งานวิจัยของ ศาสตราจารย์ ยงค์วิมล ถือว่าเป็นงานวิจัยในแนวใหม่ ซึ่งยังมีผู้ทำได้น้อย เนื่องจากในอดีตการนำทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ไปใช้กับปรากฏการณ์ทางชีวภาพ ให้สามารถแปลผลและสรุปข้อวินิจฉัยได้อย่างชัดเจนนั้น เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก หากแต่ ศาสตราจารย์ ยงค์วิมล สามารถผลิตผลงานในแนวหน้าที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ และได้รับการอ้างอิงทั้งภายในวงการคณิตศาสตร์ประยุกต์ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ และแพทยศาสตร์วิทยา

 

6. งานวิจัยในอนาคต
ยังมีหัวข้อวิจัยเปิดอยู่เป็นอันมากที่ต้องการการศึกษาวิจัยอย่างลึกซึ้ง เช่น การจำลองกระบวนการ feedback ที่ควบคุมการทำงานขอบระบบต่างๆ ที่มีความสำคัญยิ่งในร่างกายมนุษย์และการแพร่กระจายของเชื้อโรคเอดส์หรือตัวยา หรือสารพิษ เป็นต้น โดยที่โครงการ สำหรับงานวิจัยในอนาคต จะเป็นการทำวิจัยที่มีความร่วมมือระหว่างนักวิจัยจากต่างสาขาวิชา และต่างสถาบันทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศมากขึ้น เพื่อให้ได้ผลงานในระดับแนวหน้าและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางและจริงจัง

 

7. ผลงานวิจัยที่เด่นๆ
(Selected Publications)
1) Lenbury, Y., Punpocha, M.On the Stablility of Perioduc Solutions for a Product Inhibition Model of Continuous Biological Reactors, J. Gen. Appl. Microbiol. 35 (1989), 269-279.
2) Lenbury, Y., Punpocha, M. The Eeeect of the Yield Expression on the Existence of Oscillatroy Behavior in a Three-Variable Model of a Continuous Fermentation System Subject to Product Inhition. BioSystems. 22 (1989), 273-278.
3) Crooke, P., Tanner, R.D., Lenbury, Y. Inverstigation of the Volume Effect on a Simple Batch Fermentaion Process. Math. Comput. Modelling. 12 (1989), 1521 - 1530.
4) Lenbury, Y., Pacheenburawana, P. Modelling fluctuation phenomena in the plasma cortiol secretion system in normal man. BiosSystems. 26 (1991). 117-125.
5) Lenbury, Y., Siengsanan, M. Coexistence of Competing Microbial Species on a Chemostat Where on Population Feeds on Another. Acta Biotechnol. 13 (1993), 13-20.
6) Lenbury, Y., Likasiri, C. Low- and High-frequency Oscillations in a Food Chain Where One of the Competing Species Feeds on the Other. Mathl. Comput. Modelling. 20 (1994), 71-89.
7) Lenbury, Y., Maneesawarng, C.A. (1994) Parameter Space Classification of Solutions to a Model for the Cortisol Secretion System Normal Man, in Biomedical and Life Physics. Dhanjoo N. Ghista (Ed.) (Vieweg Publishing House, Weisbaden, Germany)
8) Lenbury, Y., Kammungkit, K. Novaprateep, B. Detection of Show- Fast Limit Cycles in a Model for Electrical Activity in the Pancreatic ?-cell. IMA Journal of Math-ematics Applied in Medicine and Biology. 13 (1996), 1-21.
9) Lenbury, Y., Sukparasong, B., Novaprateep, B. Bifuraction and Chaos in a Membrane Pereability Sensitive Model for a Conitnuous Bio-reactor. Mathl. Comput. Modelling. 24 (1996), 9 : 37-48.
10) Lenbury, Y., Singular Perturbation Analysis of a Model for a Predator Prey System Invaded by a Parasite. Biosystems. 39 (1996), 251-262. July 17-20, 1996. Veszprem, Hungary.
8. งานวิจัยที่กำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการ
1.โครงการออกแบบโครงสร้างเซรามิคประเภทเฟอร์โรอิเล็กทริก และเฟอร์โรเมกเนติคขึ้นใหม่เพื่อการประยุกต์ใช้เชิงเทคโนโลยี ได้รับทุนอุดหนุนวิจัยจากศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ เป็นเงิน 1,224,140 บาท
2. โครงการระบบไม่เชิงเส้นในการจำลองทางคณิตศาสตร์เชิงนิเวศน์วิทยา ระบบรวมและระบบแยก ได้รับทุนอุดหนุนวิจัยจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นเงิน 1,080,000 บาท

 



จากหนังสือ รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2541.
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.). กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม. หน้า 9-14.