logo


รางวัลเกียรติยศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 
ศาสตราจารย์ ดร. วิชัย ริ้วตระกูล
(Professor Dr. Vichai Reutrakul)

นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2548 สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช

เกียรติคุณประกาศ
คณะกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ ได้พิจารณาเห็นว่า ศาสตราจารย์ ดร.วิชัย ริ้วตระกูล แห่ง ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ เป็นผู้ที่มีจริยธรรมของความเป็นนักวิจัย โดยอุทิศตนให้กับการวิจัยมาอย่างต่อเนื่อง เกี่ยวกับพันธุ์พืชในประเทศไทยที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพทาง Anti-Inflammatory Antitumor และ Anti-HIV Activities เป็นเวลา 30 ปี จนถึงปัจจุบัน จนเป็นที่ยอมรับของวงการเคมีของประเทศไทย อีกทั้งได้รับการยอมรับในต่างประเทศ เป็นผู้ที่เป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักวิจัยในประเทศ ในด้านการปฏิบัติตนเพื่อนำไปสู่การเป็นอาจารย์ที่ดี และนักวิจัยที่ประสบความสำเร็จสูง กระตุ้นให้เกิดบรรยากาศการวิจัยที่ดีของประเทศ ทำให้นักวิจัยรุ่นหลังได้มองเห็นว่าการวิจัยสามารถนำไปสู่ความสำเร็จในวิชาชีพของตนอย่างสูง ผลงานวิจัยทางด้าน Bioactive Natural Products นำไปสู่การจดสิทธิบัตรในระดับนานาชาติ เช่น PlaitanoidsTM เป็นต้น เป็นการสร้าง Innovation ของผลงานวิจัยไปสู่เชิงพาณิชย์ เพื่อส่งเสริมขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศโดยรวม คณะกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ จึงมีมติประกาศเกียรติคุณ ศาสตราจารย์ ดร.วิชัย ริ้วตระกูล เป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2548 สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช

 

1. ประวัติส่วนตัว
ชื่อ นามสกุล    ศาสตราจารย์ ดร.วิชัย ริ้วตระกูล
วัน เดือน ปีที่เกิด    วันที่ 12 ตุลาคม 2485 อายุ 62 ปี
อาชีพ    รับราชการ
ตำแหน่ง    ศาสตราจารย์ ระดับ 11
ผู้อำนวยการโครงการพัฒนาบัณฑิตศึกษาและการวิจัยทางเคมี
(Postgraduate Education and Research Program in Chemistry-PERCH)
ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน
หน่วยงานที่สังกัด   ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ถนนพระราม 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร. 0 2201 5142 โทรสาร 0 2644 5126
สถานที่ติดต่อ (ที่บ้าน)    6 ซอยประชาชื่น 32 ถนนประชาชื่น เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800
โทร. 0 2585 6433 โทรสาร 0 2910 0298
E-mail :    scvrt@mahidol.ac.th

 

2. ประวัติการศึกษา
2514    PH.D. มหาวิทยาลัย Wisconsin เมือง Madison ประเทศสหรัฐอเมริกา
2509    B.Sc. (First Class Honours) มหาวิทยาลัย Sydney ประเทศออสเตรเลีย

 

3. ประวัติการทำงาน

ตำแหน่งในปัจจุบัน

- ศาสตราจารย์ ระดับ 11 ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย (2542-2545)
- ผู้อำนวยการโครงการพัฒนาบัณฑิตศึกษา และการวิจัยทางเคมี มหาวิทยาลัยมหิดล และทบวงมหาวิทยาลัย (2542-ปัจจุบัน)
- ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน (2546)


ตำแหน่งในอดีต

- อาจารย์โท ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (2514-2516)
- อาจารย์เอก ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (2516-2519)
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (2519-2522)
- รองศาสตราจารย์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (2522-2527)
- ศาสตราจารย์ ระดับ 10 ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (2527-2544)
- หัวหน้าภาควิชาเคมี ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (2537-2544)
- ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (เคมี) ประเภทวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2545)
- ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (2547)


ตำแหน่งอื่น ๆ ที่สำคัญ

- ที่ปรึกษาชั่วคราว World Health Organization Special Programme of Research,
Development and Research Training in Human Reproduction (WHO-HRP) (2525-2537)
- สมาชิกของ The Steering Committee of WHO Task Force on Plants for Fertility Regulation (2529-2531)
- ประธานสมาชิกของ The Steering Committee of WHO Task Force on Methods for the Regulation of Male Fertility (2532-2537)
- คณะบรรณาธิการของ Journal of Science Society of Thailand (2517-2538)
- กรรมการสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร (2538-2548)
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสภาวิชาการ สภาสถาบันราชภัฏ (2541-2543)
- กรรมการในคณะกรรมการประสานงานการพิจารณาขอเปิดดำเนินการหลักสูตร และการรับรองมาตรฐานของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ทบวงมหาวิทยาลัย (2541-2543)
- หัวหน้าผู้ประสานงานเครือข่ายโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) (2542-2546)
- ประธานกรรมการในคณะกรรมการพิจารณาขอเปิดดำเนินการหลักสูตรและการรับรองมาตรฐานการศึกษา
ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน สาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและเทคโนโลยี ทบวงมหาวิทยาลัย (2541- ปัจจุบัน)
- คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขฝ่ายวิชาการ (2544-2546)
- กรรมการในคณะกรรมการว่าด้วยความปลอดภัยทางเคมีวัตถุ กระทรวงสาธารณสุข (2544-ปัจจุบัน)
- กรรมการในคณะอนุกรรมการด้านการวิจัยสมุนไพร กระทรวงสาธารณสุข (2544- ปัจจุบัน)
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประจำสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (2544-ปัจจุบัน)
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประจำสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2544-ปัจจุบัน)
- กองบรรณาธิการเกียรติคุณวารสารสงขลานครินทร์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2543-ปัจจุบัน)
- Editorial Board ของ Asian Journal of Andrology, Asian Society of Andrology, Science Press (2542-ปัจจุบัน)
- Associate Editor ของวารสาร Pharmaceutical Biology, Swets & Zeitlinger Publishers (2544-ปัจจุบัน)
- Editorial Board ของวารสาร Phytomadicine (2547-ปัจจุบัน)
- Scientific Advisor ของ International Foundation For Science (IFS) (2537-ปัจจุบัน)
- Scientific Advisory Committee (SAC) ของ International Foundation For Science (IFS) (2546-ปัจจุบัน)
- ที่ปรึกษาทางวิชาการและด้านต่างประเทศ โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) 2546-ปัจจุบัน)
- ประธานคณะกรรมการพิจารณาทุนศึกษาและทุนกิจกรรมวิชาการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (2547-ปัจจุบัน)

 

4. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ
- มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (พ.ศ. 2539)
- เหรียญจักรพรรดิมาลา (พ.ศ. 2539)
- มหาวชิรมงกุฎไทย (พ.ศ. 2534)
- ประถมาภรณ์ช้างเผือก (พ.ศ. 2531)
- ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (พ.ศ. 2529)
- ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (พ.ศ. 2526)
- ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (พ.ศ. 2522)
- ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (พ.ศ. 2519)

 

5. ผลงานวิจัยโดยสรุป ศาสตราจารย์ ดร.วิชัย ริ้วตระกูล ทำหน้าที่ควบคุมวิจัยของนักศึกษาในระดับปริญญาตรี โท เอก ได้ผลิตนักศึกษาภายใต้การ supervision ในระดับปริญญาโท 45 คน และปริญญาเอก 9 คน ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารนานาชาติ 106 เรื่อง จดสิทธิบัตรในระดับนานาชาติ 1 เรื่อง ในระหว่างปี 2534 - 2545 มีผลงาน 83 เรื่อง ได้รับการอ้างอิงเป็นจำนวน 610 ครั้ง ผลงานวิจัยทำให้ศาสตราจารย์ ดร.วิชัย ริ้วตระกูล ได้รับเชิญให้เป็น invited และ plenary speakers ในการประชุมนานาชาติอย่างสม่ำเสมอ และได้รับรางวัลที่สำคัญ ๆ ที่เกี่ยวกับงานวิจัย คือ รางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของมูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย ประเภทบุคคล ประจำปี พ.ศ. 2538 รางวัลผลงานวิจัยเกียรติยศ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพและวิศวกรรมศาสตร์ สกว. 2545 และเมธีวิจัยอาวุโส สกว. พ.ศ. 2539-2550

งานวิจัยนี้ได้นำไปสู่การค้นพบปฏิกิริยาเคมีที่สำคัญและใหม่ เช่น ปฏิกิริยาที่นำมาใช้ในการสังเคราะห์สารประเภท vinyl halides (chloride, bromide, iodides และ fluorides), activated cyclopropanes, piperidines derivatives, protoberberine, benzazepine ปฏิกิริยา Aldol-Tischenko ของ samarium dienolate และปฏิกิริยาของ a-phenylsulfonyl methyl, a,a'-difluoro-phenylthio methyl radicals สารประเภท organofluorines เป็นสารที่เตรียมยากและมีประโยชน์มากในทางอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัสดุชนิดใหม่ และเกี่ยวกับอุตสาหกรรมยา งานวิจัยทางด้านนี้ได้ค้นพบวิธีใหม่ ๆ ที่ใช้สังเคราะห์สารประเภทดังกล่าวได้ นอกจากนี้ยังได้ศึกษาการสังเคราะห์สารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ (bioactive natural products) หลายตัว เช่น สารในกลุ่ม diarylheptanoids สารกลุ่ม butenolides จาก Melodorum fruticosum สารกลุ่ม pyranonaphthoquinones และสารประเภท "caged xanthones"

โครงการ drug discovery ที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เกี่ยวข้องกับการศึกษาและค้นหาสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ เพื่อนำมาเป็นสารโครงสร้างนำ (lead structures) ในการพัฒนายา โครงการฯ ครอบคลุมสารชนิด non-steroidal ที่มีฤทธิ์แก้อาการอักเสบทั้งชนิดกินและชนิดทา (non-steroidal topical and oral anti-inflammatory agents) สารฆ่าเซลล์มะเร็ง สารฆ่าเชื้อไวรัส HIV และสารที่มีฤทธิ์เกี่ยวกับการควบคุมการเจริญพันธุ์ในเพศชาย การพัฒนาโครงการนี้ได้นำไปสู่การพัฒนาห้องปฏิบัติการการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพที่ได้มาตรฐาน ทางด้าน anti-inflammatory และ antifertility (male and female) activities ที่ภาควิชาเภสัชวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การทดสอบ cytotoxic, antimitotic และ anti-HIV activities ที่ภาควิชาสรีรวิทยา และจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตามลำดับ การศึกษานี้ได้พบสารใหม่ประเภท arylbutanoids, diarylheptanoids และ xanthones ที่มี anti-inflammatory activity สาร seco-cycloartanes, xanthones, cyclicheptapeptides และ flavonoids มี cytotoxic activity ที่ดีมาก นอกจากนี้ ยังพบว่าสาร flavonoid, caged xanthone และ cyclicheptapeptide มี antitumor activity ในสัตว์ทดลอง สารเหล่านี้มีศักยภาพที่จะเป็นสารโครงสร้างนำ (lead structures) ในการพัฒนาเป็นสารรักษาโรคมะเร็ง สารใหม่ประเภท pyranonaphthoquinones และ cyclartane derivatives แสดงฤทธิ์ที่ดีในการฆ่าเชื้อโรค AIDS (MC99) และมีศักยภาพที่ดีจะพัฒนาต่อเป็นยารักษาโรค AIDS สาร pyranonaphthoquinones 1 ชนิดที่มี anti-HIV activity ได้ผ่านการศึกษาทางด้านพิษวิทยา (preclinical toxicology) บางส่วนและผลเป็นที่น่าพอใจ จากการศึกษาอย่างต่อเนื่องพบว่าสาร triptolide ซึ่งมี male antifertility activity นั้น เป็นสารที่ mon-mutagenic จากการทำ mutegenicity assay ภายใต้สภาพ GLP การวิจัยสารนี้ในลิง marmoset ตัวผู้ พบว่าสาร triptolide สามารถทำให้ลิง marmoset เป็นหมันแบบชั่วคราว (reversible) จำนวน sperm ของลิง marmoset เพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับเหมือนก่อน treatment หลังจากที่หยุดการให้สาร triptolide 6 อาทิตย์ เท่าที่ได้ศึกษามาจนถึงขณะนี่ไม่พบความเป็นพิษของสารนี้ต่อสัตว์ทดลอง นับได้ว่าสาร triptolide เป็นสารตัวแรกที่มีฤทธิ์ male antifertility ที่ได้ผ่านการทดสอบทาง preclinical toxicology และการศึกษาฤทธิ์ใน primate ได้เป็นที่น่าพอใจ บางส่วนของงานวิจัยนี้ได้ถูกนำไปเผยแพร่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ BBC World ผ่านดาวเทียมในรายการ Tomorrow's World: Vision of the Future เมื่อเดือนเมษายน ปี 2540

 

6. งานวิจัยที่กำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการ
งานวิจัยทางด้านเคมีอินทรีย์สังเคราะห์กำลังดำเนินการพัฒนาวิธีใหม่ (new synthetic methodology) โดยใช้ lanthanide catalysts เพื่อจะสังเคราะห์สารประเภท glucal (อนุพันธ์ของ glucose) เพื่อจะนำไปใช้ในการสังเคราะห์สารประเภท pyranonaphthoquinones ซึ่งเป็นสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากต้นไม้ที่ขึ้นในประเทศไทย และมีฤทธิ์ anti-inflammatory และ anti-HIV โครงการที่สำคัญอีกโครงการหนึ่งคือ การใช้ organofluorine compounds ในการสังเคราะห์สารประเภท xanthones ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ทางด้าน antitumor และ anti-oxidation นอกจากนี้แล้วยังกำลังศึกษาวิธีการสังเคราะห์สารประเภท caged xanthone ซึ่งเป็นสารที่มาจากพืชในวงศ์ Garcinia ซึ่งสารบางตัวมีฤทธิ์ทางด้าน anti-HIV antitumor anti-inflammatory และ anti-oxidation

งานทางด้าน drug discovery กำลังศึกษาสารสำคัญของพืชในวงศ์ Garcinia, Gardenia และ Diospyros สารหลายชนิดที่มีอยู่ในพืชเหล่านี้ เป็นสารใหม่ซึ่งไม่มีการค้นพบมาก่อน ซึ่งมีศักยภาพในการที่จะนำไปเป็นสารโครงสร้างนำ (lead structure) ในการพัฒนายาได้ และมีฤทธิ์ทางชีวภาพที่น่าสนใจคือ antitumor, anti-cholangiocarcinoma (ฆ่าเซลล์มะเร็งท่อน้ำดี ซึ่งมะเร็งชนิดนี้เป็นกันมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ), anti-HIV และ anti-inflammatory นอกจากนี้แล้วยังมีการพัฒนาห้องปฏิบัติการวิจัยทางด้านการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพ ด้าน cytotoxic, antitumor, anti-HIV, anti-cholangiocarcinoma, chondroprotective (ฤทธิ์ป้องกันกระดูกผุ), antimicrobial, anti-oxidant และ anti-inflammatory (in vivo และ vitro)

 

7. งานวิจัยในอนาคตโดยสรุป
งานวิจัยที่จะทำในอนาคตเป็นงานวิจัยพื้นฐานแบบกำหนดทิศทาง (directed basic research) ซึ่งจะมุ้งเน้นทั้งสร้างองค์ความรู้ใหม่ การศึกษาวิจัยในเรื่องที่อาจจะนำผลงานไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ และเชิงสาธารณประโยชน์ได้ งานวิจัยแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกคือ การวิจัยพื้นฐานแบบกำหนดทิศทางด้านเคมีอินทรีย์สังเคราะห์ (directed exploratory research in basic synthetic organic chemistry) ส่วนที่สองคือ การวิจัยในโครงการ drug discovery ซึ่งเป็นการศึกษาแบบกำหนดทิศทาง เพื่อจะมุ่งเน้นหาสารโครงสร้างนำ (lead structures) ที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพจากธรรมชาติ (directed exploratory research in bioactive natural products) ที่มีฤทธิ์ antitumor, anti-HIV, anti-inflammatory, antimicrobial และ antioxidant activities เพื่อจะนำมาใช้เป็น lead structures ในการพัฒนาเป็นยาต่อไป

 

7.1งานวิจัยทางด้านเคมีอินทรีย์สังเคราะห์ จะศึกษาการใช้ปฏิกิริยา Aldol-Tischenko ของ samarium enolate และ dienolate ในการสังเคราะห์ 1,3-diol และ 1,3-amino alcohol units สารประกอบทั้งสองชนิดดังกล่าว พบมากในสารที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพ มีประโยชน์ทั้งในทางอุตสาหกรรมและการแพทย์ การศึกษาวิจัยในโครงการนี้จะมุ่งเน้นการวิจัยโดยใช้ปฏิกิริยา radical เช่น ใช้ intermediate 1,1-difluorophenyl-1-thiomethyl radical ในการสังเคราะห์สารประกอบที่มี fluorine อยู่ในโมเลกุล

 

7.2 ในด้านการสังเคราะห์ bioactive natural products จะดำเนินการศึกษาการสังเคราะห์สารประเภท pyranonaphthoquinones ที่มีฤทธิ์ anti-HIV และสารประเภท cage xanthones ที่มีฤทธิ์ antitumor การศึกษาในโครงการ drug discovery จะมุ่งเน้นการหาสารต้นแบบ (lead structures) จากพืชที่มีฤทธิ์ดังกล่าวข้างต้น งานวิจัยบางส่วนเป็นงานต่อเนื่องและบางส่วนเป็นงานใหม่ที่จะเริ่มขึ้น พืชที่จะนำมาทำการวิจัยจะเก็บสำรวจจากป่าในส่วนต่าง ๆ ของประเทศ โดยจะให้ความสำคัญกับพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศ (endemic species) พืชในสกุล Gardenia, Polyalthia, Garcinia Ventilago และพันธุ์พืช Ventilago harmandiana, Garcinia speciosa, Garcinia hanburyi, Mallotus spodocarpus, Ochna intergerrima และ Diospyros variegata สารบริสุทธ์บางตัวที่แยกได้จากต้น Ventilago harmandiana และ Mallotus spodocarpus มี anti-HIV และ antitumor activity ที่น่าสนใจ และมีศักยภาพที่จะใช้เป็นสารต้นแบบสำหรับการพัฒนาเป็นยาใช้เกี่ยวกับโรค AIDS และโรคมะเร็งต่อไปตามลำดับ

 

นอกจากนี้ การวิจัยจะดำเนินการหาสารพวกที่มีฤทธิ์ anti-inflammatory, antioxidant and antimicrobial activity ซึ่งอาจจะนำมาพัฒนาใช้เป็น cosmeceuticals, topical และ oral nonsteroidal anti-inflammatory drugs และใช้เกี่ยวกับ postharvest technology ในการรักษาสภาพของผลิตผลทางเกษตรให้คงความสดนานยิ่งขึ้น

 

การดำเนินการวิจัยในโครงการ drug discovery จะประกอบด้วยเครือข่ายของนักวิจัยจากหอพันธุ์ไม้ กรมป่าไม้ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันราชภัฎสุราษฏร์ธานี

 

7.3 งานวิจัยที่จะนำไปใช้ประโยชน์
  1. งานวิจัยทางด้าน directed exploratory research in bioactive natural products อาจจะนำไปสู่สารต้นแบบ (lead structures) ซึ่งสามารถนำมาจดสิทธิบัตร (patent) ซึ่งจะเข้าไปสู่การพัฒนาในเชิงพาณิชย์และเชิงสาธารณประโยชน์ในอนาคต
  2. การพัฒนาสารประเภทที่มีฤทธิ์ทางด้าน anti-inflammatory antmicrobial และ antioxidant activites มีความเป็นไปได้สูงที่จะนำสารประเภทนี้มาใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น เครื่องสำอาง สารที่ใช้ในเรื่องการรักษาผลไม้สดอยู่ได้นานขึ้น ตัวอย่างที่การพัฒนาถ่ายทอดความรู้และสร้างนวัตกรรม (innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงสาธารณะ (public benefits) ที่จะเริ่มเป็นรูปธรรม คือการพัฒนาสารจากไพล (Zingiber cassumunar) และเกสรบัวหลวง (Nelumbo nucifera) ที่อาจจะใช้ใน cosmeceutical products ต่าง ๆ ในนามของ PlaitanoidsTM และ LotusiaTM ตามลำดับ

 



จากหนังสือ รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2548.
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.). กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม. หน้า 17-38