ประวัติส่วนตัว
เกิดเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.
2500 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของ ศาสตราจารย์
ดร.สตางค์ และนางยุพิน มงคลสุข
สำเร็จการศึกษาชั้นประถมและมัธยมจากโรงเรียน
Birkenhead ประเทศอังกฤษ สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี
สาขาเภสัชวิทยา จาก King's College
และปริญญาโทสาขาชีวเคมี จาก Chelsea's
Collage มหาวิทยาลัยลอนดอน ต่อมาเข้าศึกษาระดับปริญญาเอก
ที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐแมรีแลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา
สำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
ในปี พ.ศ. 2528 หลังจากนั้นได้ทำงานวิจัยหลังปริญญาเอก
ณ Laboratory of Biochemistry, National
Cancer Institute, Nation Institute
of Health ประเทศสหรัฐอเมริกา (พ.ศ.
2528-2530) สมรสกับ นางจรัสพร มงคลสุข
(รังษีวงศ์) มีบุตร 1 คนคือ ด.ช. ยศกร
มงคลสุข
ประวัติการทำงาน
หลังจากสำเร็จการศึกษาได้เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ประจำ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็น ผู้ช่วยศาสตราจารย์
และรองศาสตราจารย์ใน ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อปี พ.ศ. 2534 และ 2541 ตามลำดับ
ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพ
สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2532
ถึงปัจจุบัน จากผลการทำงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง
ทำให้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ดีเด่น
ปี พ.ศ. 2534 จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์
รางวัล Taguchi Prize ประเภทนักวิจัยดีเด่น
ปี พ.ศ. 2540 จากสมาคมเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทย
รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ.
2541 สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์
2543 รางวัลวิจัยระดับชมเชย ปี พ.ศ.
2543 จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติให้เป็น สมาชิกบัณฑิตสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543
ผลงานวิจัยโดยสรุป
งานวิจัยส่วนใหญ่คือ การศึกษากลไกการก่อโรคในพืชโดยแบคทีเรีย Xanthomonas ซึ่งเป็นแบคทีเรียซึ่งทำให้เกิดการสูญเสียผลผลิตทางการเกษตรเป็นจำนวนมาก
ในพืชเศรษฐกิจ โดยปฏิกิริยาอย่างหนึ่งที่พืชตอบสนองต่อการรุกรานของเชื้อโรคคือ
การเพิ่มปริมาณ Reactive Oxygen Species
(ROS) เช่น hydrogen peroxide, organic
peroxide และ superoxide สารเหล่านี้จะมีปริมาณสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ถ้าพืชสามารถป้องกันตัวเองและทำลายเชื้อโรคได้
ในทางตรงกันข้ามหากพืชไม่สามารถป้องกันตัวเองได้
ระดับของ ROS จะสูงขึ้นในระยะแรกแล้วลดลงอย่างรวดเร็ว
แสดงว่าระดับ ROS มีความสำคัญต่อการป้องกันการเกิดโรค
เนื่องจาก ROS สามารถไปยับยั้งการเจริญเติบโตและทำลายเชื้อโรค
จึงได้ศึกษาพื้นฐานเกี่ยวกับกลไกซึ่ง Xanthomonas ใช้ป้องกันตัวเองจาก
ROS เหล่านี้ กลไกนี้มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของ Xanthomonas ในพืชและความรุนแรงของโรคในระยะแรก
จากงานวิจัยพบว่า เมื่อ Xanthomonas ถูกกระตุ้นด้วย superoxide ในปริมาณต่ำ
เชื้อ Xanthomonas จะสร้างเอนไซม์
catalase และ alky hydroperoxide
reductase ในระดับที่สูงขึ้นมากทำให้เชื้อ Xanthomonas ปรับดัวเองให้รอดพ้นจากการทำลายของ
alky hydroperoxide reductase (alpR)
จากการวิเคราะห์ลำดับเบสและกรดอะมิโนของยีนและโปรตีนทั้งสองนี้
ประกอบกับการศึกษาเกี่ยวกับบทบาทความสำคัญของเอนไซม์เหล่านี้
ในภาวะที่มี peroxide stress พบว่าเอนไซม์ทั้งสองมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการอยู่รอดของเซลล์
ด้วยเหตุนี้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีควบคุมการทำงานของยีนทั้งสอง
จึงเป็นความรู้พื้นฐานในการอธิบายและทำความเข้าใจระบบการป้องกันตัวเองของ Xanthomonas จาก Oxidative
stress ต่อมาสามารถแยกยีน oxyR ซึ่งเป็น transcriptional activator
และแสดงให้เห็นว่ายีนนี้มีความสำคัญต่อระบบการตอบสนองต่อ
ใน Xanthomonas โดยพบว่า oxyR mutant มีความบกพร่องในการเจริญเติบโตในภาวะที่มีออกซิเจน
และมีความไวสูงขึ้นต่อสารที่ทำให้เกิด
Oxidative stress นอกจากนั้นใน oxyR mutant ยีน kat และ ahpR ไม่สามารถถูกกระตุ้นโดย Oxidative
stress แสดงว่าโปรตีน OxyR นั้นจำเป็นต่อการตอบสนองของยีนทั้งสองต่อ
oxidants การศึกษาการแสดงออกของยีน oxyR พบว่าใน Xanthomonas ปริมาณของโปรตีนจะสูงขึ้นหลายเท่า
เมื่อถูกกระตุ้นด้วยสารที่ทำให้เกิด
Oxidative stress ปรากฏการณ์นี้แตกต่างจากเชื้อแบคทีเรียอื่นๆ
ทั้งหมดที่ได้มีผู้ทำการศึกษามา โดยในแบคทีเรียอื่นๆ
นั้น โปรตีน OxyR เปลี่ยนแบบจาก reduced
เป็น oxidized เมื่อแบคทีเรียถูกกระตุ้นด้วย
oxidative stress แต่จะไม่มีการเพิ่มปริมาณของโปรตีน
OxyR ผลงานวิจัยเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าโปรตีน
OxyR มีหน้าที่เป็น global sensor
และ regulator ของ oxidative stress
นอกจาากนี้ยังค้นพบว่าถ้าเกิด mutation
ขึ้นในโปรตีน OxyR ในบางกรดอะมิโน
ทำให้ OxyR คงสภาพอยู่ในรูป oxidized
ซึ่งจะทำให้แบคทีเรียมีความต้านทานต่อสาร
peroxide สูงขึ้นกว่าเดิมมาก ในการศึกษาเกี่ยวกับสารไธออล
(thiol) ที่สามารถทำปฏิกิริยากับหมู่ซัลไฮดริล
(-SH) ในโปรตีนต่างๆ ได้ ดร.ศกรณ์
และคณะ ได้รายงานว่าสารประเภทนี้เหนี่ยวนำ
OxyR ให้อยู่ในรูปที่ active ได้ซึ่งเป็นรายงานใน in vivo เป็นครั้งแรก
สาร organic peroxide สามารถทำให้เกิดอนุมูลอิสระ
(free radicals) ซึ่งสามารถทำปฏิกิริยาและก่อให้เกิดความเสียหายกับ
macromolecules ในเซลล์ เช่น cell
membrane, DNA และโปรตีน เป็นต้น
ดังนั้นสิ่งมีชีวิตจึงต้องมีวิวัฒนาการของระบบการกำจัดสาร
organic perxide เช่นกัน ในแบคทีเรีย
เอนไซม์ alky hydroperoxide eductase
(alpR) มีหน้าที่เปลี่ยน organic
hydroperoxide เป็น alcohol โดยที่
AhpR จะประกอบด้วยโปรตีน 2 ชนิด คือ
AhpC และ AhpF โปรตีน AhpC ในรูปรีดิวซ์จะเปลี่ยน
organic hydroperoxide เป็น alcohol
ในขณะที่ AhpF ทำหน้าที่เปลี่ยน AhpC
ให้กลับมาอยู่ในรูปรีดิวซ์ที่ active
ใน Xanthomonas ยีนที่ควบคุมการสร้าง
AhpC และ AhpF ไม่ได้อยู่ในรูป operon
เดียวกันแต่ถูกควบคุมด้วย OxyR เหมือนกัน
ปริมาณการสร้าง AphR จะเพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อ Xanthomonas สัมผัสกับสารที่ก่อให้เกิด
Oxidative stress ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้แบคทีเรียอยู่รอดได้ในสภาวะดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ดร.ศกรณ์ และคณะ ยังรายงานถึงความซับซ้อนของการควบคุมการแสดงออกของยีน ahpC คือเมื่อทำให้ Xanthomonas สูญเสียการทำงานของยีน ahpC พบว่าแบคทีเรียชดเชยการสูญเสีย AhpC
โดยการเพิ่มปริมาณของเอนไซม์ catalace
และ peroxidase มากขึ้นทำให้ Xanthomonas มีความต้านทานต่อ hydrogen peroxide
มากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันกลับพบว่า
แบคทีเรียกลับมีความไวต่อสารที่สร้าง
superoxide มากขึ้น ซึ่งความสัมพันธ์ของการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องในลักษณะนี้
ต่างจากที่มีรายงานในแบคทีเรียอื่น
นอกจากนี้จากการศึกษาโดยใช้เทคนิคทางพันธุวิศวกรรม
ในการคัดเลือกยีนที่สามารถทำให้แบคทีเรียมีความสามารถต้านทาน
organic peroxide ในระดับสูง พบว่ามีโปรตีนที่ให้ชื่อว่า Ohr (organic
hydroperxide resistance) ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดใหม่
ซึ่งยังไม่มีรายงานมาก่อนในสิ่งมีชีวิตใดๆ มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำลายสาร organic
peroxide ในแบคทีเรีย Xanthomonas คุณสมบัติของโปรตีน Ohr เป็นโปรตีนขนาดเล็กและพบเป็นปริมาณมากใน Xanthomonas จากการศึกษาโครงสร้างของโปรตีนนี้พบว่า
มีกรดอะมิโน cysteine 2 ตำแหน่ง ซึ่งมีความสำคัญต่อการทำงานของเอนไซม์
เนื่องจากการเปลี่ยนกรดอะมิโน cysteine
ทั้งสองตำแหน่งนี้ ให้เป็นกรดอะมิโน
serine โดยใช้เทคนิค site directed
mutagenesis พบว่าทำให้โปรตีนนี้สูญเสียหน้าที่ไป
การควบคุมการแสดงออกของยีน ohr พบว่ามียีนที่ให้ชื่อว่าohrR ทำหน้าที่เป็น repessor คอยควบคุมการแสดงออกของยีน ohr โดยมี organic peroxide
เป็น inducer ซึ่งปัจจุบันกำลังศึกษากลไกการควบคุมของ
Ohr ในระดับโมเลกุล
งานวิจัยต่างๆ ได้รับเงินทุนสนับสนุนจาก
สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
และ Thai-Belgian University Development
Grant (ABOS)
งานวิจัยในอนาคต
งานวิจัยในอนาคตคือ การศึกษาขบวนการการต้านทานต่อสาร
organic peroxide ในแบคทีเรียที่ก่อโรคในพืช
คือ Xanthomonas campastris และ Agrobacterium tumefaciens โดยใช้ bioinformatic และเทคนิคทางพันธุวิศวกรรม เพื่อแยกและศึกษายีนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในระดับโมเลกุล
รวมทั้งกลไกการควบคุมการแสดงออกของยีนเหล่านั้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมจาก repressor
OhrR ซึ่งเป็น repressor ที่ได้พบและรายงานครั้งแรกโดยคณะผู้วิจัย
และจากการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นจากฐานข้อมูลของ
genome sequence ของ Agrobacterium
tumefaciens พบว่าแบคทีเรียนี้มียีนที่คล้ายกับ ohrR จำนวนทั้งสิ้น 5 ยีน
แสดงให้เห็นว่า repressor ใน family
นี้น่าจะมีความสำคัญต่อแบคทีเรีย
ทั้งในด้านการก่อโรคพืชและการ survival
ในสภาวะ stress
นอกจากนี้ยังสนใจที่จะศึกษาในแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคในกุ้งกุลาดำ
คือ Vibrio harveyi โดยจะศึกษาในด้านผลกระทบของสาร
oxidants และ heavy metal ในธรรมชาติต่อการแสดงออกของยีนต่างๆ
ที่มีความสำคัญต่อการต้านทางต่อสภาวะ
oxidative stress ซึ่งเป็นสภาวะที่
host hemocyte ใช้ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
จากหนังสือ :
เมธีวิจัยอาวุโส สกว. ๒๕๔๕ : ผลงานวิจัยเมธีอาวุโส
สกว.๒๕๔๒-๒๕๔๔ [กรุงเทพฯ] :
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
: ISBN-974-7206-07-5 |