หลังจากจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแล้ว ได้เข้าศึกษาเตรียมแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน)
จากนั้นได้รับทุนโคลัมโบ ไปศึกษา ณ
มหาวิทยาลัย Liverpool ประเทศอังกฤษ
เมื่อปี พ.ศ. 2506 และจบปริญญาตรี ทางสาขาวิชาเคมี
(เกียรตินิยม) เมื่อปี พ.ศ. 2509 ต่อจากนั้นเข้าศึกษาต่อ
ระดับปริญญาเอก ทางสาขาวิชาเคมีอินทรีย์
จนจบในปี พ.ศ. 2512 สมรสกับ รศ. ดร. คุณหญิง มธุรส (มงคลสุข)
มีบุตร 1 คน คือ นายอธิศ รุจิรวัฒน์
เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว ได้กลับมารับราชการเป็นอาจารย์
ในภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัยมหิดล 1 ปี ได้รับทุน SEATO
Fellowship ไปทำวิจัยหลังปริญญาเอก
(postdoctoral training) ณ Massachusetts
Institute of Technology (MIT) และทุนของ
National Cancer Institute ทำวิจัยที่
Boston University สหรัฐอเมริกา หลังจากกลับมา
ได้สอนวิชาเคมีอินทรีย์ แก่นักศึกษา
ระดับปริญญาตรี และนักศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย
และปฎิบัติงานวิจัยในด้านเคมีอินทรีย์
ได้รับเลือก เป็นหัวหน้าภาควิชาเคมี
ระหว่างปี พ.ศ. 2529-2533 ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ
โครงการวิจัยและพัฒนายาสังเคราะห์ สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหิดล และห้วหน้าห้องปฎิบัติการเภสัชเคมี
สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ นอกจากนี้ยังปฎิบัติงานในด้านอื่นๆ
เช่น เป็นกรรมการด้านวิชาการ ในมหาวิทยาลัยต่างๆ
และเป็นผู้รักษาการ ประธานอนุกรรมการ
สาขาเคมี ของผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและ Polymer
Science ในโครงการความร่วมมือทางวิชาการ
ระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
(NRCT) และ Japan Society for the Promotion
of Science (JSPS)
รศ.
ดร. สมศักดิ์ รุจิรวัฒน์ มีความสนใจ
ในสารประกอบพวก Nitrogen Heterocycles
โดยเฉพาะสารประเภทอัลคาลอยด์ เป็นพิเศษ
เนื่องจากสารที่เป็นยา และสารที่น่าสนใจจำนวนมาก
เป็นสารประเภทนี้ ดังนั้นสารกลุ่มนี้
จึงมีความสำคัญ และมีประโยชน์มาก ในระยะแรกของงานวิจัย
ได้ศึกษาปฎิกิริยาและการสังเคราะห์
สารอัลคาลอยด์ต่างๆ ซึ่งใช้เป็น model
ในห้องปฎิบัติการ ที่ใช้อธิบายกลไก
ในการเกิดสารอัลคาลอยด์บางชนิด ในธรรมชาติ
งานวิจัยในด้านการสังเคราะห์ สารอัลคาลอยด์
ได้ขยายออกไป ในสารอัลคาลอยด์หลายกลุ่ม
นอกจากนี้ ยังได้ศึกษาวิธีการสังเคราะห์
และประโยชน์ของสาร Reissert compounds
และทางกลุ่มวิจัย ได้พัฒนาวิธีการใหม่
ที่ใช้ในการสังเคราะห์สาร Reissert
compounds ซึ่งในปัจจุบันยังเป็นวิธีการที่ดีที่สุด
ในการสังเคราะห์สารกลุ่มนี้ และใช้สารกลุ่มนี้
ในการสังเคราะห์สารอัลคาลอยด์ต่างๆ
ในระยะหลัง ทางกลุ่มวิจัยได้พัฒนา วิธีการใช้
organopalladium และปฎิกิริยาอนุมูลอิสระ
ในการสังเคราะห์สารอัลคาลอยด์ กลุ่ม
Proto-berberine. Pavine และ Erythrina
นอกจากความสนใจ ในด้านการสังเคราะห์
และปฎิกิริยาทางเคมี ของสารดังกล่าวแล้ว
รศ. ดร. สมศักดิ์ ยังได้ทำงานวิจัย
ในด้านผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ทั้งในด้านการสังเคราะห์
การหาสูตรโครงสร้าง และฤทธิ์ทางยา ของสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ
นอกจากนี้ยังได้ร่วมวิจัยในหลายโครงการ
กับนักวิจัยในแขนงวิชาอื่นๆ โดยทำหน้าที่แยกสาร
หาสูตรโครงสร้าง หรือสังเคราะห์สารต่างๆ
ที่ใช้ประโยชน์ในโครงการต่างๆ เช่น
ศึกษาสารประเภท cyanogenic glycosides
จากต้นมันสำปะหลัง (ร่วมกับ ศ. ดร.
มนตรี จุฬาวัฒนฑล) งานวิจัยนี้ ได้ประสบความสำเร็จ
ในการแยก และหาสูตรโครงสร้างของ cyanogenic
glycosides ตัวใหม่ๆ การศึกษาสารประกอบ
sulphonamides ในการใช้เป็นยาหมันชาย
(ร่วมกับ รศ.
ดร. ชุมพล ผลประมูล) ในโครงการ
ได้ทำการสังเคราะห์สารประกอบ sulphonamides
เป็นจำนวนมาก เพื่อใช้ทดสอบฤทธิ์ ในการใช้เป็นยาหมันชาย
นอกจากนี้ สารเคมีเหล่านี้ ยังใช้ประโยชน์ในการศึกษา
กลไกในการเป็นหมัน การหาสารที่เป็นยารักษาโรคมาเลเรีย
(ร่วมกับ รศ.ดร.
จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์) ได้หาวิธีการใหม่
และประสบความสำเร็จ ในการสังเคราะห์
mefloquine และ อนุพันธ์ต่างๆ ผลจากงานวิจัยนี้
ได้พบสารที่ฆ่าเชื้อมาเลเรีย ที่ดีมากตัวหนึ่ง
และได้รับสืทธิบัตรภายใต้มหาวิทยาลัยมหิดล
และสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ โครงการสังเคราะห์
และฤทธิ์ทางยา ของ praziquantel และอนุพันธ์
(ร่วมกับ ศ.ดร.
สถิตย์ สิริสิงห และ ศ.วิทยา
ธรรมวิทย์) ได้ทำการสังเคราะห์
Praziquantel และอนุพันธ์เป็นจำนวนมาก
และขณะนี้ยังมีสารบางตัว ที่รอการทดสอบอยู่
โครงการวิจัยอนุพันธ์ colchicine จากต้นดองดึง
(ร่วมกับ ผศ. พรรนิภา ชุมศรี) ได้หาสูตรโครงสร้างอนุพันธ์
colchicine หลายตัว พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนสูตรโครงสร้าง
โดยการสังเคราะห์ เพื่อใช้ในการทดสอบมะเร็ง
cell line ต่างๆ รวมถึง cell line ของมะเร็งท่อน้ำดี
(ร่วมกับ ศ.ดร. สถิตย์ สิริสิงห) โครงการพัฒนา
และการผลิตน้ำยาอิมมูโนเคมี เพื่อตรวจสอบหาสารแอมเฟตามีน
(ยาม้าและยาอี) (ร่วมกับ ศ.ดร.
กวี รัตนบรรณากูร) โดยสังเคราะห์อนุพันธ์
ของแอมเฟตามีนใหม่ๆ เพื่อใช้ในการเตรียมน้ำยา
เพื่อใช้ตรวจวินิจฉัยยาม้า และยาอี
โครงการวิจัยต่างๆ ที่กล่าวถึง ได้รับเงินทุนสนับสนุนจาก
USAID, USAID/ISRAEL, สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
ศูนย์พันธุวิศวกรรม และเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
ในระยะเวลาประมาณสิบปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ได้พบว่า
สารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากทะเล เป็นจำนวนมาก
มีฤทธ์ทางยาที่น่าสนใจ ซึ่งสารเหล่านี้
หลายตัวเป็นอนุพันธ์ของ 3,4-disubstituted
pyrroles เช่น สารในกลุ่ม lamellarins,
lukianols และ ningalins ในปัจจุบัน
มีสารในกลุ่ม lamellarins อยู่ 35 ตัว
สารในกลุ่มนี้ มีฤทธ์ทางชีววิทยา เป็นที่น่าสนใจมาก
ซึ่งรวมถึงการเป็นพิษต่อเซลล์ การหยุดยั้งการแบ่งตัวของเซลล์
ฤทธ์ในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และนอกจากนี้
เมื่อเร็วๆ นี้ ได้พบว่าสารบางตัวในกลุ่ม
ที่ทำหน้าที่เป็น multidrug-resistant
reversal และหยุดยั้ง HIV-I integrase
กลุ่มวิจัยได้ประสบความสำเร็จ ในการพัฒนาวิธีการสังเคราะห์
ของสารในกลุ่ม lamellarins บางตัว ซึ่งงานวิจัยในขั้นต่อไป
จะปรับปรุง และขยายวิธีการ รวมถึงการพัฒนากระบวนการสังเคราะห์ใหม่ๆ
ที่จะประยุกต์ใช้สังเคราะห์ สารในกลุ่มนี้
นอกจากนี้ สารที่ได้จากธรรมชาติบางตัว
ยังมีจำนวนน้อยมาก ไม่พอเพียงใช้ในการหาฤทธิ์ทางชีวภาพ
เป็นที่คาดหวังว่า ผลของงานวิจัยนี้
จะสามารถผลิตสารในกลุ่มนี้ ได้มากพอเพียง
ที่จะใช้ทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพ ที่น่าสนใจต่อไป
นอกจากสารในกลุ่ม lamellarins ทางกลุ่มวิจัยจะวิจัยวิธีการสังเคราะห์สาร
ในกลุ่ม 3.4-disubstituted pyrroles,
lukianols และ ningalins เพื่อให้ได้วิธีการใหม่
ที่จะสามารถประยุกต์ใช้ ในการสังเคราะห์สารในกลุ่มเหล่านี้
ให้ได้จำนวนมากพอ ที่จะใช้ทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพต่อไป
นอกจากงานวิจัยในด้านการสังเคราะห์
ของผลิตภัณฑ์ธรรมชาติแบบ total synthesis
หรือ target molecule แล้ว ทางกลุ่มวิจัย
ยังมีความสนใจกระบวนการสังเคราะห์ ของสาร
heterocycles ต่างๆ รวมถึง nitrogen
และ oxygen heterocycles เนื่องจากสาร
heterocycles มีอยู่มากกว่าครึ่งหนึ่ง
ของสารอินทรีย์ทั้งหมด และตัวยาต่างๆ
ทั้งที่มาจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ และสารสังเคราะห์
ก็เป็นสารประเภทนี้ ดังนั้นกระบวนการใหม่
ที่จะใช้สังเคราะห์สารประเภทนี้ ได้ดีกว่าหรือง่ายกว่า
วิธีการที่พบแล้ว ย่อมจะมีประโยชน์
ใช้ในการพัฒนาการสังเคราะห์ยา หรือสารที่สำคัญต่อไปในอนาคต
กระบวนการต่างๆ ที่กลุ่มวิจัยมีความสนใจมากเป็นพิเศษ
รวมถึงการใช้อนุพันธ์ sulfonamide ในการสังเคราะห์
อัลคาลอยด์ ประเภท isoquinoline การใช้สาร
organometallic ในการสังเคราะห์ heterocycles
ต่างๆ การใช้สาร hypervalent iodine
และ Ritter reaction ในการสังเคราะห์สารอัลคาลอยด์ต่างๆ
เป็นที่คาดหวัง ในกลุ่มวิจัยว่า กระบวนการที่ได้กล่าวถึง
จะนำไปสู่การสังเคราะห์สารที่เป็นยา
หรือสารที่อาจจะมีประโยชน์ทางยา หรือสารที่มีความสำคัญในทางวิชาการ
ซึ่งรวามถึงสารในกลุ่ม isoquinoline,
phthalideisoquinoline, benzazepine,
benzophenanthridine, aporphine, protoberberine,
imidazo [5,1-a] isoquinoline และ diospyrol
และสาร oxygen heterocycle อื่นๆ
งานวิจัยของสมุนไพรไทย เป็นงานอีกด้านหนึ่ง
ที่กลุ่มวิจัยมีความสนใจเป็นพิเศษ นอกจากการแสวงหา
องค์ความรู้ใหม่ และความเป็นเสิศทางวิชาการแล้ว
ความคาดหวังคือ การได้มาซึ่งตัวยาจากสมุนไพรไทย
ซึ่งจะเสริมสร้างให้มีผลิตผลจากภายในประเทศ
เพื่อลดการนำเข้า และเพิ่มความสามารถ
ในการพึ่งพาตัวเอง งานวิจัยของสมุนไพรไทย
แบ่งออกเป็นสองแนวคือ การแยกสารและหาสูตรโครงสร้าง
ของสารที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ และการปรับเปลี่ยนสูตรโครงสร้าง
ของสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ที่ได้จากสมุนไพร
เพื่อหาสารที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพที่ดีขึ้น
จากหนังสือ เมธีวิจัยอาวุโส
สกว. 2544. TRF Senior Research Scholar
2001.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
[ISBN 974-8196-94-1] หน้า 32-35 |