เกิดเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2485 ที่ตำบลทับยา
อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี จบการศึกษา
ระดับมัธยมต้น จากโรงเรียนประจำจังหวัดสิงห์บุรี
และมัธยมปลาย จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
ปริญญาตรีทางเคมี (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง)
จากมหาวิทยาลัยซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย
และปริญญาเอกทางด้านเคมีอินทรีย์ จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน
เมืองเมดิสัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ
พ.ศ. 2509 และ 2514 ตามลำดับ สมรสกับนางแสงโสม
(วิเชียรโชติ) ริ้วตระกูล มีธิดา 2
คน ชื่อ แพทย์หญิงสิริมนต์ ประเทืองธรรม
และนางสาวมนฑิรา ริ้วตระกูล
เริ่มเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่ปี
พ.ศ. 2514 จนถึงปัจจุบัน โดยได้รับตำแหน่งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ในปี
2519, 2522 และ 2527 ตามลำดับ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง
หัวหน้าภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นอกจากนี้ยังเคยดำรงตำแหน่งบริหารต่าง
ๆ อาทิ ประธานคณะกรรมการ การจัดการประชุมวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่
17 และ 18 เป็นที่ปรึกษาชั่วคราวของ
HRP/WHO และประธานของ The Streering
Committee of WHO Task Force on Plants
for Fertility Regulation เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีมหานคร ระหว่างปี พ.ศ. 2539-2542
ได้รับปริญญาวิทยาศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
(เคมี) จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ประจำปี 2540 ปัจจุบันเป็นกรรมการ ในคณะกรรมการอุดมศึกษาเอกชน
ทบวงมหาวิทยาลัย เป็นหัวหน้าคณะผู้ประสานงาน
โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก สกว. เป็นผู้อำนวยการโครงการ
Postgraduate Education and Research
Program in Chemistry เป็นที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์
ของ International Foundation For Science
(IFS) และ The Asian Network of Research
on Antidiabetes Plants (ANRAP) ได้รับรางวัลวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี ของมูลนิธิโทเร เพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
ประเภทบุคคล ประจำปี พ.ศ. 2538 ได้รับเลือกเป็นเมธีวิจัยอาวุโส
สกว. พ.ศ. 2539 ในขณะนี้ได้รับอุดหนุนการวิจัยจาก
International Program in Chemical
Sciences (IPICS) และจาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
งานวิจัยที่สำคัญ แบ่งออกเป็นสองส่วน
ส่วนแรกคือ การวิจัยพื้นฐาน ทางด้านเคมีอินทรีย์สังเคราะห์ ของสารประเภท alpha-halosulfonyl carbanions.
heteroatom (เช่น fluorine, phenylsulfonyl)
substituted carbon centered radicals
และ ปฎิกิริยา reduction และ fragmentation
ที่ mediated โดย samarium (II) iodide
ความรู้พื้นฐานที่ค้นพบ ทำให้สามารถนำมาใช้ประยุกต์
ในการสังเคราะห์สารประเภท piperidine
derivatives, vinyl sulfones, activated
cyclopropanes และ organofluorines
นอกจากนี้ ยังได้ศึกษาการสังเคราะห์สารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ
ที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ (bioactive natural
products) หลายตัว อาทิ สารในกลุ่ม
Diarylheptanoids และสารกลุ่ม Butenolides
จาก Melodorum fruticosum ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็ง
ในหลอดทดลอง
โครงการ Drug Discovery ที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง
เกี่ยวข้องกับการศึกษา และค้นหาสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ
ที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ เพื่อนำมาเป็นสารโครงสร้างต้นแบบ
(drug prototypes) และเป็นสารโครงสร้างนำ
(lead structures) ในการพัฒนายาครอบคลุมสาร
ชนิด non-steroidal ที่มีฤทธิ์แก้อาการอักเสบ
ทั้งชนิดกิน และชนิดทา (non-steroidal
tropical and oral anti-inflammatory
agents) สารฆ่าเซลล์มะเร็ง สารฆ่าเชื้อไวรัส
HIV และสารที่มีฤทธิ์เกี่ยวกับ การควบคุมการเจริญพันธุ์ในเพศชาย
การศึกษานี้ได้พบสารใหม่ xanthones
ที่มี anti-inflammatory activity สารประเภท
cycloartanes seco-cycloartances
และ xanthones ที่มี cytotoxic. antitumor
และ anti-HIV activities สารบริสุทธิ์ประเภท
xanthones บางตัว มีศักยภาพที่จะสามารถพัฒนา
ต่อไปเป็นยาสำหรับการบำบัด และรักษาโรค
AIDS ได้ จากการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
พบว่า สาร Triptolide ซึ่งมี male antifertility
activity นั้น เป็นสารที่ non-mutagenic
จากการทำ mutagenicity assay ภายใต้
GLP นอกจากนี้ ยังพบว่า สารนี้มี antitumor
activity ต่อเซลล์มะเร็งชนิด Cholangiocarcinoma
ในหนู hamster ผลการวิจัยนี้เป็นการยืนยันว่า
สาร Triptolide เป็นสารที่มีศักยภาพสูงมาก
ในการที่จะพัฒนาเป็นยาต่อไป
งานวิจัยที่จะทำในอนาคตเป็นงานวิจัยพื้นฐาน
(basic research) ซึ่งจะมุ่งเน้นสร้างองค์ความรู้ใหม่
แบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกคือ การวิจัยพื้นฐาน
ทางด้านเคมีอินทรีย์สังเคราะห์ (synthetic
organic chemistry) ส่วนที่สองคือ การวิจัยในโครงการ
Drug Discovery ซึ่งจะเป็นการวิจัยค้นหาสารจากพืช
ที่มี anti-inflammatory, cytotoxic
(antitumor) และ anti-HIV activities
เพื่อจะนำมาใช้เป็น lead structures
ในการพัฒนาเป็นยาต่อไป
งานวิจัยทางด้านเคมีอินทรีย์สังเคราะห์
จะศึกษาการใช้ปฏิกิริยาของ Alpha-halomethyl
phenylsulfonyl carbanions ในการเตรียม
vinyl sulfones และ piperidine derivatives
งานวิจัยนี้ เป็นงานวิจัยต่อเนื่องจากที่ได้ดำเนินการมาแล้ว
นอกจากนี้จะดำเนินการศึกษา คุณสมบัติพื้นฐาน
ของ 1,1-difluoro-1-phenylthiomethyl
radical เพื่อจะนำไปสู่การสังเคราะห์
organofluorine compounds
Samarium dienolate เป็น intermediate
ชนิดใหม่ ที่ยังไม่มีกลุ่มวิจัยอื่น
ได้ศึกษาเรื่องในนี้ จะดำเนินการวิจัย
เกี่ยวกับปฏิกิริยาพื้นฐานของ species
ใหม่นี้อย่างละเอียด
ในด้านการสังเคราะห์ bioactive natural
products จะดำเนินการศึกษา การสังเคราะห์
bioactive natural products ที่มีศักยภาพ
ที่จะพัฒนาเป็นยาต่อไป อาทิ สารในกลุ่ม
pyranonaphthoquinones เป็นต้น
การศึกษาในโครงการ Drug Discovery
จะดำเนินการปรับปรุง ห้องปฏิบัติการ
bioassay ทางด้าน cytotoxic โดยใช้
cancer cell lines 5 ชนิด คือ P-388,
KB, COL-2, BCA-1 และ LU-1), anti-mitotic
(โดยใช้ rat glioma cell line ASK),
anti-HIV (constructed virus MC99 และ
HIV-1-RT) และ antiinflammatory assays
อย่างต่อเนื่องให้มีประสิทธิภาพ และมาตรฐานดียิ่งขึ้น
assays เหล่านี้จะนำมาใช้ทดสอบ extracts,
fractions และ pure compounds ที่มาจากพืชในป่าเขตร้อน
เพื่อค้นหา สารที่มี activities ดังกล่าว
เพื่อจะนำไปใช้เป็นสารต้นแบบ หรือสารนำ
(prototypes หรือ lead structures)
ในการพัฒนายาต่อไป นอกจากจะทำ screening
assays กับ extracts ที่ได้จากพืชอื่น
ๆ ที่ได้จากการสำรวจแล้ว จะมุ่งเน้นการวิจัย
ไปที่พืช ดังต่อไปนี้ พืชในสกุลGardenia และ Garcinia, Ventilago harmandiana,
Mallotus spodocarpus และ Polyalthia
suberosa จากการดำเนินการวิจัย
อย่างต่อเนื่อง พบว่า สารบริสุทธิ์จาก Ventilago harmandiana บางตัวมีศักยภาพ
ที่จะพัฒนาเป็นยารักษาโรค AIDS ได้
ในระยะ 3 ปี ข้างหน้า คาดว่าจะสามารถศึกษา
structure activity relationship และ
activity profile ของสารเหล่านี้ ถึงขั้นที่จะ
evaluate ถึง therapeutic potential
ได้อย่างแท้จริง
การดำเนินการวิจัยในโครงการ Drug
Discovery จะประกอบด้วยเครือข่ายของ
นักวิจัยจากหอพันธุ์ไม้ กรมป่าไม้ มหาวิทยาลัยมหิดล
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันราชภัฏสุราษฏร์ธานี
จากหนังสือ เมธีวิจัยอาวุโส
สกว. 2543. TRF Senior Research Scholar
2000.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
[ISBN 974-8196-85-2] หน้า 12-15 |