เกิดเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2486
จังหวัดสกลนคร สำเร็จการศึกษาระดับ
มัธยมศึกษา จากโรงเรียนอุดรพิทยานุกูล
จังหวัดอุดรธานี โรงเรียนวัดปทุมคงคา
และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร
หลังจากนั้นได้เข้าศึกษาต่อในคณะ วิทยาศาสตร์การแพทย์
มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหิดล) สาขาเตรียมศิริราช
และได้รับทุนการศึกษา ภายใต้แผนการโคลอมโบ
จากรัฐบาลประเทศ ออสเตรเลีย เพื่อไปศึกษาต่อ
ณ มหาวิทยาลัยแห่งรัฐ ออสเตรเลียตะวันตก
จนได้รับปริญญาตรี ด้านชีววิทยาของมนุษย์
(พ.ศ. 2509) แล้วได้รับทุนมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์
ไปศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน
สหรัฐอเมริกา จนจบปริญญาเอก สาขาเซลล์ชีววิทยา
และกายวิภาคศาสตร์ (พ.ศ. 2513)
หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้ว ได้เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ในภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และได้มุ่งมั่นดำเดินงาน
ทั้งในด้านการสอน และการวิจัย โดยได้รับเงินทุนสนับสนุนจาก
องค์กรทั้งในประเทศ และระหว่างประเทศ
เช่น สำนักงานคณะกรรมการวิจัย แห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, Ford
Foundation, Rockefeller Foundation,
UNDP/World Bank/WHO Special Programme
for Research and Training in Tropical
Diseases และได้รับแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
สูงขึ้นเป็นลำดับ จนกระทั่งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์ (พ.ศ. 2534)
จากผลงานวิจัยที่ต่อเนื่อง ทำให้ได้รับรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล
สาขาการวิจัย (พ.ศ. 2528) และรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น
ของมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์
ประจำปี พ.ศ. 2538 ในสาขาเซลล์ชีววิทยา
ผลงานวิจัยที่ได้ทำ และตีพิมพ์เผยแพร่อย่างต่อเนื่อง
มีอยู่ 3 กลุ่ม
กลุ่มที่หนึ่ง ได้แก่ การศึกษาการสร้าง กับเปลี่ยนแปลงของเบสิกนิวเคลียร์โปรตีน
และลักษณะการขดเรียงตัว ของเส้นใยโครมาติน
ในนิวเคลียส ของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้
ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม รวมทั้งมนุษย์
ซึ่งทำให้ได้ความรู้พื้นฐาน ในด้านการสังเคราะห์
และการสับเปลี่ยน เบสิกนิวเคลียร์โปรตีน
ได้แก่ โปรตีนฮีสโตน (histones) และโปรตามีน
(protamines) ซึ่งเป็นโปรตีนโครงสร้าง
ของใยโครมาติน ที่เป็นตัวควบคุมขนาดและ
การขดตัวของใยโครมาติน เพื่อเก็บรักษา
และควบคุมการแสดงออก ของสารพันธุกรรม
ในเซลล์สืบพันธุ์ องค์ความรู้ดังกล่าวเป็นพื้นฐานสำคัญ
ต่อความเข้าใจ สรีรวิทยาการสืบพันธุ์
การปฏิสนธิ และการพัฒนาร่างกาย ของสัตว์ชั้นสูง
กลุ่มที่สอง เป็นงานเกี่ยวกับ
การวิเคราะห์หาแอนติเจน และการศึกษากายวิภาค
สรีรวิทยา และอิมมิวโนวิทยา ของเนื้อเยื่อที่ผลิตแอนติเจน
ของพยาธิใบไม้เลือดในคน (Schistosoma
japonicum, Schistosoma mekongi) และพยาธิใบไม้ตับในคน
และสัตว์เลี้ยง (Opisthorchis viverrini
และFasciola gigantica) ซึ่งทำให้ได้ความรู้
เกี่ยวกับแอนติเจน ที่พยาธิปล่อยออกมา
การสังเคราะห์แอนติเจนในระดับเซลล์
และโครงสร้างละเอียดของชั้นผิวพยาธิ
และเนื้อเยื่ออื่นๆ ที่ผลิตแอนติเจนชนิดต่างๆ
โดยการใช้จุลทรรศน์อิเล็กตรอน ตลอดจนความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกลไก
การเลี่ยงภูมิคุ้มกันของพยาธิ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญ
การพัฒนาวิธีตรวจการติดเชื้อ พยาธิใบไม้เลือดในคน
และพยาธิใบไม้ตับในสัตว์เลี้ยง ตลอดจนความรู้พื้นฐาน
ที่อาจจะนำไปสู่ การหายาบำบัดรักษา
และการพัฒนาวัคซีน ที่มีประสิทธิภาพจาก
แอนติเจนตัวเลือกเหล่านี้ ในอนาคต
กลุ่มที่สาม เป็นการศึกษา
ระบบประสาท และเซลล์ประสาทผลิตฮอร์โมน
ที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต และการสร้างเซลล์สืบพันธุ์
ของหอยทากยักษ์ (Achatina fulica) และหอยเป๋าฮื้อ
(Haliotis asinina) ซึ่งเป็นหอย ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ
โดยได้ทำการศึกษา กายวิภาคของระบบประสาท
ปมประสาท (neural ganglia) และ เซลล์ประสาทผลิตฮอร์โมน
(neurosecretory cells) ชนิดต่างๆ ในปมประสาทของหอย
ทั้งสองชนิด ตลอดจนบทบาทของ เซลล์ประสาทผลิตฮอร์โมนต่างๆ
ต่อการเจริญเติบโต และการพัฒนาของอวัยวะสืบพันธุ์
และการเจริญพันธุ์ของหอย ในช่วงต่างๆของปี
ซึ่งทำให้ได้ความรู้พื้นฐาน ด้านชีววิทยาการสืบพันธุ์
และการเจริญเติบโตของหอย ที่อาจนำไปใช้ประโยชน์
ในอนาคตได้ เช่น การเร่งการสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต
ของหอยทาก จำนวนมาก เพื่อนำมาเตรียมเป็นอาหารกระป๋อง
เช่น escargot เพื่อ เป็นสินค้าส่งออก
การเร่งการปล่อย เซลล์สืบพันธุ์ การปฏิสนธิ
ตลอดจนการเจริญเติบโต ของหอยเป๋าฮื้อ
ที่จะนำมาเพาะเลี้ยง ในเชิงพาณิชย์ต่อไป
1.
โครงสร้างของโครมาติน
การวิจัยเรื่องนี้ มุ่งที่จะศึกษา โครงสร้างระดับต่างๆ
และลักษณะการขดตัว ของใยโครมาติน ในเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้
ระยะต่างๆ ที่พัฒนาไปเป็นเซลล์อสุจิ
ในสัตว์สามกลุ่ม โดยกระทำต่อเนื่อง
จากที่เคยได้ทำการศึกษามาแล้ว ในเซลล์สืบพันธุ์ของมนุษย์
คือ ในสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นสูง
ได้แก่ หนู สัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นต่ำ
ได้แก่ กบและ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
ได้แก่ หอยทากยักษ์ และหอยเป๋าฮื้อ
โดยมุ่งเน้นการวิเคราะห์ และเปรียบเทียบ
ทั้งในเชิงปริมาณ คุณภาพ และการแทนที่กันของเบสิกนิวเคลียร์
โปรตีนฮีสโตน (histones) และโปรตามีน
(protamines) ซึ่งเป็นโปรตีนโครงสร้าง
ที่ทำให้เกิดการขดแน่น ของใยโครมาติน
ในระดับต่างๆ จนกระทั่งได้ก้อนโครมาติน
ที่แน่นทึบในนิวเคลียส ของเซลล์อสุจิ
ซึ่งสามารถศีกษาในรายละเอียดได้ โดยจุลทรรศน์
ที่มีอำนาจแยกรายละเอียดสูง คือ จุลทรรศน์อิเล็กตรอน
และจุลทรรศน์แบบ atomic force
ความรู้ที่ได้เป็นพื้นฐานสำคัญ ที่จะทำให้เราเข้าใจ
การเก็บรักษากลุ่มยีน จากพ่อพันธุ์
ในโครมาตินที่ขดตัวแน่น พร้อมกับการหยุดการแสดงออก
ของยีนชั่วขณะ ในเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้
การพัฒนาของเซลล์อสุจิ ให้เป็นพาหะ
ที่มีประสิทธิภาพ ในการเก็บรักษา กลุ่มยีนพ่อพันธุ์
จากอันตราย และนำยีนเหล่านี้ไปรวมกับ
ยีนของแม่พันธุ์ในเซลล์ไข่ นอกจากความรู้พื้นฐานแล้ว
การวิจัยนี้อาจจะนำไปสู่การพัฒนา วิธีทางเทคโนโลยีชีวภาพ
ที่นำไปประยุกต์ใช้ได้ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์
เศรษฐกิจต่างๆ ดังกล่าว เช่น การแยกเซลล์อสุจิ
X และ Y (sperm sexing) การผสมพันธุ์
เพื่อให้ได้เพศใดเพศหนึ่ง มากเป็นพิเศษ
ผลกระทบของการเก็บรักษา เซลล์อสุจิโดยการแช่แข็ง
(cryopreservation) ต่อโครมาติน และอัตราการปฏิสนธิ
การเปลี่ยนถ่ายยีน (transgenic experiment)
ในเซลล์ zygote และการศึกษาอิทธิพล
ของเซลล์ไข่ที่สามารถ ทำให้โครมาติน
ของพ่อพันธุ์คลายตัว และแสดงออกได้
ฯลฯ
2. แอนติเจนของพยาธิ Fasciola
gigantica
การวิจัยเรื่องนี้ มุ่งที่จะวิเคราะห์หาแอนติเจน
ของพยาธิที่มีศักยภาพ ในการเป็นวัคซีนตัวเลือก
กับเพื่อใช้ในการพัฒนา วิธีตรวจสภาพการติดเชื้อ
และศึกษาลักษณะการกระจายตัว การสังเคราะห์แอนติเจน
เป้าหมายเหล่านี้ ในระดับเซลล์ของเนื้อเยื่อต่างๆ
ตลอดจนผลกระทบของ แอนติบอดีต่อแอนติเจน
เป้าหมายในการทำลายพยาธิ และเนื้อเยื่อของมัน
ดังนั้นจึงเป็นที่คาดหวังว่า โครงการวิจัยเหล่านี้จะเป็นกลไก
ที่จะสร้างนักวิจัยไทย โดยอาศัยความเป็นเลิศทางวิชาการ
ความพร้อม ทางด้านการวิจัย และ "State
of the Art" ทางด้านเครื่องมือ
จาก คณะวิทยาศาสตร์ และสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
เป็นเครื่องเสริม ให้ถึงจุดประสงค์
ที่ต้องการ
การวิจัยนี้จะนำไปสู่ความรู้พื้นฐาน
ที่เสริมสร้างความเข้าใจในด้าน การสร้างและปล่อยแอนติเจน
ของพยาธิใบไม้ตับ และปฏิกิริยาระหว่าง
ภูมิคุ้มกันของโฮสท์ กับการเลี่ยงภูมิคุ้มกันของพยาธิ
ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญ ในการพัฒนาวัคซีนต่อพยาธิ
นอกจากนั้นแล้ว การวิจัยอาจจะนำไปสู่
การค้นพบแอนติเจน ที่มีศักยภาพ ในการใช้พัฒนาวิธีตรวจสอบ
สภาพการติดเชื้อ และ แอนติเจนที่มีศักยภาพ
เป็นวัคซีน ตัวเลือกได้ ซึ่งจะนำไปสู่การป้องกัน
การติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับชนิดนี้ ซึ่งเป็นโรคพยาธิ
ที่ทำความเสียหายในด้านปศุสัตว์ เศรษฐกิจ
และสุขภาพแก่สัตว์เลี้ยง และคน ในประเทศค่อนไทยข้างสูง
จากหนังสือ เมธีวิจัยอาวุโส สกว.
TRF Senior Research Scholar ประจำปี
พ.ศ. 2540.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. [ISBN
974-89566-0-1] |