logo


การรับเข้าศึกษา (Admission)

การศึกษาต่อระดับปริญญาตรี
หลักสูตรพิสิฐวิธาน และโครงการ B.Sc.-Ph.D.
ค่าใช้จ่ายในการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์
รางวัลส่งเสริมและสนับสนุนนักศึกษาระดับปริญญาตรี
หน่วยกิตของหลักสูตรวิทยาศาสตร์
การศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา
ทุนการศึกษา

 

การศึกษาต่อระดับปริญญาตรี
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับนักศึกษาวิทยาศาสตร์ หลักสูตรปกติที่พญาไท 300 คนต่อปี และหลักสูตรปกติที่กาญจนบุรี 4 หลักสูตร ประมาณ 120 คนต่อปี โดยมีการคัดเลือกในระบบต่างๆ ดังต่อไปนี้

1. ระบบการคัดเลือกกลาง (ระบบแอดมิชชัน)

เป็นการคัดเลือกเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาทั่วประเทศ ที่จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และ/หรือที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ทั้งนี้ผู้สมัครจะต้องมีคุณสมบัติตามที่ส่วนกลางกำหนด การคัดเลือกใช้คะแนน GPAX และ GPA ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ใน 5 วิชา จากโรงเรียน และผลคะแนนจากการสอบ ONET และ ANET ตามสัดส่วนที่คณะต่างๆ ของทุกสถาบันและ ทปอ. ให้ความเห็นชอบ

2. ระบบโควตา มหาวิทยาลัยมหิดล

มหาวิทยาลัยมหิดลดำเนินการเองทั้งหมด ผู้สมัครจะต้องสมัครและสอบตามประกาศการรับนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลระบบโควตา ทั้งนี้ ระบบโควตาจำแนกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

3. โครงการพัฒนากำลังคนทางวิทยาศาสตร์ (ทุนเรียนดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย)

ที่ประชุมคณบดีคณะวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จัดตั้ง ทุนเรียนดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ขึ้นเพื่อให้ทุนแก่นิสิต นักศึกษาวิทยาศาสตร์ ในระดับปริญญาตรี-โท-เอก อย่างต่อเนื่อง ในมหาวิทยาลัยของรัฐ 24 สถาบัน โดยกำหนดศูนย์มหาวิทยาลัยดำเนินการไว้ 5 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่ จำนวนรับทั้งหมด 200 ทุนต่อปี (จำนวนอาจเปลี่ยนแปลง)

อนึ่ง โครงการในระยะที่ 1 (ปี 2545-52) ให้ทุนระดับปริญญาตรี 4 รุ่น (ถึงปี 2548) สำหรับระยะที่ 2 (ปี 2550-2565) กำลังรอเสนอขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ให้ได้รับทุนระดับปริญญาตรี-โท-เอก เมื่อได้รับความเห็นชอบ จะประกาศรับสมัครผ่านศูนย์มหาวิทยาลัยของภูมิภาคนั้น ทั้งนี้ ผู้สมัครจะต้องเรียนชั้น ม.4-6 ในโรงเรียนของภูมิภาคนั้นด้วย ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลโครงการฯ ได้ที่มหาวิทยาลัยที่เป็นศูนย์

หลักสูตรพิสิฐวิธาน และโครงการ B.Sc.-Ph.D.
หลักสูตรพิสิฐวิธาน (Distinction Program) เน้นความเข้มข้นทางวิชาการ และการวิจัยที่ทัดเทียมกับ Honors Program ของต่างประเทศ จึงเหมาะกับนักศึกษาที่มีศักยภาพสูง และสนใจศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก ซึ่งไม่ต้องผ่านการเรียนระดับปริญญาโท หลักสูตรนี้ จัดอยู่ใน โครงการ B.Sc.-Ph.D. ซึ่งใช้เวลาเรียนระดับปริญญาตรี 4 ปี และปริญญาเอก 3-4 ปี รวมเป็น 7-8 ปี ทั้งนี้ มีนักศึกษาเข้าโครงการมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2546

หลักสูตรพิสิฐวิธาน รับนักศึกษาหลักสูตรปกติ ที่มี เกรดเฉลี่ยสะสม 3.25 ขึ้นไป โดยอาจเรียนในชั้นปีที่ 2 และ/หรือปีที่ 3 (ขึ้นกับสาขาเอกที่เลือก) รายวิชาในหลักสูตรเน้นความลึกซึ่งของเนื้อหามากกว่าปกติ และ/หรือเป็นวิชาในระดับบัณฑิตศึกษา นักศึกษาจะได้ทำวิจัยอย่างเข้นข้น และได้เสนอผลงานโดยเขียนวิทยานิพนธ์ และ/หรือให้การสัมมนา ผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรนี้ สามารถเรียนต่อในระดับปริญญาเอกของ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ และเทียบโอนหน่วยกิต ในรายวิชาที่เคยเรียนในหลักสูตรพิสิฐวิธาน เข้าไปในระดับบัณฑิตศึกษาได้ ซึ่งจะทำให้นักศึกษามีเวลาปฏิบัติงานวิจัยได้อย่างเต็มที่

ปัจจุบัน หลักสูตรพิสิฐวิธาน เปิดสอนในทุกสาขาที่มีการเรียนการสอนที่เขตพญาไท

ทุนการศึกษาและวิจัยในต่างประเทศระยะสั้น

เป็นทุนให้นักศึกษาในหลักสูตรพิสิฐวิธานไปศึกษาและ/หรือทำวิจัยในต่างประเทศ ระยะเวลาสั้น (3-6 เดือน) วงเงินไม่เกิน 500,000 บาท ช่วงเวลาที่ไปศึกษาอาจเป็นภาคฤดูร้อนของชั้นปีที่ 3 หรือภาคต้นของชั้นปีที่ 4 ผู้มีสิทธิ์ได้รับทุนนี้ จะต้องได้เกรดเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 3.5 ขึ้นไป และมีความสามารถทางภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่กำหนด นอกจากนี้ จะต้องเป็นผู้ที่ต้องการศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก หรืออยู่ในโครงการ B.Sc.-Ph.D.


รางวัลส่งเสริมและสนับสนุนนักศึกษาระดับปริญญาตรี
คณะวิทยาศาสตร์ ได้จัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่ง เพื่อส่งเสริมนักศึกษาที่มีผลการเรียนและผลงานวิชาการดีเด่น โดยเป็นไปตามระเบียบว่าด้วย การให้รางวัลนักศึกษาดีเด่น สาขาวิทยาศาสตร์ และกำหนดลักษณะรางวัลไว้ดังนี้

รางวัลเรียนดีเด่น

จำนวนเงิน 10,000 บาท พร้อมโล่เกียรติคุณ ทุนนี้จัดสรรให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่ได้คะแนนเฉลี่ยสะสมสูงสุดในชั้นปี และต้องไม่ต่ำกว่า 3.50 และให้กับนักศึกษาที่จบหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต ของหลักสูตรปกติทุกสาขา ที่ได้คะแนนเฉลี่ยสะสมสูงสุดตลอดหลักสูตร โดยไม่ต่ำกว่า 3.50

รางวัลผลงานวิจัยดีเด่น

จำนวนเงิน 10,000 บาท ให้กับผู้มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ และผลงานที่ตีพิมพ์ต้องเป็นผลงานในระหว่างการศึกษา ในหลักสูตรวิทยาศาสตร์ ระดับปริญญาตรี


ค่าใช้จ่ายในการศึกษาหลักสููตรวิทยาศาสตร์

ค่าใช้จ่ายในการศึกษาหลักสูุตรระดับปริญญาตรี ของมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นดังนี้ *

ตารางที่ 2 ค่าธรรมเนียมการศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตร์

ที่
ค่าใช้จ่าย
หลักสูตรปกติ และพิสิฐวิธาน
1
ค่าธรรมเนียมแรกเข้า
500 บาท
2
ค่าบำรุงการศึกษาและธรรมเนียมการศึกษา และอื่นๆ
2,715 บาท
3
ค่าหน่วยกิตภาคบรรยาย/สัมมนา หน่วยกิตละ
200 บาท
4
ค่าหน่วยกิตภาคปฏิบัติ หน่วยกิตละ
400 บาท
5
ค่าทำบัตรประจำตัวนักศึกษา
35 บาท
6
ค่าบริการสุขภาพ ปีการศึกษาละ
700 บาท
7
ค่าเอกสารลงทะเบียน
100 บาท
8
ค่าหอพักนักศึกษา (ศาลายา) ต่อคน ภาคการศึกษาละ
3,000-8,000 บาท
9
ค่าประกันความเสียหายและกุญแจหอพัก (ศาลายาี)
600-1,250 บาท
10
ค่าหอพักนักศึกษา (กาญจน์) ต่อคน ภาคการศึกษาละ
1,600 บาท
11
ค่าประกันความเสียหายหอพักและกุญแจ (กาญจนบุรีี)
1,000 บาท
12
ค่ามัดจำกุญแจหอพัก กาญจนบุรี
100 บาท
13
ค่าลงทะเบียนภาคฤดูร้อน (ลงทะเบียนซ้ำ)
2 เท่าของภาคปกติ

* อัตราอาจเปลี่ยนแปลงในแต่ละปีการศึกษา


หน่วยกิตของหลักสูตรวิทยาศาสตร์

ตารางที่ 3 หน่วยกิตของหลักสูตรวิทยาศาสตร์ปกติ/พิสิฐวิธานสาขาต่างๆ

ที่
สาขาเอก
ศึกษาทั่วไป
เฉพาะ
เลือกเสรี
รวม
1
เคมี
30
97
6
133
2
เคมี (พิสิฐวิธาน)
30
101
6
137
3
ชีววิทยา
30
94
6
130
4
ชีววิทยา (พิสิฐวิธาน)
30
97
6
133
5
ฟิสิกส์
30
99
6
135
6
ฟิสิกส์ (พิสิฐวิธาน)
30
103
6
139
7
คณิตศาสตร์
30
99
6
135
8
คณิตศาสตร์ (พิสิฐวิธาน)
30
100
6
136
9
พฤกษศาสตร์
30
94
6
130
10
พฤกษศาสตร์ (พิสิฐวิธาน)
30
100
6
136
11
เทคโนโลยีชีวภาพ
31
94
6
131
12
เทคโนโลยีชีวภาพ (พิสิฐวิธาน)
31
99
6
132


สอบถามข้อมูลและปรึกษาปัญหา เกี่ยวกับการศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ได้ที่

ฝ่ายการศึกษา
พญาไท : งานการศึกษา ห้อง 3/01 สำนักคอมพิวเตอร์ ชั้น 3
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์: 02-201-5050-4 โทรสาร: 02-354-7143

ศาลายา : ห้อง SC3-203 ตึกวิทย์ 3 คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล ณ ศาลายา จ. นครปฐม 73170
โทรศัพท์: 02-441-9223 โทรสาร: 02-441-9322

Website : https://science.mahidol.ac.th/sced
e-mail : natapol.nea@mahidol.ac.th


การศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าศึกษาต่อใน หลักสูตรที่สนใจระดับบัณฑิตศึกษา ได้ที่

งานแพทยศาสตร์และบัณฑิตศึกษา
ห้อง 316 ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระเกียรติ
สำนักงานคณบดี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์: 0 2201 5830, 5836-38 โทรสาร 0 2201 5839

Website: https://science.mahidol.ac.th/scmd

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
25/25 ถนนพุทธมนฑลสาย 4
อำเภอพุทธมนฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์: 0 22441 4125, 0 22441 0179
โทรสาร: +66 2441 9737

Website: www.grad.mahidol.ac.th