Mahidol Science

activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมประชุมเยี่ยมชมส่วนงานด้าน Social Engagement กิจกรรมด้านการรับใช้สังคม และ Policy Advocacy นโยบายชี้นำสังคม (MUSEF Executive Visit)  

30 สิงหาคม 2565 การประชุมเยี่ยมชมส่วนงานด้าน Social Engagement กิจกรรมด้านการรับใช้สังคม และ Policy Advocacy นโยบายชี้นำสังคม (MUSEF Executive Visit) ณ ห้องประชุม K101 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร. ภก.สมภพ ประธานธุรารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อรับฟังและหาแนวทางร่วมมือด้าน Social Engagement และ Policy Advocacy (MUSEF Executive Visit) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เพื่อสื่อสารเป้าหมายของมหาวิทยาลัยมหิดลสำหรับยุทธศาสตร์ที่ 3 และเสริมสร้างความสัมพันธ์ของการดำเนินการกับส่วนงานในการดำเนินการด้านพันธกิจรับใช้สังคมและนโยบายชี้นำสังคม ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมนำเสนอโครงการ และผลการดำเนินงานด้าน Social Engagement กิจกรรมด้านการรับใช้สังคม และ Policy […]

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมประชุมเยี่ยมชมส่วนงานด้าน Social Engagement กิจกรรมด้านการรับใช้สังคม และ Policy Advocacy นโยบายชี้นำสังคม (MUSEF Executive Visit)   Read More »

activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม MAHIDOL SCIENCE : INSPIRING THE FUTURE เปิดเวทีเสวนาพิเศษ FROM BASIC SCIENCE TO BUSINESS MANAGEMENT เล่าประสบการณ์เด็กวิทย์บนเส้นทางอาชีพด้านการบริหารจัดการธุรกิจ พร้อมมอบทุนแก่นักศึกษาชั้นปีที่ 4

24 สิงหาคม 2565 งานการศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม MAHIDOL SCIENCE : INSPIRING THE FUTURE เปิดเวทีเสวนาพิเศษ FROM BASIC SCIENCE TO BUSINESS MANAGEMENT บอกเล่าประสบการณ์บนเส้นทางการทำงานด้านบริหารจัดการธุรกิจ โดยได้รับเกียรติจาก คุณณัฐพล วิมลเฉลา กรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สยามราชธานี จำกัด (มหาชน) เป็นวิทยากร และพร้อมกันนี้ได้มอบทุนส่งเสริมทักษะผู้ประกอบการสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ประจำปีการศึกษา 2565 โดยสนับสนุนเป็นค่าลงทะเบียนและค่าธรรมเนียมการศึกษาให้แก่นักศึกษาที่สนใจเรียนรู้การทำงานในการบริหารองค์กรบริษัทจำนวน 3 ทุน ณ L-02 ตึกกลม คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล (พญาไท) โดยมีนักศึกษาผู้ได้รับทุนดังนี้1. นายเฉลิมเกียรติ ยะพลหา นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาคณิตศาสตร์2. นางสาวกชกร ผ่องใส นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาพฤกษศาสตร์3. นางสาวจินต์จุฑา

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม MAHIDOL SCIENCE : INSPIRING THE FUTURE เปิดเวทีเสวนาพิเศษ FROM BASIC SCIENCE TO BUSINESS MANAGEMENT เล่าประสบการณ์เด็กวิทย์บนเส้นทางอาชีพด้านการบริหารจัดการธุรกิจ พร้อมมอบทุนแก่นักศึกษาชั้นปีที่ 4 Read More »

activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มุ่งพัฒนาองค์กรด้วยการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน คว้ารางวัลชมเชย MU Green Ranking 2021 ในงาน Mahidol Sustainability Week 2022

24 สิงหาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มุ่งมั่นพัฒนาองค์กรด้วยการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน คว้ารางวัลชมเชย ในโครงการ MU Green Ranking 2021 โดยได้รับการจัดอันดับจากระบบ MU-EcoData ซึ่งพิจารณาการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบกับเกณฑ์การประเมิน MU Green Ranking 2021 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 ให้เป็นส่วนงานที่บริหารจัดการสิ่งแวดล้อมได้ดีเป็นอันดับ 7 จาก 29 ส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งในโอกาสอันดีนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้แทนคณบดีเข้ารับประกาศเกียรติคุณ พร้อมเงินรางวัล 5,000 บาท จาก ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ในงาน Mahidol Sustainability Week 2022 ณ มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนเป็นอย่างมาก โดยได้ดำเนินการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์มาตรการประหยัดทรัพยากรและพลังงาน จัดการขยะแยกประเภท และจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อร่วมผลักดันมหาวิทยาลัยมหิดลสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนต่อไป เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพ ตรวจสอบโดย : นายสุเมธ กิตติภูมิ ภาพข่าวโดย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล  และนางสาวปัณณพร แซ่แพ เว็บมาสเตอร์ : นางสาวปัณณพร แซ่แพ วันที่ 24 สิงหาคม 2565

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มุ่งพัฒนาองค์กรด้วยการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน คว้ารางวัลชมเชย MU Green Ranking 2021 ในงาน Mahidol Sustainability Week 2022 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดแสดงหุ่นละครเล็ก กลุ่มเยาวชนวายุบุตร ตลาดน้ำคลองบางหลวง สืบทอดภูมิปัญญาเก่าแก่อันทรงคุณค่า

17 สิงหาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดแสดงหุ่นละครเล็กจากกลุ่มเยาวชนวายุบุตร ณ อาคารสตางค์ มงคลสุข เพื่อสนับสนุนและสืบทอดภูมิปัญญาเก่าแก่อันทรงคุณค่า ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ กล่าวเปิดการแสดง วัตถุประสงค์ของการจัดแสดงเพื่อให้นักศึกษาต่างชาติได้แลกเปลี่ยนความรู้ มีปฏิสัมพันธ์กับมหาวิทยาลัยมหิดลในทุกมิติ ซึ่งรวมถึงด้านภาษาและวัฒนธรรม หุ่นละครเล็ก มหรสพไทย ถือกำเนิดในสมัยรัชกาลที่ 4 พัฒนามาจากการแสดงละครหุ่นหลวง การเชิดหนังใหญ่ และโขน รวมศาสตร์ศิลปะแขนงต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว เป็นหนึ่งในศิลปะที่ครั้งหนึ่งเกือบหายสาบสูญไปกับกาลเวลา แต่ด้วยความมุ่งมั่นของนักแสดงหุ่นละครเล็ก ทำให้จำนวนคณะแสดงหุ่นละครเล็กค่อย ๆ เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างช้า ๆ และกลับมาเป็นที่รู้จักอีกครั้ง คุณศราวุธ จันทรวรรณมานหรือครูบอล และสมาชิกกลุ่มวายุบุตรให้ความรู้เบื้องต้นก่อนการแสดง เช่น สาธิตการแต่งตัวโขน ซึ่งปกติแล้วเป็นขั้นตอนที่หาชมได้ยาก เนื่องจากจำเป็นต้องใช้ความละเอียดอ่อน มีผู้ช่วยจำนวนมากในการแต่งตัวโขนเพียงตัวเดียว และอธิบายเครื่องแต่งกายพร้อมวิธีสวมใส่ โดยเน้นย้ำว่าภูมิปัญญาไทยนั้น จะไม่มีการตัดผ้าที่ใช้ในเครื่องแต่งกายเลย เนื่องจากเป็นผ้าที่ถักทอขึ้นมาด้วยความประณีตและมีราคาค่อนข้างสูง นอกจากนี้การที่เป็นผ้าผืนเดียวยังช่วยให้สวมใส่ได้ทุกขนาดอีกด้วย คนที่มีชีวิตกลับกลายเป็นหุ่นเชิด หุ่นเชิดที่ไร้ชีวิตกลับมีชีวา หุ่นหนึ่งตัวต้องใช้คนเชิดถึงสามคน โดยผู้เชิดจำเป็นต้องมีพื้นฐานโขนเป็นอย่างน้อย 5 ปี

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดแสดงหุ่นละครเล็ก กลุ่มเยาวชนวายุบุตร ตลาดน้ำคลองบางหลวง สืบทอดภูมิปัญญาเก่าแก่อันทรงคุณค่า Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมพิธีวางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามงกุฎวิทยามหาราช “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” เนื่องในวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

             18 สิงหาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมพิธีวางพานพุ่มถวายราชสักการะพระบรมราชานุ    สาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช เนื่องใน “วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ” ณ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อเฉลิมพระเกียรติและน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฐานะทรงเป็น “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย”             วันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี นับเป็นวันสำคัญวันหนึ่งของวงการวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ไทย เนื่องด้วยในวันนี้เมื่อปี พ.ศ. 2411 ได้มีเหตุการณ์สำคัญคือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคและสถลมารค ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง ที่ทรงคำนวณพยากรณ์ไว้ล่วงหน้า 2 ปี ว่าจะเกิดในวันอังคาร ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช 1230

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมพิธีวางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามงกุฎวิทยามหาราช “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” เนื่องในวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ Read More »

activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนา Mahidol Science Research Forum ในหัวข้อเรื่อง “a CIF Initiative in Drug Discovery Platform”

ในวันที่ 11 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา งานวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดกิจกรรม Mahidol Science Research Forum โดยเป็นการเสวนาในหัวข้อเรื่อง a CIF Initiative in Drug Discovery Platform โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ดร.ธันฐภัทร์ บุญช่วย ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความรู้ในเครื่องมือ Single Crystal X-ray Diffractometer system  คุณสันติ ขันทอง บริษัท แบงเทรดดิ้ง 1992 จำกัด ให้ความรู้ในเครื่องมือ Multimode Plate Reader คุณฤทัยทิพย์ ติระตระกูลวิชยา DKSH (Thailand) Limited ให้ความรู้ในเครื่องมือ Isothermal Titration Calorimeter (ITC)  และคุณศันสนีย์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนา Mahidol Science Research Forum ในหัวข้อเรื่อง “a CIF Initiative in Drug Discovery Platform” Read More »

activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแสดงนิทรรศการจุดประกายสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กและเยาวชนในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2565  

13 สิงหาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแสดงนิทรรศการจุดประกายสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ ให้แก่เด็กและเยาวชนในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2565 เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทว มหามกุฎวิทยมหาราช รัชกาลที่ 4 “พระราชบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” และพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีไทย และพระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย” ซึ่งในปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “ศิลปะ วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อสังคมที่ยั่งยืน (Art – Science – Innovation for Sustainable Society)” โดยมีพิธีเปิดงานอย่างเป็นทางการขึ้นในวันที่ 15 สิงหาคม 2565 ผ่านมา ซึ่งได้รับเกียรติจาก นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธาน และ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ นพ.ดร.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว.

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแสดงนิทรรศการจุดประกายสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กและเยาวชนในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2565   Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานในพิธี ได้ถวายพานพุ่มราชสักการะ เปิดกรวยกระทงดอกไม้ถวายราชสักการะและถวายความเคารพพระบรมฉายาลักษณ์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง กล่าวถวายราชสดุดี ถวายพระพรชัยมงคล ร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี โดยภายในพิธีคณะผู้บริหาร คณาจารย์ ผู้ปฏิบัติงานและนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ พร้อมใจสวมเสื้อสีฟ้ากันอย่างพร้อมเพรียง เมื่อวันพุธที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ณ บริเวณหน้าอาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ประชาคมชาวคณะวิทยาศาสตร์ล้วนสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทที่ได้ทรงปฏิบัติบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเป็นอเนกอนันต์ เพื่อประโยชน์สุขของอาณาประชาราษฎร์ตลอดมา พระราชกรณียกิจทั้งปวงจากการทรงงานเมื่อโดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร ในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเยียนราษฎรทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ โครงการพระราชดำริน้อยใหญ่อันเกิดจากพระปรีชาสามารถของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ได้ผลิดอกออกผล สร้างความผาสุกร่มเย็นแก่ปวงพสกนิกรจวบจนปัจจุบัน การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมให้คนอยู่ร่วมกับป่าในเขตพื้นที่อนุรักษ์ ตลอดจนการส่งเสริมศิลปาชีพในงานหัตถศิลป์หลากหลายแขนงสร้างชื่อเสียงเลื่องลือไกลไปยังนานาประเทศทั่วโลก พระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้และน้ำพระราชหฤทัยอันเปี่ยมด้วยพระเมตตา ที่ทรงมีต่อปวงประชาประดุจดั่ง “แม่ของแผ่นดิน”

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 Read More »

อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นประธานในพิธีเปิดอาคารบรรยายรวมและกล่าวต้อนรับนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล กลับเข้าเรียนในพื้นที่ศาลายา ประจำปีการศึกษา 2565

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม 2565 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และรองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารร่วมพิธีเปิดใช้อาคารบรรยายรวม คณะวิทยาศาสตร์ อย่างเป็นทางการอีกครั้งหลังปรับปรุงโฉมใหม่ และกล่าวต้อนรับนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลที่ได้กลับเข้ามาเรียนในพื้นที่อาคารเรียนต่าง ๆ พร้อมให้โอวาทอวยพรแก่นักศึกษาเพื่อความเป็นสิริมงคล เนื่องในโอกาสวันแรกของการเปิดภาคการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565 และได้เดินเยี่ยมชมสถานที่ต่าง ๆ อาทิ ห้องควบคุมระบบการเรียนการสอน ห้องเรียน พร้อมทั้งกล่าวทักทายอาจารย์ผู้สอนและนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ก่อนถ่ายภาพร่วมกันในห้องเรียน รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า เนื่องด้วยคณะวิทยาศาสตร์ ได้ดูแลรับผิดชอบการเรียนการสอนในกลุ่มรายวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาหลายหลักสูตรภายในมหาวิทยาลัยมหิดล โดยใช้อาคารบรรยายรวมทั้ง 2 อาคาร เป็นสถานที่หลักในการจัดการเรียนการสอนและใช้งานอย่างต่อเนื่องมาตลอด ไม่ได้เว้นช่วงในการดูแลบำรุงรักษา ทำให้สภาพอาคารและอุปกรณ์สนับสนุนการเรียนการสอนชำรุดทรุดโทรม และเมื่อเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ใน 2 ปีที่ผ่านมา ทำให้มีการปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนไปเป็นรูปแบบการเรียนออนไลน์ ห้องเรียน อาคารเรียนและพื้นที่ในมหาวิทยาลัยหลายแห่งไม่ได้ถูกใช้งาน ทางคณะวิทยาศาสตร์จึงได้วางแผนปรับปรุงอาคารบรรยายรวมและพื้นที่โดยรอบ รวมถึงจัดเตรียมระบบโสตทัศนูปกรณ์ที่ทันสมัยให้พร้อมสำหรับการเรียนการสอนภายในพื้นที่หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 คลี่คลายลง โดยโครงการดังกล่าว

อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นประธานในพิธีเปิดอาคารบรรยายรวมและกล่าวต้อนรับนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล กลับเข้าเรียนในพื้นที่ศาลายา ประจำปีการศึกษา 2565 Read More »

activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมปฐมนิเทศนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 ต้อนรับนักศึกษาน้องใหม่ สานสายใยมิตรภาพหลักสูตรไทย หลักสูตรนานาชาติ และหลักสูตรโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท (PI)

3 สิงหาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมปฐมนิเทศนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 ต้อนรับนักศึกษาน้องใหม่สานสายใยมิตรภาพหลักสูตรไทย หลักสูตรนานาชาติ และหลักสูตรโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท (PI) โดยมี คณะผู้บริหาร นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี กล่าวแสดงความยินดี ให้โอวาทกับนักศึกษา พร้อมแนะนำคณะวิทยาศาสตร์ในภาพรวม รองศาสตราจารย์ ดร.วีระชัย สิริพันธ์วราภรณ์ กล่าวแนะนำคณะวิทยาศาสตร์ในพื้นที่ศาลายา ทีมงานเจ้าหน้าที่ศาลายา อาคารบรรยายรวม สิ่งอำนวยความสะดวก และสถานที่ต่าง ๆ ภายในคณะวิทยาศาสตร์ ศาลายา เช่น ห้องเรียนบรรยายปรับปรุงใหม่, lab digital, co-working space, ห้องกิจกรรม, ห้องน้ำ all gender, ตู้กดน้ำ เป็นต้น และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นรินทร์ ณัฐวุฒิ ผู้แทนจากสมาคมศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์ กล่าวแนะนำภาพรวมของสมาคมฯ การมอบทุนสมาคมฯ ประจำปีการศึกษา 2565 และเชิญชวนนักศึกษาเข้ากลุ่มสื่อสารกับทางสมาคมฯ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมปฐมนิเทศนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 ต้อนรับนักศึกษาน้องใหม่ สานสายใยมิตรภาพหลักสูตรไทย หลักสูตรนานาชาติ และหลักสูตรโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท (PI) Read More »

activity photo

อบจ. นนทบุรี เชิญคณาจารย์จาก ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยากรในการอบรมเชิงปฏิบัติการ “นักพฤกษศาสตร์ชุมชน” ตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชจังหวัดนนทบุรี ส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างความตระหนักเพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ

2 – 3 สิงหาคม 2565 องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี เชิญคณาจารย์จาก ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยากรในการอบรมเชิงปฏิบัติการ “นักพฤกษศาสตร์ชุมชน” ตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชจังหวัดนนทบุรี ส่งเสริมการเรียนรู้ สร้างความตระหนักเพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่น สนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทีมวิทยากรนำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม ร่วมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ปวีณา ไตรเพิ่ม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทยา เจนจิตติกุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สาโรจน์ รุจิสรรค์สกุล และนักศึกษาภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความรู้ในการสังเกตโครงสร้างของพืช รู้จักอาณาจักรพืช และวงศ์พืชสำคัญ วิธีการจัดทำตัวอย่างพรรณไม้อ้างอิง รู้จักพิพิธภัณฑ์พืชและโครงการพรรณพฤกษชาติของประเทศไทย และการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพด้วยแอปพลิเคชันในโทรศัพท์มือถือ ณ ห้องประชุมชั้น 4 ศูนย์จำหน่ายสินค้าด้านการเกษตร สินค้ากลุ่มแม่บ้าน สินค้าวิสาหกิจชุมชน สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) จังหวัดนนทบุรี โดยกิจกรรมในครั้งนี้มีครูสนใจเข้าร่วมการอบรมกว่า 160 คนจาก 34

อบจ. นนทบุรี เชิญคณาจารย์จาก ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยากรในการอบรมเชิงปฏิบัติการ “นักพฤกษศาสตร์ชุมชน” ตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชจังหวัดนนทบุรี ส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างความตระหนักเพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มุ่งมั่นส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน มอบรางวัล Mahidol Science Innovative Educator Award 2022 พร้อมกับรางวัล Mahidol Science Environment & Sustainability Award 2022 ยกย่องผู้ใช้วิทยาศาสตร์เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในแวดวงการศึกษาและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ในงานรำลึกครบรอบ 103 ปี ชาตกาล ศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข

19 กรกฎาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานรำลึกครบรอบ 103 ปี ชาตกาล ศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข หรืออาจารย์สตางค์ ผู้ก่อตั้งและคณบดีท่านแรกของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปูชนียบุคคลผู้มีคุณูปการต่อการศึกษาวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย โดยมีคณะผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ ทายาทศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข ผู้เกษียณอายุงาน ผู้บริหารสมาคมศิษย์เก่า สภาอาจารย์ บุคลากร นักศึกษาจากหน่วยงานภายในคณะวิทยาศาสตร์ พร้อมใจร่วมวางพวงมาลัยสักการะรูปหล่อ ทำบุญทักษิณานุปทาน อุทิศส่วนกุศลแด่ ศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข และบุรพชนคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ถวายเครื่องไทยธรรม และถวายภัตตาหารเพลแก่พระสงฆ์จากวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร จำนวน 10 รูป พร้อมร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีมอบรางวัล Mahidol Science Innovative Educator Award 2022 และรางวัล Mahidol Science Environment & Sustainability Award 2022 ยกย่อง 3

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มุ่งมั่นส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน มอบรางวัล Mahidol Science Innovative Educator Award 2022 พร้อมกับรางวัล Mahidol Science Environment & Sustainability Award 2022 ยกย่องผู้ใช้วิทยาศาสตร์เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในแวดวงการศึกษาและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ในงานรำลึกครบรอบ 103 ปี ชาตกาล ศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดบรรยายพิเศษ Mahidol Science Research Forum “Development of metabolic engineering strategies for the production of natural products” พร้อมเปิดห้อง Lab แลกเปลี่ยนประสบการณ์การวิจัยกับผู้เชี่ยวชาญด้านชีววิทยาสังเคราะห์และวิศวกรรมเมตาบอลิซึม

ในวันที่ 11 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับเกียรติจาก Prof. Mattheos Koffas จาก Rensselaer Polytechnic Institute นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา มาบรรยายพิเศษ ในกิจกรรม Mahidol Science Research Forum หัวข้อเรื่อง Development of metabolic engineering strategies for the production of natural products โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อุ่นใจ หัวหน้าหน่วยสังเคราะห์ภาพระดับนาโน เป็นผู้ดำเนินรายการ และ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ กล่าวเปิดกิจกรรมการบรรยายพิเศษในครั้งนี้ การจัดกิจกรรมครั้งนี้จัดขึ้นในรูปแบบผสมผสาน (Hybrid) ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ และระบบประชุมออนไลน์ WebEx

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดบรรยายพิเศษ Mahidol Science Research Forum “Development of metabolic engineering strategies for the production of natural products” พร้อมเปิดห้อง Lab แลกเปลี่ยนประสบการณ์การวิจัยกับผู้เชี่ยวชาญด้านชีววิทยาสังเคราะห์และวิศวกรรมเมตาบอลิซึม Read More »

activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมชมสถาบันปัญญาประดิษฐ์มหิดล (MU AI Center) และหารือความร่วมมือด้านการวิจัย

ในวันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน 2565 และวันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย อาจารย์ ดร.มีโชค ชูดวง รองคณบดีฝ่ายคลังและพัสดุ รองศาสตราจารย์ ดร.จิรันดร ยูวะนิยม หัวหน้าหน่วยวิจัยเทคโนโลยีโปรตีนและเอนไซม์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา วีรชาติยานุกูล หัวหน้าภาควิชากายวิภาคศาสตร์ พร้อมด้วยคณาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล 18 ท่าน ได้เดินทางไปเยี่ยมชม Facility ของสถาบันปัญญาประดิษฐ์มหิดล (MU AI Center) และร่วมหารือความร่วมมือด้านการวิจัย ณ ลาน Innovative Space คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี อาจารย์ ดร.พัฒนศักดิ์ มงคลวัฒน์ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล อาจารย์ผกาพร เพ็งศาสตร์ รองคณบดีฝ่ายวิศวกรรมและระบบ และ อาจารย์สนิท แสงเหลา ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิศวกรรมและโครงสร้างพื้นฐาน ให้การต้อนรับ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าเยี่ยมชมสถาบันปัญญาประดิษฐ์มหิดล (MU AI Center) และหารือความร่วมมือด้านการวิจัย Read More »

activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม Meet The Team One Mahidol Science Education อัปเดตนโยบาย การดำเนินงาน และทิศทางของคณะวิทยาศาสตร์ด้านการศึกษากับประชาคม

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลจัด จัดกิจกรรม Meet The Team One Mahidol Science Education แบบ Hybrid โดยมีคณะผู้บริหาร นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติศักดิ์ หยกทองวัฒนา รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและพัฒนานักศึกษา ดำเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพงษ์ แสงวิไล ผู้ช่วยคณบดี มาพูดคุยอัปเดตนโยบาย การดำเนินงาน และทิศทางของคณะวิทยาศาสตร์ด้านการศึกษา พร้อมตอบข้อสงสัย และรับฟังความคิดเห็นของประชาคม ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมรวมกว่า 200 คนโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพลคงเสรี รองศาสตราจารย์ ได้กล่าวเปิดกิจกกรม จากนั้น ดร.กิตติศักดิ์ หยกทองวัฒนา ได้เล่าถึงกิจกรรมด้านการศึกษาซึ่งกว่า 3 ปีที่ผ่านมาที่คณะฯ ต้องเผชิญกับการปรับตัวครั้งใหญ่เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโควิด – 19 แล้วจึงเล่าถึงสิ่งที่กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบันเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเปิดใช้พื้นที่โดยมีการปรับกายภาพและสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนการสอนที่ดีขึ้น อาทิ ปรับปรุงห้อง ณ อาคาร SC1, L1,

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม Meet The Team One Mahidol Science Education อัปเดตนโยบาย การดำเนินงาน และทิศทางของคณะวิทยาศาสตร์ด้านการศึกษากับประชาคม Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดบรรยายพิเศษ Mahidol Science Research Forum “ความร่วมมือในการพัฒนายาจากสมุนไพร มหาวิทยาลัยมหิดลและมูลนิธิกสิกรไทย” แนะโอกาสคว้าทุนวิจัยจากการค้นหาและเพิ่มมูลค่าสมุนไพรไทยสู่ตลาด Herbal Medicines ในระดับสากล

23 มิถุนายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดบรรยายพิเศษ Mahidol Science Research Forum “ความร่วมมือในการพัฒนายาจากสมุนไพร มหาวิทยาลัยมหิดลและมูลนิธิกสิกรไทย” ในรูปแบบ Hybrid โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.อุดม คชินทร อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และประธานที่ปรึกษาสถาบัน K Agro-Innovate ร่วมกับ รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล แนะนำโอกาสคว้าทุนวิจัยจากการค้นหาและเพิ่มมูลค่าสมุนไพรไทยสู่ตลาด Herbal Medicines ในระดับสากล ด้วยการพัฒนา Herbal value chain ยกระดับคุณค่าการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ พร้อมยกกรณีศึกษา “น่านแซนด์บ็อกซ์ (Nan Sandbox)” ภายใต้ความร่วมมือของภาครัฐและเอกชนนำโดยมูลนิธิกสิกรไทย ซึ่งและมหาวิทยาลัยมหิดลได้มีส่วนร่วมในโครงการโดยการค้นหาและศึกษาพืชสมุนไพรที่มีศักยภาพในการต่อยอดเป็นส่วนผสมออกฤทธิ์ทางชีวภาพในการสร้างยา และเหมาะต่อการเพาะปลูกในพื้นที่จังหวัดน่าน สร้างรายได้ และส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในชุมชน ควบคู่ไปกับการพลิกฟื้นพื้นที่ป่าอย่างยั่งยืน โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ดำเนินรายการ ณ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดบรรยายพิเศษ Mahidol Science Research Forum “ความร่วมมือในการพัฒนายาจากสมุนไพร มหาวิทยาลัยมหิดลและมูลนิธิกสิกรไทย” แนะโอกาสคว้าทุนวิจัยจากการค้นหาและเพิ่มมูลค่าสมุนไพรไทยสู่ตลาด Herbal Medicines ในระดับสากล Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เยี่ยมศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษา โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จ.นครสวรรค์ และมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์

24 มิถุนายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ อสุวพงษ์พัฒนา ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายแพทยศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา วีรชาติยานุกูล หัวหน้าภาควิชากายวิภาคศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิทูร ชื่นวชิรศิริ หัวหน้าภาควิชาฟิสิกส์ อาจารย์ นพ.เกียรติยศ ตันติเศรณี อาจารย์ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ และเจ้าหน้าที่งานแพทยศาสตร์และบัณฑิตศึกษา เยี่ยมเยือนและประชุมหารือความร่วมมือกับศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษา โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ นำทีมโดย พญ.รจนา ขอนทอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ นพ.ชวพล อิทธิพานิชพงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์แพทยศาสตร์ฯ และทีมบริหารจากศูนย์แพทย์ฯ ให้การต้อนรับ โดยมีอาจารย์จากคณะเวชศาสตร์เขตร้อน ร่วมประชุมแบบไฮบริดด้วยในช่วงเช้าคณะวิทยาศาสตร์ได้รายงานผลการศึกษานักศึกษาพรีคลินิก 3 ชั้นปี ผลสอบ NL1 ตลอดจนกำหนดการปฐมนิเทศนักศึกษาชั้นปี 1 และ 2 ความร่วมมือทางการวิจัยและติดตามเกณฑ์ WFME ซึ่งทางศูนย์แพทย์ได้วิเคราะห์ผลสอบนักศึกษาพบว่า ตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงเกณฑ์การรับนักศึกษาในระบบ TCAS และคะแนนผลการศึกษา

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เยี่ยมศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษา โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จ.นครสวรรค์ และมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ Read More »

activity photo

ภาควิชาพฤกษศาสตร์ และเครือข่ายวิทย์สานศิลป์ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จัดนิทรรศการ “สานพฤกษพรรณผ่านงานพฤกษศิลป์” ครั้งที่ 4

7 มิถุนายน 2565 ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สมาคมพฤกษศาสตร์ในพระบรมราชินูปถัมภ์ โครงการ อพ.สธ. หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เครือข่ายวิทย์สานศิลป์ และหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จัดนิทรรศการภาพวาดพฤกษศาสตร์ “สานพฤกษพรรณผ่านงานพฤกษศิลป์ ครั้งที่ 4 Botanical Art Thailand 2022” สร้างความเข้าใจและทำให้ประชาชนทั่วไปเห็นคุณค่าและความสำคัญของการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของพืช ผ่านการชื่นชมความสวยงามของภาพวาดพฤกษศาสตร์ สนองพระราชดำริ ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) เนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปีการก่อตั้งภาควิชาพฤกษศาสตร์ และ 23 ปี การก่อตั้งเครือข่ายวิทย์สานศิลป์โดยในพิธีเปิดได้รับเกียรติจาก ดร.วีระชัย ณ นคร นายกสมาคมพฤกษศาสตร์ในพระบรมราชินูปถัมภ์ คุณพรชัย จุฑามาศ รองผู้อำนวยการ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) อาจารย์พันธุ์ศักดิ์ จักกะพาก ศิลปินอาวุโส และ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานร่วมในพิธี

ภาควิชาพฤกษศาสตร์ และเครือข่ายวิทย์สานศิลป์ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จัดนิทรรศการ “สานพฤกษพรรณผ่านงานพฤกษศิลป์” ครั้งที่ 4 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานนิทรรศการ SciEx2022 เปิดโอกาสนักศึกษา ป.ตรี โชว์ศักยภาพและพัฒนาความสามารถเชิงวิชาการในระดับสากล

27 พฤษภาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานนิทรรศการโครงงานวิทยาศาสตร์ (Science Project Exhibition) ครั้งที่ 23 หรือ SciEx2022 เสริมสร้างบรรยากาศวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้นำโชว์ศักยภาพ ฝึกทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์การทำงานวิจัยกับเพื่อนนักศึกษาจากต่างสาขาวิชาและคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ อันเป็นการบ่มเพาะและพัฒนาความสามารถเชิงวิชาการในระดับสากล โดยมีนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 ทุกหลักสูตรในคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึงนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ร่วมนำเสนอผลงานออนไลน์กว่า 192 โครงงาน มีผู้ลงทะเบียนและเข้ารับชมการบรรยายรวมกว่า 665 คน ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting งานนิทรรศการโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมที่มีมาอย่างยาวนาน โดยปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 23 ซึ่งได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ธณัฏฐ์คุณ มงคลอัศวรัตน์ นายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมพิธีเปิดและกล่าวอวยพรให้กับน้อง ๆ นักศึกษาให้ประสบความสำเร็จในการเรียน การทำงาน ขอให้เป็นตัวอย่างที่ดีของรุ่นน้อง เข้าใจวิทยาศาสตร์และถ่ายทอดให้เด็กรุ่นใหม่เรียนวิทยาศาสตร์ด้วยความเข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น และสามารถนำไปพัฒนาประเทศต่อไปได้ และหวังว่าทุกคนจะมีส่วนในการขับเคลื่อนประเทศ เพราะวิทยาศาสตร์ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำ เป็นการลงทุนให้ประเทศไทยดีขึ้นในอนาคต พร้อมกันนี้ รองศาสตราจารย์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานนิทรรศการ SciEx2022 เปิดโอกาสนักศึกษา ป.ตรี โชว์ศักยภาพและพัฒนาความสามารถเชิงวิชาการในระดับสากล Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café อัพเดตข้อมูลการระบาด ในวันที่โควิด-19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่น

8 เมษายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café: อัพเดตข้อมูลการระบาด ในวันที่โควิด-19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่น พูดคุยเกี่ยวกับแนวโน้มการระบาดของโควิด-19 และการรับมือ ในมุมมองของนักวิทยาศาสตร์กับ รองศาสตราจารย์ ดร.ชรินทร์ โหมดชัง อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นักวิจัยทางด้านระบาดวิทยาและชีวฟิสิกส์ ดร.นําชัย ชีววิวรรธน์ ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สวทช. นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ นักแปล และบรรณาธิการหนังสือ ‘เมื่อโลกติดเชื้อ ฉบับกระชับ’ ดำเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อุ่นใจ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นักชีวฟิสิกส์ และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ ผู้ร่วมแปลหนังสือ ‘เมื่อโลกติดเชื้อ ฉบับกระชับ’ ผ่านทาง Facebook live และทาง Mahidol Channel โดยมีผู้รับชมกว่า 1,000 คนดร.นําชัย ชีววิวรรธน์ ได้ปูความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างการระบาดใหญ่ (Pandemic)

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café อัพเดตข้อมูลการระบาด ในวันที่โควิด-19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่น Read More »

Activity Photo

หลักสูตร ป.โท สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล ผ่านเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน

9 มีนาคม 2565 หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี และ รองศาสตราจารย์ ดร.ทวีชัย อมรศักดิ์ชัย ประธานหลักสูตรฯ พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร.จิตต์ลัดดา ศักดาภิพาณิชย์ รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธนะวันต์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญรัตน์ วัฒนพานิช เป็นผู้แทนรับมอบประกาศนียบัตรการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน จาก ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมรับมอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีจาก รองศาสตราจารย์ ดร. ภก.เนติ สุขสมบูรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา ในพิธีมอบประกาศนียบัตรการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน ครั้งที่ 221 และ 226” ณ มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายาโดยหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์

หลักสูตร ป.โท สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล ผ่านเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน Read More »

Activity Photo

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ (CEMB) เปิดเวทีเสวนาวิชาการ “ทางเลือกในการตรวจโควิด – 19 สำหรับประชาชนในยุคโอมิครอน!!”

10 กุมภาพันธ์ 2565 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ (CEMB) เปิดเวทีเสวนาวิชาการ “ทางเลือกในการตรวจโควิด-19 สำหรับประชาชนในยุคโอมิครอน!!” Covid-19 testing: Current and alternative (future) methods ในรูปแบบ online ผ่านทาง Zoom meeting และ Facebook live ให้ข้อมูลทางเลือกในการตรวจโควิด – 19 ในยุคโอมิครอน โดย 4 ผู้เชี่ยวชาญ และผู้พัฒนาเทคโนโลยีตรวจโควิด – 19 ในไทยและต่างประเทศ พร้อมอัปเดตเทคโนโลยีการตรวจโควิด – 19 สุดล้ำ ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้มีผู้สนใจร่วมกว่า 97 คนในการเสวนาในครั้งนี้วิทยากร ทั้ง 4 ท่าน ได้แก่ Mr. William Whittington, Chief Operations Officer (COO) จากบริษัท Tiger Tech

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ (CEMB) เปิดเวทีเสวนาวิชาการ “ทางเลือกในการตรวจโควิด – 19 สำหรับประชาชนในยุคโอมิครอน!!” Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.3: Nobel Prize in Chemistry: An ingenious tool for building molecules เครื่องมืออันชาญฉลาดในการสร้างโมเลกุล

5 พฤศจิกายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.3: Nobel Prize in Chemistry: An ingenious tool for building molecules เครื่องมืออันชาญฉลาดในการสร้างโมเลกุล เล่าเรื่องงานวิจัยของ 2 นักวิทยาศาสตร์ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปีนี้ ได้แก่ ศาสตราจารย์เบนจามิน ลิสต์ (Benjamin List) จาก Max-Planck-Institute für Kohlenforschung ประเทศเยอรมนี และ ศาสตราจารย์เดวิด แมคมิลแลน (David W.C. MacMillan) จาก Princeton University ประเทศสหรัฐอเมริกา จากการพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาอินทรีย์แบบอสมมาตร พร้อมอธิบายถึงการสร้างโมเลกุลด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาแบบใหม่ นำไปสู่การผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ปรียานุช แสงไตรรัตน์นุกูล และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ต่อศักดิ์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.3: Nobel Prize in Chemistry: An ingenious tool for building molecules เครื่องมืออันชาญฉลาดในการสร้างโมเลกุล Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.2: Nobel Prize in Physiology or Medicine: From Heat & Hug to Pain treatment discoveries. การค้นพบตัวรับอุณหภูมิและการรับสัมผัส สู่การนำไปใช้ในการรักษาอาการปวด

3 พฤศจิกายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.2: Nobel Prize in Physiology or Medicine: From Heat & Hug to Pain treatment discoveries. การค้นพบตัวรับอุณหภูมิและการรับสัมผัส สู่การนำไปใช้ในการรักษาอาการปวด เล่าเรื่องงานวิจัยของ 2 นักวิทยาศาสตร์ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ในปีนี้ ได้แก่ ศาสตราจารย์ เดวิด จูเลียส (David Julius) และศาสตราจารย์ อาร์เด็ม พาทาพูเที่ยน (Ardem Patapoutian) พร้อมอธิบายถึงกลไกการรับอุณหภูมิและสัมผัสของมนุษย์ที่น่าทึ่งอันนำไปสู่การรักษาอาการปวด โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพพร จงกมลวิวัฒน์ และ อาจารย์ ดร.อธิคุณ สุวรรณขันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยากร ดำเนินรายการโดย

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.2: Nobel Prize in Physiology or Medicine: From Heat & Hug to Pain treatment discoveries. การค้นพบตัวรับอุณหภูมิและการรับสัมผัส สู่การนำไปใช้ในการรักษาอาการปวด Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.1: Nobel Prize in Physics: Physics of global warming and other complex phenomena ฟิสิกส์เรื่องโลกร้อนและปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนอื่น ๆ

2 พฤศจิกายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.1: Nobel Prize in Physics: Physics of global warming and other complex phenomena ฟิสิกส์เรื่องโลกร้อนและปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนอื่น ๆ เล่าเรื่องงานวิจัยของ 3 นักฟิสิกส์ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปีนี้ ได้แก่ ศาสตราจารย์ ชูคุโระ มานาเบะ (Syukuro Manabe) ศาสตราจารย์ เคลาส์ ฮาสเซิลมานน์ (Klaus Hasselmann) และ ศาสตราจารย์ จอร์จิโอ ปาริซี (Giorgio Parisi) พร้อมอธิบายถึงการประยุกต์ใช้ฟิสิกส์ศึกษาปัญหาเรื่องโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่ซับซ้อน โดยมี Professor Dr.David John Ruffolo และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วฤทธิ์ มิตรธรรมศิริ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.1: Nobel Prize in Physics: Physics of global warming and other complex phenomena ฟิสิกส์เรื่องโลกร้อนและปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนอื่น ๆ Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีครบรอบ 63 ปีการก่อตั้ง

28 ตุลาคม 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ฉลองครบรอบ 63 ปี การก่อตั้ง ในงานวันคล้ายวันสถาปนาในรูปแบบ Hybrid ถ่ายทอดสดทาง online และการเข้าร่วมงานในพื้นที่ ณ ห้อง L-01 อาคารบรรยายรวม ตึกกลม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไทในการนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ประธานในพิธี กล่าวต้อนรับและกล่าวถึงการจัดงานในครั้งนี้ว่า “ในโอกาสครบรอบ 63 ปี แห่งการก่อตั้ง เรามุ่งมั่นที่จะ ‘เป็นสติของประชา เป็นปัญญาของสังคม’ ผ่านวิทยาศาสตร์และการสร้างบุคลากรคุณภาพสูง การลงทุนทางการศึกษาและวิทยาศาสตร์พื้นฐาน อันจะส่งผลต่อการพัฒนาและคุณภาพชีวิต จึงเป็นเหมือนการสร้างโอกาส และสร้างบุคลากรคุณภาพอันเป็นอนาคตของสังคม มีความรู้ที่ทันสมัย ผ่านงานวิจัยระดับโลก ต่อยอดเพื่อสร้างสังคมคุณภาพสูงในอนาคต ด้วยการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการพัฒนาอย่างยั่งยืน นับเป็นภารกิจและเป้าประสงค์ที่มุ่งมั่น เพื่อสร้างศรัทธาแห่งวิทยาศาสตร์ในฐานะ ‘คณะวิทยาศาสตร์แห่งแผ่นดิน’” จากนั้นเป็นการนำเสนอผลงานเด่นของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในรอบปี 2564 ปาฐกถาศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข ครั้งที่

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีครบรอบ 63 ปีการก่อตั้ง Read More »