คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดงานนิทรรศการโครงงานวิทยาศาสตร์ครั้งที่ 24 เปิดโอกาสนักศึกษา ป.ตรี แสดงศักยภาพด้านวิชาการ พัฒนาความสามารถการสื่อสารงานวิจัยในระดับสากล

Activity photo
26 พฤษภาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดงานนิทรรศการโครงงานวิทยาศาสตร์ครั้งที่ 24 (The 24th Science Project Exhibition) หรือ SciEx2023 ทาง Zoom Meeting เปิดโอกาสให้นักศึกษาในระดับปริญญาตรีได้แสดงศักยภาพของตนเองผ่านผลงานวิจัย ฝึกทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่สังคม รวมถึงได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานวิจัยกับเพื่อนนักศึกษาจากต่างสาขาวิชาและคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ อันเป็นการบ่มเพาะและพัฒนาความสามารถเชิงวิชาการในระดับสากล ส่งเสริมบรรยากาศด้านวิชาการในมหาวิทยาลัย และสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ที่สนใจศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งในปีนี้มีนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 ทุกหลักสูตรในคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึงนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ร่วมนำเสนอผลงานออนไลน์เป็นภาษาอังกฤษกว่า 153 โครงงาน ในรูปแบบที่หลากหลาย อาทิ Plenary Talk Short Talk และ Poster Presentation และยังมีการบรรยายพิเศษ Special Lecture: Redefining your scientific career path อีกด้วย โดยกิจกรรมครั้งนี้มีผู้ลงทะเบียนร่วมงานกว่า 526 คน
เปิดงานด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวต้อนรับผู้นำเสนอผลงานว่า ขอแสดงความยินดีกับน้อง ๆ นักศึกษาทุกคน กับความสำเร็จในเบื้องต้น อย่าลืมว่าความสำเร็จมาพร้อมกับความลำบาก กว่าจะมาถึงวันนี้ระหว่างทางมีน้ำตา หยาดเหงื่อ มีความหวัง มีความฝันมากมาย ซึ่งทำให้เราเติบโตขึ้น ขอให้วันนี้ทุกคนทำให้เต็มที่ ทำให้วันนี้เป็นวันที่เราภาคภูมิใจเป็น Life time memory และประสบการณ์ที่ดีเมื่อหวนนึกถึง การเรียนรู้เป็นเรื่องของการเดินทาง Journey of Life ขออวยพรให้ทุกคนประสบความสำเร็จ พร้อมฝากไว้ว่าสังคมที่ดีต้องมีวิทยาศาสตร์ กว่า 200 กว่าปีที่ผ่านมาวิทยาศาสตร์ช่วยให้ชีวิตของเราดีขึ้น มีนวัตกรรมที่ก้าวหน้า อาจพูดได้ว่า No Science, No Life และ Know Science, Know Life ในอนาคตอยากให้ทุกคนมาช่วยกันขับเคลื่อนสังคม เป็นสายลมแห่งความหวัง ช่วยกันทำให้วิทยาศาสตร์ให้เป็นความหวังของสังคม ขณะนี้กิจกรรม Science Project Exhibition กำลังจะเข้าสู่ทศวรรษที่ 3 ผมเชื่อว่ากิจกรรมนี้จะส่งผลดีกับวงการศึกษา และสร้างแรงบันดาลใจที่ดี ขอขอบคุณคณะทำงานที่ทำให้กิจกรรมดี ๆ เกิดขึ้น และหวังว่าจะมีการจัดกิจกรรมดี ๆ แบบนี้อย่างต่อเนื่องในอนาคต
จากนั้นจึงเป็นการบรรยาย Special Lecture: Redefining your scientific career path ซึ่งได้รับเกียรติจาก โดย ดร.จิรวัฒน์ ตั้งปณิธานนท์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ควอนตัม เทคโนโลยี ฟาวเดชั่น (ประเทศไทย) จำกัด สตาร์ทอัพที่ต้องการขับเคลื่อนประเทศไทยจากยุคดิจิทัลเข้าสู่ยุคควอนตัม มาเล่าถึงเส้นทางการเติบโตในสายงาน และประสบการณ์ทำงานที่นำเอาความรู้ทางด้านควอนตัมมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพขั้นสูงในการทำงานรวมถึงแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้กับภาคเอกชน เพื่อให้นักศึกษาได้เห็นถึงโอกาสการประกอบอาชีพในสายงานวิทยาศาสตร์ในอนาคต โดยผู้ที่สนใจร่วมงานกันสามารถติดต่อเข้ามาได้ที่ www.qtft.org
ต่อด้วยการนำเสนอผลงานวิจัยสุดสร้างสรรค์โดยนักศึกษาในสาขาต่าง ๆ โดยมี อาจารย์ ดร.ธันฐภัทร์ บุญช่วย และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพาลัคน์ กฤตยาเกียรณ์ เป็นผู้ดำเนินรายการในช่วงเช้า และ อาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กัลยา เกตุวงศา เป็นผู้ดำเนินรายการในช่วงบ่าย
โดยการนำเสนอผลงานของนักศึกษาประกอบด้วยช่วง Short talk (การนำเสนอโครงงานละ 3 นาที) จำนวน 23 โครงงาน ต่อด้วยช่วง Plenary Session (การบรรยายโดยนักศึกษาที่ได้รับการคัดเลือกจำนวน 8 โครงงาน นำเสนอโครงงานละ 10 นาที และถามตอบ 4 นาที) และช่วง Poster Session (การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์) ซึ่งผู้สนใจสามารถเยี่ยมชมงานวิจัยของนักศึกษาได้ที่ https://science.mahidol.ac.th/sciex/2023/ ตลอดการนำเสนอผลงานคณาจารย์ได้ทำการประเมินผลเพื่อพิจารณามอบรางวัลแก่นักศึกษาที่ร่วมกิจกรรมในรายการต่าง ๆ และประกาศผลรางวัลในช่วงสุดท้ายของกิจกรรม โดยมีผู้ที่ได้รับรางวัลแต่ละประเภท ดังนี้

รางวัล Plenary Talk ได้รับเงินรางวัล 2,000 บาท พร้อมโล่และประกาศนียบัตร จำนวน 8 รางวัล ได้แก่

1. นายอนาวิน พรหมแก้ว
ผลงานวิจัยเรื่อง Screen-printed Copper-organic Framework Modified Graphene as Electrochemical Sensor for Detection of Glutathione
โปสเตอร์หมายเลข CH-01

2. นางสาวโสมอุษา บุญเสริม
ผลงานวิจัยเรื่อง Community and identification of parasitic helminths in the Rainbow Water Snake (Enhydris enhydris) using morphological and molecular analyses
โปสเตอร์หมายเลข BI-01

3. นายเฉลิมเกียรติ ยะพลหา
ผลงานวิจัยเรื่อง Mastermind with Arbitrary Numbers of Pegs and Colors
โปสเตอร์หมายเลข MA-01

4. นายชานนท์ เจนศิริพาณิชย์
ผลงานวิจัยเรื่อง Low temperature X-Ray diffraction Study of Phase Changes and Lattice Parameters of BaNa2Co7Te3O18
โปสเตอร์หมายเลข PY-01

5. นางสาวจินต์จุฑา ภาคพร
ผลงานวิจัยเรื่อง Development of Deep Learning Models for Engineering Highly Efficient Enzymes
โปสเตอร์หมายเลข BT-01

6. นายพีรัชชัย กลีบบัว
ผลงานวิจัยเรื่อง Neuromorphic Hardware Implementation for the Next Generation of AI Chip
โปสเตอร์หมายเลข ME-01

7. นางสาวภคภร คำโสภา
ผลงานวิจัยเรื่อง Comparison of Pollinators in Organic and Conventional Guava (Psidium guajava L.) Orchards
โปสเตอร์หมายเลข PL-01

8. นางสาวอลิสา เชื้อรุ่ง
ผลงานวิจัยเรื่อง A Study of Gamma Ray Log and Petrographic Analysis of Reservoir Sands in Nong Yao Oilfield, Fang Basin, Thailand
โปสเตอร์หมายเลข GS-01

**********************

รางวัล Presentation Skill Award ได้รับเงินรางวัล 1,500 บาท พร้อมประกาศนียบัตร จำนวน 4 รางวัล ได้แก่

1. นางสาวธวภร เหมือนนิล
ผลงานวิจัยเรื่อง Invigilator Assignment on Several Campuses and Several Types of staff by Using GUROBI Optimization
โปสเตอร์หมายเลข MA-05

2. นายชัยชนะ พันต้น
ผลงานวิจัยเรื่อง Synthesis Towards Three-blade Molecular Propeller
โปสเตอร์หมายเลข CH-03

3. นางสาวกชกร ผ่องใส
ผลงานวิจัยเรื่อง Green Ultrasound Assisted Extraction of Lawsone from Lawsonia inermis L.
โปสเตอร์หมายเลข PL-02

4. นางสาวปภาวดี ดวงตา
ผลงานวิจัยเรื่อง Wildlife roadkill and drivers behavior at Mahidol University, Kanchanaburi Campus
โปสเตอร์หมายเลข CB-02

**********************

– รางวัล Popular Vote ได้รับเงินรางวัล 500 บาท พร้อมประกาศนียบัตร จำนวน 2 รางวัล ได้แก่

1. นายพิพัฒน์พงศ์ เหล่าวิวัฒน์
ผลงานวิจัยเรื่อง Pillararene Supramolecular Assembly in Supramolecular Organic Frameworks (SOFs) and Mechanically Interlocked Molecules (MIMs)
โปสเตอร์หมายเลข CH-05

2. นายปสุต โตยิ่ง
ผลงานวิจัยเรื่อง Tail flashing and Flicking Behavior of the Oriental Magpie-Robin at Mahidol University, Salaya Campus
โปสเตอร์หมายเลข BI-02

**********************

– รางวัลโปสเตอร์ดี วิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Biological Science: Good Poster Presentation Award)ได้รับเงินรางวัล 500 บาท พร้อมประกาศนียบัตร จำนวน 3 รางวัล ได้แก่

1. นางสาวบุญญาพร มะลิวัลย์
ผลงานวิจัยเรื่อง Characterization and Expression Analysis of Genes Associated With Cyanogenesis in Rubber Tree (Hevea Brasiliensis)
โปสเตอร์หมายเลข PL-06

2. นายวรัญญู พงษ์พานิช
ผลงานวิจัยเรื่อง Effect of piperine on 5-Fluorouracil-induced changes in mRNA expression of Chloride transporter and tight junction gene in intestinal epithelial cells
โปสเตอร์หมายเลข BI-09

3. นางสาวณีรนุช สุดเจริญ
ผลงานวิจัยเรื่อง Development of CRISPR-Based Detection Assays for Edwardsiella Species in Fish
โปสเตอร์หมายเลข BT-09

**********************

– รางวัลโปสเตอร์ดีเด่น วิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Biological Science: Outstanding Poster Presentation Award) ได้รับเงินรางวัล 1,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร จำนวน 3 รางวัล ได้แก่

1. นางสาวกชพร น้อยวงศ์
ผลงานวิจัยเรื่อง Optimization of ultrasound-assisted extraction of tamarind seed protein
โปสเตอร์หมายเลข BT-10

2. นางสาวภคภร คำโสภา
ผลงานวิจัยเรื่อง Comparison of Pollinators in Organic and Conventional Guava (Psidium guajava L.) Orchards
โปสเตอร์หมายเลข PL-01

3. นางสาวนราวัลย์ จันทร์พิบูลย์
ผลงานวิจัยเรื่อง Effect of Electrohydrodynamic (EHD) Technique on Drying Characteristics and Qualities of Guava Slices
โปสเตอร์หมายเลข BT-11

**********************

– รางวัลโปสเตอร์ดีเลิศ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Biological Science: Best Poster Presentation Award) ได้รับเงินรางวัล 1,500 บาท พร้อม ประกาศนียบัตร จำนวน 3 รางวัล ได้แก่

1. นายโสภณัฐ ผัดอูป
ผลงานวิจัยเรื่อง The study of floral visitation of Paris yunnanensis in Thailand
โปสเตอร์หมายเลข PL-09

2. นายณัฐนนท์ รอดสำอาง
ผลงานวิจัยเรื่อง Investigation of Circadian Clock and Therapeutic Effects of a Clock-Modulating Compound in Cholangiocarcinoma Cells
โปสเตอร์หมายเลข BI-06

3. นางสาวนรีกานต์ สายบุปผา
ผลงานวิจัยเรื่อง Effect of Chemical and Physical Stresses on Lipid Accumulation in Saccharomyces cerevisiae
โปสเตอร์หมายเลข BT-18

**********************

– รางวัลโปสเตอร์ดี วิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Science: Good Poster Presentation Award) ได้รับเงินรางวัล 500 บาท พร้อมประกาศนียบัตร จำนวน 3 รางวัล ได้แก่

1. นายพิพัฒน์พงศ์ เหล่าวิวัฒน์
ผลงานวิจัยเรื่อง Pillararene Supramolecular Assembly in Supramolecular Organic Frameworks (SOFs) and Mechanically Interlocked Molecules (MIMs)
โปสเตอร์หมายเลข CH-05

2. นายพีรัชชัย กลีบบัว
ผลงานวิจัยเรื่อง Neuromorphic Hardware Implementation for the Next Generation of AI Chip
โปสเตอร์หมายเลข ME-01

3. นางสาวอนัญญา เผ่าจินดา
ผลงานวิจัยเรื่อง Determination of Ascorbic Acid by the Formation of Volatile Iodine with Headspace Colorimetric Detection
โปสเตอร์หมายเลข CH-16

**********************

– รางวัลโปสเตอร์ดีเด่น วิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Science: Outstanding Poster Presentation Award) ได้รับเงินรางวัล 1,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร จำนวน 3 รางวัล ได้แก่

1. นายเฉลิมเกียรติ ยะพลหา
ผลงานวิจัยเรื่อง Mastermind with Arbitrary Numbers of Pegs and Colors
โปสเตอร์หมายเลข MA-01

2. นายศุภณัฐ พรหมอินทร์
ผลงานวิจัยเรื่อง Taylor dispersion analysis based on light scattering for non-UV absorbing compound
โปสเตอร์หมายเลข CH-22

3. นางสาวนันท์นภัส สุวรรณเจริญสุข
ผลงานวิจัยเรื่อง Simplified Laminated Paper-Based Analytical Device with Diameter-Based Measurement for Lead Analysis
โปสเตอร์หมายเลข CH-18

**********************

– รางวัลโปสเตอร์ดีเลิศ วิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Science: Best Poster Presentation Award) ได้รับเงินรางวัล 1,500 บาท พร้อม ประกาศนียบัตร จำนวน 3 รางวัล ได้แก่

1. นางสาววิภาวี ฉายแม้น
ผลงานวิจัยเรื่อง Sequential Injection Analysis System with Spectrophotometric Determination of Ethylenediaminetetraacetic Acid
โปสเตอร์หมายเลข CH-21

2. นายนรเศรษฐ์ ชีวถนอมศักดิ์
ผลงานวิจัยเรื่อง Computational Design of Nickel Catalysts for C-H Activation and Hydroarylation of Alkenes
โปสเตอร์หมายเลข CH-08

3. นางสาวธวภร เหมือนนิล
ผลงานวิจัยเรื่อง Invigilator Assignment on Several Campuses and Several Types of staff by Using GUROBI Optimization
โปสเตอร์หมายเลข MA-05

**********************

– รางวัล “ทายแม่น” หมุน Lucky Wheel ทายใจกรรมการตัดสินผลงาน จำนวน 4 รางวัล รางวัลละ 1,000 บาท ผู้โชคดี ได้แก่

1. นายวศิน ผดุงเวศ
2. นายพิพัฒน์พงศ์ เหล่าวิวัฒน์
3. นางสาวภคภร คำโสภา
4. นางสาวสายชล คำถนอม

และในพิธีปิด รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี ได้กล่าวว่า ขอแสดงความยินดีกับน้อง ๆ นักศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษา รวมถึงคณะผู้จัดงานอีกครั้ง เราภูมิใจกับน้อง ๆ ทุกคน วันนี้ขอให้กลับไปบอกคุณพ่อคุณแม่ว่าเราเก่งขึ้นขนาดไหนในรอบ 4 ปี การเดินทางของเรายังไปได้อีกไกล หากวันไหนเหนื่อยก็ให้คิดถึงวันนี้ที่เราสำเร็จในเบื้องต้น ขออวยพรให้น้อง ๆ ว่าที่บัณฑิตของคณะวิทยาศาสตร์เดินทางในเส้นทางสายวิทยาศาสตร์ได้ยาวไกล และมีความหวัง คณะวิทยาศาสตร์จะเป็นกำลังใจให้กับน้อง ๆ เสมอ การนำเสนองานในครั้งนี้ไม่ได้เผยแพร่อยู่แค่เรา แต่ถ่ายทอดไปยังโรงเรียนมัธยมในที่ต่าง ๆ อีกด้วย และในครั้งต่อไปงาน SciEx จะกลับมาด้วยรูปแบบที่ทันสมัยยิ่งขึ้น ในนามคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลขอขอบคุณทุกท่าน และสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์อย่างเป็นทางการ ทั้งนี้หวังว่าเราจะมีความร่วมมือกันต่อไปในอนาคต

เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพ
ตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษ
ภาพข่าวโดย : นางสาวปัณณพร แซ่แพ,
นายณัฐพล แนวจำปา
เว็บมาสเตอร์ : นางสาวปัณณพร แซ่แพ
วันที่ 26 พฤษภาคม 2566