Mahidol Science

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หารือสานต่อความร่วมมือ SCG Chemicals x Mahidol Science

18 มกราคม 2566 ผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.วีระชัย สิริพันธ์วราภรณ์ รองคณบดี ศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์. และ รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ ผู้ช่วยคณบดี ร่วมด้วยกับ ทีมอาจารย์จากภาควิชาเคมี รองศาสตราจารย์ ดร.เอกสิทธิ์ สมสุข ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชญาณิศา ชิติโชติปัญญา และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มัณฑนา จริยาบูรณ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี พร้อมด้วยทีมงานหน่วยพันธกิจพิเศษด้านพัฒนาธุรกิจ หรือ BDU (Business Development Unit) และงานวิจัย เข้าเยี่ยมชมและหารือความร่วมมือกับ บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด มหาชน ผู้นำธุรกิจเคมีภัณฑ์ครบวงจรเพื่อความยั่งยืนรายใหญ่ของไทยและภูมิภาคอาเซียน ณ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยองในโอกาสนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.สุเมธ […]

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หารือสานต่อความร่วมมือ SCG Chemicals x Mahidol Science Read More »

Activity photo

ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล และคณะวิทยาศาสตร์ หารือการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต หลักสูตร พ.ศ. 2566 ร่วมกับผู้บริหารสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

เมื่อช่วงเช้าวันจันทร์ที่ 16 มกราคม 2566 ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.ภก.เนติ สุขสมบูรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา พร้อมทีมบริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ทีมบริหารจากคณะวิทยาศาสตร์ และผู้แทนจากคณะศิลปศาสตร์ ให้การต้อนรับ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.นพ.วิชัย เทียนถาวร อธิการบดีสถาบันพระบรมราชชนก ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ นพ.สวรรค์ ขวัญใจพานิช คณบดีคณะแพทยศาสตร์ และทีมผู้บริหารสถาบันพระบรมราชชนก พร้อมเดินหน้าปรึกษาหารือเรื่องการจัดการเรียนการสอน การประเมินผล ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมวดวิทยาศาสตร์พื้นฐานทางการแพทย์ ระบบช่วยเหลือและการดูแลนักศึกษาช่วงเปลี่ยนถ่ายหลักสูตรให้คงความมีอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมหิดลและสถาบันพระบรมราชชนก จากนั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพพล เผ่าสวัสดิ์ ผู้อำนวยการหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะ ได้นำทีมบริหารสถาบันพระบรมราชชนกเยี่ยมชมหอสมุดฯ ซึ่งภายในแบ่งออกเป็น Co-working space และ E-lecture zone โดยทีมบริหารสถาบันพระบรมราชชนกได้ให้ความสนใจระบบการบันทึกการเรียนการสอนเป็นอย่างยิ่งต่อมา รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระชัย สิริพันธ์วราภรณ์ และคณะได้นำทีมบริหารสถาบันพระบรมราชชนกเยี่ยมชมคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา โดยให้การต้อนรับและนำชมห้องเรียนรวม

ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล และคณะวิทยาศาสตร์ หารือการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต หลักสูตร พ.ศ. 2566 ร่วมกับผู้บริหารสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข Read More »

Activity photo

13 คณาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้ารับประกาศนียบัตรการประเมินระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ระดับที่ 2

13 มกราคม 2566 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล มอบประกาศนียบัตรแก่คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดลผู้ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพอาจารย์ตามกรอบ UKPSF ประเภท Senior Fellow และผู้ผ่านการประเมินระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพของมหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรเนติ สุขสมบูรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวรายงาน ณ ศูนย์ประชุมมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายาโดยในครั้งนี้มีคณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ 13 ท่าน ได้รับประกาศนียบัตรผู้ผ่านการประเมินระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหิดลระดับที่ 2 ได้แก่ 1. รองศาสตราจารย์ ดร.เทียนทอง ทองพันชั่ง, อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี2. รองศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ อสุวพงษ์พัฒนา, อาจารย์ประจำภาควิชากายวิภาคศาสตร์3. รองศาสตราจารย์ ดร.ดนยา ปโกฏิประภา, อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรทิพา กอประเสริฐถาวร, อาจารย์ประจำเภสัชวิทยา5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อินทนนท์ กลศาสตร์เสนี, อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อลิสา ดำเนินสวัสดิ์, อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา7.

13 คณาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้ารับประกาศนียบัตรการประเมินระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ระดับที่ 2 Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีมอบป้ายสัญลักษณ์ห้องปฏิบัติการระดับ BSL2 และ BSL3 ภายใต้ ”โครงการห้องแล็บ BSL ปลอดภัย งานวิจัยได้มาตรฐาน”

12 มกราคม 2566 เวลา 13.00 -14.00 น. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีมอบป้ายสัญลักษณ์ห้องปฏิบัติการระดับ BSL2 แก่ ห้องปฏิบัติการจำนวนทั้งสิ้น 35 ห้อง และห้องปฏิบัติการระดับ BSL3 จำนวน 1 ห้อง ที่ได้รับใบรับรองสถานที่ผลิตเชื้อโรคหรือพิษจากสัตว์ ประจำปี 2565 จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ณ ห้อง K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไทโดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ ร่มแสง ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ และประธานคณะกรรมการควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ กล่าวแสดงความยินดีและขอบคุณหัวหน้าห้องปฏิบัติการและผู้เกี่ยวข้องทั้ง 36 ห้องปฏิบัติในการมีส่วนร่วมจัดทำข้อมูลการต่ออายุใบรับรองสถานที่ผลิตเชื้อโรคหรือพิษจากสัตว์ ประจำปี 2565 โดยให้ความสำคัญและให้ความร่วมมือในการดำเนินการปรับปรุงห้องปฏิบัติการให้เป็นไปตามมาตรฐาน ตรวจสอบข้อมูลและแก้ไขข้อมูลต่าง ๆ ทั้งการถ่ายภาพ การทำคู่มือเอกสารห้องปฏิบัติการของภาควิชา เพื่อนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ PAT ACT ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ได้รับใบรับรอง การแจ้งการผลิต / นำเข้า

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีมอบป้ายสัญลักษณ์ห้องปฏิบัติการระดับ BSL2 และ BSL3 ภายใต้ ”โครงการห้องแล็บ BSL ปลอดภัย งานวิจัยได้มาตรฐาน” Read More »

Activity photo

คณะวิทย์ มหิดล จัดเต็ม ‘Workshop Science Wow สนุกได้ทั้งบ้าน’ 4 กิจกรรม ฉลองวันเด็กแห่งชาติ 2566 ต่อเนื่องเป็นวันที่ 2

15 มกราคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม ‘Workshop Science Wow สนุกได้ทั้งบ้าน’ ส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเด็กและเยาวชนกับครอบครัว ฉลองวันเด็กแห่งชาติ 2566 ต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 โดยในวันนี้เป็นกิจกรรมสำหรับน้อง ๆ อายุ 7 – 9 และ 10 – 12 ปี ที่สามารถทำได้ง่าย ๆ ที่บ้านทั้งหมด 4 กิจกรรม ได้แก่กิจกรรม ‘ไข่แตกไหม’ ที่ชวนน้อง ๆ มาท้าพิสูจน์ดูว่าระหว่างไข่ดิบธรรมดากับไข่ดิบที่แช่น้ำส้มสายชูเป็นเวลา 24 ชั่วโมง จนเปลือกไข่ที่มีแคลเซียมคาร์บอเนต หรือหินปูน ถูกกัดกร่อนไปจนหมดแตกต่างกันอย่างไร จะแตกไหมหากเราลองเคาะเปลือกไข่ทั้ง 2 ฟอง พร้อมเฉลยปริศนาไข่กับไก่อะไรเกิดก่อนกันให้น้อง ๆ หายสงสัยกิจกรรม ‘ไข่ลอยน้ำ’ ที่ทดลองเปรียบเทียบไข่ดิบในแก้วน้ำเปล่า กับไข่ดิบในแก้วน้ำเกลือ แสดงให้เห็นถึงพลังของความหนาแน่น ที่ทำให้ไข่ในน้ำเกลือลอยขึ้นมาได้อย่างน่าอัศจรรย์ สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับน้อง ๆ ได้อย่างดีกิจกรรม

คณะวิทย์ มหิดล จัดเต็ม ‘Workshop Science Wow สนุกได้ทั้งบ้าน’ 4 กิจกรรม ฉลองวันเด็กแห่งชาติ 2566 ต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 Read More »

Activity photo

คณะวิทย์ มหิดล จัด ‘Workshop Science Wow สนุกได้ทั้งบ้าน’ ต้อนรับวันเด็กแห่งชาติ 2566

14 มกราคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม ‘Workshop Science Wow สนุกได้ทั้งบ้าน’ ส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ต้อนรับวันเด็กแห่งชาติ 2566 ในรูปแบบออนไลน์ เปิดโอกาสให้น้อง ๆ ทางบ้านได้ทดลองวิทยาศาสตร์แสนสนุกจากอุปกรณ์ที่หาได้ง่ายกับครอบครัว โดยมีพี่ ๆ นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คอยดูแลให้คำแนะนำน้อง ๆ เป็นอย่างเป็นกันเองตลอดกิจกรรมเริ่มด้วยกิจกรรมสำหรับน้อง ๆ อายุไม่เกิน 6 ปี กิจกรรมแรก ‘ผักเปลี่ยนสี’ ที่นำเอาผักที่เราคุ้นเคยอย่างผักกาดขาว แกะเป็นใบ ๆ แล้วจุ่มลงไปในน้ำสีผสมอาหารสีต่าง ๆ ทั้งสีส้ม แดง ม่วง ฯลฯ และสังเกตการณ์สีที่เปลี่ยนแปลงไปของใบผักกาดขาวต่อด้วยกิจกรรม ‘น้ำอัญชันสีอะไร’ ที่ใช้อุปกรณ์ง่าย ๆ อย่างน้ำอัญชัน และน้ำมะนาว โดยนำเอาน้ำมะนาวหยดลงในน้ำอัญชันแล้วสังเกตดูสีที่เปลี่ยนไป สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับน้อง ๆ เป็นอย่างดีกิจกรรม ‘Workshop Science Wow สนุกได้ทั้งบ้าน’ ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ ในวันอาทิตย์ที่ 15

คณะวิทย์ มหิดล จัด ‘Workshop Science Wow สนุกได้ทั้งบ้าน’ ต้อนรับวันเด็กแห่งชาติ 2566 Read More »

Activity photo

สวทช. ร่วมกับ JAXA คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และหน่วยงานคู่ความร่วมมือ ประกาศความสำเร็จของโครงการ AHiS Mission II ส่งมอบต้นกล้าราชพฤกษ์อวกาศแก่ 21 สถาบันการศึกษาทั่วประเทศ

20 ธันวาคม 2565 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น หรือ แจ็กซา (Japan Aerospace Exploration Agency: JAXA) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และหน่วยงานคู่ความร่วมมือ ส่งมอบ ‘ต้นกล้าราชพฤกษ์อวกาศ’ ภายใต้โครงการ Asian Herb in Space (AHiS) Mission II ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการด้านชีววิทยาอวกาศ (Space Biology) ให้แก่โรงเรียน มหาวิทยาลัย และหน่วยงานภาครัฐรวม 21 แห่งทั่วประเทศ เพื่อนำไปปลูกและต่อยอดสู่การเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากการศึกษาเปรียบเทียบการเติบโตระหว่างต้นราชพฤกษ์ที่ปลูกด้วยเมล็ดที่เดินทางไปอวกาศ กับต้นราชพฤกษ์ที่ปลูกด้วยเมล็ดปกติ ณ ห้องประชุม SD-601 อาคารสราญวิทย์ สวทช. อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานีการเดินทางของต้นกล้าราชพฤกษ์อวกาศให้เยาวชนและประชาชนชาวไทยได้เรียนรู้และใกล้ชิดเทคโนโลยีอวกาศมากยิ่งขึ้นในครั้งนี้ เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่าง สวทช. JAXA มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย กลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพอัจฉริยะ คณะวิทยาศาสตร์

สวทช. ร่วมกับ JAXA คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และหน่วยงานคู่ความร่วมมือ ประกาศความสำเร็จของโครงการ AHiS Mission II ส่งมอบต้นกล้าราชพฤกษ์อวกาศแก่ 21 สถาบันการศึกษาทั่วประเทศ Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแสดงความยินดีกับ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสครบรอบ 19 ปี การก่อตั้ง

19 ธันวาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย อาจารย์ ดร.มีโชค ชูดวง รองคณบดีฝ่ายคลังและพัสดุ เป็นผู้แทนคณบดี เข้าร่วมแสดงความยินดีกับ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสครบรอบ 19 ปีการก่อตั้ง ซึ่งได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิวิชญ์ เลี้ยงอิสสระ คณบดีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปณิชา นิติสกุลวุฒิ รองคณบดีฝ่ายบริหารและจัดการยุทธศาสตร์ ให้การต้อนรับพร้อมรับมอบเงินบริจาคจำนวน 2,000 บาทโดยในโอกาสนี้ได้ร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ถวายสังฆทาน จตุปัจจัยไทยธรรม และภัตตาหารเพล รวมถึงพิธีมอบรางวัลศิลปาวิชชาธร และมอบทุนการศึกษา ณ ห้อง 217 ชั้น 2 อาคารสิริวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายาคณะวิทยาศาสตร์ และ คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีความผูกพันกันแน่นแฟ้นมาอย่างยาวนาน ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นพ.พรชัย มาตังคสมบัติ อดีตคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดลในขณะนั้น

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแสดงความยินดีกับ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสครบรอบ 19 ปี การก่อตั้ง Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมถวายแจกันดอกไม้ และลงนามถวายพระพร สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา

19 ธันวาคม 2565 รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย อาจารย์ ดร.มีโชค ชูดวง รองคณบดีฝ่ายคลังและพัสดุ และ รองศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ อสุวพงษ์พัฒนา ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายแพทยศาสตร์ ทูลเกล้าฯ ถวายแจกันดอกไม้ และลงนามถวายพระพร สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ณ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เขียนข่าว : นางวริศรา ทาทอง ภาพข่าวโดย : นางวริศรา ทาทอง เว็บมาสเตอร์: นางสาวปัณณพร แซ่แพ วันที่ 19 ธันวาคม 2565

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมถวายแจกันดอกไม้ และลงนามถวายพระพร สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา Read More »

Activity photo

คณาจารย์ และบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการนานาชาติ The 48th International Congress on Science, Technology and Technology-based Innovation (STT48)

29 พฤศจิกายน 2565 คณาจารย์ นักศึกษา และบัณฑิต จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึง ศาสตราจารย์ ดร.เทวัญ จันทร์วิไลศรี อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี รองศาสตราจารย์ ดร. เอกสิทธิ์ สมสุข อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อุ่นใจ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา ได้เข้าร่วมการประชุมวิชาการนานาชาติ The 48th International Congress on Science, Technology and Technology-based Innovation (STT48) ณ อาคารศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราชในงานนี้ ศาสตราจารย์ ดร.เทวัญ จันทร์วิไลศรี อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี ได้ร่วมจัดงานโดยเป็นประธานดูแลการนำเสนอผลงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้รวมถึงเป็นกรรมการตัดสินรางวัลการนำเสนอใน Session B1: Biological Science ซึ่งครอบคลุมสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพใน 6 หัวข้อ ได้แก่ ชีวเคมี (Biochemistry), เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology), จุลชีววิทยา

คณาจารย์ และบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการนานาชาติ The 48th International Congress on Science, Technology and Technology-based Innovation (STT48) Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดบรรยายพิเศษ Mahidol Science Research Forum “Polymer Based Nanosystems and Hydrogels for Biomedical Applications”

30 พฤศจิกายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับเกียรติจาก Prof. Ravin Narain จาก Department of Chemical and Materials Engineering, Donadeo Innovation Centre for Engineering จากมหาวิทยาลัยอัลเบอร์ตา ประเทศแคนาดา มาบรรยายพิเศษ ในกิจกรรม Mahidol Science (MUSC) Research Forum หัวข้อเรื่อง Polymer Based Nanosystems and Hydrogels for Biomedical Applications โดยได้รับเกียรติจาก คุณ Poornima Ramesh Lyer นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรวิทยาศาตร์และวิศวกรรมวัสดุ กลุ่มสาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ เป็นผู้ดำเนินรายการ และ ศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง กล่าวเปิดกิจกรรมการบรรยายพิเศษในครั้งนี้ ด้วยความร่วมมือจากงานวิจัย กลุ่มสาขาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดบรรยายพิเศษ Mahidol Science Research Forum “Polymer Based Nanosystems and Hydrogels for Biomedical Applications” Read More »

Activity photo

ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม Biology Pitching Day นำเสนอแนวคิดนวัตกรรมจากองค์ความรู้ชีววิทยา ส่งเสริมการประยุกต์ใช้องค์ความรู้อย่างสร้างสรรค์

25 พฤศจิกายน 2565 ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมวัน pitching day : การนำเสนอแนวคิดนวัตกรรมจากองค์ความรู้ชีววิทยา เปิดเวทีให้นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาควิชาชีววิทยา ที่ลงเรียนในรายวิชา Biocreative process and design (SCBI 428) นำเสนอแนวคิดนวัตกรรมจากองค์ความรู้ชีววิทยา ณ ห้อง N516 ภาคชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ ผ่านระบบ online WebEx Meeting โดยมีผู้รู้จริงจากวงการสตาร์ทอัพ ได้แก่ คุณชาคริต จันทร์รุ่งสกุล ผู้ก่อตั้งและ CEO Fireoneone, ที่ปรึกษาระดับชาติด้านการทำ Business Transformation และโรงเรียนผู้ประกอบการ Wecosystem, ผศ.ดร.ป๋วย อุ่นใจ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา, นักวิจัย, นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และคอลัมนิสต์ประจำมติชนสุดสัปดาห์ และ ดร.ชนกพร พัวพัฒนกุล อาจารย์การสื่อสารสำหรับผู้ประกอบการ,

ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม Biology Pitching Day นำเสนอแนวคิดนวัตกรรมจากองค์ความรู้ชีววิทยา ส่งเสริมการประยุกต์ใช้องค์ความรู้อย่างสร้างสรรค์ Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมนำเสนอผลงานพัฒนาคุณภาพการทำงาน คว้า 2 รางวัล Popular Vote ในงานมหกรรมคุณภาพ Mahidol Quality Fair 2022

29 พฤศจิกายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมนำเสนอโครงการ 2 ผลงานพัฒนาคุณภาพการทำงาน คว้ารางวัล Popular Vote ในงานมหกรรมคุณภาพ Mahidol Quality Fair 2022 เวทีจัดแสดงผลงานการพัฒนางานจากบุคลากรของมหาวิทยาลัย ซึ่งจัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 9 ภายใต้หัวข้อ”Good Governance in Digital Era: ธรรมาภิบาลในยุคดิจิทัล” ณ มหิดลสิทธาคาร และศูนย์ประชุมและอาคารจอดรถมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายาโดยกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร. ภญ.จุฑามณี สุทธิสีสังข์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานเปิดงานมหกรรมคุณภาพ ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เป็นผู้บรรยายพิเศษเรื่อง “บทบาทมหาวิทยาลัยกับการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล” ทั้งยังได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ในองค์กรจากหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมการเสวนา “Digital Transformation” โดยมี อาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง หัวหน้าภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ดำเนินการเสวนาสำหรับการนำเสนอผลงานในปีนี้

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมนำเสนอผลงานพัฒนาคุณภาพการทำงาน คว้า 2 รางวัล Popular Vote ในงานมหกรรมคุณภาพ Mahidol Quality Fair 2022 Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “Fundamental Biosafety for BSL-2 (English Version)” เสริมความรู้และทักษะการทำวิจัยในห้องปฏิบัติการทางชีวภาพอย่างปลอดภัยตามมาตรฐานสากล

28 – 29 พฤศจิกายน 2565 งานวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพ จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “Fundamental Biosafety for BSL-2 (English Version)” เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย มาตรฐาน และแนวปฏิบัติต่าง ๆ ทางด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ ฝึกฝนทักษะเกี่ยวกับการทำงานในห้องปฏิบัติการทางชีวภาพตามมาตรฐานในระดับสากล รวมถึงกระตุ้นเตือนถึงการปฏิบัติงานให้ปลอดภัยต่อตนเอง บุคคลอื่น และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม โดยมี ศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกร ชลภัทร สุขเกษม ประธานคณะกรรมการควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้เกียรติร่วมเป็นวิทยากรรับเชิญ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ ร่มแสง ประธานคณะกรรมการควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ชี้แจงภาพรวมและดำเนินกิจกรรมในการอบรมทั้งภาคบรรยายและภาคปฏิบัติการ ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์มงคลสุขการอบรมในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งบุคคลภายในและภายนอกกว่าร้อยคน อาทิ เจ้าหน้าที่บริหารชีวนิรภัยของหน่วยงาน (BSO) นักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ รวมทั้งบุคลากรทางการแพทย์ ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับเชื้อโรคหรือพิษจากสัตว์ จากหน่วยงานต่าง

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “Fundamental Biosafety for BSL-2 (English Version)” เสริมความรู้และทักษะการทำวิจัยในห้องปฏิบัติการทางชีวภาพอย่างปลอดภัยตามมาตรฐานสากล Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมศึกษาดูงานหลักสูตรแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

28 พฤศจิกายน 2565 คณะผู้บริหาร อาจารย์ เจ้าหน้าที่ คณะแพทยศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก คณะผู้บริหารศูนย์แพทย์ศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิกโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ โรงพยาบาลนครศรีธรรมราช โรงพยาบาลราชบุรี คณะวิทยาศาสตร์ และ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ศึกษาดูงานการจัดการศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อนำมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานของ คณะแพทยศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก โดยมี รองศาสตราจารย์ นพ.ศักนัน มะโนทัย รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารคณะแพทยศาสตร์ ให้การต้อนรับและบรรยายหัวข้อที่เกี่ยวข้องอาทิ Outcome-based & integrated pre-clerkship curriculum, Holistic at-risk student, Student engagement และ Technology in medical education คณะวิทยาศาสตร์ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ อสุวพงษ์พัฒนา ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายแพทยศาสตร์ พร้อมด้วยอาจารย์จากภาควิชาปรีคลินิก ได้แก่ รองศาสตราจารย์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมศึกษาดูงานหลักสูตรแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อสังคมใน “วันนิทรรศการวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า 2565”

29 – 30 พฤศจิกายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ ผู้ช่วยคณบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลิตา คงฤทธิ์ รองหัวหน้าภาควิชาชีววิทยา และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พูนทวี แซ่เตีย อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อสังคมใน “วันนิทรรศการวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า 2565” ณ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จังหวัดนครนายก โดยในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 ได้จัดแสดงผลงานให้แก่นักเรียนโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเข้าชม ซึ่งได้รับความสนใจจากนักเรียนจำนวนมาก และต่อมาในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 จึงนำเสนอผลงานแก่ พลโท ปิยพงศ์ กลิ่นพันธุ์ ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า และคณะผลงานวิจัยและนวัตกรรมเด่นที่นำเสนอในปีนี้ ได้แก่ หน่วยปฏิบัติการชีววิทยาศาสตร์ระบบดิจิทัล (Digital Bioscience Laboratory) ซึ่ง อาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลิตา คงฤทธิ์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อสังคมใน “วันนิทรรศการวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า 2565” Read More »

Activity photo

สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ร่วมมือกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเวที pitching ประชันไอเดียและนวัตกรรมอาหารสุดล้ำในงาน DEMO DAY for Mahidol Pre-incubation Program for SPACE-F

25 พฤศจิกายน 2565 สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ร่วมมือกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดยหน่วยพัฒนาธุรกิจ (Business Development Unit : BDU) งานพันธกิจพิเศษ จัดกิจกรรม DEMO DAY for Mahidol Pre-incubation Program for SPACE-F เปิดเวที Pitching ให้กับทีม Food Tech Startup หน้าใหม่ในรั้วมหาวิทยาลัยมหิดล ประชันไอเดียและนวัตกรรมอาหารสุดล้ำภายใต้โครงการ Mahidol Pre-incubation for SPACE-F ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุขMahidol Pre-incubation for SPACE-F เป็นโครงการบ่มเพาะทีม Startup ที่มาจากการรวมตัวของนักศึกษา อาจารย์ และนักวิจัยในมหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีการติวเข้มในด้านต่างๆ ได้แก่ การพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์และตลาด การจัดทำแบบจำลองธุรกิจและแผนพัฒนาธุรกิจ รวมถึงทักษะการเป็นผู้ประกอบการในยุคปัจจุบัน ซึ่งจัดขึ้นในรูปแบบสัมมนาและอบรมเชิงปฏิบัติการ Workshop

สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ร่วมมือกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเวที pitching ประชันไอเดียและนวัตกรรมอาหารสุดล้ำในงาน DEMO DAY for Mahidol Pre-incubation Program for SPACE-F Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารจาก Osaka University พร้อมหารือเพื่อขยายความร่วมมือทางวิชาการเพิ่มเติม

22 พฤศจิกายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี ศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติศักดิ์ หยกทองวัฒนา รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและพัฒนานักศึกษา และ รองศาสตราจารย์ ดร.ชูวงศ์ เอื้อสุขอารี หัวหน้าหน่วยความร่วมมือการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพ แห่งมหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยโอซาก้า (MU-OU:CRC) พร้อมด้วยคณาจารย์จากภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ และศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยโอซาก้า ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารจาก Osaka University นำโดย Prof. Genta Kawahara, Executive Vice President, Prof. Kiyoshi Fujita, Senior Advisor to the President, Center for Global Initiatives/Center for International Affairs Graduate School of

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารจาก Osaka University พร้อมหารือเพื่อขยายความร่วมมือทางวิชาการเพิ่มเติม Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัด Workshop ติวเข้มเสริมทักษะผู้ประกอบการยุคใหม่ให้กับ 12 ทีม Food tech Startup โครงการ Mahidol Pre-incubation for SPACE-F

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดยหน่วยพัฒนาธุรกิจ (Business Development Unit : BDU) งานพันธกิจพิเศษ ร่วมมือกับสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) จัดกิจกรรมภายใต้โครงการ Mahidol Pre-incubation for SPACE-F ซึ่งเป็นโครงการบ่มเพาะทีมสตาร์ทอัพที่มาจากนักศึกษา อาจารย์ และนักวิจัย ในมหาวิทยาลัยมหิดล ในรูปแบบสัมมนาและอบรมเชิงปฏิบัติการ Workshop ต่าง ๆ รวมถึงการให้คำปรึกษากับทีมสตาร์ทอัพที่ได้รับคัดเลือกให้มาร่วมกิจกรรมเดือนตุลาคม ก่อนจะเปิดเวที Pitching นำเสนอผลงานในวัน Demo day ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 นี้ ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตพญาไทโครงการ Mahidol Pre-incubation for SPACE-F มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการบ่มเพาะผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) จากกลุ่มนักศึกษา อาจารย์ และ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดลในด้านต่างๆ ที่ SPACE-F ให้ความสนใจ ได้แก่ Health

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัด Workshop ติวเข้มเสริมทักษะผู้ประกอบการยุคใหม่ให้กับ 12 ทีม Food tech Startup โครงการ Mahidol Pre-incubation for SPACE-F Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สานสัมพันธ์ หารือ MOU ร่วมกับกรมทรัพยากรธรณี วิจัยรอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย

10 พฤศจิกายน 2565 รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระชัย สิริพันธ์วราภรณ์ รองคณบดี อาจารย์ ดร.ภูวิศ อมาตยกุล และอาจารย์ ดร.สุทธิพงษ์ น้อยสกุล อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ ได้เข้าพบ ดร.อรนุช หล่อเพ็ญศรี อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี ณ ห้องประชุมกรมทรัพยากรธรณี เพื่อแสดงความยินดีในโอกาสเข้ารับตำแหน่งและหารือถึงความร่วมมือด้านต่าง ๆ โดยมี นายทินกร ทาทอง ผู้อำนวยการกองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม ดร.ธิติ ตุลยาทิตย์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ และนางสาววรรณพร ปัญญาไว นักธรณีวิทยาชำนาญการ ร่วมให้ข้อมูลถึงประเด็นความร่วมมือด้านวิชาการเพื่อนำไปสู่การวิจัยที่ตอบสนองต่อความต้องการของท้องถิ่นและระดับประเทศ โดยหนึ่งในความสนใจที่มีร่วมกันคือ การศึกษารอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย ที่จะได้ร่วมกันนำความรู้ของบุคลากรทั้งสององค์กรมาประยุกต์ใช้ให้เกิดการบูรณาการงานวิจัยให้เป็นรูปธรรม และสามารถนำองค์ความรู้ดังกล่าวมาเผยแพร่ต่อประชาชนให้มีความรู้ความเข้าใจในรูปแบบที่ง่ายยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังได้ร่วมกันวางแนวทางความร่วมมือด้านการวิจัยในสาขาอื่น ๆ ต่อไปในอนาคตอีกด้วย เขียนข่าว : นางวริศรา ทาทองตรวจสอบโดย : นางสาวปัณณพร แซ่แพภาพข่าวโดย : นางวริศรา

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สานสัมพันธ์ หารือ MOU ร่วมกับกรมทรัพยากรธรณี วิจัยรอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมให้ความรู้และฝึกอบรมเกี่ยวกับการจับสัตว์เลื้อยคลาน (งู) “ทำอย่างไรเมื่องูเข้าบ้าน รู้เท่าทันอสรพิษเพื่อความปลอดภัย” สร้างการรับรู้ที่ถูกต้องเมื่อต้องเผชิญหน้ากับงู

9 พฤศจิกายน 2565 ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมให้ความรู้และฝึกอบรมเกี่ยวกับการจับสัตว์เลื้อยคลาน “ทำอย่างไรเมื่องูเข้าบ้าน รู้เท่าทันอสรพิษเพื่อความปลอดภัย” เพื่อให้บุคลากร นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทรัพยากรชีวภาพและชีววิทยาสภาวะแวดล้อม (หลักสูตรนานาชาติ) รายวิชา SCBE 392 Herpetology และนักศึกษาหลักสูตรอื่น ๆ ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับงูจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญ รู้จักงูทั้งแบบมีพิษและไม่มีพิษ รวมถึงฝึกใช้อุปกรณ์เพื่อรับมือและจัดการเมื่อต้องเผชิญหน้ากับงู ไปจนถึงฝึกปฏิบัติวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างถูกวิธีเมื่อถูกงูกัด โดยได้รับเกียรติจาก จ่าสิบตํารวจภิญโญ พุกภิญโญ และทีมวิทยากรและผู้ฝึกสอนจาก Youtube Channel: Snake Wrangler by Pinyo หน่วยป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สถานีดับเพลิงและกู้ภัยบางเขน และ อาจารย์ ดร.นภัทร รัตน์นราทร อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา เป็นผู้ดำเนินรายการ โดยทีมวิทยากรได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้สัมผัสกับงู และรู้จักงูชนิดต่าง ๆ ทั้งมีพิษ และไม่มีพิษ ที่มักจะชอบเข้ามาหรืออยู่ใกล้ชิดกับบ้านเรือนและชุมชนซึ่งเราสามารถพบเจอได้บ่อย ก่อนแนะนำวิธีการรับมือและจัดการเมื่อต้องเผชิญหน้ากับงู สาธิตการรับมือเมื่องูเข้าบ้าน และวิธีป้องกันงูเข้าบ้านตามความเชื่อที่สามารถใช้ได้จริง เพื่อลดการสูญเสียชีวิตของทั้งเราและงู พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ทดลองปฏิบัติจริง โดยมีทีมวิทยากรดูแลอย่างใกล้ชิด จากนั้นจึงให้ความรู้เรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อถูกงูกัดที่ถูกต้อง และข้อห้ามต่าง

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมให้ความรู้และฝึกอบรมเกี่ยวกับการจับสัตว์เลื้อยคลาน (งู) “ทำอย่างไรเมื่องูเข้าบ้าน รู้เท่าทันอสรพิษเพื่อความปลอดภัย” สร้างการรับรู้ที่ถูกต้องเมื่อต้องเผชิญหน้ากับงู Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับมอบเครื่อง Steam Explosion จากบริษัท พีทีที โกลบอล จำกัด (มหาชน) พร้อมหารือความร่วมมือด้านวิชาการ พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งอนาคต

7 พฤศจิกายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี ศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ ผู้ช่วยคณบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เปรมวดี วงษ์แสงจันทร์ หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมชาย เชื้อวัชรินทร์ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ (CEMB) พร้อมด้วยคณาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ รองศาสตราจารย์ ดร.มานพ สุพรรณธริกา อาจารย์ ดร.พรรณวจี พยงค์ศรี และบุคลากรงานศาลายา ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารจากบริษัท พีทีที โกลบอล จำกัด (มหาชน) นำโดย Mr. Kamel Ramdani, Senior Vice President of Science & Innovation คุณธาตรี สารีบุตร ผู้จัดการฝ่าย

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับมอบเครื่อง Steam Explosion จากบริษัท พีทีที โกลบอล จำกัด (มหาชน) พร้อมหารือความร่วมมือด้านวิชาการ พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งอนาคต Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับศูนย์ MIND และ iNT หารือความร่วมมือทางวิชาการ Innobic พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านชีวภาพสร้าง Product Champion ร่วมกันในอนาคต

2 พฤศจิกายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยหน่วยพันธกิจพิเศษด้านพัฒนาธุรกิจ หรือ BDU (Business Development Unit) และงานวิจัย นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.วีระชัย สิริพันธ์วราภรณ์ รองคณบดี และรองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ ผู้ช่วยคณบดี ร่วมกับ รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คัคนานต์ สรุงบุญมี ผู้แทนศูนย์พัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ (Medical Innovations Development Center) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ให้การต้อนรับ คุณณัฐ อธิวิทวัส กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด (Innobic (Asia) Company Limited) และคุณวรกันต์ บูรพาธนะ หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยีและนวัตกรรม

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับศูนย์ MIND และ iNT หารือความร่วมมือทางวิชาการ Innobic พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านชีวภาพสร้าง Product Champion ร่วมกันในอนาคต Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล และวิทยาลัยการจัดการ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ(MOU) จัดทำโครงการความร่วมมือระหว่างหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต – หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต

          วันที่ 31 ตุลาคม 2565 รศ. ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และรศ. ดร. วิชิตา รักธรรม คณบดีวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมพิธีลงนามทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ โครงการ B.Sc. – M.M. ความร่วมมือระหว่างหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต – หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต           ซึ่งเป็นหลักสูตรเร่งรัดตรีควบโท หรือหลักสูตร 4+1 ภายใต้แนวคิด “นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ หัวใจบริหาร” เป็นหลักสูตรที่ได้รับการออกแบบเนื้อหาและกระบวนการการเรียนการสอนซึ่งเน้นสร้างความรู้ความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประสมประสานกับทักษะที่เกี่ยวข้องทางด้านการบริหารจัดการ เพื่อรองรับการขยายตัวของภาคธุรกิจและโอกาสในการประกอบอาชีพในอนาคตให้แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล โดยหลักสูตรดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยมหิดลในการสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรที่มีความยืดหยุ่น (Flexi Education) โดยพิธีลงนามจัดขึ้น ณ ห้อง K101 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท เขียนข่าว : นายธีรเทพ แก้วมณีตรวจสอบโดย

คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล และวิทยาลัยการจัดการ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ(MOU) จัดทำโครงการความร่วมมือระหว่างหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต – หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านต้อนรับน้อง ๆ นักเรียนระดับมัธยมจากทั่วประเทศ จัดเต็มกว่า 53 กิจกรรมให้ทดลองจริง ในงาน “มหิดลวิชาการ เปิดบ้านมหิดล ประจำปี 2565” ภายใต้แนวคิด “WE’RE BACK AND WHAT’S NEXT”

28 ตุลาคม 2565 ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานเปิดงาน “มหิดลวิชาการ เปิดบ้านมหิดล ประจำปี 2565″ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เรืออากาศโท ทพ.ชัชชัย คุณาวิศรุต รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดงาน ซึ่งในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และคณะผู้บริหารส่วนงาน พร้อมทั้งคณาจารย์ และนักเรียนจากโรงเรียนต่าง ๆ เข้าร่วมพิธีเปิดพร้อมเยี่ยมชมกิจกรรมภายในห้อง 218 ชั้น 2 อาคารสิริวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลสำหรับกิจกรรมในครั้งนี้นับเป็นการเปิดบ้านมหาวิทยาลัยมหิดลต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 11 ในวันที่ 28 – 29 ตุลาคม 2565 ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เพื่อประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัย รวมทั้งส่วนงานในสังกัดมหาวิทยาลัยมหิดลให้เป็นที่รู้จักแก่บุคคลภายนอกมากยิ่งขึ้นผ่าน 4 กิจกรรมหลัก ได้แก่ Mahidol Admission, Mahidol

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านต้อนรับน้อง ๆ นักเรียนระดับมัธยมจากทั่วประเทศ จัดเต็มกว่า 53 กิจกรรมให้ทดลองจริง ในงาน “มหิดลวิชาการ เปิดบ้านมหิดล ประจำปี 2565” ภายใต้แนวคิด “WE’RE BACK AND WHAT’S NEXT” Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมพิธีวางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร ในฐานะทรงเป็น “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” เนื่องใน “วันเทคโนโลยีของไทย” ประจำปี 2565

         19 ตุลาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม และผู้ปฏิบัติงานคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมพิธีวางพานพุ่มและถวายราชสักการะเพื่อเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในฐานะทรงเป็น “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” เนื่องในโอกาส “วันเทคโนโลยีของไทย” ซึ่งกำหนดให้เป็นวันที่ 19 ตุลาคม ของทุกปี เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีและรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด ด้วยพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถตลอดจนพระวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของพระองค์ จากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่างๆ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นแก่ชาวไทยทั้งมวล ณ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม           วันที่ 19 ตุลาคม ของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็น “วันเทคโนโลยีของไทย” เนื่องจากเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2515 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงอำนวยการการสาธิตฝนเทียมสูตรใหม่ครั้งแรกของโลก ที่เขื่อนแก่งกระจาน ด้วยพระองค์เอง

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมพิธีวางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร ในฐานะทรงเป็น “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” เนื่องใน “วันเทคโนโลยีของไทย” ประจำปี 2565 Read More »

สรุปการแสวงหาความร่วมมือทางวิชาการด้านการศึกษาและการวิจัยครั้งที่ 2 ระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ Prof. Dr. Annette Ladstaetter-Weissenmayer, Dean of the Faculty of Physics and Electrical Engineering, University of Bremen ประเทศเยอรมนี

          คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยลัยมหิดล นำโดย ผศ.ดร. ปฐมพงษ์ แสงวิไล ผู้ช่วยคณบดี ร่วมกับอาจารย์ ดร.วิทูร ชื่นวชิรศิริ หัวหน้าภาควิชาฟิสิกส์ รศ.ดร. ดาครอง พิศสุวรรณ หัวหน้ากลุ่มสาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ และ รศ.ดร. ดวงใจ นาคะปรีชา ผู้แทนหัวหน้าภาควิชาเคมี ได้ร่วมให้การต้อนรับ Prof. Dr. Annette Ladstaetter-Weissenmayer, Dean of the Faculty of Physics and Electrical Engineering, University of Bremen ประเทศเยอรมนี โอกาสเข้าร่วมประชุมพูดคุยปรึกษาหารือในรายละเอียดเพิ่มเติม เพื่อสร้างความร่วมมือทางด้านการศึกษาและการวิจัย ระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ Faculty of Physics and Electrical Engineering, University

สรุปการแสวงหาความร่วมมือทางวิชาการด้านการศึกษาและการวิจัยครั้งที่ 2 ระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ Prof. Dr. Annette Ladstaetter-Weissenmayer, Dean of the Faculty of Physics and Electrical Engineering, University of Bremen ประเทศเยอรมนี Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมงาน SPACE-F Batch 3 Incubator Demo Day Foodtech สนับสนุนการบ่มเพาะฟู้ดเทคสตาร์ทอัพ สร้างนวัตกรรมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารไทย

29 กันยายน 2565 สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ร่วมกับบริษัทไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมพันธมิตรภาคธุรกิจ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จํากัด เปิดเวทีนำเสนอนวัตกรรมอาหารจาก 7 ทีมฟู้ดเทคสตาร์ทอัพผู้เข้าร่วมโครงการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตทางธุรกิจเทคโนโลยีอาหารระดับโลกแห่งแรกของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รุ่นที่ 3 SPACE-F Batch 3 Incubator Demo Day Foodtech ณ ห้อง Ballroom 2-3 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ในโอกาสนี้ นายวาลเดอมาร์ ดูบันยอฟสกี้ (Your Excellency, Mr. Waldemar Dubaniowski) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐโปแลนด์ประจำประเทศไทย, ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA, คุณธีรพงศ์ จันศิริ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมงาน SPACE-F Batch 3 Incubator Demo Day Foodtech สนับสนุนการบ่มเพาะฟู้ดเทคสตาร์ทอัพ สร้างนวัตกรรมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารไทย Read More »

สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม Orientation and Problem Validation Workshop ภายใต้โครงการ Pre-Incubation for SPACE-F ช่วยเตรียมความพร้อมและเพิ่มโอกาสการเข้าร่วมในโครงการ SPACE-F

      วันที่ 27 กันยายน 2565 สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ร่วมมือกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดยหน่วยพัฒนาธุรกิจ งานพันธกิจพิเศษ (Business Development Unit : BDU) ได้ร่วมกันจัดโครงการ Mahidol Pre-incubation for SPACE-F ซึ่งเป็นโครงการบ่มเพาะทีมสตาร์ทอัพที่มาจากนักศึกษา อาจารย์ และนักวิจัย ในมหาวิทยาลัยมหิดล ในรูปแบบสัมมนาและอบรมเชิงปฏิบัติการ Workshop ต่าง ๆ รวมถึงการให้คำปรึกษากับทีมสตาร์ทอัพที่ได้รับคัดเลือกให้มาร่วมกิจกรรมตลอดเดือนตุลาคม ก่อนจะเปิดเวที Pitching นำเสนอผลงานในวัน Demo day ช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้       โครงการ Mahidol Pre-incubation for SPACE-F มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการบ่มเพาะผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) จากกลุ่มนักศึกษา อาจารย์ และ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดลในด้านต่างๆ ที่ SPACE-F ให้ความสนใจ ได้แก่

สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม Orientation and Problem Validation Workshop ภายใต้โครงการ Pre-Incubation for SPACE-F ช่วยเตรียมความพร้อมและเพิ่มโอกาสการเข้าร่วมในโครงการ SPACE-F Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับและพูดคุยเพื่อแสวงหาความร่วมมือทางวิชาการกับ Prof. Dr. Annette Ladstaetter-Weissenmayer, Dean of the Faculty of Physics and Electrical Engineering, University of Bremen ประเทศเยอรมนี

             คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดยคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ รศ.ดร.พลังพล คงเสรี พร้อมด้วย ศ.ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ และ รศ.ดร. กิตตศักดิ์ หยกทองวัฒนา รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและพัฒนานักศึกษา ได้ร่วมให้การต้อนรับ Prof. Dr. Annette Ladstaetter-Weissenmayer, Dean of the Faculty of Physics and Electrical Engineering, University of Bremen ประเทศเยอรมนี ในโอกาสเดินทางมาพูดคุยปรึกษาหารือเพื่อแสวงหาความร่วมมือทางวิชาการด้านการศึกษาและการวิจัยระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ Faculty of Physics and Electrical Engineering, University of Bremen เมื่อวันจันทร์ที่ 19 กันยายน 2565  

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับและพูดคุยเพื่อแสวงหาความร่วมมือทางวิชาการกับ Prof. Dr. Annette Ladstaetter-Weissenmayer, Dean of the Faculty of Physics and Electrical Engineering, University of Bremen ประเทศเยอรมนี Read More »