ข่าวทั่วไป

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนา คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ม.มหิดล ครบรอบ 54 ปี

15 ธันวาคม 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ครบรอบ 54 ปี สานความสัมพันธ์อันดีระหว่าง 2 ส่วนงานที่มีมาอย่างยาวนาน โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.เสาวคนธ์ รัตนวิจิตราศิลป์ คณบดีคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ให้การต้อนรับ ณ อาคารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 1 มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ในโอกาสนี้คณะวิทยาศาสตร์ได้มอบเงินบริจาคเพื่อสนับสนุนด้านการศึกษาของคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์อีกด้วย เขียนข่าว : รองศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ อสุวพงษ์พัฒนาเรียบเรียง : นางสาวปัณณพร แซ่แพตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษภาพข่าวโดย : ว่าที่ ร.ต.ภัทรพล ตันตระกูลเว็บมาสเตอร์: นางสาวปัณณพร แซ่แพวันที่ 3 สิงหาคม 2566

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนา คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ม.มหิดล ครบรอบ 54 ปี Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ สวทช. และ JAXA ส่งมอบต้นราชพฤกษ์อวกาศให้แก่ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด

6 ธันวาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.กัณยารัตน์ สุไพบูลย์วัฒน หัวหน้ากลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพอัจฉริยะ ในฐานะผู้แทนคณบดี และ อาจารย์ ดร.ทัฏพงศ์ ตุลยานนท์ อาจารย์ประจำกลุ่มสาขาวิชา เข้าร่วมกิจกรรมส่งมอบต้นกล้าราชพฤกษ์อวกาศให้บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด โดยมี คุณวิเชียร จึงวิโรจน์ กรรมการบริหารและผู้จัดการร่วม บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้แทนรับมอบต้นกล้า และแขกผู้มีเกียรติจากองค์การสำรวจอวกาศประเทศญี่ปุ่น (JAXA) คุณทาเคฮิโระ นากามูระ ผู้อำนวยการ JAXA สำนักงานกรุงเทพฯ พร้อมด้วยผู้บริหารและผู้ประสานงานโครงการราชพฤกษ์อวกาศจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ และ ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์ ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ และ คุณปริทัศน์ เทียนทอง ผู้ประสานงานโครงการ รวมถึงผู้สนใจ ร่วมงาน ณ

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ สวทช. และ JAXA ส่งมอบต้นราชพฤกษ์อวกาศให้แก่ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายเป็นพระราชกุศล และพิธีถวายราชสดุดีน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ณ ม.มหิดล ศาลายา

1 ธันวาคม 2566 ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัย คณะ และสถาบันต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย รวมถึงคณะวิทยาศาสตร์ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี ดร.ระพี บุญเปลื้อง รักษาการแทนรองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์ พร้อมด้วยคณาจารย์ และบุคลากรงานศาลายา ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายเป็นพระราชกุศล และพิธีถวายราชสดุดีน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณฯ โดยร่วมทำบุญตักบาตรพระภิกษุสงฆ์และสามเณร จากวัดหทัยนเรศวร์ และวัดมหาสวัสดิ์ ศาลายา จำนวน 30 รูป บริเวณหน้าอาคารสำนักงานอธิการบดี ต่อด้วยพิธีบำเพ็ญกุศลถวายเป็นพระราชกุศล และพิธีถวายราชสดุดี ณ ห้องบรรยาย ศาสตราจารย์ นพ.ชัชวาล โอสถานนท์ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพตรวจสอบโดย :

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายเป็นพระราชกุศล และพิธีถวายราชสดุดีน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ณ ม.มหิดล ศาลายา Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ iNT ลงนามถ่ายทอด 2 เทคโนโลยีจากผลงานวิจัย ‘กรรมวิธีการแยกเส้นใยจากใบสับปะรด’ และผลงาน ‘สารแขวนลอยอนุภาคซิลเวอร์นาโนและกระบวนการเตรียม’ แก่ภาคเอกชน

28 พฤศจิกายน 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีลงนามอนุญาตให้ใช้สิทธิ ถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัย “กรรมวิธีการแยกเส้นใยจากใบสับปะรด” ให้แก่ บริษัท ทีนิตี้ ทีม จำกัด และผลงาน “สารแขวนลอยอนุภาคซิลเวอร์นาโนและกระบวนการเตรียม” ให้แก่ บริษัท เอ็ม เคมิ จำกัด แถลงความสำเร็จของผลงานวิจัย 2 ผลงานจากคณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งศักยภาพเป็นที่ยอมรับกับภาคเอกชนสู่การต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ สะท้อนความสำเร็จของการผลักดันงานวิจัยจากหิ้งสู่ห้าง ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ผู้อํานวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทวีชัย อมรศักดิ์ชัย อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี ผู้คิดค้นผลงานวิจัย ‘กรรมวิธีการแยกเส้นใยจากใบสับปะรด’ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชญาณิศา ชิติโชติปัญญา และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มัณฑนา จริยาบูรณ์

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ iNT ลงนามถ่ายทอด 2 เทคโนโลยีจากผลงานวิจัย ‘กรรมวิธีการแยกเส้นใยจากใบสับปะรด’ และผลงาน ‘สารแขวนลอยอนุภาคซิลเวอร์นาโนและกระบวนการเตรียม’ แก่ภาคเอกชน Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมนำเสนอผลงาน Poster Presentation ในรูปแบบออนไลน์ คว้า 2 รางวัล Popular Vote ในงานมหกรรมคุณภาพ Mahidol Quality Fair 2023

       28 พฤศจิกายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมนำเสนอผลงาน Poster Presentation ในรูปแบบออนไลน์ และได้คว้ารางวัล Popular Vote 2 รางวัล ในงานมหกรรมคุณภาพ Mahidol Quality Fair 2023 เวทีจัดแสดงผลงานการพัฒนางานจากบุคลากรของมหาวิทยาลัย ภายใต้หัวข้อ “ทศวรรษมหกรรมคุณภาพ: ก้าวสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)” ณ มหิดลสิทธาคาร และศูนย์ประชุมและอาคารจอดรถมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา        โดยกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานเปิดงานมหกรรมคุณภาพ ประจำปี 2566 และ รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรสมภพ ประธานธุรารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายแผน พัฒนาคุณภาพและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ประธานคณะกรรมการจัดงานกล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงาน    

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมนำเสนอผลงาน Poster Presentation ในรูปแบบออนไลน์ คว้า 2 รางวัล Popular Vote ในงานมหกรรมคุณภาพ Mahidol Quality Fair 2023 Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมงานแถลงข่าว “จากเชียงใหม่ สู่แอนตาร์กติกา”เปิดตัว 2 นักวิจัย ม.มหิดล และ ม.เชียงใหม่ ผู้ได้รับคัดเลือกไปปฏิบัติภารกิจวิจัย ณ ทวีปแอนตาร์กติกา

24 พฤศจิกายน 2566 เปิดตัว 2 นักวิจัยไทย นางสาวอัจฉราภรณ์ ผักหวาน นักวิจัยกลุ่มวิจัยรังสีคอสมิกและอนุภาคพลังงานสูง มหาวิทยาลัยมหิดล และ เรือโท ดร.ชนะ สินทรัพย์วโรดม อาจารย์และนักวิจัยภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตัวแทนนักวิจัยไทยผู้ได้รับคัดเลือกให้เดินทางไปปฏิบัติภารกิจวิจัย ณ ทวีปแอนตาร์กติกา ในงานแถลงข่าว “จากเชียงใหม่ สู่แอนตาร์กติกา” ตามความร่วมมือนิวทริโนไอซ์คิวบ์และการสำรวจตัดข้ามละติจูด ภายใต้พระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ณ อาคารพระจอมเกล้า (ถนนโยธี) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม งานแถลงข่าวในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี, ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วราภรณ์ นันทิยกุล หัวหน้าโครงการความร่วมมือนิวทริโนไอซ์คิวบ์และการสำรวจตัดข้ามละติจูด, เรือโท ดร.ชนะ สินทรัพย์วโรดม อาจารย์และนักวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมงานแถลงข่าว “จากเชียงใหม่ สู่แอนตาร์กติกา”เปิดตัว 2 นักวิจัย ม.มหิดล และ ม.เชียงใหม่ ผู้ได้รับคัดเลือกไปปฏิบัติภารกิจวิจัย ณ ทวีปแอนตาร์กติกา Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อสังคม ใน “วันนิทรรศการวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า 2566”

       20 – 21 พฤศจิกายน 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณพงษ์ เตรียมโพธิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์, รองศาสตราจารย์ ดร.ทวีชัย อมรศักดิ์ชัย อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดาราภรณ์ เตรียมโพธิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี, รองศาสตราจารย์ ดร. กัณยารัตน์ สุไพบูลย์วัฒน อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ, รองศาสตราจารย์ กิตติทัศน์ สุบรรณจุ้ย อาจารย์ประจำกลุ่มสาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ, เรืออากาศตรี นินาท บุญเปรมปรีดิ์ และ นางสาววาสิฎฐี แจ้งสว่าง ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อสังคมใน “วันนิทรรศการวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า 2566” ณ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จังหวัดนครนายก        โดยในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2566 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก พลเอกหญิง ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อสังคม ใน “วันนิทรรศการวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า 2566” Read More »

Activity photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ปลูกต้นราชพฤกษ์อวกาศ สัญลักษณ์แห่งการวิจัยขั้นแนวหน้า เพื่อค้นหาความเป็นไปได้ในอนาคต ณ มหิดล ศาลายา

17 พฤศจิกายน 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.วีระชัย สิริพันธ์วราภรณ์ รองคณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.พันธ์ญา สุนินทบูรณ์ ผู้ช่วยคณบดี คุณปิยะ โพธิ์สิทธิ์ หัวหน้างานศาลายา คุณณัฐพล แนวจำปา หัวหน้างานการศึกษา และเจ้าหน้าที่งานศาลายา ร่วมกันปลูก ‘ต้นราชพฤกษ์อวกาศ’ เพื่อ เป็นสัญลักษณ์แห่งการวิจัยขั้นแนวหน้าเพื่อค้นหาความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ในอนาคต โดยมีวิทยาศาสตร์เป็นรากฐานที่แข็งแรง และสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของคณะวิทยาศาสตร์ที่จะเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจด้านอวกาศของมวลมนุษยชาติ ณ บริเวณสวนอาคารบรรยายรวม L2 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายาต้นราชพฤกษ์อวกาศ เป็นต้นราชพฤกษ์ที่ปลูกด้วยเมล็ดที่เดินทางไปอวกาศภายใต้โครงการ Asian Herb in Space (AHiS) Mission II ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการด้านชีววิทยาอวกาศ (Space Biology) โดยความร่วมมือของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น หรือ

คณะวิทย์ ม.มหิดล ปลูกต้นราชพฤกษ์อวกาศ สัญลักษณ์แห่งการวิจัยขั้นแนวหน้า เพื่อค้นหาความเป็นไปได้ในอนาคต ณ มหิดล ศาลายา Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับผู้แทนจาก University Technology MARA (UiTM) ประเทศมาเลเซีย หารือสร้างความร่วมมือทางการศึกษาและวิจัย

2 พฤศจิกายน 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพงษ์ แสงวิไล ผู้ช่วยคณบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมคิด อมรสมานกุล หัวหน้าภาควิชาคณิตศาสตร์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ สถิรคู อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ และหลักสูตรคณิตศาสตร์ประกันภัย (นานาชาติ) ร่วมให้การต้อนรับคณะผู้แทนจาก University Technology MARA (UiTM) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในประเทศมาเลเซียที่ให้บริการด้านการศึกษาและนวัตกรรม ภายใต้โครงสร้างพื้นฐานของเทคโนโลยีที่มีความทันสมัย ตั้งอยู่ในรัฐเปรัค มีวิทยาเขตครอบคลุม 34 แห่ง วิทยาลัยการศึกษา 4 แห่ง คณะต่างๆ จำนวน 14 คณะ รวมไปถึงศูนย์การศึกษา 9 แห่ง ทั่วประเทศมาเลเซีย คณะผู้แทนจาก UiTM นำโดย Associate Professor Dr. Norhafizah Abdul Rahman หัวหน้าภาควิชาสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง (Built Environment) วิทยาลัยสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับผู้แทนจาก University Technology MARA (UiTM) ประเทศมาเลเซีย หารือสร้างความร่วมมือทางการศึกษาและวิจัย Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัด Mahidol Science Innovation & Entrepreneur Day 2023 เปิดโอกาส พร้อมมอบโล่เชิดชูผู้ถือสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร ส่งเสริมอาจารย์และนักศึกษา ต่อยอดผลงานวิจัยและนวัตกรรมสู่ทรัพย์สินทางปัญญา และเพิ่มโอกาสสู่การเป็นผู้ประกอบการ Startup และ Spin-off จากมหาวิทยาลัย

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัด Mahidol Science Innovation & Entrepreneur Day 2023 เปิดโอกาส พร้อมมอบโล่เชิดชูผู้ถือสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร ส่งเสริมอาจารย์และนักศึกษา ต่อยอดผลงานวิจัยและนวัตกรรมสู่ทรัพย์สินทางปัญญา และเพิ่มโอกาสสู่การเป็นผู้ประกอบการ Startup และ Spin-off จากมหาวิทยาลัย.🔖ดูภาพข่าวกิจกรรมและอ่านข่าวต่อได้ที่https://science.mahidol.ac.th/news/nov66-17/ #InnovationandEntrepreneurDay2023#Innovation #IntellecutalProperty #Entrepreneur #Startup #SpinOff#MahidolScience        15 พฤศจิกายน 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยงานพันธกิจพิเศษ ร่วมกับงานวิจัย จัดกิจกรรม Mahidol Science Innovation & Entrepreneur Day 2023 เพื่อเชิดชูความสำเร็จของอาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษาของคณะวิทยาศาสตร์ มหิดล ที่มีผลงานด้านนวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) พร้อมเปิดโอกาสให้อาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษาของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำเสนอและแลกเปลี่ยนมุมมองด้านวิจัย นวัตกรรม

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัด Mahidol Science Innovation & Entrepreneur Day 2023 เปิดโอกาส พร้อมมอบโล่เชิดชูผู้ถือสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร ส่งเสริมอาจารย์และนักศึกษา ต่อยอดผลงานวิจัยและนวัตกรรมสู่ทรัพย์สินทางปัญญา และเพิ่มโอกาสสู่การเป็นผู้ประกอบการ Startup และ Spin-off จากมหาวิทยาลัย Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ถ่ายทอดความรู้สู่สังคม จัดเสวนาพิเศษ Nobel Prize in Mahidol Science Cafe Vol.2: “การค้นพบและการสังเคราะห์ควอนตัมดอท คำตอบสำคัญของนาโนเทคโนโลยี”

15 พฤศจิกายน 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษ Nobel Prize in Mahidol Science Cafe Vol.2: “การค้นพบและการสังเคราะห์ควอนตัมดอท คำตอบสำคัญของนาโนเทคโนโลยี” ถ่ายทอดความรู้วิทยาศาสตร์สู่ประชาชน โดยได้รับเกียรติจาก 2 อาจารย์ที่มีประสบการณ์วิจัยด้านการสังเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีควอนตัมดอท ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นำพล อินสิน ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศิษย์เก่าจากห้องปฏิบัติการของ ศาสตราจารย์มอนจี บาเวนดี ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปีนี้ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญรัตน์ วัฒนพานิช ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ธันฐภัทร์ บุญช่วย ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ดำเนินรายการ ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้มีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท และรับชมทาง Facebook

คณะวิทย์ ม.มหิดล ถ่ายทอดความรู้สู่สังคม จัดเสวนาพิเศษ Nobel Prize in Mahidol Science Cafe Vol.2: “การค้นพบและการสังเคราะห์ควอนตัมดอท คำตอบสำคัญของนาโนเทคโนโลยี” Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล นำเสนอผลงานผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ในการติดตามผลการดำเนินงานตามข้อตกลงการปฏิบัติงานของส่วนงาน (PA-Visit) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

10 พฤศจิกายน 2566 ผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี พร้อมด้วยหัวหน้าหน่วยงาน และบุคลากร คณะวิทยาศาสตร์ ภายในคณะ ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย นำโดย ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และเจ้าหน้าที่กองแผนงาน ใน การติดตามผลการดำเนินงานตามข้อตกลงการปฏิบัติงานของส่วนงาน (PA-Visit) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 รับฟังผลการดำเนินงาน และข้อเสนอแนะจากมหาวิทยาลัย ณ ห้อง L-01 อาคารบรรยายรวม (ตึกกลม) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ได้ รายงานการดำเนินงาน ตลอดวาระการดำรงตำแหน่ง ตามเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ 5 ด้าน ของคณะวิทยาศาสตร์ ได้แก่ การศึกษาสากล บ่มเพาะผู้ประกอบการ การวิจัยระดับ World Class

คณะวิทย์ ม.มหิดล นำเสนอผลงานผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ในการติดตามผลการดำเนินงานตามข้อตกลงการปฏิบัติงานของส่วนงาน (PA-Visit) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล เดินหน้าหารือ University of Technology Sydney (UTS) เครือรัฐออสเตรเลีย สร้างความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัยด้านวัสดุศาสตร์และวิศวกรรมนาโน

8 พฤศจิกายน 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ดาครอง พิศสุวรรณ หัวหน้ากลุ่มสาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ และคณาจารย์ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติทัศน์ สุบรรณจุ้ย และ อาจารย์ ดร.ฒนันท์ วาริทนันท์ ให้การต้อนรับ 2 ผู้แทนจาก University of Technology Sydney (UTS) นำโดย Distinguished Professor Dr. Alaina Ammit , Associate Dean (Research), Faculty of Science และ Mr. Innes Ireland , Deputy Director, UTS International พร้อมแนะนำหน่วยงาน และพูดคุยเกี่ยวกับความสนใจของทั้งสองสถาบันเพื่อหาจุดร่วมปูทางสู่ ความร่วมมือในอนาคต ในด้านวิชาการ กิจการนักศึกษา การวิจัย

คณะวิทย์ ม.มหิดล เดินหน้าหารือ University of Technology Sydney (UTS) เครือรัฐออสเตรเลีย สร้างความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัยด้านวัสดุศาสตร์และวิศวกรรมนาโน Read More »

Activity

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมออกบูธจัดแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรมในงาน “TECHINNOVATION 2023” ณ Marina Bay Sand ประเทศสิงคโปร์

ขอบคุณภาพข่าวจาก : สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT)         31 ตุลาคม – 2 พฤศจิกายน 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชญาณิศา ชิติโชติปัญญา อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภฤกษ์ บวรภิญโญ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ร่วมกับ สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) นำผลงานวิจัยและนวัตกรรม รวมไปถึง Startup และ Spin off ภายใต้การบ่มเพาะของมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมออกบูธจัดแสดงผลงาน ในงาน “TECHINNOVATION 2023” ณ Marina Bay Sand ประเทศสิงคโปร์         “TECHINNOVATION 2023” จัดขึ้นโดย Intellectual Property Intermediary (IPI) องค์กรส่งเสริมและผลักดันกระบวนการนวัตกรรมสมัยใหม่ ที่มุ่งเน้นการเข้าถึงนวัตกรรม และการบริการให้คำปรึกษาในระดับสากล

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมออกบูธจัดแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรมในงาน “TECHINNOVATION 2023” ณ Marina Bay Sand ประเทศสิงคโปร์ Read More »

Activity

สมาคมศิษย์เก่า คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดการแข่งขันกอล์ฟการกุศล ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ครั้งที่ 5              

30 ตุลาคม 2566 สมาคมศิษย์เก่า คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดการแข่งขันกอล์ฟการกุศล ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ครั้งที่ 5 ณ สนามกอล์ฟ เลกาซี่ กอล์ฟคลับ เพื่อนำรายได้จัดสรรเป็นทุนการศึกษาแก่นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ตลอดจนสนับสนุนกิจกรรมนักศึกษา และส่วนหนึ่งทูลเกล้า ฯ ถวาย สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย โดยในพิธีประกาศผลรางวัล ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.พรชัย มาตังคสมบัติ นายกสมาคมศิษย์เก่า คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวต้อนรับ และขอบคุณผู้ให้การสนับสนุนที่ร่วมบริจาคและส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขัน จากนั้นได้ร่วมจับสลากและมอบถ้วยรางวัล ทั้งนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม และรองศาสตราจารย์ ดร.ชื่นจิตต์ บุญเฉิด เลขาธิการสมาคมฯ ร่วมมอบรางวัลด้วย ซึ่งในปีนี้มีผู้ได้รับรางวัลดังต่อไปนี้ ประเภททีม ทีมชนะเลิศ

สมาคมศิษย์เก่า คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดการแข่งขันกอล์ฟการกุศล ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ครั้งที่ 5               Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล หารือ บริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด (UAE) มองหาโอกาสสร้างความร่วมมือด้านวิชาการ งานวิจัย และนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการ

27 ตุลาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ พร้อมอาจารย์และนักวิจัย ของคณะวิทยาศาสตร์ที่มีความสนใจและมีความเชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพและการอนุรักษ์ ร่วมหารือกับบริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด (UAE) ณ ห้องประชุม K103 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยการหารือในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากคุณศุภรัตน์ โชติสกุลรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด (UAE) ศิษย์เก่าดีเด่นคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2562 เป็นผู้ร่วมหารือในครั้งนี้บริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด (UAE) เป็นภาคธุรกิจที่ให้บริการด้านสิ่งแวดล้อมแบบครบวงจรที่มีคุณภาพระดับสากล เป็นผู้นำการให้บริการสิ่งแวดล้อมแบบครบวงจรในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน ซึ่งมีการให้บริการทั้งหมด 8 ด้าน

คณะวิทย์ ม.มหิดล หารือ บริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด (UAE) มองหาโอกาสสร้างความร่วมมือด้านวิชาการ งานวิจัย และนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการ Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล เยือน Sichuan University ร่วมวิจัยยางธรรมชาติ พร้อมแลกเปลี่ยนความรู้ ปูทางสานต่อความร่วมมือทางวิชาการ

14-17 กันยายน 2566 ศาสตราจารย์ ดร.จิตต์ลัดดา ศักดาภิพาณิชย์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี และนักวิจัยประจำศูนย์วิจัยเทคโนโลยียาง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับเชิญจาก Professor Dr. Jinrong Wu อาจารย์ประจำ College of Polymer Science and Engineering, Sichuan University ซึ่งเป็นสถาบันที่ได้รับการยอมรับในระดับสูงของประเทศจีน ในการสร้างเครือข่ายทางวิชาการระหว่างสองสถาบัน ณ สาธารณรัฐประชาชนจีนในโอกาสนี้ ศาสตราจารย์ ดร.จิตต์ลัดดา ได้เดินทางเยือน Sichuan University อย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นครั้งแรกหลังจากได้มีการติดต่อทำงานร่วมกันผ่านช่องทางออนไลน์ โดยได้ร่วมปรึกษาเรื่องการวิจัยยางธรรมชาติ รวมถึงได้รับเชิญบรรยายพิเศษเรื่องยางธรรมชาติให้นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่ College of Polymer Science and Engineering พร้อมทั้งนำเสนองานวิจัยที่กำลังดำเนินการ และแลกเปลี่ยนความรู้ในเรื่องยางธรรมชาติ ซึ่งได้สร้างความประทับใจและเปิดโอกาสสำหรับการขยายขอบเขตของความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างสองสถาบันในอนาคต เขียนข่าว : ศาสตราจารย์ ดร.จิตต์ลัดดา ศักดาภิพาณิชย์ เรียบเรียง : นางสาวปัณณพร แซ่แพ

คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล เยือน Sichuan University ร่วมวิจัยยางธรรมชาติ พร้อมแลกเปลี่ยนความรู้ ปูทางสานต่อความร่วมมือทางวิชาการ Read More »

Activity Photo

มหาวิทยาลัยมหิดล หารือ มหาวิทยาลัยชิงเต่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาธารณรัฐประชาชนจีน แลกเปลี่ยนทางวิชาการและการศึกษา ร่วมมือวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยียาง

10-13 กันยายน 2566 ศาสตราจารย์ ดร.จิตต์ลัดดา ศักดาภิพาณิชย์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี นักวิจัยประจำศูนย์วิจัยเทคโนโลยียาง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะผู้แทนมหาวิทยาลัยมหิดล และ ดร.อุทัย สอนหลักทรัพย์ นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เดินทางไปหารือความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชิงเต่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Qingdao University of Science and Technology, QUST) พร้อมพบปะนักศึกษาไทยจากครอบครัวชาวสวนยางพาราที่ได้รับทุนการศึกษาจาก QUST ณ สาธารณรัฐประชาชนจีนมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชิงเต่า (Qingdao University of Science and Technology) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1950 เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของมณฑลซานตง สาธารณรัฐประชาชนจีน ที่เปิดสอนครอบคลุมทุกสาขาวิชา อาทิ คณิตศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การบริหารจัดการ แพทยศาสตร์ นิติศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์และครุศาสตร์ และมีความโดดเด่นในด้านวิศวกรรมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก มหาวิทยาลัยได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในด้านการผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพ มีทักษะการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ โดยนักศึกษาของมหาวิทยาลัยล้วนได้รับคัดเลือกเข้าทำงานในบริษัทชั้นนำทั่วประเทศจีน นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชิงเต่ายังเป็นมหาวิทยาลัยที่มีประสบการณ์ในด้านนวัตกรรมและสตาร์ทอัพ จนได้รับสมญานามว่า “มหาวิทยาลัยการทหารหวงผู่ของอุตสาหกรรมยางพาราของจีน”

มหาวิทยาลัยมหิดล หารือ มหาวิทยาลัยชิงเต่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาธารณรัฐประชาชนจีน แลกเปลี่ยนทางวิชาการและการศึกษา ร่วมมือวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยียาง Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล เปิดบ้านต้อนรับนักเรียน ม.5 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จัดกิจกรรมแนะแนวการศึกษาต่อ เปิดวิสัยทัศน์ ค้นหาตัวตนที่ใช่ ณ ศาลายา

20 ตุลาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดบ้านต้อนรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จำนวนกว่า 50 คน ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมคณะวิทยาศาสตร์ เพื่อเปิดวิสัยทัศน์ ค้นหาตัวตน และอาชีพที่สนใจ สร้างแรงบันดาลใจในการเลือกศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา ภายใต้โครงการ SK143 สนับสนุนโดยเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพงษ์ แสงวิไล ผู้ช่วยคณบดี ให้การต้อนรับคณะครูและนักเรียน รวมถึงแนะแนวการศึกษาต่อ และเส้นทางอาชีพทางด้านวิทยาศาสตร์ ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพ ตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษ ภาพข่าวโดย : ว่าที่ ร.ต.ภัทรพล ตันตระกูล เว็บมาสเตอร์: นางสาวปัณณพร แซ่แพ วันที่ 24 ตุลาคม 2566

คณะวิทย์ ม.มหิดล เปิดบ้านต้อนรับนักเรียน ม.5 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จัดกิจกรรมแนะแนวการศึกษาต่อ เปิดวิสัยทัศน์ ค้นหาตัวตนที่ใช่ ณ ศาลายา Read More »

activity

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมพิธีวางพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” เนื่องในวันเทคโนโลยีของไทย ประจำปี 2566

19 ตุลาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม เข้าร่วม พิธีวางพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร เนื่องใน “วันเทคโนโลยีของไทย”  เพื่อเทิดพระเกียรติและน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและพระอัจฉริยภาพของพระองค์ ในฐานะทรงเป็น “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระสยามเทวมหามงกุฎวิทยามหาราช รัชกาลที่ 4 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร โดยครั้งหนึ่ง ในหน้าประวัติศาสตร์สำคัญของไทยอีกเรื่อง ได้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2515 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชฯ ทรงควบคุมบัญชาการและอำนวยการสาธิตฝนเทียมสูตรใหม่เป็นครั้งแรกของโลก ณ เขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี โดยใช้สนามบินบ่อฝ้าย อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นฐานปฏิบัติการ และประสบความสำเร็จฝนตกตามเป้าหมายอย่างแม่นยำ สร้างความประทับใจและยินดีแก่คณะผู้แทนรัฐบาลสิงค์โปร์ และผู้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมพิธีวางพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” เนื่องในวันเทคโนโลยีของไทย ประจำปี 2566 Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล มอบรางวัล Mahidol Science Communicator Award 2023 ยกย่องนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ รางวัลอาจารย์ตัวอย่าง และรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น เชิดชูผู้ใช้ความรู้เพื่อสังคม ฉลองครบรอบ 65 ปี

20 ตุลาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ฉลองวันสถาปนาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ครบรอบปีที่ 65 มอบรางวัล Mahidol Science Communicator Award 2023 แก่ 2 นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อุ่นใจ และ ‘หมอเอ้ว’ นพ.ชัชพล เกียรติขจรธาดา 2 เพจสื่อสารวิทยาศาสตร์ดาวรุ่ง ‘มิตรเอิร์ธ – mitrearth’ และ ‘นิเวศเกษตร Biodiversity and Agroecology’ และ 1 องค์กรสื่อสารวิทยาศาสตร์ ‘สารคดี’ นิตยสารและสำนักพิมพ์สารคดี ยกย่องนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ของประเทศไทยต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 เพื่อเป็นกำลังใจและร่วมผลักดันสังคมไทยสู่สังคมตื่นรู้วิทยาศาสตร์และเท่าทันโลก รวมถึงมอบรางวัลอาจารย์ตัวอย่างคณะวิทยาศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2566 แก่ 2 อาจารย์นักวิจัย ผู้จุดประกายความฝันให้กับนักศึกษา และรางวัลศิษย์เก่าดีเด่นคณะวิทยาศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2566

คณะวิทย์ ม.มหิดล มอบรางวัล Mahidol Science Communicator Award 2023 ยกย่องนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ รางวัลอาจารย์ตัวอย่าง และรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น เชิดชูผู้ใช้ความรู้เพื่อสังคม ฉลองครบรอบ 65 ปี Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดพิธีทำบุญวันคล้ายวันสถาปนาครบรอบ 65 ปี

20 ตุลาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีทำบุญเนื่องในโอกาสฉลองวันสถาปนาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ครบรอบปีที่ 65 เพื่อความเป็นสิริมงคล โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ เป็นประธานในพิธี ถวายเครื่องไทยธรรม ภัตตาหารแก่พระสงฆ์จากวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร จำนวน 9 รูป โดยมี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นพ.พรชัย มาตังคสมบัติ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และอดีตคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ อาจารย์เกษียณ ผู้บริหารคณะและสถาบันในมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ พร้อมด้วยอาจารย์ และบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ร่วมกิจกรรม ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษภาพข่าวโดย : นายนภาศักดิ์ ผลพานิชเว็บมาสเตอร์: นางสาวปัณณพร แซ่แพวันที่ 20 ตุลาคม 2566

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดพิธีทำบุญวันคล้ายวันสถาปนาครบรอบ 65 ปี Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมพิธีทำบุญตักบาตร และพิธีถวายราชสดุดี เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 13 ตุลาคม 2566 ณ ม.มหิดล ศาลายา

12 ตุลาคม 2566 ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัย คณะ และสถาบันต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย รวมถึงคณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งนำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระชัย สิริพันธ์วราภรณ์ รองคณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.พันธ์ญา สุนินทบูรณ์ ผู้ช่วยคณบดี อาจารย์ ดร.ธิติคม พัวพันสวัสดิ์ ประธานสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยคณาจารย์ และบุคลากรงานศาลายา ร่วมพิธีทำบุญตักบาตร และพิธีถวายราชสดุดี เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 13 ตุลาคม 2566 เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณฯ โดยร่วมทำบุญตักบาตรพระภิกษุสงฆ์และสามเณร จากวัดหทัยนเรศวร์ และวัดมหาสวัสดิ์ ศาลายา จำนวน 20 รูป บริเวณหน้าอาคารสำนักงานอธิการบดี ต่อด้วยพิธีบำเพ็ญกุศลถวายเป็นพระราชกุศล และพิธีถวายราชสดุดี ณ ห้องบรรยาย ศาสตราจารย์ นพ.ชัชวาล โอสถานนท์ สำนักงานอธิการบดี

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมพิธีทำบุญตักบาตร และพิธีถวายราชสดุดี เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 13 ตุลาคม 2566 ณ ม.มหิดล ศาลายา Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันนวมินทรมหาราช 13 ตุลาคม 2566

12 ตุลาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี พร้อมด้วยคณาจารย์ และบุคลากร แต่งกายด้วยชุดสุภาพโทนสีเหลืองร่วมพิธีน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันนวมินทรมหาราช 13 ตุลาคม 2566 โดยพร้อมเพรียงกัน ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไทในวันที่ 13 ตุลาคม 2566 นี้นับว่าเป็นการครบ 7 ปี แห่งการเสด็จสวรรคต หรือ “สัตตมวรรษ” รัฐบาลจึงได้ขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับการกำหนดชื่อวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้มีพระดำริประทานชื่อวันดังกล่าว เพื่อประกอบพระบรมราชวินิจฉัยว่า “วันนวมินทรมหาราช” แปลว่า วันที่ระลึกถึงพระมหาราชรัชกาลที่ 9 ผู้ยิ่งใหญ่ เป็นที่มาของการกำหนดให้วันที่ 13 ตุลาคม ของทุกปี

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันนวมินทรมหาราช 13 ตุลาคม 2566 Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรมศึกษาดูงานด้าน Post-Harvest Quality Control and Waste Utilization of Seafood Product ในประเทศไทย ให้กับอาจารย์และนักวิจัยจากสถาบันโภชนาการ และ นักศึกษาจากประเทศอินเดีย

5 ตุลาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพงษ์ แสงวิไล ผู้ช่วยคณบดี ให้การต้อนรับนักศึกษาจาก College of Fisheries Guru Angad Dev Veterinary and Animal Sciences University, Punjab ประเทศอินเดีย จำนวน 12 คน เนื่องในโอกาสเข้าศึกษาดูงานด้าน “การควบคุมคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวและการใช้ประโยชน์จากของเสียในกระบวนการผลิตและแปรรูปอาหารทะเลในประเทศไทย” รวมไปถึงศึกษาการจัดการศึกษาและกิจกรรมทางห้องปฏิบัติการและการวิจัยที่เกี่ยวข้องของคณะวิทยาศาสตร์ โดยกิจกรรมในช่วงเช้า นักศึกษาจากประเทศอินเดียได้เข้าเยี่ยมชมโครงการ SPACE-F ซึ่งเป็นโครงการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตของผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น หรือสตาร์ทอัพ (Startup) ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อสร้างระบบนิเวศน์ที่ยั่งยืนสำหรับด้าน “Food Tech Startup” ในประเทศไทย อันเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา ณ อาคารชีววิทยาใหม่ ชั้น 6 โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ ผู้ช่วยคณบดี

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรมศึกษาดูงานด้าน Post-Harvest Quality Control and Waste Utilization of Seafood Product ในประเทศไทย ให้กับอาจารย์และนักวิจัยจากสถาบันโภชนาการ และ นักศึกษาจากประเทศอินเดีย Read More »

Activity Photo

อาจารย์ภาควิชาเคมี วิจัยกระบวนการแยกและใช้ประโยชน์เส้นใยจากใบสับปะรด ลดการปล่อยคาร์บอน ต่อการยอดผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ คว้ารางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการประดิษฐ์และนวัตกรรม ประจำปีการศึกษา 2565

6 ตุลาคม 2566 มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานแถลงข่าวประกาศผลรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2565 เปิดตัวผู้รับรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการแต่งตำรา สาขาการประดิษฐ์และนวัตกรรม และสาขาความเป็นครู ประจำปีการศึกษา 2565 โดยมี ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานกล่าวถึงความเป็นมาของรางวัล และประกาศผลการตัดสินรางวัลโดยในปีนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ทวีชัย อมรศักดิ์ชัย ผู้เชี่ยวชาญด้านพอลิเมอร์ โดยเฉพาะเส้นใยธรรมชาติและวัสดุ composite อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ ได้รับรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการประดิษฐ์และนวัตกรรม ซึ่งมอบให้กับผู้ที่มีผลงานประดิษฐ์คิดค้น ผลิตภัณฑ์ หรือกรรมวิธีใหม่ ที่มีความจำเป็นและสอดคล้องกับความต้องการของสังคม มีการนำไปใช้อย่างแพร่หลาย หรือได้จดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว จากผลงานเรื่อง ‘การพัฒนากระบวนการแยกและใช้ประโยชน์เส้นใยจากใบสับปะรด’ผลงานนี้เป็นการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์หากระบวนการใหม่ในการแยกเส้นใยจาก‘ใบ’ และ ‘ลำต้น’ หรือ ‘เหง้า’ สับปะรดที่เหลือทิ้งมาทำให้เป็นวัสดุที่มีความแข็งแรง ยืดหยุ่น ตลอดจนทนอุณหภูมิได้สูงขึ้น สามารถนำไปใช้งานได้อย่างหลากหลาย ทั้งในอุตสาหกรรมพลาสติก เพื่อทดแทนพลาสติกใช้แล้วทิ้ง ตลอดจนอุตสาหกรรมด้านอื่น ๆ อาทิ อุตสาหกรรมยาง อุตสาหกรรมก่อสร้าง และอุตสาหกรรมอาหาร ปัจจุบัน

อาจารย์ภาควิชาเคมี วิจัยกระบวนการแยกและใช้ประโยชน์เส้นใยจากใบสับปะรด ลดการปล่อยคาร์บอน ต่อการยอดผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ คว้ารางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการประดิษฐ์และนวัตกรรม ประจำปีการศึกษา 2565 Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดงานปัจฉิมนิเทศแสดงความยินดีกับผู้สำเร็จการศึกษาระดับมหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2565

1 ตุลาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์จัดงานปัจฉิมนิเทศแสดงความยินดีกับผู้สำเร็จการศึกษาระดับมหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2565 ณ ห้องบรรยายรวม L05 ตึกกลม คณะวิทยาศาสตร์ พญาไท โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติศักดิ์ หยกทองวัฒนา รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและพัฒนานักศึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม รองศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ อสุวพงษ์วัฒนา ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายแพทยศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรกนก บุญวงศ์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการศึกษา รองศาสตราจารย์ ดร.เอกสิทธิ์ สมสุข ผู้แทนสมาคมศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรทิพา กอประเสริฐถาวร ประธานฯ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพิษวิทยา ร่วมแสดงความยินดีกับผู้สำเร็จการศึกษารองศาสตราจารย์ ดร.กิตติศักดิ์ หยกทองวัฒนา รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและพัฒนานักศึกษา กล่าวต้อนรับเข้าสู่งานปัจฉิมนิเทศ แสดงความยินดีกับผู้สำเร็จการศึกษา และเรียนเชิญรองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดงานปัจฉิมนิเทศแสดงความยินดีกับผู้สำเร็จการศึกษาระดับมหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2565 Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมใจจัดงาน “วันวานที่พากเพียร สู่วันเกษียณที่ภาคภูมิ” แสดงความขอบคุณแก่ผู้เกษียณอายุงานประจำปี 2566

29 กันยายน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมใจจัดงานเกษียณอายุผู้ปฏิบัติงาน “วันวานที่พากเพียร สู่วันเกษียณที่ภาคภูมิ” แสดงความขอบคุณแก่ผู้เกษียณอายุงานประจำปี 2566 สร้างความทรงจำที่ดีร่วมกัน ส่งท้ายการทำงานในรั้วคณะวิทยาศาสตร์ ณ อาคารบรรยายรวมตึกกลม ห้อง L-01 ภายในงานมีการจัดพิธีทำบุญเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ผู้เกษียณอายุงานในช่วงเช้า โดยมีผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี และผู้เกษียณอายุงานประจำปี 2566 พร้อมด้วยผู้เกษียณรุ่นพี่ รวมถึงบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมฟังพระสงฆ์ 9 รูป จากวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร เจริญชัยมงคลคาถา และประพรมน้ำพระพุทธมนต์ ก่อนถวายเครื่องไทยธรรม ภัตตาหารเพล ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ และมีการจัดพิธีแสดงความขอบคุณผู้เกษียณอายุงาน ณ ห้อง L-01 อาคารบรรยายรวม (ตึกกลม) ซึ่งได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี เป็นประธานในพิธี และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม กล่าวรายงาน

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมใจจัดงาน “วันวานที่พากเพียร สู่วันเกษียณที่ภาคภูมิ” แสดงความขอบคุณแก่ผู้เกษียณอายุงานประจำปี 2566 Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ม.มหิดล ครบรอบ 50 ปี

26 กันยายน 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.พันธ์ญา สุนินทบูรณ์ ผู้ช่วยคณบดี ในฐานะผู้แทนคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ร่วมแสดงความยินดีในงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ครบรอบ 50 ปี สานความสัมพันธ์อันดีระหว่าง 2 หน่วยงานที่มีมาอย่างยาวนาน โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.จำลอง อรุณเลิศอารีย์ รองคณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุมนาทตัณฑวิรุฬห์ (1103) คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ในโอกาสอันดีนี้คณะวิทยาศาสตร์ได้มอบเงินบริจาคเพื่อสนับสนุนกิจการด้านการศึกษาคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ จำนวน 2,000 บาท อีกด้วย เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพ ตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษ ภาพข่าวโดย : ว่าที่ ร.ต.ภัทรพล ตันตระกูล เว็บมาสเตอร์: นางสาวปัณณพร แซ่แพ วันที่ 26 กันยายน 2566

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ม.มหิดล ครบรอบ 50 ปี Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมพิธีวางพวงมาลาในวันมหิดล 24 กันยายน น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ “พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย”

24 กันยายน ชาวคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมใจน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (กรมหลวงสงขลานครินทร์) “พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย” สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ได้ทรงประกอบ พระราชกรณียกิจ เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชนชาวไทยอย่างไพศาล โดยเฉพาะในด้าน การแพทย์และการสาธารณสุข ทรงอุทิศกำลังพระวรกายและพระหฤทัย ตลอดจนทรัพย์สินส่วนพระองค์เพื่อการแพทย์ไทยอย่างมากมาย โดยทรงส่งเสริมการพัฒนาการเรียนการสอนตลอดจนการผลิตแพทย์ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพอันเป็นการวางรากฐานแก่การแพทย์ และการสาธารณสุขให้เจริญพัฒนาก้าวหน้าทัดเทียมอารยะประเทศในโอกาสวันคล้ายวันสวรรคต ผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ พร้อมด้วยบุคลากร และนักศึกษา ได้ร่วม พิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ณ ส่วนงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยมหิดลโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระชัย สิริพันธ์วราภรณ์ รองคณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.พันธ์ญา สุนินทบูรณ์ ผู้ช่วยคณบดี และ อาจารย์ ดร.ธิติคม พัวพันสวัสดิ์ ประธานสภาคณาจารย์ กรรมการสภามหาวิทยาลัย นำร่วมพิธี ณ ลานพระราชานุสาวรีย์ฯ

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมพิธีวางพวงมาลาในวันมหิดล 24 กันยายน น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ “พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย” Read More »