ปัณณพร แซ่แพ

นักฟิสิกส์อวกาศ คณะวิทย์ฯ ม.มหิดล ร่วมแบ่งปันมุมมองด้านการวิจัยในการเสวนา “ประสบการณ์ ความสำเร็จ และเส้นชัยสู่การได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ”

25 มกราคม 2565 ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เดวิด จอห์น รูฟโฟโล อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2565 ร่วมแบ่งปันมุมมองด้านการวิจัยในการเสวนา “ประสบการณ์ ความสำเร็จ และเส้นชัยสู่การได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ” กับ ดร.วิภารัตน์ว ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และ 3 นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ศาสตราจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดร.รุ่งทิพย์ ชวนชื่น นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขานิติศาสตร์ และ ศาสตราจารย์ ดร.รุธิร์ พนมยงค์ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติสาขาเศรษฐศาสตร์   โดย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เดวิด ได้แบ่งปันประสบการณ์และมุมมองในการทำงานวิจัยเกี่ยวกับ รังสีคอสมิก อนุภาคพลังงานสูงในอวกาศ ที่ตนกำลังศึกษาอยู่ว่า ผู้คนอาจจะคิดว่าการวิจัยเกี่ยวกับอวกาศเป็นเรื่องไกลตัว แต่ความจริงแล้วเทคโนโลยีที่อยู่ในมือของเราอย่างเช่น โทรศัพท์มือถือ ก็มีการรับส่งสัญญาณจากดาวเทียมในอวกาศ ซึ่งดาวเทียมในอวกาศและยานอวกาศ หรือแม้กระทั่งหม้อแปลงไฟฟ้าบนโลกนั้นก็อาจเสียหายจากพายุสุริยะและรังสีคอสมิกได้ ทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจตามมามหาศาล และรังสีคอสมิกยังคุกคามต่อสุขภาพของนักบินอวกาศอีกด้วย การศึกษารังสีคอสมิกซึ่งถือเป็นงานวิจัยพื้นฐานจึงมีความสำคัญอย่างมาก จึงอยากให้หน่วยงานให้ความสำคัญกับงานวิจัยพื้นฐานมากขึ้น […]

นักฟิสิกส์อวกาศ คณะวิทย์ฯ ม.มหิดล ร่วมแบ่งปันมุมมองด้านการวิจัยในการเสวนา “ประสบการณ์ ความสำเร็จ และเส้นชัยสู่การได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ” Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café ส่องแนวคิดเบื้องหลังการวิจัยฟิสิกส์อวกาศของนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ

17 มกราคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café : ส่องแนวคิดเบื้องหลังการวิจัยฟิสิกส์อวกาศของนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ พูดคุยเจาะลึกเบื้องหลังความสำเร็จของ Professor Dr. David John Ruffolo นักฟิสิกส์อวกาศ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นักวิทยาศาสตร์รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2565 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ และคณิตศาสตร์ ดำเนินรายการโดย อาจารย์ ดร.วิทูร ชื่นวชิรศิริ หัวหน้าภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผ่านทาง Facebook live ซึ่งมีผู้รับชมกว่า 42 คนตลอดการเสวนา Professor Dr. David หรืออาจารย์เดวิดของนักศึกษา ได้เล่าถึงความสำคัญของการศึกษารังสีคอสมิก และสภาพอวกาศ ก่อนจะนำเสนองานของทีมวิจัยในปัจจุบันและผลงานวิจัยเด่นที่ผ่านมา ต่อด้วยงานของทีมวิจัยในอนาคต รวมถึงความตั้งใจแรกและแนวคิดในการทำงานที่ยืดมั่นมาตลอดการขับเคลื่อนวงการวิจัยด้านฟิสิกส์อวกาศในประเทศไทยกว่า 33 ปีอาจารย์เดวิดเล่าถึงความสำคัญของการศึกษารังสีคอสมิกให้เห็นภาพอย่างง่าย ๆ ว่าที่ผิวดวงอาทิตย์มีการระเบิดเป็นครั้งคราวที่เรียกว่าพายุสุริยะ จะมีอนุภาคพลังงานสูงในอวกาศ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café ส่องแนวคิดเบื้องหลังการวิจัยฟิสิกส์อวกาศของนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ Read More »

Activity Photo

ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีสวดพระอภิธรรม และพิธีพระราชทานเพลิงศพ ผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2562 – 2563 (กรณีพิเศษ)

วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี ประธานในพิธีฯ รองศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา วีรชาติยานุกูล หัวหน้าภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณาจารย์ และนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 2, 3, และ 4 จาก 4 สถาบัน ได้แก่ นักศึกษาคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล นักศึกษาโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล นักศึกษาคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช และนักศึกษาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พร้อมญาติและครอบครัวของผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา ร่วมพิธีสวดพระอภิธรรม และพิธีพระราชทานเพลิงศพ ผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2562 – 2563 (กรณีพิเศษ) จำนวน 54 ร่าง ณ ฌาปนสถานกองทัพอากาศ ศาลาทักษิณาประดิษฐ์ เมรุ 1 วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร บางเขน กรุงเทพมหานครโดยพิธีในวันที่ 11

ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีสวดพระอภิธรรม และพิธีพระราชทานเพลิงศพ ผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2562 – 2563 (กรณีพิเศษ) Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับมอบเมล็ดราชพฤกษ์กลับจากสถานีอวกาศนานาชาติ ภายใต้โครงการ Asian Herb in Space (AHiS) ระยะที่ 2

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับมอบเมล็ดราชพฤกษ์กลับจากสถานีอวกาศนานาชาติ ภายใต้โครงการ Asian Herb in Space (AHiS) ระยะที่ 2 โดยความร่วมมือระหว่างองค์กรสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (JAXA) สวทช. สทอภ. และหน่วยงานพันธมิตร เดินหน้าวิจัยผลกระทบของอวกาศต่อการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์และพัฒนาการของไม้ต้นในวันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชีรา วิบูลย์จันทร์ หัวหน้าภาควิชาพฤกษศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.กัณยารัตน์ สุไพบูลย์วัฒน หัวหน้ากลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพอัจฉริยะ ดร.ทัฏพงศ์ ตุลยานนท์ และนักศึกษาจาก Plant Biology and Astroculture Laboratory (PBA Lab) ของกลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมฯ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต้อนรับคุณกุลประภา นาวานุเคราะห์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. คุณปราณปริยา วงค์ษา ผู้อำนวยการสำนักเครือข่ายองค์ความรู้ สทอภ. และหน่วยงานพันธมิตร พร้อมรับมอบเมล็ดพันธุ์ราชพฤกษ์อวกาศซึ่งเดินทางกลับสู่พื้นโลกด้วยยาน SpaceX Cargo Dragon

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับมอบเมล็ดราชพฤกษ์กลับจากสถานีอวกาศนานาชาติ ภายใต้โครงการ Asian Herb in Space (AHiS) ระยะที่ 2 Read More »

Activity Photo

ประชุมการรับฟังข้อตกลงการปฏิบัติงานของส่วนงาน (PA-Visit) ประจำปีงบประมาณ 2565 ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

7 ธันวาคม 2564 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล เข้ารับฟังข้อตกลงการปฏิบัติงานของส่วนงาน (PA-Visit) ประจำปีงบประมาณ 2565 ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ พร้อมด้วย ผู้บริหารคณะฯ ให้การต้อนรับ และนำเสนอผลการดำเนินงานของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมรับฟังข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน ในปีงบประมาณ 2565 ผ่านระบบออนไลน์โดยอธิการบดี ได้กล่าวถึงการดำเนินงานในภาพรวมของมหาวิทยาลัย นำเสนอผลงานวิจัยที่โดดเด่น การสนับสนุนผลงานวิจัย และการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์แต่ละด้านของมหาวิทยาลัยมหิดล จากนั้น คณบดีจึงนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับผลการดำเนินงานตาม MU-KPI ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ตาม 5 เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของคณะฯ พร้อมทั้งนำเสนอแผนการดำเนินงานของคณะวิทยาศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2565 ความพร้อมในการต้อนรับนักศึกษา และการเปิดสถานศึกษาอย่างเต็มรูปแบบ การปรับตัวสู่อนาคต Digital Education /Digital Transformation เพื่อขับเคลื่อนความเป็น คณะวิทยาศาสตร์ แห่งแผ่นดิน

ประชุมการรับฟังข้อตกลงการปฏิบัติงานของส่วนงาน (PA-Visit) ประจำปีงบประมาณ 2565 ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ ออนไลน์ Mahidol Science Café update COVID-19 new variant “Omicron”, สิ่งที่รู้ ไม่รู้ และแนวโน้มการวิจัยในอนาคต

3 ธันวาคม 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Café update COVID-19 new variant “Omicron”, สิ่งที่รู้ ไม่รู้ และแนวโน้มการวิจัยในอนาคต พูดคุยเจาะลึก “Omicron” เชื้อก่อโรค COVID-19 สายพันธุ์น้องใหม่ ที่กำลังเป็นที่จับตามองไปทั่วโลกในขณะนี้ เผยสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์รู้และไม่รู้เกี่ยวกับ Omicron หรือ โอไมครอน รวมถึงแนวโน้มการวิจัยในอนาคต โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.จิรันดร ยูวะนิยม อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และอาจารย์ ดร.ภากร เอี้ยวสกุล อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยากร ดำเนินรายการโดย นายโชติวัฒน์ ศรีเพชรดี นักศึกษาปริญญาเอกภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผ่านทาง Facebook live ซึ่งมีผู้รับชมกว่า 80 คนตลอดการเสวนาวิทยากรได้ให้ข้อมูลสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์รู้เกี่ยวกับ เชื้อก่อโรค

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ ออนไลน์ Mahidol Science Café update COVID-19 new variant “Omicron”, สิ่งที่รู้ ไม่รู้ และแนวโน้มการวิจัยในอนาคต Read More »

Activity Photo

16th International Online Mini-Symposium of the Protein Society of Thailand

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สมาคมโปรตีนแห่งประเทศไทย จัดประชุมวิชาการประจำปี ครั้งที่ 16 (16th International Online Mini-Symposium of the Protein Society of Thailand) ระหว่างวันที่ 17 – 18 พฤศจิกายน 2564 ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. ม.ร.ว.ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ อดีตนายกสมาคมโปรตีนแห่งประเทศไทย กล่าวต้อนรับและเปิดการประชุม ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 การจัดงานมีขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 โดยเป็นเวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เทคโนโลยี และประสบการณ์ในงานวิจัยด้านโปรตีนและสาขาที่เกี่ยวข้อง จากนักวิจัยที่มีชื่อเสียงทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้วยสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ในปัจจุบัน จึงได้มีการจัดงานในรูปแบบออนไลน์ และเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมฯ ได้นำเสนอผลงานวิจัยผ่านการประชุมออนไลน์ สามารถติดตามกำหนดการเพิ่มเติมได้ทาง https://science.mahidol.ac.th/pst2021/

16th International Online Mini-Symposium of the Protein Society of Thailand Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในหัวข้อ “หลักสูตรได้อะไรจากการตรวจประเมิน AUN-QA”

มหาวิทยาลัยมหิดลได้นำเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA (AUN Quality Assurance: AUN-QA) มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพหลักสูตรของมหาวิทยาลัยตั้งแต่ปี 2558 จนถึงปัจจุบัน เพื่อเป็นการส่งเสริมและกระตุ้นการพัฒนาหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ภายในส่วนงาน และให้ผู้เกี่ยวข้อง ได้รับมุมมอง แนวคิด เคล็ดลับที่เป็นประโยชน์ สามารถนำข้อมูลมาปรับใช้ในกระบวนการดำเนินการของหลักสูตร รวมทั้งการแลกเปลี่ยนมุมมอง ประสบการณ์พัฒนาและประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ให้พร้อมรับการตรวจประเมินฯ งานนโยบายและพัฒนาคุณภาพ จึงมีกำหนดจัดการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในหัวข้อ “หลักสูตรได้อะไรจากการตรวจประเมิน AUN-QA” ขึ้น ในวันพุธที่ 10 พฤศจิกายน 2564 เวลา 10.00-12.00 น. รูปแบบ Online ผ่านโปรแกรม Cisco Webex Meetings โดยมีผู้บริหาร หัวหน้าภาควิชา ประธานหลักสูตร และผู้ที่สนใจเข้าร่วมรับฟัง จำนวนทั้งสิ้น 58 คนการเสวนาครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติศักดิ์ หยกทองวัฒนา รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและพัฒนานักศึกษา อาจารย์ ดร.ณัฐพล อ่อนปาน

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในหัวข้อ “หลักสูตรได้อะไรจากการตรวจประเมิน AUN-QA” Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.3: Nobel Prize in Chemistry: An ingenious tool for building molecules เครื่องมืออันชาญฉลาดในการสร้างโมเลกุล

5 พฤศจิกายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.3: Nobel Prize in Chemistry: An ingenious tool for building molecules เครื่องมืออันชาญฉลาดในการสร้างโมเลกุล เล่าเรื่องงานวิจัยของ 2 นักวิทยาศาสตร์ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปีนี้ ได้แก่ ศาสตราจารย์เบนจามิน ลิสต์ (Benjamin List) จาก Max-Planck-Institute für Kohlenforschung ประเทศเยอรมนี และ ศาสตราจารย์เดวิด แมคมิลแลน (David W.C. MacMillan) จาก Princeton University ประเทศสหรัฐอเมริกา จากการพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาอินทรีย์แบบอสมมาตร พร้อมอธิบายถึงการสร้างโมเลกุลด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาแบบใหม่ นำไปสู่การผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ปรียานุช แสงไตรรัตน์นุกูล และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ต่อศักดิ์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.3: Nobel Prize in Chemistry: An ingenious tool for building molecules เครื่องมืออันชาญฉลาดในการสร้างโมเลกุล Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.2: Nobel Prize in Physiology or Medicine: From Heat & Hug to Pain treatment discoveries. การค้นพบตัวรับอุณหภูมิและการรับสัมผัส สู่การนำไปใช้ในการรักษาอาการปวด

3 พฤศจิกายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.2: Nobel Prize in Physiology or Medicine: From Heat & Hug to Pain treatment discoveries. การค้นพบตัวรับอุณหภูมิและการรับสัมผัส สู่การนำไปใช้ในการรักษาอาการปวด เล่าเรื่องงานวิจัยของ 2 นักวิทยาศาสตร์ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ในปีนี้ ได้แก่ ศาสตราจารย์ เดวิด จูเลียส (David Julius) และศาสตราจารย์ อาร์เด็ม พาทาพูเที่ยน (Ardem Patapoutian) พร้อมอธิบายถึงกลไกการรับอุณหภูมิและสัมผัสของมนุษย์ที่น่าทึ่งอันนำไปสู่การรักษาอาการปวด โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพพร จงกมลวิวัฒน์ และ อาจารย์ ดร.อธิคุณ สุวรรณขันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยากร ดำเนินรายการโดย

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.2: Nobel Prize in Physiology or Medicine: From Heat & Hug to Pain treatment discoveries. การค้นพบตัวรับอุณหภูมิและการรับสัมผัส สู่การนำไปใช้ในการรักษาอาการปวด Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.1: Nobel Prize in Physics: Physics of global warming and other complex phenomena ฟิสิกส์เรื่องโลกร้อนและปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนอื่น ๆ

2 พฤศจิกายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.1: Nobel Prize in Physics: Physics of global warming and other complex phenomena ฟิสิกส์เรื่องโลกร้อนและปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนอื่น ๆ เล่าเรื่องงานวิจัยของ 3 นักฟิสิกส์ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปีนี้ ได้แก่ ศาสตราจารย์ ชูคุโระ มานาเบะ (Syukuro Manabe) ศาสตราจารย์ เคลาส์ ฮาสเซิลมานน์ (Klaus Hasselmann) และ ศาสตราจารย์ จอร์จิโอ ปาริซี (Giorgio Parisi) พร้อมอธิบายถึงการประยุกต์ใช้ฟิสิกส์ศึกษาปัญหาเรื่องโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่ซับซ้อน โดยมี Professor Dr.David John Ruffolo และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วฤทธิ์ มิตรธรรมศิริ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe Vol.1: Nobel Prize in Physics: Physics of global warming and other complex phenomena ฟิสิกส์เรื่องโลกร้อนและปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนอื่น ๆ Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีครบรอบ 63 ปีการก่อตั้ง

28 ตุลาคม 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ฉลองครบรอบ 63 ปี การก่อตั้ง ในงานวันคล้ายวันสถาปนาในรูปแบบ Hybrid ถ่ายทอดสดทาง online และการเข้าร่วมงานในพื้นที่ ณ ห้อง L-01 อาคารบรรยายรวม ตึกกลม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไทในการนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ประธานในพิธี กล่าวต้อนรับและกล่าวถึงการจัดงานในครั้งนี้ว่า “ในโอกาสครบรอบ 63 ปี แห่งการก่อตั้ง เรามุ่งมั่นที่จะ ‘เป็นสติของประชา เป็นปัญญาของสังคม’ ผ่านวิทยาศาสตร์และการสร้างบุคลากรคุณภาพสูง การลงทุนทางการศึกษาและวิทยาศาสตร์พื้นฐาน อันจะส่งผลต่อการพัฒนาและคุณภาพชีวิต จึงเป็นเหมือนการสร้างโอกาส และสร้างบุคลากรคุณภาพอันเป็นอนาคตของสังคม มีความรู้ที่ทันสมัย ผ่านงานวิจัยระดับโลก ต่อยอดเพื่อสร้างสังคมคุณภาพสูงในอนาคต ด้วยการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการพัฒนาอย่างยั่งยืน นับเป็นภารกิจและเป้าประสงค์ที่มุ่งมั่น เพื่อสร้างศรัทธาแห่งวิทยาศาสตร์ในฐานะ ‘คณะวิทยาศาสตร์แห่งแผ่นดิน’” จากนั้นเป็นการนำเสนอผลงานเด่นของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในรอบปี 2564 ปาฐกถาศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข ครั้งที่

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีครบรอบ 63 ปีการก่อตั้ง Read More »

พิธีลงนามการจัดทำข้อตกลงการปฏิบัติงาน (MUSC PA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565

วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม 2564 รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี และทีมผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมพิธีลงนามการจัดทำข้อตกลงการปฏิบัติงาน (MUSC PA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 กับหน่วยงานต่าง ๆ ภายในคณะวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย 12 ภาควิชา 2 กลุ่มสาขาวิชา และ 13 งานภายใต้สำนักงานคณบดี รวมถึงศูนย์วิจัย เพื่อร่วมขับเคลื่อนและส่งเสริมการดำเนินงานตามข้อตกลงการปฏิบัติงาน (MUSC PA) ประจำปี 2565 ให้สำเร็จลุล่วง ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท เขียนข่าว : งานนโยบายและพัฒนาคุณภาพตรวจสอบโดย : งานนโยบายและพัฒนาคุณภาพภาพข่าวโดย: นายนภาศักดิ์ ผลพานิชเว็บมาสเตอร์: นางสาวปัณณพร แซ่แพวันที่ 11 ตุลาคม 2564

พิธีลงนามการจัดทำข้อตกลงการปฏิบัติงาน (MUSC PA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe เคล็ดลับสอนออนไลน์อย่างไรให้ปัง แชร์วิธีจัดการเรียนการสอนอย่างสร้างสรรค์ในช่วงโควิด – 19

8 ตุลาคม 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe “เคล็ดลับสอนออนไลน์อย่างไรให้ปัง” เปิดเวทีแชร์ประสบการณ์ตรงและเคล็ดลับการสอนให้ปังโดนใจผู้เรียนของ 4 อาจารย์ผู้ได้รับรางวัลการสอนออนไลน์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี พ.ศ. 2563 ได้แก่ ผศ. ดร.วิทวัชร์ โฆษิตวัฒนฤกษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ อ. ดร.เอกวัจน์ เชาว์วิชารัตน์ อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ อ. ดร.นฤพัฒน์ หงษ์ดิลกกุล อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ และ อ. ดร.ภัคพล พงศาวกุล อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา โดยมี อ. ดร.ทิพาลัคน์ กฤตยาเกียรณ์ อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินรายการผ่านทาง Facebook liveตลอดการเสวนาวิทยากรทั้ง 4 ท่านได้พูดคุยแชร์ประสบการณ์จริง และมุมมองต่อการสอนออนไลน์ ในประเด็นความท้าทายของการสอนออนไลน์ วิธีการออกแบบการสอน ไปจนถึงวิธีการสอบและการวัดผลออนไลน์ ที่กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ ภายใต้ข้อจำกัดจากการปิดสถานศึกษาเพื่อควบคุมสถานการณ์การระบาดของโควิด-19โดย ผศ. ดร.วิทวัชร์ โฆษิตวัฒนฤกษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาออนไลน์ Mahidol Science Cafe เคล็ดลับสอนออนไลน์อย่างไรให้ปัง แชร์วิธีจัดการเรียนการสอนอย่างสร้างสรรค์ในช่วงโควิด – 19 Read More »

3 หลักสูตร นานาชาติ คณะวิทยาศาสตร์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวัสดุศาสตร์และวิศวกรรมนาโน และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุ รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA มหาวิทยาลัยมหิดล รูปแบบ 3.0

ด้วยหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวัสดุศาสตร์และวิศวกรรมนาโน (หลักสูตรนานาชาติ) และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA มหาวิทยาลัยมหิดล รูปแบบ 3.0 (MU AUN-QA Assessment 3.0) จากคณะกรรมการตรวจประเมินของมหาวิทยาลัย ในวันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564 ก่อนนำเสนอผลการตรวจประเมินด้วยวาจาในวันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ซึ่งในครั้งนี้เป็นการตรวจประเมินในรูปแบบ Online MU AUN-QA Assessment ผ่านโปรแกรม Cisco Webex Meetings ทั้งกระบวนการ โดยในปีงบประมาณ พ.ศ.2564 คณะวิทยาศาสตร์ได้รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA มหาวิทยาลัยมหิดล ครบทุกหลักสูตร (ไม่รวมหลักสูตรเปิดใหม่และหลักสูตรที่อยู่ระหว่างการขอปิด) จำนวน 45 หลักสูตร ประกอบด้วย ระดับปริญญาตรี จำนวน 12 หลักสูตร

3 หลักสูตร นานาชาติ คณะวิทยาศาสตร์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวัสดุศาสตร์และวิศวกรรมนาโน และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุ รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA มหาวิทยาลัยมหิดล รูปแบบ 3.0 Read More »

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทรัพยากรชีวภาพและชีววิทยาสภาวะแวดล้อม (หลักสูตรนานาชาติ) ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA มหาวิทยาลัยมหิดล รูปแบบ 3.0

ด้วยหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทรัพยากรชีวภาพและชีววิทยาสภาวะแวดล้อม (หลักสูตรนานาชาติ) ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA มหาวิทยาลัยมหิดล รูปแบบ 3.0 (MU AUN-QA Assessment 3.0) จากคณะกรรมการตรวจประเมินของมหาวิทยาลัย ในวันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2564 ก่อนนำเสนอผลการตรวจประเมินด้วยวาจาในวันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2564 โดยมี ผศ. ดร.กภ.วรินทร์ กฤตยาเกียรณ เป็นประธานกรรมการตรวจประเมินฯ ซึ่งในครั้งนี้เป็นการตรวจประเมินในรูปแบบ Online MU AUN-QA Assessment ผ่านโปรแกรม Cisco Webex Meetings ทั้งกระบวนการ คณะวิทยาศาสตร์ เปิดสอนในระดับปริญญาตรี จำนวน 12 หลักสูตร ปริญญาโทและเอก จำนวน 36 หลักสูตร รวมทั้งหมด 48 หลักสูตร โดยกว่า 42

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทรัพยากรชีวภาพและชีววิทยาสภาวะแวดล้อม (หลักสูตรนานาชาติ) ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA มหาวิทยาลัยมหิดล รูปแบบ 3.0 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จับมือ 3 โรงเรียนมัธยมศึกษา ลงนามความร่วมมือทางวิชาการ ยกระดับการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ควบคู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

วันพุธที่ 15 กันยายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จับมือ 3 โรงเรียนมัธยมศึกษา โรงเรียนชลประทานวิทยา โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายมัธยม) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อยกระดับการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ควบคู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ผ่านทางระบบประชุมออนไลน์ Zoom Cloud Meetings โดยมีผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากรจากคณะวิทยาศาสตร์ และโรงเรียนทั้งสามแห่งเข้าร่วมเป็นสักขีพยานในครั้งนี้คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี กล่าวต้อนรับ นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ ผู้จัดการโรงเรียนชลประทานวิทยา นายสุรสิทธิ์ เจริญวัย ผู้อำนวยการโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คึกฤทธ์ ศิลาลาย ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายมัธยม) รวมถึงคณะผู้บริหารและคณาจารย์จากทั้ง 3 โรงเรียน โดยผู้จัดการและผู้อำนวยการจากโรงเรียนทั้งสามแห่งได้กล่าวตอบรับและแสดงความยินดีในความร่วมมือครั้งนี้ จากนั้นเข้าสู่พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ และมอบของที่ระลึกพร้อมกับถ่ายภาพร่วมกันความร่วมมือทางวิชาการในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ เพิ่มพูนความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ของนักเรียน อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียน โดยการจัดบรรยาย

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จับมือ 3 โรงเรียนมัธยมศึกษา ลงนามความร่วมมือทางวิชาการ ยกระดับการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ควบคู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน Read More »

บุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คว้ารางวัล TEQ Award ประจำปี 2563 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

9 กันยายน 2564 นักวิทยาศาสตร์ประจำหน่วยสัตว์ทดลอง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล แสดงศักยภาพการปฏิบัติงานด้านการเลี้ยงและดูแลสัตว์ทดลองเพื่องานทางวิทยาศาสตร์ คว้ารางวัล ที อี คิว (TEQ Award) สำหรับพนักงานเลี้ยงสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ดีเด่น จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ นายณรงค์ แขวงซ้าย นักวิทยาศาสตร์ ประจำหน่วยสัตว์ทดลอง งานวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ได้รับรางวัล ที อี คิว (TEQ Award) ประจำปี 2563 ได้เข้าร่วมพิธีรับรางวัลจากสถาบันพัฒนาการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ (สพสว.) ภายใต้สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างการสัมมนาคณะกรรมการกำกับดูแลการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ของสถานที่ดำเนินการ (คกส.) ประจำปี 2564 ผ่านทางระบบประชุมออนไลน์ Zoom meeting เมื่อวันที่ 9 กันยายน ที่ผ่านมาทั้งนี้ รางวัล ที อี คิว (TEQ Award) เป็นรางวัลสำคัญระดับประเทศเพื่อยกย่องเชิดชูพนักงานเลี้ยงสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ ยึดถือปฏิบัติตามกฎหมายและจรรยาบรรณการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ความสำเร็จในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการกำกับดูแลการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ของสถานที่ดำเนินการ (คกส.) และผู้บริหาร

บุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คว้ารางวัล TEQ Award ประจำปี 2563 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ Read More »

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (นานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน ครั้งที่ 226 ในรูปแบบ Online

ระหว่างวันที่ 2 – 6 สิงหาคม 2564 หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (นานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ (Master of Science Programme in Polymer Science and Technology (International Programme), Faculty of Science) รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน ครั้งที่ 226 ในรูปแบบ Online ผ่านโปรแกรม Zoom (The 226th Online/Remote Site Visit in the AUN-QA Program Assessment at Mahidol University) จากคณะกรรมการตรวจประเมิน (AUN-QA Assessor Team) โดยมีหลักสูตรที่เข้ารับการตรวจประเมินพร้อมกันในครั้งนี้อีก 3 หลักสูตร ได้แก่1. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์ (นานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับอาเซียน ครั้งที่ 226 ในรูปแบบ Online Read More »

การเยี่ยมชมและรับฟังผลการดำเนินงานของคณะวิทยาศาสตร์ จากสภามหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2564 (ครั้งที่ 2 : University Council Visit 2)

29 กรกฎาคม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการเยี่ยมชมและรับฟังผลการดำเนินงานของคณะวิทยาศาสตร์ จากสภามหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2564 (ครั้งที่ 2 : University Council Visit 2) ผ่านระบบ Online Cisco WebEx Meeting โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 63 ท่าน ได้แก่ คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล และกรรมการประจำคณะวิทยาศาสตร์ฯ โดยเริ่มต้นการประชุมด้วย รศ. ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวเกี่ยวกับ วิสัยทัศน์ และพันธกิจของคณะวิทยาศาสตร์ฯ รวมทั้งผลการดำเนินงานในด้านต่างๆ อย่างเป็นองค์รวมตามรูปแบบ Operation/Transformation Model การศึกษาสากลบ่มเพาะผู้ประกอบการ World Class Research ความรู้เพื่อปวงชน นวัตกรรมเพื่อประเทศ และองค์กรที่ยังยืน อีกทั้งเน้นย้ำในเรื่องสังคมไทยที่ใช้วิทยาศาสตร์ Learning Organization และการปรับตัวสู่อนาคต Digital Education และ Digital Transformation หลังจากนั้น

การเยี่ยมชมและรับฟังผลการดำเนินงานของคณะวิทยาศาสตร์ จากสภามหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2564 (ครั้งที่ 2 : University Council Visit 2) Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการศรีตรังปันสุข ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากวิกฤติโควิด-19

“โครงการศรีตรังปันสุข” โดย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สุขใจทั้งผู้ให้ และผู้รับ ด้วยการทำบุญหลายต่อ สนับสนุนซื้ออาหารจากพ่อค้า แม่ค้า ของโรงอาหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ ในช่วงปิดอาคารสำนักงาน ตามประกาศ พรก.ฉุกเฉิน และนำส่งบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อนบ้าน ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี เพื่อเป็นกำลังใจให้แก่คุณหมอ คุณพยาบาล และพี่น้องเจ้าหน้าที่ ที่ทุ่มเท สละเวลาทำงานเพื่อพวกเราทุกคน โดยโครงการนี้มีการระดมทุนจากผู้มีจิตศรัทธาบริจาค 102 บาท หรือตามกำลังศรัทธา นอกจากการทำดีเพื่อส่งกำลังใจให้กับบุคลากรทางการแพทย์แล้ว ยังเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้กับบูรพาจารย์ ในปีแห่งการครบรอบ รำลึก 102 ปี ชาตกาล ศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข คณบดีท่านแรกผู้ก่อตั้งคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยผู้บริจาคสามารถ ปันสุขได้โดยการโอนเงินเข้าบัญชี “โครงการศรีตรังปันสุข โดยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล” บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 026 – 475703 – 3 ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขารามาธิบดี ส่งสำเนาโอนเงิน และขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางไลน์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการศรีตรังปันสุข ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากวิกฤติโควิด-19 Read More »

The IX International Scientific and Practical Conference on Biotechnology as an Instrument for Plant Biodiversity Conservation (Physiological, Biochemical, Embryological, Genetic and Legal Aspects) Biotech 2021

12 กรกฎาคม 2564 ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และสมาคมพืชสวนนานาชาติ (International Society for Horticultural Science: ISHS) ร่วมกับกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นเจ้าภาพการประชุมวิชาการนานาชาติเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของพืช ครั้งที่ 9 “The IX International Scientific and Practical Conference on Biotechnology as an Instrument for Plant Biodiversity Conservation (Physiological, Biochemical, Embryological, Genetic and Legal Aspects)” หรือ “Biotech 2021” แลกเปลี่ยนความก้าวหน้าจากการวิจัย สร้างโอกาสในการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อสังคมในระดับโลกBiotech 2021 เป็นเวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และวิทยากรด้านพืชสวนระดับนานาชาติเพื่ออนุรักษ์พันธุ์พืช และความหลากหลายทางชีวภาพในทุกแง่มุม ซึ่งด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 การประชุมครั้งนี้จึงเลื่อนจากกำหนดเดิมในปีที่แล้ว มาเป็นปีนี้ และปรับเป็นรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Cisco WebEx

The IX International Scientific and Practical Conference on Biotechnology as an Instrument for Plant Biodiversity Conservation (Physiological, Biochemical, Embryological, Genetic and Legal Aspects) Biotech 2021 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท เข้ารับการตรวจประเมินกิจกรรม “สถานศึกษาปลอดภัย” ประจำปี พ.ศ. 2564

วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2564 สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พื้นที่ 5 (เขตดินแดง พญาไท ราชเทวี และห้วยขวาง) กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน เข้าตรวจประเมินกิจกรรม “สถานศึกษาปลอดภัย” ประจำปี พ.ศ. 2564 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการปลูกฝังวัฒนธรรมความปลอดภัยให้กับยุวแรงงานก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงานเพื่อขับเคลื่อน ความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของประเทศไทย (Safety Thailand) ครอบคลุมถึงการเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการเชิงป้องกันด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน ในปี พ.ศ. 2564 นี้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ได้เข้าประกวด “สถานศึกษาปลอดภัย” เป็นปีที่ 4 โดยมี รศ.ดร. พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และ ผศ.ดร. ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม คุณคำรณ โชธนะโชติ หัวหน้างานบริหารและธุรการ และทีมงานงานบริหารและธุรการ ให้การต้อนรับคณะผู้ประเมินฯ นำโดย นางสุนีย์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท เข้ารับการตรวจประเมินกิจกรรม “สถานศึกษาปลอดภัย” ประจำปี พ.ศ. 2564 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ยกระดับห้องปฏิบัติการวิจัยสู่สากล มอบประกาศนียบัตรและโล่รางวัลแก่ 17 ห้องปฏิบัติการสารเคมีมาตรฐาน ESPRel ผ่านระบบออนไลน์

24 มิถุนายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีมอบประกาศนียบัตร และโล่รางวัล แก่ 17 ห้องปฏิบัติการที่ได้รับรางวัล ห้องปฏิบัติการวิจัยต้นแบบมาตรฐานความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีตามมาตรฐาน ESPRel จากมหาวิทยาลัยมหิดล ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ Cisco WebEx Meeting ในโอกาสอันดีนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ ได้กล่าวแสดงความยินดีและขอบคุณ รองศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ กังสมัครศิลป์ หัวหน้าภาควิชาชีวเคมี รองศาสตราจารย์ ดร.วิฑูร แสงศิริสุวรรณ หัวหน้าภาควิชาสรีรวิทยา รองศาสตราจารย์ ดร.เทียนทอง ทองพันชั่ง หัวหน้าภาควิชาเคมี รวมถึงอาจารย์และผู้แทนอาจารย์ประจำห้องปฏิบัติการทั้ง 17 ห้องปฏิบัติการที่ให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ และแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ เพื่อความปลอดภัยของผู้ที่เกี่ยวข้องและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการให้ความสำคัญกับการสร้างงานวิจัยที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับสากลควบคู่กับการดำเนินงานที่มีมาตรฐานความปลอดภัย โดยห้องปฏิบัติการวิจัยที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ ได้แก่ 1. ห้องปฏิบัติการวิจัยเคมี C211 รองศาสตราจารย์ ดร.รัตติกาล จันทิวาสน์ 2.

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ยกระดับห้องปฏิบัติการวิจัยสู่สากล มอบประกาศนียบัตรและโล่รางวัลแก่ 17 ห้องปฏิบัติการสารเคมีมาตรฐาน ESPRel ผ่านระบบออนไลน์ Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สื่อสารข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ของวัคซีนต้านโควิด-19 สู่สังคมในงานเสวนาพิเศษ Science Café COVID-19 vol.2 “Current COVID-19 situation in Thailand, vaccine and its development”

10 มิถุนายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานเสวนาพิเศษ Science Café COVID-19 vol.2 “Current COVID-19 situation in Thailand, vaccine and its development” ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือโควิด-19 ในประเทศไทย และสื่อสารข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่มีการอนุมัติใช้ฉุกเฉินในปัจจุบัน พร้อมเผยความคืบหน้าของการพัฒนาวัคซีนของทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี รองศาสตราจารย์ พญ.อรุณี ธิติธัญญานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หัวหน้าห้องปฏิบัติการไวรัสวิทยา ตามมาตรฐานความปลอดภัยระดับที่ 3 (Bio Safety Level 3; BSL-3) และ นายโชติวัฒน์ ศรีเพชรดี นักศึกษาปริญญาเอกภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หนึ่งในทีมนักวิจัยวัคซีนโควิด-19 เป็นวิทยากร และมี อาจารย์ ดร.ภากร เอี้ยวสกุล อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สื่อสารข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ของวัคซีนต้านโควิด-19 สู่สังคมในงานเสวนาพิเศษ Science Café COVID-19 vol.2 “Current COVID-19 situation in Thailand, vaccine and its development” Read More »

การประเมินส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2560-2563 (คณะวิทยาศาสตร์) โดยบริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด

มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดจ้าง บริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นที่ปรึกษาในการประเมินส่วนงานของมหาวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.2550 มาตรา 44 ที่กำหนดให้มหาวิทยาลัยจะต้องจัดให้มีการประเมินส่วนงานโดยผู้ประเมินซึ่งสภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งจากผู้ซึ่งมิใช่ผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย ทุกส่วนงานต้องได้รับการประเมิน ทั้งส่วนงานที่จัดตั้งตามมาตรา 10 และส่วนงานที่มิได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตลอดจนหน่วยงานสังกัดสำนักงานอธิการบดีที่มีลักษณะการบริหารงานคล้ายส่วนงาน จำนวนรวมทั้งสิ้น 42 ส่วนงาน คณะวิทยาศาสตร์ ได้บันทึกข้อมูลตัวชี้วัดจำนวน 39 ตัวชี้วัด พร้อมแนบไฟล์หลักฐาน (PDF) เข้าในระบบ MahidolxTris Survey เมื่อวันที่ 19 เมษายน – 5 พฤษภาคม 2564 และรับการตรวจเยี่ยมจากผู้แทนบริษัท TRIS ในรูปแบบออนไลน์ด้วยระบบ WebEx Meeting เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2564 โดยมีกิจกรรมสำคัญ ดังนี้ 1) เวลา 9.00-10.00 น. ทดสอบภาวะวิกฤติ (Stress Test) โดยการสัมภาษณ์คณบดีและทีมบริหาร เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ส่วนงาน

การประเมินส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2560-2563 (คณะวิทยาศาสตร์) โดยบริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษหัวข้อ “ขอตำแหน่งทางวิชาการอย่างไร? ใช้เกณฑ์ใด? ให้ผ่านฉลุย”

12 พฤษภาคม 2564 สภาอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ร่วมกับงานบริหารและธุรการ และคณะกรรมการวิชาการคณะวิทยาศาสตร์ จัดเสวนาพิเศษ “ขอตำแหน่งวิชาการอย่างไร? ใช้เกณฑ์ใด? ให้ผ่านฉลุย” เพื่อตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับการขอตำแหน่งทางวิชาการอย่างครอบคลุมรอบด้าน ซึ่งในโอกาสอันดีนี้ ศาสตราจารย์ นพ.วชิร คชการ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้เกียรติมาบรรยายในหัวข้อ “เกณฑ์การขอตำแหน่งวิชาการที่ใช้ในปัจจุบัน ก.พ.อ. หรือข้อบังคับมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2561 และ 2563” ต่อด้วยผู้อำนวยการ จริยา ปัญญา ผู้อำนวยการกองทรัพยากรบุคคล ซึ่งบรรยายในหัวข้อ “กระบวนการและระยะเวลาที่ใช้ในการพิจารณาตำแหน่งวิชาการระดับมหาวิทยาลัย” และ ศาสตราจารย์ ดร.ประมวล ตั้งบริบูรณ์รัตน์ ประธานคณะกรรมการวิชาการคณะวิทยาศาสตร์ เป็นผู้บรรยายในหัวข้อ “กระบวนการกลั่นกรองระดับคณะวิทยาศาสตร์” ดำเนินรายการโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ปวีณา ไตรเพิ่ม ประธานสภาอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วฤทธิ์ มิตรธรรมศิริ กรรมการสภาอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ โดยมี อาจารย์ ดร.ทิพาลัคน์ กฤตยาเกียรณ์ กรรมการสภาอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ เป็นพิธีกรการเสวนาในครั้งนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษหัวข้อ “ขอตำแหน่งทางวิชาการอย่างไร? ใช้เกณฑ์ใด? ให้ผ่านฉลุย” Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดการบรรยาย “เทคนิคการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยมหิดล”

       9 เมษายน 2564 รองศาสตราจารย์ นพ.ธันย์ สุภัทรพันธุ์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ให้เกียรติมาบรรยาย “เทคนิคการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยมหิดล” เพื่อสร้างความเข้าใจและทบทวนเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงานแก่ประชาคมชาวคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ณ ห้อง L-02 อาคารบรรยายรวมตึกกลม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี ได้กล่าวต้อนรับและร่วมฟังบรรยายพร้อมกับทีมผู้บริหาร คณาจารย์ ผู้ปฏิบัติงานคณะวิทยาศาสตร์ และผู้ที่รับชมออนไลน์ผ่านระบบ WebEx Meeting กว่า 177 คน เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษภาพข่าวโดย: นายนภาศักดิ์ ผลพานิชเว็บมาสเตอร์: นางสาวปัณณพร แซ่แพวันที่ 9 เมษายน 2564

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดการบรรยาย “เทคนิคการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยมหิดล” Read More »

ภาพประกอบ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีทำบุญตักบาตรเนื่องในประเพณีสงกรานต์ ประจำปี 2564

        คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีทำบุญตักบาตรเนื่องในประเพณีสงกรานต์ ประจำปี 2564 ในการนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี ประธานในพิธีพร้อมด้วย ดร.รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล รองคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพและสังคมสัมพันธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม ผู้เกษียณอายุงาน อาจารย์ และผู้ปฏิบัติงานชาวคณะวิทยาศาสตร์ พร้อมใจเข้าร่วมพิธีทำบุญและตักบาตรอาหารแห้ง พระสงฆ์จำนวน 9 รูป จากวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร และปฏิบัติตนตามมาตรการป้องกันโรคโควิด 19 อย่างเคร่งครัด ในวันพฤหัสบดีที่ 8 เมษายน พ.ศ.2564 ณ บริเวณลานตึกกลม เขียนข่าว : น.ส.จิรนันท์ นามั่งตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษภาพข่าวโดย: นายนภาศักดิ์ ผลพานิชเว็บมาสเตอร์: นางสาวปัณณพร แซ่แพวันที่ 7 เมษายน 2564

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีทำบุญตักบาตรเนื่องในประเพณีสงกรานต์ ประจำปี 2564 Read More »

ทีมผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ชี้แจงนโยบายแนวทางการบริหารงาน และรับฟังข้อคิดเห็นจากประชาคมชาวคณะวิทยาศาสตร์

       7 เมษายน 2564 ทีมผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี ชี้แจงนโยบายแนวทางการบริหารงาน และรับฟังข้อคิดเห็นจากประชาคมชาวคณะวิทยาศาสตร์ ณ ห้อง L-02 อาคารบรรยายรวม ตึกกลม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท พร้อมถ่ายทอดออนไลน์ผ่านระบบ Webex Meeting โดยมีผู้รับชมออนไลน์กว่า 180 คน รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี ได้กล่าวถึงการปรับตัวของคณะวิทยาศาสตร์ภายใต้สถานการณ์การระบาดของโควิด 19 ในช่วงเวลากว่า 1 ปีที่ผ่านมา ได้แก่ การปรับเปลี่ยนการเรียน การสอน และการสอบจากในห้องเรียนมาเป็นรูปแบบออนไลน์ การดำเนินการตามมาตรการป้องกันโควิด 19 การปรับปรุงสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกให้พร้อมรองรับการเปิดเรียนตามปกติหลังสถานการณ์การระบาดดีขึ้น รวมถึงเอื้อต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของบุคลากร การพัฒนาคุณภาพการทำงานของบุคลากรในหน่วยงานต่าง ๆ โดยส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะ และความร่วมมือผ่านโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เช่น การอบรมรุกขกรปฏิบัติการ และกิจกรรม Share

ทีมผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ชี้แจงนโยบายแนวทางการบริหารงาน และรับฟังข้อคิดเห็นจากประชาคมชาวคณะวิทยาศาสตร์ Read More »